กรุงเทพฯ--12 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจแคนาดา-ไทยครั้งที่ 6
(6 th Canada-Thai Bilateral Economic Commission)
ณ กรุงออดตาวา ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 28-29 กันยายน 2543
(วันนี้ 11 ตุลาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนกว่า การประชุมครั้งนี้เป็นไปตามความตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระหว่างรัฐบาลไทยและแคนาดาที่ได้ลงนามกันเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยที่ผ่านมาต่างฝ่ายผลัดกันจัดประชุมขึ้นประมาณทุกๆ 2 ปี สำหรับการประชุมครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 6 โดยมีนางอินกริด ฮอลล์ (Ms. lngrid Hall) อธิบดีกรมเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระทรวงการต่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศของแคนาดา เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายแคนาดา และดร.สมเกียรติ อริยปรัชญา อธิบดีกรมอเมริการและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศของไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยราชการและภาคเอกชนไทย ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือแลกเปลี่นนข้อคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่
สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินของแต่ละประเทศ ซึ่งฝ่ายไทยได้ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการของรัฐบาลไทยในการฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจและการเงินในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมาหลังจากที่เกิดวิกฤต ทำให้ฝ่ายแคนาดามีความเชื่อมั่นในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของไทย อนึ่ง ฝ่ายแคนาดาได้เสนอที่จะให้ความช่วยเหลือฝ่ายไทยในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินนโยบายการเงินแบบใหม่ที่มีการกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation targeting policy) ที่แคนาดาได้ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ด้วย
ความร่วมมือพหุภาคี ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนท่าทีในเรื่องการประชุมผู้นำเศรษฐกิจของเอเปคที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ที่ประเทศบรูไน และไทยได้ตอบรับให้การสนับสนุนแคนาดาในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคโนโลยี่ชีวิภาพภายใต้กรอบของเอเปค (APEC Biotech Workshop) ที่จะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2544 ในประเทศไทย ทั้งสองฝ่ายยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่องการเจรจาการค้ารอบใหม่ขององค์การการค้าโลก การที่จีนจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก และแนวโน้มของการเจรจาทำความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area Agreement) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค
ด้านการค้าและการลงทุนทวิภาคี ฝ่ายไทย ได้หยิบยกปัญหาเรื่องการส่งออกสินค้าสัตว์ปีกสดและแช่แข็ง (fresh and frozen poultry) ไปยังแคนาดาซึ่งมีข้อจำกัดในด้านสุขอนามัยสัตว์ (animal health standard) โดยฝ่ายแคนาดายอมรับในเรื่องมาตรฐานสาธารณสุข (public health standard) ของไทย และพร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบฟาร์มสัตว์ปีกของไทย เพื่อพิจารณาออกใบรับรองสุขอนามัยสัตว์ให้ต่อไป นอกจากนี้ฝ่ายไทยยังได้เสนอให้แคนาดาพิจารณา สั่งซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ (gems and jewelry) โดยตรงจากไทยแทนที่จะผ่านตลาดสหรัฐฯ รวมทั้งให้ความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า (Joint Distribution Network-JDN) เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าที่เป็นตราสัญลักษณ์ของประเทศไทย (Thailand brand name) และการเชื่อมโยงข้อมูลการค้าในสื่ออินเตอร์เนตระหว่างกัน ซึ่งฝ่ายแคนาดารับที่จะพิจารณา ในขณะเดียวกันฝ่ายแคนาดาขอให้ไทยพิจารณาลดอัตราภาษีศุลกากรนำเข้าถั่วที่นำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ (feed peas)
ทั้งสองฝ่ายยังได้เห็นพ้องที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของทั้งสองประเทศโดยให้มีการจับคู่ระหว่าง SMEs ที่สนใจจะทำการค้าและร่วมลงทุนระหว่างกัน มีการเผยแพร่ข้อมูล ตลอดจนตัวอย่างความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของทั้งสองประเทศผ่านทางสื่ออินเตอร์เนตมากยิ่งขึ้นโดยจะมอบให้ภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ดำเนินการ
ด้านความร่วมมือทวิภาคี ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะให้มีการจัดตั้งสภาธุรกิจแคนาดา-ไทย (Canada-Thai Business Council) ในประเทศแคนาดา ซึ่งจะเป็นการเสริมกับกิจกรรมของหอการค้าไทย-แคนาดาที่มีอยู่ในประเทศไทยแล้ว นอกจากนี้ ฝ่ายแคนาดาแสดงความสนใจเกี่ยวกับการเปิดเสรีด้านโทรคมนาคมและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของไทย และจะจัดคณะนักธุรกิจเฉพาะสาขา อาทิ ด้านโทรคมนาคม โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงเป็นหัวหน้าคณะเพื่อมาเปิดช่องทางไปสู่การร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
ด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ฝ่ายไทยได้ขอให้แคนาดาชะลอการใช้นโยบายลดความช่วยเหลือทางด้านวิชาการต่อประเทศกำลังพัฒนาเมื่อมีอัตรการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงพอเพียง (progressive disengagement) ไปก่อนและย้ำถึงความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS)
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมด้านเศรษฐกิจครั้งนี้ยังได้าการหารือร่วมกับภาคเอกชน แคนาดาในเรื่องลู่ทางและโอกาสในการลงทุนในประเทศไทย โดยมีที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ (ด้านการลงทุน) ณ นครนิวยอร์ก ร่วมกับผู้แทนภาคเอกชนไทย (นางสุรภีร์ โรจนวงศ์ กรรมการหอการค้าไทย) และผู้แทนภาคเอกชนฝ่ายแคนาดา นำโดย Mr"Peter Van Haren ประธานหอการค้า ไทย-แคนาดา ประจำประเทศไทย เพื่อให้ข้อมูลและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย โดยได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง
ทั้งสองฝ่ายได้มีการลงนามในบันทึกการประชุม (Agreed Minutes) ร่วมกันเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2543 โดยการประชุมครั้งนี้นับว่าเป็นมิติใหม่ที่ได้เริ่มให้ภาคเอกชนของทั้งสองประเทศเข้ามามีบทบาทในการให้เสนอแนะข้อคิดเห็นและร่วมมือระหว่างกันมากยิ่งขึ้น สำหรับการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นที่ประเทศไทยในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยจะได้มีการกำหนดวันประชุมที่แน่นอนผ่านช่องทางการฑูตต่อไป
ผู้ที่สนใจขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองอเมริกาเหนือ กรมอเมริกา และแปซิฟิกใต้กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา โทรศัพท์ 643-5122--จบ--
-อน-
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจแคนาดา-ไทยครั้งที่ 6
(6 th Canada-Thai Bilateral Economic Commission)
ณ กรุงออดตาวา ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 28-29 กันยายน 2543
(วันนี้ 11 ตุลาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนกว่า การประชุมครั้งนี้เป็นไปตามความตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระหว่างรัฐบาลไทยและแคนาดาที่ได้ลงนามกันเมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยที่ผ่านมาต่างฝ่ายผลัดกันจัดประชุมขึ้นประมาณทุกๆ 2 ปี สำหรับการประชุมครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 6 โดยมีนางอินกริด ฮอลล์ (Ms. lngrid Hall) อธิบดีกรมเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระทรวงการต่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศของแคนาดา เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายแคนาดา และดร.สมเกียรติ อริยปรัชญา อธิบดีกรมอเมริการและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศของไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยราชการและภาคเอกชนไทย ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือแลกเปลี่นนข้อคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่
สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินของแต่ละประเทศ ซึ่งฝ่ายไทยได้ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการของรัฐบาลไทยในการฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจและการเงินในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมาหลังจากที่เกิดวิกฤต ทำให้ฝ่ายแคนาดามีความเชื่อมั่นในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของไทย อนึ่ง ฝ่ายแคนาดาได้เสนอที่จะให้ความช่วยเหลือฝ่ายไทยในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินนโยบายการเงินแบบใหม่ที่มีการกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation targeting policy) ที่แคนาดาได้ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ด้วย
ความร่วมมือพหุภาคี ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนท่าทีในเรื่องการประชุมผู้นำเศรษฐกิจของเอเปคที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ที่ประเทศบรูไน และไทยได้ตอบรับให้การสนับสนุนแคนาดาในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคโนโลยี่ชีวิภาพภายใต้กรอบของเอเปค (APEC Biotech Workshop) ที่จะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2544 ในประเทศไทย ทั้งสองฝ่ายยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่องการเจรจาการค้ารอบใหม่ขององค์การการค้าโลก การที่จีนจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก และแนวโน้มของการเจรจาทำความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area Agreement) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค
ด้านการค้าและการลงทุนทวิภาคี ฝ่ายไทย ได้หยิบยกปัญหาเรื่องการส่งออกสินค้าสัตว์ปีกสดและแช่แข็ง (fresh and frozen poultry) ไปยังแคนาดาซึ่งมีข้อจำกัดในด้านสุขอนามัยสัตว์ (animal health standard) โดยฝ่ายแคนาดายอมรับในเรื่องมาตรฐานสาธารณสุข (public health standard) ของไทย และพร้อมที่จะให้มีการตรวจสอบฟาร์มสัตว์ปีกของไทย เพื่อพิจารณาออกใบรับรองสุขอนามัยสัตว์ให้ต่อไป นอกจากนี้ฝ่ายไทยยังได้เสนอให้แคนาดาพิจารณา สั่งซื้ออัญมณีและเครื่องประดับ (gems and jewelry) โดยตรงจากไทยแทนที่จะผ่านตลาดสหรัฐฯ รวมทั้งให้ความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า (Joint Distribution Network-JDN) เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าที่เป็นตราสัญลักษณ์ของประเทศไทย (Thailand brand name) และการเชื่อมโยงข้อมูลการค้าในสื่ออินเตอร์เนตระหว่างกัน ซึ่งฝ่ายแคนาดารับที่จะพิจารณา ในขณะเดียวกันฝ่ายแคนาดาขอให้ไทยพิจารณาลดอัตราภาษีศุลกากรนำเข้าถั่วที่นำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ (feed peas)
ทั้งสองฝ่ายยังได้เห็นพ้องที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของทั้งสองประเทศโดยให้มีการจับคู่ระหว่าง SMEs ที่สนใจจะทำการค้าและร่วมลงทุนระหว่างกัน มีการเผยแพร่ข้อมูล ตลอดจนตัวอย่างความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของทั้งสองประเทศผ่านทางสื่ออินเตอร์เนตมากยิ่งขึ้นโดยจะมอบให้ภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ดำเนินการ
ด้านความร่วมมือทวิภาคี ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะให้มีการจัดตั้งสภาธุรกิจแคนาดา-ไทย (Canada-Thai Business Council) ในประเทศแคนาดา ซึ่งจะเป็นการเสริมกับกิจกรรมของหอการค้าไทย-แคนาดาที่มีอยู่ในประเทศไทยแล้ว นอกจากนี้ ฝ่ายแคนาดาแสดงความสนใจเกี่ยวกับการเปิดเสรีด้านโทรคมนาคมและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของไทย และจะจัดคณะนักธุรกิจเฉพาะสาขา อาทิ ด้านโทรคมนาคม โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงเป็นหัวหน้าคณะเพื่อมาเปิดช่องทางไปสู่การร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
ด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ฝ่ายไทยได้ขอให้แคนาดาชะลอการใช้นโยบายลดความช่วยเหลือทางด้านวิชาการต่อประเทศกำลังพัฒนาเมื่อมีอัตรการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงพอเพียง (progressive disengagement) ไปก่อนและย้ำถึงความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS)
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมด้านเศรษฐกิจครั้งนี้ยังได้าการหารือร่วมกับภาคเอกชน แคนาดาในเรื่องลู่ทางและโอกาสในการลงทุนในประเทศไทย โดยมีที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ (ด้านการลงทุน) ณ นครนิวยอร์ก ร่วมกับผู้แทนภาคเอกชนไทย (นางสุรภีร์ โรจนวงศ์ กรรมการหอการค้าไทย) และผู้แทนภาคเอกชนฝ่ายแคนาดา นำโดย Mr"Peter Van Haren ประธานหอการค้า ไทย-แคนาดา ประจำประเทศไทย เพื่อให้ข้อมูลและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย โดยได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง
ทั้งสองฝ่ายได้มีการลงนามในบันทึกการประชุม (Agreed Minutes) ร่วมกันเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2543 โดยการประชุมครั้งนี้นับว่าเป็นมิติใหม่ที่ได้เริ่มให้ภาคเอกชนของทั้งสองประเทศเข้ามามีบทบาทในการให้เสนอแนะข้อคิดเห็นและร่วมมือระหว่างกันมากยิ่งขึ้น สำหรับการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นที่ประเทศไทยในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยจะได้มีการกำหนดวันประชุมที่แน่นอนผ่านช่องทางการฑูตต่อไป
ผู้ที่สนใจขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองอเมริกาเหนือ กรมอเมริกา และแปซิฟิกใต้กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา โทรศัพท์ 643-5122--จบ--
-อน-