ผลการตรวจสอบสถานภาพโรงงานผู้ผลิตสิ่งทอรับอนุญาต ช่วงพ.ค.-ก.ค. พบโรงงานขาดคุณสมบัติพร้อมพักทะเบียน 44 ราย และเตรียมยึดโควตาคืนหากไม่แก้ไขให้ถูกระเบียบ ส่วน 22 ก.ค. นี้ก็จะเปิดประมูลโควตากองกลาง ครั้งที่ 3 ส่งไป สหรัฐฯ EU แคนาดา รวม 26 รายการ
นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการประกอบกิจการโรงงานของผู้ส่งออกที่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาต และได้รับจัดสรรโควตาส่งออกไปยังประเทศที่มีข้อตกลงสิ่งทอกับประเทศไทย โดยมุ่งเน้นตรวจสอบโรงงานผู้ผลิตและส่งออกสิ่งทอในรายการสินค้าที่มีความต้องการโควตาสูง รายการสินค้าที่มีการยื่นขอรับจัดสรรโควตาส่งออกเป็นจำนวนมาก และรายการที่มีลักษณะการผลิตเฉพาะจึงจะสามารถผลิตได้
วัตถุประสงค์ในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบโรงงานดังกล่าวมีหลายประการ ดังนี้
1. เพื่อตรวจสอบว่า ผู้ส่งออกมีคุณสมบัติถูกต้องตามระเบียบกระทรวงพาณิชย์ที่ใช้บังคับในปี 2543 สำหรับการส่งออกสิ่งทอไปยังประเทศที่มีข้อตกลงหรือไม่ กล่าวคือ ผู้ส่งออกที่มีสิทธิขอรับจัดสรรโควตาจะต้องเป็นผู้ประกอบกิจการโรงงานผลิตสิ่งทอที่ส่งออกหรือที่จะส่งออก
2. เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหากรณีที่ผู้ส่งออกได้รับการจัดสรรโควตาไปแล้ว แต่ไม่ได้ทำการผลิตหรือไม่สามารถผลิตสินค้ารายการนั้นได้ และนำโควตาไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง
3. เพื่อเป็นการป้องกันกรณีการนำเข้าสินค้าสิ่งทอสำเร็จรูปจากประเทศที่สามแล้ว ส่งต่อไปยังประเทศผู้นำเข้าที่มีข้อตกลง โดยแอบอ้างว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดและใช้โควตาของประเทศไทย
สำหรับผลการตรวจสอบการประกอบกิจการโรงงานซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2543 ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 ที่ผ่านมา สรุปได้คือ จากจำนวนโรงงานผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตที่ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบจำนวน 517 ราย พบว่าโรงงานที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามระเบียบมีจำนวน 417 ราย โรงงานที่มีจำนวนคนงานหรือเครื่องจักรไม่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ซึ่งจะต้องปรับปรุงคุณสมบัติให้ถูกต้องจำนวน 56 ราย โรงงานที่ไม่ได้ผลิตรวมทั้งโรงงานที่ไม่สามารถเข้าตรวจสอบได้ และโรงงานที่ไม่พบที่ตั้งตามที่ได้จดทะเบียนไว้ ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการพักทะเบียนการเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตจำนวน 44 ราย ทั้งนี้เมื่อได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในระเบียบจนถึงที่สุดแล้ว กรมการค้าต่างประเทศจะยึดคืนโควตาจากผู้ส่งออกที่มีคุณสมบัติไม่ถูกต้องดังกล่าว เพื่อนำไปรวมเป็นโควตากองกลางพิจารณาจัดสรรให้ผู้ส่งออกต่อไป
กรมการค้าต่างประเทศจะดำเนินการตรวจสอบโรงงานผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารโควตาส่งออกสิ่งทอของประเทศไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้มีการใช้ประโยชน์สูงสุดจากปริมาณโควตาที่ประเทศไทยได้รับจัดสรรตามข้อตกลงกับประเทศผู้นำเข้าและเป็นการขจัดพฤติกรรมการเป็นเสือนอนกินของผู้ครอบครองโควตาที่ไม่มีการผลิตการส่งออกที่แท้จริง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมคุ้มครองผู้ผลิตผู้ส่งออกสิ่งทอที่สุจริตและมีความตั้งใจจริงในการส่งออก
นายเกริกไกร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการตรวจสอบดังกล่าวแล้ว ในวันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคมนี้ กรมการค้าต่างประเทศก็จะทำการประมูลโควตากองกลางเครื่องนุ่งห่ม ประจำเดือน มิถุนายน 2543 ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ของช่วงที่ 1 (มี.ค — ส.ค 43) โดยสินค้าที่นำมาประมูลเป็นรายการที่มีความต้องการส่งออกสูง คือ สหรัฐอเมริกา 14 รายการ เช่น เสื้อยืดโปโลทำจากฝ้าย 75,166 โหล เสื้อสเว็ตเตอร์ 12,454 โหล กางเกงบุรุษ-สตรีผ้าฝ้าย 34,332 โหล เสื้อยืดผ้าใยประดิษฐ์ 88,376 โหล เป็นต้น แคนาดา 10 รายการ เช่น กางเกง 103,275 ชิ้น เสื้อเชิ้ตมีสาบเสื้อ 66,448 ชิ้น เสื้อผ้าสตรี 62,343 ชิ้น เป็นต้น และ สหภาพยุโรป 2 รายการ การจัดสรรโควตากองกลางโดยวิธีประมูลนับเป็นวิธีการที่มีความโปร่งใส เปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตที่มีความต้องการใช้โควตาอย่างแท้จริงได้แข่งขันกันอย่างยุติธรรม นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันการ รวมตัวกัน(ฮั้ว) ระหว่างผู้ส่งออกที่ยื่นประมูลด้วยและจะไม่เป็นการเพิ่มภาระต่อผู้ส่งออกแต่อย่างใด
--กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2543--
-อน-
นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการประกอบกิจการโรงงานของผู้ส่งออกที่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาต และได้รับจัดสรรโควตาส่งออกไปยังประเทศที่มีข้อตกลงสิ่งทอกับประเทศไทย โดยมุ่งเน้นตรวจสอบโรงงานผู้ผลิตและส่งออกสิ่งทอในรายการสินค้าที่มีความต้องการโควตาสูง รายการสินค้าที่มีการยื่นขอรับจัดสรรโควตาส่งออกเป็นจำนวนมาก และรายการที่มีลักษณะการผลิตเฉพาะจึงจะสามารถผลิตได้
วัตถุประสงค์ในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบโรงงานดังกล่าวมีหลายประการ ดังนี้
1. เพื่อตรวจสอบว่า ผู้ส่งออกมีคุณสมบัติถูกต้องตามระเบียบกระทรวงพาณิชย์ที่ใช้บังคับในปี 2543 สำหรับการส่งออกสิ่งทอไปยังประเทศที่มีข้อตกลงหรือไม่ กล่าวคือ ผู้ส่งออกที่มีสิทธิขอรับจัดสรรโควตาจะต้องเป็นผู้ประกอบกิจการโรงงานผลิตสิ่งทอที่ส่งออกหรือที่จะส่งออก
2. เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหากรณีที่ผู้ส่งออกได้รับการจัดสรรโควตาไปแล้ว แต่ไม่ได้ทำการผลิตหรือไม่สามารถผลิตสินค้ารายการนั้นได้ และนำโควตาไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง
3. เพื่อเป็นการป้องกันกรณีการนำเข้าสินค้าสิ่งทอสำเร็จรูปจากประเทศที่สามแล้ว ส่งต่อไปยังประเทศผู้นำเข้าที่มีข้อตกลง โดยแอบอ้างว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดและใช้โควตาของประเทศไทย
สำหรับผลการตรวจสอบการประกอบกิจการโรงงานซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2543 ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 ที่ผ่านมา สรุปได้คือ จากจำนวนโรงงานผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตที่ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบจำนวน 517 ราย พบว่าโรงงานที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามระเบียบมีจำนวน 417 ราย โรงงานที่มีจำนวนคนงานหรือเครื่องจักรไม่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ซึ่งจะต้องปรับปรุงคุณสมบัติให้ถูกต้องจำนวน 56 ราย โรงงานที่ไม่ได้ผลิตรวมทั้งโรงงานที่ไม่สามารถเข้าตรวจสอบได้ และโรงงานที่ไม่พบที่ตั้งตามที่ได้จดทะเบียนไว้ ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการพักทะเบียนการเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตจำนวน 44 ราย ทั้งนี้เมื่อได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในระเบียบจนถึงที่สุดแล้ว กรมการค้าต่างประเทศจะยึดคืนโควตาจากผู้ส่งออกที่มีคุณสมบัติไม่ถูกต้องดังกล่าว เพื่อนำไปรวมเป็นโควตากองกลางพิจารณาจัดสรรให้ผู้ส่งออกต่อไป
กรมการค้าต่างประเทศจะดำเนินการตรวจสอบโรงงานผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารโควตาส่งออกสิ่งทอของประเทศไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้มีการใช้ประโยชน์สูงสุดจากปริมาณโควตาที่ประเทศไทยได้รับจัดสรรตามข้อตกลงกับประเทศผู้นำเข้าและเป็นการขจัดพฤติกรรมการเป็นเสือนอนกินของผู้ครอบครองโควตาที่ไม่มีการผลิตการส่งออกที่แท้จริง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมคุ้มครองผู้ผลิตผู้ส่งออกสิ่งทอที่สุจริตและมีความตั้งใจจริงในการส่งออก
นายเกริกไกร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการตรวจสอบดังกล่าวแล้ว ในวันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคมนี้ กรมการค้าต่างประเทศก็จะทำการประมูลโควตากองกลางเครื่องนุ่งห่ม ประจำเดือน มิถุนายน 2543 ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ของช่วงที่ 1 (มี.ค — ส.ค 43) โดยสินค้าที่นำมาประมูลเป็นรายการที่มีความต้องการส่งออกสูง คือ สหรัฐอเมริกา 14 รายการ เช่น เสื้อยืดโปโลทำจากฝ้าย 75,166 โหล เสื้อสเว็ตเตอร์ 12,454 โหล กางเกงบุรุษ-สตรีผ้าฝ้าย 34,332 โหล เสื้อยืดผ้าใยประดิษฐ์ 88,376 โหล เป็นต้น แคนาดา 10 รายการ เช่น กางเกง 103,275 ชิ้น เสื้อเชิ้ตมีสาบเสื้อ 66,448 ชิ้น เสื้อผ้าสตรี 62,343 ชิ้น เป็นต้น และ สหภาพยุโรป 2 รายการ การจัดสรรโควตากองกลางโดยวิธีประมูลนับเป็นวิธีการที่มีความโปร่งใส เปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตที่มีความต้องการใช้โควตาอย่างแท้จริงได้แข่งขันกันอย่างยุติธรรม นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันการ รวมตัวกัน(ฮั้ว) ระหว่างผู้ส่งออกที่ยื่นประมูลด้วยและจะไม่เป็นการเพิ่มภาระต่อผู้ส่งออกแต่อย่างใด
--กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2543--
-อน-