แท็ก
ลาว
สถานการณ์เศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อมาตรฐานการดำรงชีพของประชาชนลาวและรัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหานี้โดยได้ดำเนินมาตรการต่างๆ ที่หลากหลายจนกระทั่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2542 มาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลได้นำมาใช้แก้ไขปัญหาได้ประสบผลสำเร็จ อาทิ มาตรการจัดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยไม่จำเป็นและการส่งเสริมการผลิตภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า รวมทั้งการอนุวัตนโยบายเงินออมที่ให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากถึงร้อยละ 30 และ 60 ต่อปี และนโยบายปรับปรุงระบบธนาคารเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ
นโยบายดังกล่าวข้างต้นส่งผลกระทบในทางที่ดีต่อเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งจะเห็นได้จากค่าเงินกีบที่มีเสถียรภาพขึ้น กล่าวคือเมื่อเดือนมิถุนายน 2542 เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ แลกได้เพียง 7,600 กีบ ซึ่งการมีเสถียรภาพของค่าเงินกีบนี้จะสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนจะส่งเสริมให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นในปีหน้านี้ นอกจากนี้ปี 2543 นี้เป็นปีท่องเที่ยวลาว (Visit Loas Year) คาดการณ์ว่ารายได้จากากรท่องเที่ยวจเพิ่มสูงขึ้นด้วย
สำหรับการป้องกันผลกระทบในด้านลบของวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคที่จะเกิดขึ้นอีกนั้น รัฐบาลขณะนี้ได้เน้นที่การค้าทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะขยายความร่วมมือกับเวียดนามและจีน ซึ่งจะส่งผลให้ลาวมีทางเลือกในด้านคุณภาพและราคาสินค้า โดยลาวและเวียดนามได้ร่วมมือกันยอมรับการชำระเงินด้วยเงินสกุลของแต่ละประเทศ และวิธีการแลกเปลี่ยนสินค้าเพื่ออุปสงค์ของเงินสกุลหลัก
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1994-1996 GDP ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 7 ทั้งๆ ที่ได้รับผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจในปี ค.ศ.1997 เติบโตร้อยละ 6.9 และร้อยละ 4 ในปีค.ศ.1998
ในปี ค.ศ.1986 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้เริ่มใช้นโยบาย Open Door Policy เปิดรับการลงทุนและการค้าทั้งจากต่างประเทศและจากภาคเอกชนภายในประเทศ รวมทั้งได้ดำเนินมาตรการหลายประการเพื่อจะเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจควบคุมจากส่วนกลางไปสู่เศรษฐกิจแบบตลาด โดยการอำนวยความสะดวกในเรื่องการจัดการบริหารทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะเศรษฐกิจแบบตลาด
ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1/15 มกราคม 2543--
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อมาตรฐานการดำรงชีพของประชาชนลาวและรัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหานี้โดยได้ดำเนินมาตรการต่างๆ ที่หลากหลายจนกระทั่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2542 มาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลได้นำมาใช้แก้ไขปัญหาได้ประสบผลสำเร็จ อาทิ มาตรการจัดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยไม่จำเป็นและการส่งเสริมการผลิตภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า รวมทั้งการอนุวัตนโยบายเงินออมที่ให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากถึงร้อยละ 30 และ 60 ต่อปี และนโยบายปรับปรุงระบบธนาคารเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ
นโยบายดังกล่าวข้างต้นส่งผลกระทบในทางที่ดีต่อเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งจะเห็นได้จากค่าเงินกีบที่มีเสถียรภาพขึ้น กล่าวคือเมื่อเดือนมิถุนายน 2542 เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ แลกได้เพียง 7,600 กีบ ซึ่งการมีเสถียรภาพของค่าเงินกีบนี้จะสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนจะส่งเสริมให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นในปีหน้านี้ นอกจากนี้ปี 2543 นี้เป็นปีท่องเที่ยวลาว (Visit Loas Year) คาดการณ์ว่ารายได้จากากรท่องเที่ยวจเพิ่มสูงขึ้นด้วย
สำหรับการป้องกันผลกระทบในด้านลบของวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคที่จะเกิดขึ้นอีกนั้น รัฐบาลขณะนี้ได้เน้นที่การค้าทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะขยายความร่วมมือกับเวียดนามและจีน ซึ่งจะส่งผลให้ลาวมีทางเลือกในด้านคุณภาพและราคาสินค้า โดยลาวและเวียดนามได้ร่วมมือกันยอมรับการชำระเงินด้วยเงินสกุลของแต่ละประเทศ และวิธีการแลกเปลี่ยนสินค้าเพื่ออุปสงค์ของเงินสกุลหลัก
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1994-1996 GDP ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 7 ทั้งๆ ที่ได้รับผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจในปี ค.ศ.1997 เติบโตร้อยละ 6.9 และร้อยละ 4 ในปีค.ศ.1998
ในปี ค.ศ.1986 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้เริ่มใช้นโยบาย Open Door Policy เปิดรับการลงทุนและการค้าทั้งจากต่างประเทศและจากภาคเอกชนภายในประเทศ รวมทั้งได้ดำเนินมาตรการหลายประการเพื่อจะเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจควบคุมจากส่วนกลางไปสู่เศรษฐกิจแบบตลาด โดยการอำนวยความสะดวกในเรื่องการจัดการบริหารทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะเศรษฐกิจแบบตลาด
ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1/15 มกราคม 2543--