ภูมิหลัง
โครงการ GSP ของสหภาพยุโรปเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป ทั้งนี้ อยู่ในช่วงระยะที่ 2 และจะหมดโครงการในปี 2001 และสหภาพยุโรปกำลังทบทวนโครงการช่วงระยะที่ 3 ใหม่
สาระสำคัญและผลกระทบจากโครงการ GSP ระยะที่ 2 ที่เกิดกับการส่งออกของไทย คือ การยกเลิกระบบ Tariff Quota และหันมาใช้ระบบการลดภาษีนำเข้าตามอ่อนไหวของสินค้า (Sensitivity) แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
- Very Sensitive ลด 15%
- Sensitive ลด 30%
- Semi-Sensitive ลด 65%
- Non-Sensitive ลด 100%
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงการ GSP ของสหภาพยุโรป ระยะที่ 2 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย 3 กลุ่ม โดยต้องถูกตัด GSP ลง 50% จนถึงสิ้นปี 1998 และถูกตัด GSP ทั้งหมด 100% ตั้งแต่ 1 มกราคม 1999 - 31 ธันวาคม 2001 ทำให้สินค้าเกษตรไทยไม่สามารถแข่งขันในตลาดสหภาพยุโรปได้ โดยเฉพาะ การส่งออกกุ้ง ซึ่งจัดเป็นสินค้า Semi-Sensitive ผลที่เกิดจากการถูกตัด GSP นับแต่ปี 1998 สินค้ากุ้งไทยส่งเข้าไปสหภาพยุโรปต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงที่สุดเพียงประเทศเดียว คือ กุ้งแช่แข็ง (14.4%) และกุ้งต้ม (20%) เป็นต้น ขณะที่ประเทศอื่นๆ อาทิ มาดากัสการ์ เซเนกัล เฟรนซ์ เกียนา ไม่ต้องเสียภาษี (0%) หรือเสียในอัตราที่ต่ำ เช่น เอกวาดอร์ (3.6%) อินโดนีเซีย (4.5%) เวียดนาม (4.5%) พม่า (4.5%) อินเดีย (4.5%) เป็นต้น ภายหลังจากถูกตัด GSP เมื่อปี 1999 ปริมาณการส่งออกกุ้งไทยไปสหภาพยุโรปเหลือเพียง 14,700 ตัน ลดลงกว่า 60% ขณะที่สหภาพยุโรปมีการนำเข้ากุ้งถึง 400,000-500,000 ตันต่อปี
กระทรวงพาณิชย์ได้พยายาม แก้ไขปัญหาการถูกตัด GSP ของไทย ส่วนหนึ่งที่ดำเนินการ คือ เจรจากับสหภาพยุโรปทุกกรอบเวทีการเจรจา ทั้งระดับทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี ให้ปรับปรุงโครงการ GSP ในที่สุด เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2001 คณะกรรมาธิการร่วมสหภาพยุโรป ได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอแนะ
สำหรับโครงการ GSP ใหม่ ระหว่างปี 2002-2004 โดยมีสำระสำคัญ ดังนี้
- การปรับปรุงโครงการให้ง่ายขึ้น (Simplification) เช่น การจำแนกประเภทสินค้าลดเหลือเพียง 2 กลุ่ม คือ Non-Sensitive (คงใช้อัตรา 0% เช่นเดิม) และกลุ่ม Sensitive (ลดภาษี 3.5% จากอัตราปกติ)
- การคำนวณการตัดสิทธิ (Graduation) ให้เปิดการพิจารณารายปี จากเดิมพิจารณาครั้งเดียวเมื่อเริ่มโครงการ และวิธีการพิจารณาหากปรากฏว่าประเทศใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะถูกตัดสิทธิในช่วง 3 ปีติดต่อกัน ก็จะมีระบบ Early warning แต่หากประเทศใดไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้นก็จะได้รับสิทธิใหม่ (re-inclusion)
การใช้หลักการ Simplification ภายใต้โครงการใหม่มีข้อดีและข้อเสียดังนี้
ข้อดี
- หากเป็นสินค้าที่จะได้สิทธิ GSP ในอัตราที่ต่ำกว่าเดิม และสำหรับไทยเป็นสินค้าในกลุ่มซึ่งได้ถูกตัดสิทธิฯ ไปแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์กับไทย กล่าวคือ เท่ากับเป็นการลดความได้เปรียบของสินค้าจากประเทศคู่แข่งอื่นๆ ซึ่งยังคงได้รับ GSP สูงอยู่
ข้อเสีย
- สินค้าบางรายการอาจได้รับสิทธิฯ น้อยกว่าเดิม ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอัตราปกติของสินค้านั้นๆ และขึ้นอยู่กับว่าสินค้านั้นเคยอยู่ในกลุ่มใดในโครงการเดิม เช่น หากอัตราภาษีปกติเท่ากับ 25% เมื่อได้รับการลด 3.5% อัตรา GSP ที่ได้จะเท่ากับ 21.5% ซึ่งเท่ากับได้ลดเพียง 14% จากอัตราปกติ แต่หากภาษีปกติต่ำ เช่น 7% ภาษีอัตรา GSP จะเท่ากับ 3.5% เท่ากับได้รับการลด 50%
อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาอื่นๆ ไทยถูกตัดสิทธิ GSP ดังนั้น ส่วนต่างของอัตราภาษี GSP จะน้อยลงน่าจะเป็นผลดีต่อไทย ในกรณีของกุ้ง สถานะของไทยจะดีขึ้น กล่าวคือ ภาษีจะลดจาก 14.4 % เป็น 10.9 % เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่กำลังพัฒนาอื่น ๆ ซึ่งเสียภาษี 4.5 %
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มิถุนายน 2544--
-ปส-
โครงการ GSP ของสหภาพยุโรปเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป ทั้งนี้ อยู่ในช่วงระยะที่ 2 และจะหมดโครงการในปี 2001 และสหภาพยุโรปกำลังทบทวนโครงการช่วงระยะที่ 3 ใหม่
สาระสำคัญและผลกระทบจากโครงการ GSP ระยะที่ 2 ที่เกิดกับการส่งออกของไทย คือ การยกเลิกระบบ Tariff Quota และหันมาใช้ระบบการลดภาษีนำเข้าตามอ่อนไหวของสินค้า (Sensitivity) แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
- Very Sensitive ลด 15%
- Sensitive ลด 30%
- Semi-Sensitive ลด 65%
- Non-Sensitive ลด 100%
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงการ GSP ของสหภาพยุโรป ระยะที่ 2 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย 3 กลุ่ม โดยต้องถูกตัด GSP ลง 50% จนถึงสิ้นปี 1998 และถูกตัด GSP ทั้งหมด 100% ตั้งแต่ 1 มกราคม 1999 - 31 ธันวาคม 2001 ทำให้สินค้าเกษตรไทยไม่สามารถแข่งขันในตลาดสหภาพยุโรปได้ โดยเฉพาะ การส่งออกกุ้ง ซึ่งจัดเป็นสินค้า Semi-Sensitive ผลที่เกิดจากการถูกตัด GSP นับแต่ปี 1998 สินค้ากุ้งไทยส่งเข้าไปสหภาพยุโรปต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงที่สุดเพียงประเทศเดียว คือ กุ้งแช่แข็ง (14.4%) และกุ้งต้ม (20%) เป็นต้น ขณะที่ประเทศอื่นๆ อาทิ มาดากัสการ์ เซเนกัล เฟรนซ์ เกียนา ไม่ต้องเสียภาษี (0%) หรือเสียในอัตราที่ต่ำ เช่น เอกวาดอร์ (3.6%) อินโดนีเซีย (4.5%) เวียดนาม (4.5%) พม่า (4.5%) อินเดีย (4.5%) เป็นต้น ภายหลังจากถูกตัด GSP เมื่อปี 1999 ปริมาณการส่งออกกุ้งไทยไปสหภาพยุโรปเหลือเพียง 14,700 ตัน ลดลงกว่า 60% ขณะที่สหภาพยุโรปมีการนำเข้ากุ้งถึง 400,000-500,000 ตันต่อปี
กระทรวงพาณิชย์ได้พยายาม แก้ไขปัญหาการถูกตัด GSP ของไทย ส่วนหนึ่งที่ดำเนินการ คือ เจรจากับสหภาพยุโรปทุกกรอบเวทีการเจรจา ทั้งระดับทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี ให้ปรับปรุงโครงการ GSP ในที่สุด เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2001 คณะกรรมาธิการร่วมสหภาพยุโรป ได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอแนะ
สำหรับโครงการ GSP ใหม่ ระหว่างปี 2002-2004 โดยมีสำระสำคัญ ดังนี้
- การปรับปรุงโครงการให้ง่ายขึ้น (Simplification) เช่น การจำแนกประเภทสินค้าลดเหลือเพียง 2 กลุ่ม คือ Non-Sensitive (คงใช้อัตรา 0% เช่นเดิม) และกลุ่ม Sensitive (ลดภาษี 3.5% จากอัตราปกติ)
- การคำนวณการตัดสิทธิ (Graduation) ให้เปิดการพิจารณารายปี จากเดิมพิจารณาครั้งเดียวเมื่อเริ่มโครงการ และวิธีการพิจารณาหากปรากฏว่าประเทศใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะถูกตัดสิทธิในช่วง 3 ปีติดต่อกัน ก็จะมีระบบ Early warning แต่หากประเทศใดไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้นก็จะได้รับสิทธิใหม่ (re-inclusion)
การใช้หลักการ Simplification ภายใต้โครงการใหม่มีข้อดีและข้อเสียดังนี้
ข้อดี
- หากเป็นสินค้าที่จะได้สิทธิ GSP ในอัตราที่ต่ำกว่าเดิม และสำหรับไทยเป็นสินค้าในกลุ่มซึ่งได้ถูกตัดสิทธิฯ ไปแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์กับไทย กล่าวคือ เท่ากับเป็นการลดความได้เปรียบของสินค้าจากประเทศคู่แข่งอื่นๆ ซึ่งยังคงได้รับ GSP สูงอยู่
ข้อเสีย
- สินค้าบางรายการอาจได้รับสิทธิฯ น้อยกว่าเดิม ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอัตราปกติของสินค้านั้นๆ และขึ้นอยู่กับว่าสินค้านั้นเคยอยู่ในกลุ่มใดในโครงการเดิม เช่น หากอัตราภาษีปกติเท่ากับ 25% เมื่อได้รับการลด 3.5% อัตรา GSP ที่ได้จะเท่ากับ 21.5% ซึ่งเท่ากับได้ลดเพียง 14% จากอัตราปกติ แต่หากภาษีปกติต่ำ เช่น 7% ภาษีอัตรา GSP จะเท่ากับ 3.5% เท่ากับได้รับการลด 50%
อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาอื่นๆ ไทยถูกตัดสิทธิ GSP ดังนั้น ส่วนต่างของอัตราภาษี GSP จะน้อยลงน่าจะเป็นผลดีต่อไทย ในกรณีของกุ้ง สถานะของไทยจะดีขึ้น กล่าวคือ ภาษีจะลดจาก 14.4 % เป็น 10.9 % เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่กำลังพัฒนาอื่น ๆ ซึ่งเสียภาษี 4.5 %
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มิถุนายน 2544--
-ปส-