แท็ก
ค่าไฟฟ้า
คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.) ในการประชุมครั้งที่ 3/2544 (ครั้งที่ 32) เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2544 เห็นชอบในหลักการข้อเสนอของคณะอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าและอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยให้นำข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ และผลการพิจารณาของ กพง. มาใช้ในการปรับค่า Ft รอบต่อไป (ตุลาคม 2544-มกราคม 2545)
1. ความเป็นมารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ได้มีคำสั่งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานที่ 1/2544 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2544 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า และอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมีนายพรายพล คุ้มทรัพย์ เป็นประธานอนุกรรมการ และประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนผู้บริโภค และนักวิชาการอีก 4 ท่าน มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษาทบทวนความเหมาะสม ของโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า และค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน
2. ข้อเสนอ ข้อสังเกต และความเห็นของคณะอนุกรรมการศึกษาฯคณะอนุกรรมการศึกษา ฯ ได้พิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อค่า Ft แล้ว มีข้อเสนอ ข้อสังเกต รวมถึงความเห็นของคณะอนุกรรมการ ฯ บางท่าน ซึ่งอาจแตกต่างจากข้อเสนอ สรุปได้ดังนี้
2.1 ราคาก๊าซธรรมชาติ คณะอนุกรรมการศึกษาฯ ได้พิจารณาโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ ในประเด็นต่างๆ แล้ว มีความเห็นดังนี้
ราคาก๊าซธรรมชาติ เห็นควรให้ ปตท. เร่งเจรจาสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ให้ผู้ขายก๊าซร่วมรับภาระอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น และควรปรับปรุงสูตรราคาก๊าซธรรมชาติ ให้มีการอ้างอิงราคาถ่านหินด้วย เพื่อให้ราคาก๊าซธรรมชาติ มีเสถียรภาพมากขึ้น รวมทั้ง ควรส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้า โดยใช้พลังงานจากถ่านหิน เพื่อเป็นการกระจายชนิดของพลังงาน และเป็นการเพิ่มอำนาจในการเจรจาต่อรอง ราคาก๊าซธรรมชาติด้วย นอกจากนี้ ปตท. ได้จัดทำมาตรการในการลดราคาก๊าซฯ โดย (1) ปรับสัดส่วนการรับก๊าซฯ ใหม่ โดยลดการรับก๊าซฯ จากพม่า และ (2) การเกลี่ยราคาก๊าซฯ ให้มีความสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้สามารถลดราคาก๊าซฯ ที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน — กันยายน 2544 ลงได้จากที่ประมาณการไว้ 10 บาท/ล้านบีทียู
ค่าดำเนินการ (Margin) ไม่ควรกำหนดค่าดำเนินการ หรือค่าใช้จ่ายดำเนินการในการจัดหา และจำหน่ายก๊าซ เป็นอัตราร้อยละ บนราคาเนื้อก๊าซฯ นอกจากนี้ หาก ปตท. สามารถลดค่าดำเนินการที่เรียกเก็บจาก SPP ลงให้เท่ากับค่าดำเนินการ ที่เรียกเก็บจาก กฟผ. และ IPP ก็จะทำให้ค่า Ft สามารถลดลงได้ อัตราค่าผ่านท่อ อัตราผลตอบแทน Equity IRR ที่กำหนดในอัตราร้อยละ 18 อาจเป็นอัตราที่สูงเกินไป และโครงการลงทุนที่ตัดค่าเสื่อมราคาหมดแล้วน่าจะทำให้อัตราค่าผ่านท่อลดลงได้ นอกจากนี้ ปตท. ได้พิจารณาแนวทางการลดค่าดำเนินการสำหรับ กฟผ. IPP และ SPP ในช่วงเดือนมิถุนายน — กันยายน 2544 โดยค่าดำเนินการ (Margin) จะคำนวณบนราคาเนื้อก๊าซฯ ในระดับ 121.54 บาท/ล้านบีทียู ไม่ว่าราคาก๊าซฯ จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าใด ทำให้ในช่วงเดือนมิถุนายน — กันยายน 2544 จะสามารถลดค่าดำเนินการได้ประมาณ 73 ล้านบาท ภาระ Take-or-Pay เห็นว่า ไม่ควรผลักภาระ Take-or-Pay ในส่วนของภาครัฐและเศรษฐกิจในอัตราร้อยละ 75.8 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 ผ่านราคาก๊าซฯ ให้แก่ผู้บริโภคทั้งหมดดังเช่นในปัจจุบัน โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการก๊าซ คณะอนุกรรมการศึกษาฯ เห็นด้วยกับการเปิดเสรีกิจการก๊าซธรรมชาติ และเห็นควรให้มีการกำหนดโครงสร้างกิจการก๊าซฯ ให้มีการแข่งขันอย่างแท้จริง รวมทั้งให้มีการกำกับดูแลที่ดี และเพียงพอ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ 2.2 การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการปรับขึ้นของค่า Ft คณะอนุกรรมการศึกษาฯ จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงโครงสร้างราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ในประเด็นดังต่อไปนี้
การเกลี่ยราคารับซื้อไฟฟ้า (Levelize) ควรพิจารณาเปลี่ยนโครงสร้างราคารับซื้อไฟฟ้าจาก IPP จากแบบ Front-End กล่าวคือ ค่าไฟฟ้าในปีแรกจะมีราคาสูง และจะค่อย ๆ ลดลงในระยะต่อมา เป็นแบบเกลี่ยราคา โดยให้ใช้ค่าความพร้อมจ่ายแบบเฉลี่ย (Levelized Price) ในการคำนวณค่า Ft แทน ซึ่งจะสามารถลดภาระค่า Ft ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าในช่วง 10 ปีแรกได้ โดยกำหนดแนวทางการดำเนินการไว้ 3 แนวทาง คือ (1) กฟผ. เจรจากับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน เพื่อเปลี่ยนวิธีการคำนวณค่าความพร้อมจ่าย (AP) จากการคำนวณในลักษณะ Front End เป็นการคำนวณแบบค่าเฉลี่ย (Levelize) (2) กฟผ. เป็นผู้รับภาระ หรือ (3) จัดตั้งกองทุนเพื่อบริหารภาระดังกล่าว อย่างไรก็ตาม สพช. สศช. กฟผ. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทยมีความเห็นว่า การเกลี่ยราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนจะทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงในช่วงแรกเท่านั้น หลังจากนั้นราคาจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าราคาตามสัญญา นอกจากนี้ ผู้ใช้ไฟอาจจะเสียประโยชน์เนื่องจากการเกลี่ยราคารับซื้อไฟฟ้าจะคำนวณบนอัตราส่วนลด (Discount Rate) ในระดับร้อยละ 8-12 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันอยู่ในระดับร้อยละ 3-5 เท่านั้น และการมอบหมายให้ กฟผ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปเจรจาลดราคารับซื้อไฟฟ้า นั้น ไม่ควรกำหนดเงื่อนไขที่ผูกมัดเกินไป ควรให้ผู้เจรจามีอิสระในการเจรจา
อัตราแลกเปลี่ยนในสูตรราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP/SPP) ควรมีการทบทวนความเหมาะสม ของการส่งผ่านผลกระทบ ของอัตราแลกเปลี่ยน ในโครงสร้างราคารับซื้อไฟฟ้า จากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน IPP และ SPP ให้มีความสอดคล้อง กับโครงสร้างหนี้ในปัจจุบัน เนื่องจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนหลายราย ได้ทำการปรับโครงสร้างหนี้ (Refinance) เพื่อลดภาระหนี้ต่างประเทศไปแล้ว อัตราผลตอบแทนการลงทุน ของบริษัทผลิตไฟฟ้าในเครือของ กฟผ. ควรมีการทบทวนความเหมาะสม ของอัตราผลตอบแทนการลงทุน ซึ่งอยู่ในระดับร้อยละ 19-20 ของบริษัทผลิตไฟฟ้าในเครือของ กฟผ. ใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ ในอนาคต หาก กฟผ. ได้รับเงินปันผลมากกว่ายอดเงิน ที่ประมาณการไว้ ในการคำนวณค่าไฟฟ้าฐาน กฟผ. จะนำเงินปันผลส่วนเกินดังกล่าว มาลดค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม สพช. สศช. และ กฟผ. มีความเห็นว่า อัตราผลตอบแทนการลงทุน ของบริษัทผลิตไฟฟ้าในเครือของ กฟผ. เป็นอัตราผลตอบแทน ณ ราคา Par เมื่อมีการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ประชาชนจะซื้อหุ้นในราคาที่สูงกว่าราคา Par ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (Premium) ก็ทำให้ฐานะการเงินของการไฟฟ้าดีขึ้น นำรายได้มาลดภาระหนี้สิน ซึ่งมีผลต่อการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าด้วยแล้ว การทบทวนอัตราผลตอบแทนการลงทุน อาจก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อผู้ถือหุ้นในปัจจุบัน และความมั่นใจของผู้ลงทุนอย่างรุนแรง ตลอดจนผลกระทบต่อนโยบาย การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอนาคต โดยเฉพาะ ปตท. ซึ่งมีรายได้หลักจากค่าผ่านท่อ ซึ่งรัฐเป็นผู้กำกับดูแล
2.3 ประสิทธิภาพของการไฟฟ้า คณะอนุกรรมการศึกษาฯ เห็นควรกำหนดมาตรฐาน ทางด้านเทคนิคบางประการ เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงานของการไฟฟ้า ดังนี้
การกำหนดมาตรฐานอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) และมาตรฐานค่าความสูญเสีย (Loss Rate) เห็นควรให้มีการกำหนดมาตรฐานอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) สำหรับโรงไฟฟ้าของ กฟผ. จำแนกตามประเภทโรงไฟฟ้า โดยเสนอให้คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เป็นผู้พิจารณากำหนดมาตรฐาน อัตราการใช้ความร้อนที่เหมาะสม และเห็นควรให้กำหนดมาตรฐานค่าความสูญเสีย (Loss Rate) ที่ กฟผ. ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ควบคุมมลภาวะ และการบริหารงาน เท่ากับร้อยละ 4.92 และค่าความสูญเสียในระบบของ กฟผ. กฟน. และ กฟภ. เท่ากับร้อยละ 2.49 4.1 และ 5.66 ตามลำดับ การชะลอแผนการลงทุน และฐานะการเงินของการไฟฟ้า เห็นควรให้ สพช. รับไปพิจารณาการชะลอแผนการลงทุน ของการไฟฟ้า และหากผลการพิจารณา พบว่า จะสามารถลดค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้ ก็ให้ดำเนินการโดยเร่งด่วนต่อไป 2.4 อัตราเงินนำส่งรัฐ เงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้า และโบนัสของการไฟฟ้า
อัตราเงินนำส่งรัฐ ควรเป็นไปตามเกณฑ์ ที่กระทรวงการคลังกำหนด ไม่ควรมีการเรียกเก็บเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้เดิม เนื่องจากจะทำให้การไฟฟ้า ต้องกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อสมทบการลงทุน เงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้า ให้กระทรวงการคลัง พิจารณาโครงสร้างเงินเดือน และผลตอบแทนพนักงานของรัฐวิสาหกิจ โดยอาจปรับปรุง ให้อยู่ในรูปแบบอื่น เช่น การปรับเข้าไปอยู่ในฐานเงินเดือน การคำนวณโบนัส กระทรวงการคลัง ควรรับไปพิจารณาแนวทางในการคำนวณโบนัส ของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ให้มีหลักเกณฑ์เดียวกัน โดยพิจารณาจากกำไรจากผลการดำเนินงาน และประสิทธิภาพของการไฟฟ้า 2.5 แนวทางในการกำหนดค่า Ft คณะอนุกรรมการศึกษาฯ มีความเห็นว่า ไม่สมควรยกเลิกสูตร Ft เนื่องจาก หากยกเลิกสูตร Ft โดยทันที การไฟฟ้าอาจประสบปัญหาทางด้านการเงิน อย่างรุนแรง
องค์ประกอบค่า Ft ควรให้ค่า Ft เปลี่ยนแปลงตามปัจจัย ดังนี้ คือ (1) ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า (2) ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนต่อภาระหนี้ ของการไฟฟ้า และ (3) ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อในค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ค่าเชื้อเพลิง (Non-Fuel Cost) ทั้งนี้ การไฟฟ้าควรมีอิสระในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน ด้วยตนเองในระดับหนึ่ง เพื่อให้การไฟฟ้า สามารถลดเงินกู้ต่างประเทศ และลดความเสี่ยงต่างๆ ลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถลดผลกระทบ ต่อฐานะการเงินของการไฟฟ้า และราคาค่าไฟฟ้าได้ โครงสร้างการจัดเก็บค่า Ft ควรจัดเก็บค่า Ft ในอัตราคงที่ต่อหน่วย (Flat Rate) เช่นในปัจจุบัน และเห็นควรให้คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เป็นผู้พิจารณากำหนดค่า Ft ต่อไป ทั้งนี้ ควรมีผู้แทนผู้บริโภครายย่อย เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการเพิ่มเติมด้วย 2.6 โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าฐานได้มีการพิจารณาใน 2 ประเด็น ได้แก่
อัตราค่าไฟฟ้าที่สามารถงดจ่ายไฟได้ (Interruptible Rate) ควรกำหนดส่วนลดค่าไฟฟ้าเป็นกรณีพิเศษ แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่สามารถงดจ่ายไฟได้ เป็นการชั่วคราวในช่วงที่กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองยังสูงอยู่ ทั้งนี้ จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมด้วย เช่น จะต้องใช้ไฟฟ้าในช่วง Peak ไม่เกินระดับที่กำหนด อัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use : TOU) เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่มีการใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่อยู่ในช่วง Off-Peak ทำให้สามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าลงได้ ดังนั้น การไฟฟ้าควรเร่งรัดการจัดหามิเตอร์ TOU สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย นอกจากนี้ ควรพิจารณาหาแนวทางการลดภาระค่ามิเตอร์ โดยอาจพิจารณาส่งเสริมให้มีการผลิตมิเตอร์ในประเทศ 3. ผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานในการประชุมครั้งที่ 4/2544 (ครั้งที่ 33) เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2544 ได้พิจารณาเรื่องผลการพิจารณา ของคณะอนุกรรมการศึกษาฯ แล้ว มีมติ ดังนี้
เห็นควรให้ ปตท. เร่งรัดการเจรจาสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ให้ผู้ขายก๊าซ ร่วมรับภาระอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น และพิจารณาแนวทางให้ราคาก๊าซธรรมชาติ มีเสถียรภาพมากขึ้น เห็นชอบการกำหนด อัตราค่าดำเนินการสูงสุด ในการจัดหาก๊าซฯ (โดยคำนวณบนราคาเนื้อก๊าซ 123 บาท/ล้านบีทียู) สำหรับ กฟผ. และ IPP เท่ากับ 2.1525 บาท/ล้านบีทียู และ SPP เท่ากับ 11.4759 บาท/ล้านบีทียู เห็นชอบการกำหนดอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROE) กิจการท่อก๊าซสำหรับโครงการใหม่ เท่ากับร้อยละ 16 (ภายใต้สมมติฐานต้นทุนทางการเงินของ ปตท. เท่ากับ 10.5%) เห็นชอบให้ กฟผ. รับไปดำเนินการเจรจา กับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP และ SPP ) เพื่อลดการส่งผ่านผลกระทบ ของอัตราแลกเปลี่ยนต่อไป เห็นชอบการกำหนดมาตรฐานอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) และการกำหนดมาตรฐานค่าความสูญเสีย (Loss Rate) รายละเอียดตามข้อ 2.3 เห็นชอบให้ปรับลดค่าไฟฟ้าจากการปรับลดแผนการลงทุนจำนวน 7 สตางค์/หน่วย ตั้งแต่การปรับค่า Ft ในรอบต่อไป โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ รับไปดำเนินการ เห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินนำส่งรัฐ เงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้า และโบนัสของการไฟฟ้า ตามหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เห็นชอบให้มีการคำนวณค่า Ft ตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ดังเช่นในปัจจุบัน เห็นชอบวิธีการสรรหาผู้แทนผู้บริโภครายย่อย ในคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ โดยให้ประธานกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา เพื่อกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติ รวมทั้งดำเนินการสรรหา รับทราบการดำเนินการประชาสัมพันธ์ และการเปิดเผยข้อมูลในการพิจารณาปรับค่า Ft เห็นชอบให้คงอัตราค่าไฟฟ้าที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้า ได้เช่นในปัจจุบัน และรับทราบการดำเนินการ จัดหามิเตอร์ของ กฟน. และ กฟภ. ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับไปพิจารณาแนวทาง ในการจัดหามิเตอร์ ในประเทศ ที่มีราคาถูกกว่า ระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน มอบหมายให้กระทรวงการคลัง หารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ในการพิจารณาให้การไฟฟ้า มีอิสระในการบริหารหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในกรณีที่เป็นการดำเนินการ จากสภาพคล่องของการไฟฟ้า ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุม เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2544 ได้มีมติรับทราบข้อเสนอคณะอนุกรรมการศึกษา ฯ ตามมติของคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน เรียบร้อยแล้ว
--วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 53 กรกฎาคม-กันยายน 2544--
-ยก-
1. ความเป็นมารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ได้มีคำสั่งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานที่ 1/2544 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2544 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า และอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมีนายพรายพล คุ้มทรัพย์ เป็นประธานอนุกรรมการ และประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนผู้บริโภค และนักวิชาการอีก 4 ท่าน มีอำนาจหน้าที่ในการศึกษาทบทวนความเหมาะสม ของโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า และค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน
2. ข้อเสนอ ข้อสังเกต และความเห็นของคณะอนุกรรมการศึกษาฯคณะอนุกรรมการศึกษา ฯ ได้พิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อค่า Ft แล้ว มีข้อเสนอ ข้อสังเกต รวมถึงความเห็นของคณะอนุกรรมการ ฯ บางท่าน ซึ่งอาจแตกต่างจากข้อเสนอ สรุปได้ดังนี้
2.1 ราคาก๊าซธรรมชาติ คณะอนุกรรมการศึกษาฯ ได้พิจารณาโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ ในประเด็นต่างๆ แล้ว มีความเห็นดังนี้
ราคาก๊าซธรรมชาติ เห็นควรให้ ปตท. เร่งเจรจาสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ให้ผู้ขายก๊าซร่วมรับภาระอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น และควรปรับปรุงสูตรราคาก๊าซธรรมชาติ ให้มีการอ้างอิงราคาถ่านหินด้วย เพื่อให้ราคาก๊าซธรรมชาติ มีเสถียรภาพมากขึ้น รวมทั้ง ควรส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้า โดยใช้พลังงานจากถ่านหิน เพื่อเป็นการกระจายชนิดของพลังงาน และเป็นการเพิ่มอำนาจในการเจรจาต่อรอง ราคาก๊าซธรรมชาติด้วย นอกจากนี้ ปตท. ได้จัดทำมาตรการในการลดราคาก๊าซฯ โดย (1) ปรับสัดส่วนการรับก๊าซฯ ใหม่ โดยลดการรับก๊าซฯ จากพม่า และ (2) การเกลี่ยราคาก๊าซฯ ให้มีความสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้สามารถลดราคาก๊าซฯ ที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน — กันยายน 2544 ลงได้จากที่ประมาณการไว้ 10 บาท/ล้านบีทียู
ค่าดำเนินการ (Margin) ไม่ควรกำหนดค่าดำเนินการ หรือค่าใช้จ่ายดำเนินการในการจัดหา และจำหน่ายก๊าซ เป็นอัตราร้อยละ บนราคาเนื้อก๊าซฯ นอกจากนี้ หาก ปตท. สามารถลดค่าดำเนินการที่เรียกเก็บจาก SPP ลงให้เท่ากับค่าดำเนินการ ที่เรียกเก็บจาก กฟผ. และ IPP ก็จะทำให้ค่า Ft สามารถลดลงได้ อัตราค่าผ่านท่อ อัตราผลตอบแทน Equity IRR ที่กำหนดในอัตราร้อยละ 18 อาจเป็นอัตราที่สูงเกินไป และโครงการลงทุนที่ตัดค่าเสื่อมราคาหมดแล้วน่าจะทำให้อัตราค่าผ่านท่อลดลงได้ นอกจากนี้ ปตท. ได้พิจารณาแนวทางการลดค่าดำเนินการสำหรับ กฟผ. IPP และ SPP ในช่วงเดือนมิถุนายน — กันยายน 2544 โดยค่าดำเนินการ (Margin) จะคำนวณบนราคาเนื้อก๊าซฯ ในระดับ 121.54 บาท/ล้านบีทียู ไม่ว่าราคาก๊าซฯ จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าใด ทำให้ในช่วงเดือนมิถุนายน — กันยายน 2544 จะสามารถลดค่าดำเนินการได้ประมาณ 73 ล้านบาท ภาระ Take-or-Pay เห็นว่า ไม่ควรผลักภาระ Take-or-Pay ในส่วนของภาครัฐและเศรษฐกิจในอัตราร้อยละ 75.8 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 ผ่านราคาก๊าซฯ ให้แก่ผู้บริโภคทั้งหมดดังเช่นในปัจจุบัน โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการก๊าซ คณะอนุกรรมการศึกษาฯ เห็นด้วยกับการเปิดเสรีกิจการก๊าซธรรมชาติ และเห็นควรให้มีการกำหนดโครงสร้างกิจการก๊าซฯ ให้มีการแข่งขันอย่างแท้จริง รวมทั้งให้มีการกำกับดูแลที่ดี และเพียงพอ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ 2.2 การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการปรับขึ้นของค่า Ft คณะอนุกรรมการศึกษาฯ จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงโครงสร้างราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ในประเด็นดังต่อไปนี้
การเกลี่ยราคารับซื้อไฟฟ้า (Levelize) ควรพิจารณาเปลี่ยนโครงสร้างราคารับซื้อไฟฟ้าจาก IPP จากแบบ Front-End กล่าวคือ ค่าไฟฟ้าในปีแรกจะมีราคาสูง และจะค่อย ๆ ลดลงในระยะต่อมา เป็นแบบเกลี่ยราคา โดยให้ใช้ค่าความพร้อมจ่ายแบบเฉลี่ย (Levelized Price) ในการคำนวณค่า Ft แทน ซึ่งจะสามารถลดภาระค่า Ft ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าในช่วง 10 ปีแรกได้ โดยกำหนดแนวทางการดำเนินการไว้ 3 แนวทาง คือ (1) กฟผ. เจรจากับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน เพื่อเปลี่ยนวิธีการคำนวณค่าความพร้อมจ่าย (AP) จากการคำนวณในลักษณะ Front End เป็นการคำนวณแบบค่าเฉลี่ย (Levelize) (2) กฟผ. เป็นผู้รับภาระ หรือ (3) จัดตั้งกองทุนเพื่อบริหารภาระดังกล่าว อย่างไรก็ตาม สพช. สศช. กฟผ. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทยมีความเห็นว่า การเกลี่ยราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนจะทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงในช่วงแรกเท่านั้น หลังจากนั้นราคาจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าราคาตามสัญญา นอกจากนี้ ผู้ใช้ไฟอาจจะเสียประโยชน์เนื่องจากการเกลี่ยราคารับซื้อไฟฟ้าจะคำนวณบนอัตราส่วนลด (Discount Rate) ในระดับร้อยละ 8-12 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันอยู่ในระดับร้อยละ 3-5 เท่านั้น และการมอบหมายให้ กฟผ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปเจรจาลดราคารับซื้อไฟฟ้า นั้น ไม่ควรกำหนดเงื่อนไขที่ผูกมัดเกินไป ควรให้ผู้เจรจามีอิสระในการเจรจา
อัตราแลกเปลี่ยนในสูตรราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP/SPP) ควรมีการทบทวนความเหมาะสม ของการส่งผ่านผลกระทบ ของอัตราแลกเปลี่ยน ในโครงสร้างราคารับซื้อไฟฟ้า จากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน IPP และ SPP ให้มีความสอดคล้อง กับโครงสร้างหนี้ในปัจจุบัน เนื่องจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนหลายราย ได้ทำการปรับโครงสร้างหนี้ (Refinance) เพื่อลดภาระหนี้ต่างประเทศไปแล้ว อัตราผลตอบแทนการลงทุน ของบริษัทผลิตไฟฟ้าในเครือของ กฟผ. ควรมีการทบทวนความเหมาะสม ของอัตราผลตอบแทนการลงทุน ซึ่งอยู่ในระดับร้อยละ 19-20 ของบริษัทผลิตไฟฟ้าในเครือของ กฟผ. ใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ ในอนาคต หาก กฟผ. ได้รับเงินปันผลมากกว่ายอดเงิน ที่ประมาณการไว้ ในการคำนวณค่าไฟฟ้าฐาน กฟผ. จะนำเงินปันผลส่วนเกินดังกล่าว มาลดค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม สพช. สศช. และ กฟผ. มีความเห็นว่า อัตราผลตอบแทนการลงทุน ของบริษัทผลิตไฟฟ้าในเครือของ กฟผ. เป็นอัตราผลตอบแทน ณ ราคา Par เมื่อมีการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ประชาชนจะซื้อหุ้นในราคาที่สูงกว่าราคา Par ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (Premium) ก็ทำให้ฐานะการเงินของการไฟฟ้าดีขึ้น นำรายได้มาลดภาระหนี้สิน ซึ่งมีผลต่อการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าด้วยแล้ว การทบทวนอัตราผลตอบแทนการลงทุน อาจก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อผู้ถือหุ้นในปัจจุบัน และความมั่นใจของผู้ลงทุนอย่างรุนแรง ตลอดจนผลกระทบต่อนโยบาย การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอนาคต โดยเฉพาะ ปตท. ซึ่งมีรายได้หลักจากค่าผ่านท่อ ซึ่งรัฐเป็นผู้กำกับดูแล
2.3 ประสิทธิภาพของการไฟฟ้า คณะอนุกรรมการศึกษาฯ เห็นควรกำหนดมาตรฐาน ทางด้านเทคนิคบางประการ เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงานของการไฟฟ้า ดังนี้
การกำหนดมาตรฐานอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) และมาตรฐานค่าความสูญเสีย (Loss Rate) เห็นควรให้มีการกำหนดมาตรฐานอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) สำหรับโรงไฟฟ้าของ กฟผ. จำแนกตามประเภทโรงไฟฟ้า โดยเสนอให้คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เป็นผู้พิจารณากำหนดมาตรฐาน อัตราการใช้ความร้อนที่เหมาะสม และเห็นควรให้กำหนดมาตรฐานค่าความสูญเสีย (Loss Rate) ที่ กฟผ. ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ควบคุมมลภาวะ และการบริหารงาน เท่ากับร้อยละ 4.92 และค่าความสูญเสียในระบบของ กฟผ. กฟน. และ กฟภ. เท่ากับร้อยละ 2.49 4.1 และ 5.66 ตามลำดับ การชะลอแผนการลงทุน และฐานะการเงินของการไฟฟ้า เห็นควรให้ สพช. รับไปพิจารณาการชะลอแผนการลงทุน ของการไฟฟ้า และหากผลการพิจารณา พบว่า จะสามารถลดค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้ ก็ให้ดำเนินการโดยเร่งด่วนต่อไป 2.4 อัตราเงินนำส่งรัฐ เงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้า และโบนัสของการไฟฟ้า
อัตราเงินนำส่งรัฐ ควรเป็นไปตามเกณฑ์ ที่กระทรวงการคลังกำหนด ไม่ควรมีการเรียกเก็บเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้เดิม เนื่องจากจะทำให้การไฟฟ้า ต้องกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อสมทบการลงทุน เงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้า ให้กระทรวงการคลัง พิจารณาโครงสร้างเงินเดือน และผลตอบแทนพนักงานของรัฐวิสาหกิจ โดยอาจปรับปรุง ให้อยู่ในรูปแบบอื่น เช่น การปรับเข้าไปอยู่ในฐานเงินเดือน การคำนวณโบนัส กระทรวงการคลัง ควรรับไปพิจารณาแนวทางในการคำนวณโบนัส ของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ให้มีหลักเกณฑ์เดียวกัน โดยพิจารณาจากกำไรจากผลการดำเนินงาน และประสิทธิภาพของการไฟฟ้า 2.5 แนวทางในการกำหนดค่า Ft คณะอนุกรรมการศึกษาฯ มีความเห็นว่า ไม่สมควรยกเลิกสูตร Ft เนื่องจาก หากยกเลิกสูตร Ft โดยทันที การไฟฟ้าอาจประสบปัญหาทางด้านการเงิน อย่างรุนแรง
องค์ประกอบค่า Ft ควรให้ค่า Ft เปลี่ยนแปลงตามปัจจัย ดังนี้ คือ (1) ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า (2) ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนต่อภาระหนี้ ของการไฟฟ้า และ (3) ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อในค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ค่าเชื้อเพลิง (Non-Fuel Cost) ทั้งนี้ การไฟฟ้าควรมีอิสระในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน ด้วยตนเองในระดับหนึ่ง เพื่อให้การไฟฟ้า สามารถลดเงินกู้ต่างประเทศ และลดความเสี่ยงต่างๆ ลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถลดผลกระทบ ต่อฐานะการเงินของการไฟฟ้า และราคาค่าไฟฟ้าได้ โครงสร้างการจัดเก็บค่า Ft ควรจัดเก็บค่า Ft ในอัตราคงที่ต่อหน่วย (Flat Rate) เช่นในปัจจุบัน และเห็นควรให้คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เป็นผู้พิจารณากำหนดค่า Ft ต่อไป ทั้งนี้ ควรมีผู้แทนผู้บริโภครายย่อย เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการเพิ่มเติมด้วย 2.6 โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าฐานได้มีการพิจารณาใน 2 ประเด็น ได้แก่
อัตราค่าไฟฟ้าที่สามารถงดจ่ายไฟได้ (Interruptible Rate) ควรกำหนดส่วนลดค่าไฟฟ้าเป็นกรณีพิเศษ แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่สามารถงดจ่ายไฟได้ เป็นการชั่วคราวในช่วงที่กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองยังสูงอยู่ ทั้งนี้ จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมด้วย เช่น จะต้องใช้ไฟฟ้าในช่วง Peak ไม่เกินระดับที่กำหนด อัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use : TOU) เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่มีการใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่อยู่ในช่วง Off-Peak ทำให้สามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าลงได้ ดังนั้น การไฟฟ้าควรเร่งรัดการจัดหามิเตอร์ TOU สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย นอกจากนี้ ควรพิจารณาหาแนวทางการลดภาระค่ามิเตอร์ โดยอาจพิจารณาส่งเสริมให้มีการผลิตมิเตอร์ในประเทศ 3. ผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานในการประชุมครั้งที่ 4/2544 (ครั้งที่ 33) เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2544 ได้พิจารณาเรื่องผลการพิจารณา ของคณะอนุกรรมการศึกษาฯ แล้ว มีมติ ดังนี้
เห็นควรให้ ปตท. เร่งรัดการเจรจาสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ให้ผู้ขายก๊าซ ร่วมรับภาระอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น และพิจารณาแนวทางให้ราคาก๊าซธรรมชาติ มีเสถียรภาพมากขึ้น เห็นชอบการกำหนด อัตราค่าดำเนินการสูงสุด ในการจัดหาก๊าซฯ (โดยคำนวณบนราคาเนื้อก๊าซ 123 บาท/ล้านบีทียู) สำหรับ กฟผ. และ IPP เท่ากับ 2.1525 บาท/ล้านบีทียู และ SPP เท่ากับ 11.4759 บาท/ล้านบีทียู เห็นชอบการกำหนดอัตราผลตอบแทนการลงทุน (ROE) กิจการท่อก๊าซสำหรับโครงการใหม่ เท่ากับร้อยละ 16 (ภายใต้สมมติฐานต้นทุนทางการเงินของ ปตท. เท่ากับ 10.5%) เห็นชอบให้ กฟผ. รับไปดำเนินการเจรจา กับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP และ SPP ) เพื่อลดการส่งผ่านผลกระทบ ของอัตราแลกเปลี่ยนต่อไป เห็นชอบการกำหนดมาตรฐานอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) และการกำหนดมาตรฐานค่าความสูญเสีย (Loss Rate) รายละเอียดตามข้อ 2.3 เห็นชอบให้ปรับลดค่าไฟฟ้าจากการปรับลดแผนการลงทุนจำนวน 7 สตางค์/หน่วย ตั้งแต่การปรับค่า Ft ในรอบต่อไป โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ รับไปดำเนินการ เห็นชอบให้กำหนดอัตราเงินนำส่งรัฐ เงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้า และโบนัสของการไฟฟ้า ตามหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เห็นชอบให้มีการคำนวณค่า Ft ตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ดังเช่นในปัจจุบัน เห็นชอบวิธีการสรรหาผู้แทนผู้บริโภครายย่อย ในคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ โดยให้ประธานกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา เพื่อกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติ รวมทั้งดำเนินการสรรหา รับทราบการดำเนินการประชาสัมพันธ์ และการเปิดเผยข้อมูลในการพิจารณาปรับค่า Ft เห็นชอบให้คงอัตราค่าไฟฟ้าที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้า ได้เช่นในปัจจุบัน และรับทราบการดำเนินการ จัดหามิเตอร์ของ กฟน. และ กฟภ. ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับไปพิจารณาแนวทาง ในการจัดหามิเตอร์ ในประเทศ ที่มีราคาถูกกว่า ระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน มอบหมายให้กระทรวงการคลัง หารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ในการพิจารณาให้การไฟฟ้า มีอิสระในการบริหารหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในกรณีที่เป็นการดำเนินการ จากสภาพคล่องของการไฟฟ้า ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุม เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2544 ได้มีมติรับทราบข้อเสนอคณะอนุกรรมการศึกษา ฯ ตามมติของคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน เรียบร้อยแล้ว
--วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 53 กรกฎาคม-กันยายน 2544--
-ยก-