4.1 แนวโน้มความสัมพันธ์ทางด้านการค้า
คาดว่ามูลค่าการค้าระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมูลค่าการส่งออกสินค้าสู่สหภาพยุโรปมีอัตราการเติบโตอยู่ในระดับที่น่าพอใจ (ปี 2540 ร้อยละ 28.5 และปี 2541 ร้อยละ 38.1) การส่งออกสินค้าสู่สหภาพยุโรปหลายรายการมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยในระดับสูง เช่น ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานพาหนะ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน แผงวงจรและอุปกรณ์ สัตว์ปีกแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า ข้าว และอุปกรณ์โทรคมนาคม (อัตราการเติบโตเฉลี่ยช่วงปี 2538-2541 ร้อยละ 81.3 54.8 46.1 38.3 31.9 26.4 26.3 และ 23.6 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตามในสินค้าบางรายการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง และยางมีแนวโน้มการส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนการนำเข้ามีแนวโน้มลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้ากับสหภาพยุโรปมากขึ้น
ผลจากการรวมยุโรปเป็นตลาดเดียวจะเป็นช่องทางให้ไทยสามารถเข้าไปเปิดตลาดได้ง่ายขึ้น การใช้ระบบ Free trade ภายในกลุ่มเปิดโอกาสให้บริษัทที่ต้องการเปิดตลาดในยุโรปจดทะเบียนเพียงแต่ในประเทศใดประเทศหนึ่งแต่จะสามารถส่งสินค้าขายได้ทั่วกลุ่มประเทศสมาชิก อย่างไรก็ตามหากไม่ใช้กลยุทธทางการตลาดเชิงรุกและปรับปรุงสินค้าให้ได้มาตรฐานยุโรปก็จะทำให้เสียส่วนแบ่งตลาดให้ประเทศอื่นไปก่อนได้
โอกาสทางการค้ายังขึ้นอยู่กับโครงการ GSP ของสหภาพยุโรป ปัจจุบันสหภาพยุโรปได้พิจารณาการปรับปรุงระบบและต่ออายุโครงการ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปซึ่งเป็นผู้จัดทำร่างโครงการ GSP ใหม่ ได้ขยายอายุของโครงการต่อไปอีก 3 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2542 - 31 ธันวาคม 2544 และได้รับความเห็นชอบจากคณะมนตรียุโรปแล้ว
4.2 แนวโน้มความสัมพันธ์ด้านการลงทุน
คาดว่า FDI จะมีแนวโน้มที่ดีในระยะยาว แม้ว่าในระยะสั้นเมื่อตลาดยุโรปรวมกันจะกลายเป็นตลาดที่ใหญ่และมีแนวโน้มการเติบโตสูงก็จะดึงดูดเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าไปเพื่อตั้งโรงงานเพื่อสร้างฐานเตรียมพร้อมสำหรับตลาดที่กว้างขึ้น เงินทุนอาจไหลจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นไปยังยุโรปเพื่อฉวยโอกาสทางการตลาด และอาจส่งผลให้เงินทุนที่ไหลเข้าประเทศอื่นรวมทั้งประเทศไทยลดลง อย่างไรก็ตามการไหลเข้าของเงินทุนสู่ยุโรปจะทำให้ยุโรปมีความสามารถในการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อแข่งขันและเปิดตลาดในเอเซียซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีโอกาสที่จะได้รับเงินลงทุนดังกล่าว
ผลจากการใช้เงินสกุลเดียวกันและสภาวะเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกันของกลุ่มประเทศ EMU จะทำให้โอกาสเพิ่มอัตราผลตอบแทนของนักลงทุนที่เกิดจากการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง (Diversification) ลดน้อยลงไป การกระจายความเสี่ยงจะเกิดขึ้นเมื่อขยายการลงทุนออกไปนอกกลุ่มเท่านั้น ซึ่งอาจส่งผลให้การไหลเข้าของเงินทุนจากยุโรปสู่ตลาดทุนในเอเซียเพิ่มขึ้น
นอกจากนั้นการใช้เงินสกุลยูโรยังทำให้ไทยมีทางเลือกในการระดมทุนจากตลาดทุนทั้งในรูปตราสารหนี้และพันธบัตร รวมทั้งสามารถกู้ยืมเงินสกุลยูโรจากตลาดเงินในยุโรปถ้าเงินสกุลยูโรมีเสถียรภาพและมีดอกเบี้ยต่ำ ไทยก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้นเพราะสามารถลดการพึ่งพาเงินทุนจากญี่ปุ่นที่ปัจจุบันมีสัดส่วนสูง รวมทั้งลดความเสี่ยงจากความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลเยน และดอลลาร์ สรอ.
4.3 แนวโน้มความสัมพันธ์ภายใต้กรอบของ Asia-Europe Meeting : ASEM
กลุ่มประเทศอาเซียนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับยุโรป แต่เนื่องจากยุโรปให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศที่มีพื้นที่ติดต่อกันและมีความใกล้ชิดมากกว่า ทำให้กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะห่างเหินจากอาเซียนมากขึ้น อาเซียนตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของยุโรปและเห็นความสำคัญของยุโรปที่เป็นภูมิภาคที่มีความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจและเป็นตลาดที่มีอนาคต สามารถให้ความร่วมมือกับอาเซียนแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและช่วยพัฒนาในด้านต่างๆ ได้ อาเซียนจึงเป็นแกนนำในการจัดการประชุม ASEM โดยมุ่งหมายให้เป็นการประชุมเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเซียกับยุโรป ครอบคลุมเรื่องการเมือง เศรษฐกิจและการเงิน ตลอดจนกิจกรรมด้านอื่นๆ เพื่อให้ประเทศสมาชิกเกิดความเข้าใจกันมากขึ้นและมีทัศนะที่ดีต่อกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างสองภูมิภาคในระยะยาว
ภายใต้ขบวนการของ ASEM มีการจัดการประชุมขึ้นในหลายระดับ ประกอบด้วย
การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเซีย-ยุโรป (Economic Ministers ’ Meeting : EMM) จัดขึ้นทุก 2 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หารือเรื่องการค้าและการลงทุน ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2540 ที่ประเทศญี่ปุ่น ส่วนครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม 2542 ณ นครเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการค้าและการลงทุน (Senior Officials Meeting on Trade and Investment : SOMTI) เป็นจัดขึ้นประจำเพื่อหารือประเด็นต่างๆ และเตรียมการเพื่อเสนอที่ประชุมผู้นำตัดสินใจต่อไป การประชุมในระดับนี้จัดขึ้นแล้ว 4 ครั้ง การประชุมสภาธุรกิจเอเซีย-ยุโรป (Asia-Europe Business Forum : AEBF) ซึ่งมีการประชุมเป็นประจำทุกปี โดยเป็นการประชุมผู้นำภาคเอกชนของประเทศสมาชิกเพื่อหารือถึงความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาคเอกชนเอเซียและยุโรป จัดทำข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนเสนอภาครัฐบาล ที่ผ่านมาประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง และครั้งที่ 4 จะมีขึ้นในเดือนกันยายน 2542 ที่กรุงโซล การประชุม ASEM จัดมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี 2539 และครั้งที่ 2 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ในปี 2540 ครั้งที่ 3 จะจัดขึ้นที่กรุงโซล เกาหลีใต้ในปี 2543
ผลของการประชุม ASEM 2 ที่เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจมีดังนี้
ยุโรปให้ความมั่นใจว่าการรวมตัวของยุโรปจะไม่เป็นการปิดกั้นทางการค้า และได้ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจในเอเซีย โดยผู้นำเอเซียและยุโรปเห็นว่าองค์กรสินเชื่อเพื่อการส่งออก (Export Credit Agencies) ควรจัดสรรสินเชื่อพิเศษเพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องระยะสั้นให้แก่ภาคการส่งออกของประเทศเอเซียที่ได้รับผลกระทบ ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวเห็นว่าจะต้องมีการส่งเสริมความร่วมมือทางเทคนิคและวิชาการ เพื่อปรับโครงสร้างภาคการเงินและธนาคารในเอเซีย และให้มีระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติการณ์ขึ้นในอนาคต นอกจากนี้จะต้องหาแนวทางป้องกันการเก็งกำไรในตลาดการเงินระหว่างประเทศ ผู้นำเอเซียและยุโรปได้ร่วมกันสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนเอเซีย-ยุโรป (ASEM Trust Fund) ภายใต้การบริหารของธนาคารโลก เพื่อช่วยเหลือประเทศในเอเซียที่ประสบวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงิน และสนับสนุนโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจด้านการเงินและสังคมร่วมกับองค์กรการเงินระหว่างประเทศ โดยอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของเงินทุนจะต้องใช้เพื่อประเทศที่มีรายได้ต่ำและประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ กองทุนอาเซ็มได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2541 โดยมีประเทศในเอเซียที่ได้รับเงินช่วยเหลือ 7 ประเทศ ประเทศไทยได้รับการอนุมัติให้ใช้เงินจากกองทุนสำหรับ 6 โครงการมูลค่าทั้งสิ้น 3.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. จัดตั้งเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน (The European Financial Expertise Network : EFEX) ภายใต้การบริหารของคณะกรรมาธิการยุโรป โดยเป็นเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจากทั้งยุโรปและเอเซีย เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการในการปฏิรูประบบการเงินแก่ประเทศในเอเซียที่เป็นสมาชิกในกลุ่มเอเซีย-ยุโรป ความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านการค้าและการลงทุน ผู้นำเอเซียและยุโรปได้รับรองแผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกด้านการค้า (Trade Facilitation Action Plan : TFAP) และแผนปฏิบัติการส่งเสริมการลงทุน (Investment Promotion Action Plan : IPAP) และให้ความสำคัญกับโครงการที่ส่งเสริมการค้าและการลงทุนสองทางระหว่างสมาชิกเอเซีย-ยุโรป นอกจากนี้ได้สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเอเซีย เรื่องที่เกี่ยวกับองค์การการค้าโลก ผู้นำเอเซียและยุโรปได้ยืนยันที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีที่ได้ตกลงไว้ภายใต้องค์การการค้าโลกอย่างเต็มที่ รวมทั้งการปฏิบัติตามเรื่องที่ได้ระบุไว้ (Built-in Agenda) ภายใต้เงื่อนเวลาที่ได้ตกลงกัน สำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกที่จะมีขึ้น ณ นครเจนีวา ทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะให้ร่วมมือกันและเตรียมวาระการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งต่อไปโดยให้มีการเปิดการค้าให้เสรีมากขึ้น นอกจากนี้จะพยายามเร่งรัดให้ประเทศสมาชิกเอเซีย-ยุโรปได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกโดยเร็ว ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับภาคเอกชน ผู้นำเอเซียและยุโรปตระหนักถึงความสำคัญของภาคธุรกิจ-เอกชน ในการเสริมสร้างการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างเอเซีย-ยุโรป โดยเฉพาะการประชุมสภาธุรกิจเอเซีย-ยุโรป (AEBF) ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมขบวนการนี้อย่างมาก คาดว่าแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปภายใต้กรอบของ ASEM จะดำเนินไปได้ด้วยดี เนื่องจากมีโครงสร้างความสัมพันธ์ในหลายระดับชั้นซึ่งจะส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีเวทีสำหรับหารือแนวทางความร่วมมือในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ AEBF ซึ่งนำโดยภาคเอกชนคาดว่าจะมีบทบาทผลักดันข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการค้าและการลงทุน ก่อให้เกิดการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนระหว่างภูมิภาคทั้งสอง นอกจากนั้นการประชุมในระดับสูงขึ้นไปจะช่วยประสานด้านการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ที่มีความแตกต่างกันให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันได้ และการประชุมที่ผ่านมาจะเห็นว่าเอเซียได้ให้ความสำคัญต่อยุโรปมากขึ้น และยุโรปก็เริ่มให้ความสนใจเอเซียมากขึ้นกว่าเดิม
สรุป แนวโน้มความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปในอนาคต
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปในด้านการค้า ผลจากการพัฒนาของสหภาพยุโรปโดยเฉพาะ EMU ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการประกอบการภายในกลุ่มให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้นทุนและราคาสินค้าถูกลงจากการแข่งขันที่สูงขึ้นและราคาที่โปร่งใส ทำให้ยากต่อการเข้าสู่ตลาดจากภายนอกกลุ่มรวมทั้งสินค้าจากไทย อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกของไทยสู่สหภาพยุโรปที่ผ่านมาขยายตัวแสดงถึงความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในหลายรายการที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดนี้ ความสำเร็จของ EMU จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลกระทบต่อไทย ถ้าเงินสกุลยูโรประสบความสำเร็จจะเกื้อหนุนให้เศรษฐกิจของ EMU เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ตลาดโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพและความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย แต่ถ้าเงินสกุลยูโรไม่ประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากข้อจำกัดของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและความแตกต่างด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิก อาจก่อให้เกิดแรงกดดันให้มีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าเพื่อคุ้มครองผู้ผลิตภายในกลุ่มซึ่งจะส่งผลเสียต่อภาคการส่งออก จากมูลค่าการลงทุนจากสหภาพยุโรปในไทยที่เพิ่มขึ้นมาก คาดว่าแนวโน้มความสัมพันธ์ด้านการลงทุนของสหภาพยุโรปในไทยจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยเป็นช่องทางให้สหภาพยุโรปเข้ามาเปิดตลาดในภูมิภาคเอเซียได้ และมีการพัฒนาความสัมพันธ์ในระดับพหุพาคีผ่านกรอบของ ASEM ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้น บทบาทของเงินสกุลยูโรและการเป็นเงินสำรองทางการ ในระยะแรกจะไม่เปลี่ยนแปลงสัดส่วนสกุลเงินสกุลยูโรมากนัก เนื่องจากต้องรอดูเสถียรภาพของค่าเงิน ความเชื่อมั่น ตลอดจนผลตอบแทนจากการถือเงินสกุลนี้ นอกจากนั้นโครงสร้างหนี้สินของเงินสำรองทางการ และสกุลเงินที่ใช้แทรกแซงตลาดส่วนใหญ่อยู่ในรูปดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตามคาดว่าในระยะยาวอาจเพิ่มสัดส่วนการถือเงินสกุลยูโรจากระดับปัจจุบัน เนื่องจากการจัดตั้ง EMU ส่งผลให้โอกาสและขอบเขตการลงทุนของเงินสำรองทางการในยุโรปเพิ่มขึ้น และจากขนาดเศรษฐกิจ ตลาดเงิน และตลาดทุนของ EMU ที่มีขนาดรองจากสหรัฐฯ จะส่งเสริมให้เงินสกุลยูโรมีบทบาทในฐานะ international reserve currency มากขึ้น
บรรณานุกรม
กรมการค้าต่างประเทศ เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง “GSP EU & USA และกฏแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO “ 18 ธันวาคม 2541.
ธนาคารกรุงเทพ ฝ่ายวิจัย “ยุโรป 1999 ยูโร เงินสกุลใหม่”, จุลสารธนาคารกรุงเทพ, 2541.
ธนาคารแห่งประเทศไทย “รายงานเศรษฐกิจรายเดือน กุมภาพันธ์ 2542”, ปีที่ 39 เล่มที่ 2, 2542.
ธนาคารแห่งประเทศไทย เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “บทบาทของเงินสกุลยูโร” 18 ธันวาคม 2541.
รังสรรค์ หทัยเสรี “การรวมสกุลเงินและการเข้าสู่สหภาพการเงินยุโรป (EMU) มิติใหม่ของวงการเงินโลกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเงินไทย” , Chulalongkorn Review, ปีที่ 9 ฉบับที่ 35, เมษายน-มิถุนายน 2540.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ “ยุโรป : ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง”, มีนาคม 2538.
IMF “Direction of Trade Statistics Yearbook ”, 1998.
IMF “International Financial Statistics Yearbook ”, Vol. LI, 1998.
IMF “World Economic Outlook ”, May 1998.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
คาดว่ามูลค่าการค้าระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมูลค่าการส่งออกสินค้าสู่สหภาพยุโรปมีอัตราการเติบโตอยู่ในระดับที่น่าพอใจ (ปี 2540 ร้อยละ 28.5 และปี 2541 ร้อยละ 38.1) การส่งออกสินค้าสู่สหภาพยุโรปหลายรายการมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยในระดับสูง เช่น ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานพาหนะ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน แผงวงจรและอุปกรณ์ สัตว์ปีกแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า ข้าว และอุปกรณ์โทรคมนาคม (อัตราการเติบโตเฉลี่ยช่วงปี 2538-2541 ร้อยละ 81.3 54.8 46.1 38.3 31.9 26.4 26.3 และ 23.6 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตามในสินค้าบางรายการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง และยางมีแนวโน้มการส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนการนำเข้ามีแนวโน้มลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้ากับสหภาพยุโรปมากขึ้น
ผลจากการรวมยุโรปเป็นตลาดเดียวจะเป็นช่องทางให้ไทยสามารถเข้าไปเปิดตลาดได้ง่ายขึ้น การใช้ระบบ Free trade ภายในกลุ่มเปิดโอกาสให้บริษัทที่ต้องการเปิดตลาดในยุโรปจดทะเบียนเพียงแต่ในประเทศใดประเทศหนึ่งแต่จะสามารถส่งสินค้าขายได้ทั่วกลุ่มประเทศสมาชิก อย่างไรก็ตามหากไม่ใช้กลยุทธทางการตลาดเชิงรุกและปรับปรุงสินค้าให้ได้มาตรฐานยุโรปก็จะทำให้เสียส่วนแบ่งตลาดให้ประเทศอื่นไปก่อนได้
โอกาสทางการค้ายังขึ้นอยู่กับโครงการ GSP ของสหภาพยุโรป ปัจจุบันสหภาพยุโรปได้พิจารณาการปรับปรุงระบบและต่ออายุโครงการ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปซึ่งเป็นผู้จัดทำร่างโครงการ GSP ใหม่ ได้ขยายอายุของโครงการต่อไปอีก 3 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2542 - 31 ธันวาคม 2544 และได้รับความเห็นชอบจากคณะมนตรียุโรปแล้ว
4.2 แนวโน้มความสัมพันธ์ด้านการลงทุน
คาดว่า FDI จะมีแนวโน้มที่ดีในระยะยาว แม้ว่าในระยะสั้นเมื่อตลาดยุโรปรวมกันจะกลายเป็นตลาดที่ใหญ่และมีแนวโน้มการเติบโตสูงก็จะดึงดูดเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าไปเพื่อตั้งโรงงานเพื่อสร้างฐานเตรียมพร้อมสำหรับตลาดที่กว้างขึ้น เงินทุนอาจไหลจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นไปยังยุโรปเพื่อฉวยโอกาสทางการตลาด และอาจส่งผลให้เงินทุนที่ไหลเข้าประเทศอื่นรวมทั้งประเทศไทยลดลง อย่างไรก็ตามการไหลเข้าของเงินทุนสู่ยุโรปจะทำให้ยุโรปมีความสามารถในการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อแข่งขันและเปิดตลาดในเอเซียซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีโอกาสที่จะได้รับเงินลงทุนดังกล่าว
ผลจากการใช้เงินสกุลเดียวกันและสภาวะเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกันของกลุ่มประเทศ EMU จะทำให้โอกาสเพิ่มอัตราผลตอบแทนของนักลงทุนที่เกิดจากการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง (Diversification) ลดน้อยลงไป การกระจายความเสี่ยงจะเกิดขึ้นเมื่อขยายการลงทุนออกไปนอกกลุ่มเท่านั้น ซึ่งอาจส่งผลให้การไหลเข้าของเงินทุนจากยุโรปสู่ตลาดทุนในเอเซียเพิ่มขึ้น
นอกจากนั้นการใช้เงินสกุลยูโรยังทำให้ไทยมีทางเลือกในการระดมทุนจากตลาดทุนทั้งในรูปตราสารหนี้และพันธบัตร รวมทั้งสามารถกู้ยืมเงินสกุลยูโรจากตลาดเงินในยุโรปถ้าเงินสกุลยูโรมีเสถียรภาพและมีดอกเบี้ยต่ำ ไทยก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้นเพราะสามารถลดการพึ่งพาเงินทุนจากญี่ปุ่นที่ปัจจุบันมีสัดส่วนสูง รวมทั้งลดความเสี่ยงจากความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลเยน และดอลลาร์ สรอ.
4.3 แนวโน้มความสัมพันธ์ภายใต้กรอบของ Asia-Europe Meeting : ASEM
กลุ่มประเทศอาเซียนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับยุโรป แต่เนื่องจากยุโรปให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศที่มีพื้นที่ติดต่อกันและมีความใกล้ชิดมากกว่า ทำให้กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะห่างเหินจากอาเซียนมากขึ้น อาเซียนตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของยุโรปและเห็นความสำคัญของยุโรปที่เป็นภูมิภาคที่มีความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจและเป็นตลาดที่มีอนาคต สามารถให้ความร่วมมือกับอาเซียนแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและช่วยพัฒนาในด้านต่างๆ ได้ อาเซียนจึงเป็นแกนนำในการจัดการประชุม ASEM โดยมุ่งหมายให้เป็นการประชุมเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเซียกับยุโรป ครอบคลุมเรื่องการเมือง เศรษฐกิจและการเงิน ตลอดจนกิจกรรมด้านอื่นๆ เพื่อให้ประเทศสมาชิกเกิดความเข้าใจกันมากขึ้นและมีทัศนะที่ดีต่อกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างสองภูมิภาคในระยะยาว
ภายใต้ขบวนการของ ASEM มีการจัดการประชุมขึ้นในหลายระดับ ประกอบด้วย
การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเซีย-ยุโรป (Economic Ministers ’ Meeting : EMM) จัดขึ้นทุก 2 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หารือเรื่องการค้าและการลงทุน ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2540 ที่ประเทศญี่ปุ่น ส่วนครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม 2542 ณ นครเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการค้าและการลงทุน (Senior Officials Meeting on Trade and Investment : SOMTI) เป็นจัดขึ้นประจำเพื่อหารือประเด็นต่างๆ และเตรียมการเพื่อเสนอที่ประชุมผู้นำตัดสินใจต่อไป การประชุมในระดับนี้จัดขึ้นแล้ว 4 ครั้ง การประชุมสภาธุรกิจเอเซีย-ยุโรป (Asia-Europe Business Forum : AEBF) ซึ่งมีการประชุมเป็นประจำทุกปี โดยเป็นการประชุมผู้นำภาคเอกชนของประเทศสมาชิกเพื่อหารือถึงความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาคเอกชนเอเซียและยุโรป จัดทำข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนเสนอภาครัฐบาล ที่ผ่านมาประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง และครั้งที่ 4 จะมีขึ้นในเดือนกันยายน 2542 ที่กรุงโซล การประชุม ASEM จัดมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี 2539 และครั้งที่ 2 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ในปี 2540 ครั้งที่ 3 จะจัดขึ้นที่กรุงโซล เกาหลีใต้ในปี 2543
ผลของการประชุม ASEM 2 ที่เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจมีดังนี้
ยุโรปให้ความมั่นใจว่าการรวมตัวของยุโรปจะไม่เป็นการปิดกั้นทางการค้า และได้ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจในเอเซีย โดยผู้นำเอเซียและยุโรปเห็นว่าองค์กรสินเชื่อเพื่อการส่งออก (Export Credit Agencies) ควรจัดสรรสินเชื่อพิเศษเพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องระยะสั้นให้แก่ภาคการส่งออกของประเทศเอเซียที่ได้รับผลกระทบ ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวเห็นว่าจะต้องมีการส่งเสริมความร่วมมือทางเทคนิคและวิชาการ เพื่อปรับโครงสร้างภาคการเงินและธนาคารในเอเซีย และให้มีระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติการณ์ขึ้นในอนาคต นอกจากนี้จะต้องหาแนวทางป้องกันการเก็งกำไรในตลาดการเงินระหว่างประเทศ ผู้นำเอเซียและยุโรปได้ร่วมกันสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนเอเซีย-ยุโรป (ASEM Trust Fund) ภายใต้การบริหารของธนาคารโลก เพื่อช่วยเหลือประเทศในเอเซียที่ประสบวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงิน และสนับสนุนโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจด้านการเงินและสังคมร่วมกับองค์กรการเงินระหว่างประเทศ โดยอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของเงินทุนจะต้องใช้เพื่อประเทศที่มีรายได้ต่ำและประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ กองทุนอาเซ็มได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2541 โดยมีประเทศในเอเซียที่ได้รับเงินช่วยเหลือ 7 ประเทศ ประเทศไทยได้รับการอนุมัติให้ใช้เงินจากกองทุนสำหรับ 6 โครงการมูลค่าทั้งสิ้น 3.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. จัดตั้งเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน (The European Financial Expertise Network : EFEX) ภายใต้การบริหารของคณะกรรมาธิการยุโรป โดยเป็นเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจากทั้งยุโรปและเอเซีย เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการในการปฏิรูประบบการเงินแก่ประเทศในเอเซียที่เป็นสมาชิกในกลุ่มเอเซีย-ยุโรป ความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านการค้าและการลงทุน ผู้นำเอเซียและยุโรปได้รับรองแผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกด้านการค้า (Trade Facilitation Action Plan : TFAP) และแผนปฏิบัติการส่งเสริมการลงทุน (Investment Promotion Action Plan : IPAP) และให้ความสำคัญกับโครงการที่ส่งเสริมการค้าและการลงทุนสองทางระหว่างสมาชิกเอเซีย-ยุโรป นอกจากนี้ได้สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเอเซีย เรื่องที่เกี่ยวกับองค์การการค้าโลก ผู้นำเอเซียและยุโรปได้ยืนยันที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีที่ได้ตกลงไว้ภายใต้องค์การการค้าโลกอย่างเต็มที่ รวมทั้งการปฏิบัติตามเรื่องที่ได้ระบุไว้ (Built-in Agenda) ภายใต้เงื่อนเวลาที่ได้ตกลงกัน สำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกที่จะมีขึ้น ณ นครเจนีวา ทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะให้ร่วมมือกันและเตรียมวาระการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งต่อไปโดยให้มีการเปิดการค้าให้เสรีมากขึ้น นอกจากนี้จะพยายามเร่งรัดให้ประเทศสมาชิกเอเซีย-ยุโรปได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกโดยเร็ว ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับภาคเอกชน ผู้นำเอเซียและยุโรปตระหนักถึงความสำคัญของภาคธุรกิจ-เอกชน ในการเสริมสร้างการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างเอเซีย-ยุโรป โดยเฉพาะการประชุมสภาธุรกิจเอเซีย-ยุโรป (AEBF) ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมขบวนการนี้อย่างมาก คาดว่าแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปภายใต้กรอบของ ASEM จะดำเนินไปได้ด้วยดี เนื่องจากมีโครงสร้างความสัมพันธ์ในหลายระดับชั้นซึ่งจะส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีเวทีสำหรับหารือแนวทางความร่วมมือในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ AEBF ซึ่งนำโดยภาคเอกชนคาดว่าจะมีบทบาทผลักดันข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการค้าและการลงทุน ก่อให้เกิดการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนระหว่างภูมิภาคทั้งสอง นอกจากนั้นการประชุมในระดับสูงขึ้นไปจะช่วยประสานด้านการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ที่มีความแตกต่างกันให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันได้ และการประชุมที่ผ่านมาจะเห็นว่าเอเซียได้ให้ความสำคัญต่อยุโรปมากขึ้น และยุโรปก็เริ่มให้ความสนใจเอเซียมากขึ้นกว่าเดิม
สรุป แนวโน้มความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปในอนาคต
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปในด้านการค้า ผลจากการพัฒนาของสหภาพยุโรปโดยเฉพาะ EMU ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการประกอบการภายในกลุ่มให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้นทุนและราคาสินค้าถูกลงจากการแข่งขันที่สูงขึ้นและราคาที่โปร่งใส ทำให้ยากต่อการเข้าสู่ตลาดจากภายนอกกลุ่มรวมทั้งสินค้าจากไทย อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกของไทยสู่สหภาพยุโรปที่ผ่านมาขยายตัวแสดงถึงความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในหลายรายการที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดนี้ ความสำเร็จของ EMU จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลกระทบต่อไทย ถ้าเงินสกุลยูโรประสบความสำเร็จจะเกื้อหนุนให้เศรษฐกิจของ EMU เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ตลาดโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพและความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย แต่ถ้าเงินสกุลยูโรไม่ประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากข้อจำกัดของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและความแตกต่างด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิก อาจก่อให้เกิดแรงกดดันให้มีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าเพื่อคุ้มครองผู้ผลิตภายในกลุ่มซึ่งจะส่งผลเสียต่อภาคการส่งออก จากมูลค่าการลงทุนจากสหภาพยุโรปในไทยที่เพิ่มขึ้นมาก คาดว่าแนวโน้มความสัมพันธ์ด้านการลงทุนของสหภาพยุโรปในไทยจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยเป็นช่องทางให้สหภาพยุโรปเข้ามาเปิดตลาดในภูมิภาคเอเซียได้ และมีการพัฒนาความสัมพันธ์ในระดับพหุพาคีผ่านกรอบของ ASEM ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้น บทบาทของเงินสกุลยูโรและการเป็นเงินสำรองทางการ ในระยะแรกจะไม่เปลี่ยนแปลงสัดส่วนสกุลเงินสกุลยูโรมากนัก เนื่องจากต้องรอดูเสถียรภาพของค่าเงิน ความเชื่อมั่น ตลอดจนผลตอบแทนจากการถือเงินสกุลนี้ นอกจากนั้นโครงสร้างหนี้สินของเงินสำรองทางการ และสกุลเงินที่ใช้แทรกแซงตลาดส่วนใหญ่อยู่ในรูปดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตามคาดว่าในระยะยาวอาจเพิ่มสัดส่วนการถือเงินสกุลยูโรจากระดับปัจจุบัน เนื่องจากการจัดตั้ง EMU ส่งผลให้โอกาสและขอบเขตการลงทุนของเงินสำรองทางการในยุโรปเพิ่มขึ้น และจากขนาดเศรษฐกิจ ตลาดเงิน และตลาดทุนของ EMU ที่มีขนาดรองจากสหรัฐฯ จะส่งเสริมให้เงินสกุลยูโรมีบทบาทในฐานะ international reserve currency มากขึ้น
บรรณานุกรม
กรมการค้าต่างประเทศ เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง “GSP EU & USA และกฏแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ WTO “ 18 ธันวาคม 2541.
ธนาคารกรุงเทพ ฝ่ายวิจัย “ยุโรป 1999 ยูโร เงินสกุลใหม่”, จุลสารธนาคารกรุงเทพ, 2541.
ธนาคารแห่งประเทศไทย “รายงานเศรษฐกิจรายเดือน กุมภาพันธ์ 2542”, ปีที่ 39 เล่มที่ 2, 2542.
ธนาคารแห่งประเทศไทย เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “บทบาทของเงินสกุลยูโร” 18 ธันวาคม 2541.
รังสรรค์ หทัยเสรี “การรวมสกุลเงินและการเข้าสู่สหภาพการเงินยุโรป (EMU) มิติใหม่ของวงการเงินโลกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเงินไทย” , Chulalongkorn Review, ปีที่ 9 ฉบับที่ 35, เมษายน-มิถุนายน 2540.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ “ยุโรป : ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง”, มีนาคม 2538.
IMF “Direction of Trade Statistics Yearbook ”, 1998.
IMF “International Financial Statistics Yearbook ”, Vol. LI, 1998.
IMF “World Economic Outlook ”, May 1998.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-