ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดลำพูน ปี 2542 ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนตามภาวะการผลิตใน ภาคเกษตรที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจสำคัญได้แก่ ข้าวนาปี ลำไย หอมแดงและกระเทียม ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากภาวะอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต ประกอบกับแรงจูงใจจากราคาปีก่อนอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น ส่วนภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนตามการขยายการผลิตของ โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ ทางด้านการลงทุนภาคเอกชนซบเซาตามการหดตัวของเศรษฐกิจ โดยรวมในช่วงที่ผ่านมา ภาคการเงิน เงินฝากและสินเชื่อยังคงลดลงต่อเนื่อง สำหรับ การใช้จ่ายภาครัฐ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ภาคเกษตร พืชเศรษฐกิจสำคัญส่วนใหญ่มีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่ปลูกตามแรงจูงใจด้านราคาปีก่อน ขณะที่ภาวะอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตส่งผลให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงขึ้น โดย ลำไย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 6 เท่าตัว เป็น 46,430 เมตริกตัน ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เป็น 70,605 เมตริกตัน หอมแดง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เป็น 52,711 เมตริกตัน กระเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เป็น 30,117 ตัน และ ข้าวโพด เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เป็น 3,720 เมตริกตัน มีเพียง ใบยาเวอร์จิเนีย ลดลงจากปีก่อนในเกณฑ์สูงถึงร้อยละ 46.7 เหลือ 878 เมตริกตัน ตามความต้องการที่ลดลงของตลาดส่งออกเป็นสำคัญ นอกนั้นได้แก่ ถั่วลิสงและถั่วเหลือง ลดลงร้อยละ 13.3 และร้อยละ 8.5 เหลือ 1,111 เมตริกตัน และ 1,551 เมตริกตัน ตามลำดับ ทางด้านราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ส่วนใหญ่ลดลงจากปีก่อนตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ลำไย ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.34 บาท หรือลดลงจากปีก่อนร้อยละ 74.4 ข้าวนาปีราคาเฉลี่ยเมตริกตันละ 5,191 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 22.4 หอมแดงราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.61 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.7
นอกภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของโรงงานในนิคม อุตสาหกรรมภาคเหนือขยายตัวต่อเนื่องโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 ปีก่อน จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดต่างประเทศทั้งในภูมิภาคเอเซีย ยุโรปและอเมริกา ภาคเหมืองแร่ ผลผลิตแร่สำคัญ ได้แก่ ลิกไนต์ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 6.7 ตามความต้องการใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เนื่องจากมีการหยุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าบางเครื่องเพื่อ ติดตั้งเครื่องดักสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ รวมทั้งการลดความต้องการใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ส่วนหินปูนลดลงร้อยละ 77.2 การใช้จ่ายภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากความมั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจ มากขึ้น ประกอบกับภาวะการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น จากข้อมูลจำนวนผู้ประกันตนในจังหวัดลำพูนของสำนักงานประกัน สังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 13.3 ส่งผลให้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยพิจารณาจากยอดการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 และร้อยละ 12.5 เทียบกับที่ ลดลงร้อยละ 72.9 และร้อยละ 55.5 ปีก่อน ตามลำดับ ภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงจากปีก่อนร้อยละ 33.7 เหลือ 185 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.2 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้วยังลดลงร้อยละ 15.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.0 ปีก่อน ทางด้านสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 6.9 เนื่องจากการเข้มงวดการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ การค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออกและนำเข้าในรูปเงินบาทของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 และร้อยละ 13.9 ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 และร้อยละ 35.9 ปีก่อน ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าลดลงทำให้อัตราการขยายตัวของมูลค่าการค้าชะลอลงจากปีก่อน
การลงทุน/ก่อสร้าง พิจารณาจากโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน แม้ว่าจำนวนโครงการจะใกล้เคียงกับปีก่อนคือ 23 โครงการ แต่มูลค่าเงินลงทุนลดลงร้อยละ 21.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.5 ปีก่อน การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการขยายการลงทุนของกิจการที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ โดยเฉพาะหมวดการ ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีถึง 10 โครงการ รองลงมาได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ 6 โครงการ หมวดอุตสาหกรรมเบา 5 โครงการ และหมวดเกษตรกรรมและผลิตผลเกษตร 2 โครงการ ส่วนจำนวน โรงงานที่จดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนรายและเงินลงทุนร้อยละ 54.6 และร้อยละ 29.6 ตามลำดับ ที่น่าสนใจได้แก่ อุตสาหกรรมห้องเย็น อุตสาหกรรมลำไยอบแห้ง อุตสาหกรรมแปรรูปพืชผักและผลไม้ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น การก่อสร้างพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 19.6 ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 76.2 ปีก่อน ส่วนการก่อสร้างภาครัฐมีเพียงการก่อสร้างอาคารสำนักงานของหน่วยงาน ราชการเท่านั้น ขณะที่การก่อสร้างขนาดใหญ่ได้แก่ ถนน 4 เลน เส้นทางลำพูน-ลำปาง เสร็จสิ้นแล้ว ทางด้านสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างและสินเชื่อเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ลดลงอย่างต่อเนื่องร้อยละ 4.4 และร้อยละ 4.8 ตามลำดับ
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่ง ประเทศไทย (คลังจังหวัดลำพูน) ลดลงร้อยละ 6.7 เหลือ 18,578 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 23.6 ปีก่อน โดยเงินนำฝากและเงินเบิกถอนลดลงร้อยละ 13.0 และร้อยละ 0.5 ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่าจากภาวะเศรษฐกิจ ที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบกับมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทำให้การเบิกถอนเงิน สุทธิของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเกือบ 6 เท่าตัว เป็น 1,434 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เป็น 211 ล้านบาทปีก่อน
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝาก ของธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 7,136 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ปรับลดลง โดยเงินฝากลดลงในเขตอำเภอรอบนอก ร้อยละ 6.6 ขณะที่เงินฝากในเขตอำเภอเมืองอยู่ในระดับ เดียวกับปีก่อน ทางด้านเงินให้ สินเชื่อ มียอดคงค้าง 6,824 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.5 ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 8.7 ปีก่อน ทั้งนี้สินเชื่อยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากการเร่งรัดชำระหนี้ และการชะลอการให้สินเชื่อใหม่ของธนาคารพาณิชย์ สินเชื่อลดลงมากในประเภทเพื่อการพาณิชยกรรม และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล มีเพียงสินเชื่อเพื่อการบริการเท่านั้นที่เพิ่มขึ้น ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน แม้ว่าปริมาณเช็คเรียกเก็บจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เป็น 1,529,195 ฉบับ เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.7 เหลือ 1,506,921 ฉบับปีก่อน แต่มูลค่าเช็คกลับลดลงร้อยละ 10.7 เหลือ 104.6 ล้านบาท แต่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกที่ลดลงร้อยละ 35.3 เหลือ 117.1 ล้านบาทปีก่อน อย่างไรก็ตามปริมาณเช็คที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าปีก่อนของภาคธุรกิจ ส่วนเช็คคืนลดลงทั้งจำนวนฉบับและมูลค่า ร้อยละ 34.5 และร้อยละ 37.3 ตามลำดับ ทางด้านสัดส่วนจำนวนฉบับของเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ในระดับเดียวกับปีก่อนคือร้อยละ 3.7 ขณะที่มูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงเหลือระดับร้อยละ 1.7 เทียบกับระดับร้อยละ 2.5 ปีก่อน
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จาก รายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนทั้งสิ้น 986 ราย วงเงิน 1,806.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 964 ราย วงเงิน 1,659.2 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุง โครงสร้างหนี้จำนวน 68 ราย วงเงิน 121.4 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 918 ราย เป็นเงิน 1,684.8 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดลำพูนปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 2,231 ล้านบาท เทียบกับขาดดุล 2,324 ล้านบาทปีก่อน ขณะที่เงินนอกงบประมาณขาดดุลสูงขึ้นเป็น 818 ล้านบาท เทียบกับขาดดุล 228 ล้านบาทปีก่อน ส่งผลให้ขาดดุลเงินสด 3,048 ล้านบาท เทียบกับขาดดุล 2,552 ล้านบาท ปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายการเร่งเบิกจ่ายและมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จังหวัดลำพูนมีการเบิกจ่ายเงินตามโครงการมิยาซาวาทั้งสิ้น 191 ล้านบาท สำหรับรายได้ที่จัดเก็บได้ในปีนี้ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 18.7 โดยเพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการเลื่อนการชำระภาษี และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานในจังหวัดลำพูนเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการ จ้างงานเพิ่มขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ส่วนรายจ่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.5 ตามการเร่งเบิกจ่าย และการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตร พืชเศรษฐกิจสำคัญส่วนใหญ่มีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่ปลูกตามแรงจูงใจด้านราคาปีก่อน ขณะที่ภาวะอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตส่งผลให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงขึ้น โดย ลำไย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 6 เท่าตัว เป็น 46,430 เมตริกตัน ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เป็น 70,605 เมตริกตัน หอมแดง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เป็น 52,711 เมตริกตัน กระเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เป็น 30,117 ตัน และ ข้าวโพด เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เป็น 3,720 เมตริกตัน มีเพียง ใบยาเวอร์จิเนีย ลดลงจากปีก่อนในเกณฑ์สูงถึงร้อยละ 46.7 เหลือ 878 เมตริกตัน ตามความต้องการที่ลดลงของตลาดส่งออกเป็นสำคัญ นอกนั้นได้แก่ ถั่วลิสงและถั่วเหลือง ลดลงร้อยละ 13.3 และร้อยละ 8.5 เหลือ 1,111 เมตริกตัน และ 1,551 เมตริกตัน ตามลำดับ ทางด้านราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ส่วนใหญ่ลดลงจากปีก่อนตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ลำไย ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.34 บาท หรือลดลงจากปีก่อนร้อยละ 74.4 ข้าวนาปีราคาเฉลี่ยเมตริกตันละ 5,191 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 22.4 หอมแดงราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.61 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.7
นอกภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของโรงงานในนิคม อุตสาหกรรมภาคเหนือขยายตัวต่อเนื่องโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 ปีก่อน จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดต่างประเทศทั้งในภูมิภาคเอเซีย ยุโรปและอเมริกา ภาคเหมืองแร่ ผลผลิตแร่สำคัญ ได้แก่ ลิกไนต์ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 6.7 ตามความต้องการใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เนื่องจากมีการหยุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าบางเครื่องเพื่อ ติดตั้งเครื่องดักสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ รวมทั้งการลดความต้องการใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิงของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ส่วนหินปูนลดลงร้อยละ 77.2 การใช้จ่ายภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากความมั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจ มากขึ้น ประกอบกับภาวะการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น จากข้อมูลจำนวนผู้ประกันตนในจังหวัดลำพูนของสำนักงานประกัน สังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 13.3 ส่งผลให้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยพิจารณาจากยอดการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 และร้อยละ 12.5 เทียบกับที่ ลดลงร้อยละ 72.9 และร้อยละ 55.5 ปีก่อน ตามลำดับ ภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงจากปีก่อนร้อยละ 33.7 เหลือ 185 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.2 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้วยังลดลงร้อยละ 15.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.0 ปีก่อน ทางด้านสินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 6.9 เนื่องจากการเข้มงวดการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ การค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออกและนำเข้าในรูปเงินบาทของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 และร้อยละ 13.9 ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 และร้อยละ 35.9 ปีก่อน ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าลดลงทำให้อัตราการขยายตัวของมูลค่าการค้าชะลอลงจากปีก่อน
การลงทุน/ก่อสร้าง พิจารณาจากโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน แม้ว่าจำนวนโครงการจะใกล้เคียงกับปีก่อนคือ 23 โครงการ แต่มูลค่าเงินลงทุนลดลงร้อยละ 21.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.5 ปีก่อน การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการขยายการลงทุนของกิจการที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ โดยเฉพาะหมวดการ ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีถึง 10 โครงการ รองลงมาได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ 6 โครงการ หมวดอุตสาหกรรมเบา 5 โครงการ และหมวดเกษตรกรรมและผลิตผลเกษตร 2 โครงการ ส่วนจำนวน โรงงานที่จดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนรายและเงินลงทุนร้อยละ 54.6 และร้อยละ 29.6 ตามลำดับ ที่น่าสนใจได้แก่ อุตสาหกรรมห้องเย็น อุตสาหกรรมลำไยอบแห้ง อุตสาหกรรมแปรรูปพืชผักและผลไม้ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น การก่อสร้างพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 19.6 ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 76.2 ปีก่อน ส่วนการก่อสร้างภาครัฐมีเพียงการก่อสร้างอาคารสำนักงานของหน่วยงาน ราชการเท่านั้น ขณะที่การก่อสร้างขนาดใหญ่ได้แก่ ถนน 4 เลน เส้นทางลำพูน-ลำปาง เสร็จสิ้นแล้ว ทางด้านสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างและสินเชื่อเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ลดลงอย่างต่อเนื่องร้อยละ 4.4 และร้อยละ 4.8 ตามลำดับ
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่ง ประเทศไทย (คลังจังหวัดลำพูน) ลดลงร้อยละ 6.7 เหลือ 18,578 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 23.6 ปีก่อน โดยเงินนำฝากและเงินเบิกถอนลดลงร้อยละ 13.0 และร้อยละ 0.5 ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่าจากภาวะเศรษฐกิจ ที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบกับมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทำให้การเบิกถอนเงิน สุทธิของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเกือบ 6 เท่าตัว เป็น 1,434 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เป็น 211 ล้านบาทปีก่อน
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝาก ของธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 7,136 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ปรับลดลง โดยเงินฝากลดลงในเขตอำเภอรอบนอก ร้อยละ 6.6 ขณะที่เงินฝากในเขตอำเภอเมืองอยู่ในระดับ เดียวกับปีก่อน ทางด้านเงินให้ สินเชื่อ มียอดคงค้าง 6,824 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.5 ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 8.7 ปีก่อน ทั้งนี้สินเชื่อยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากการเร่งรัดชำระหนี้ และการชะลอการให้สินเชื่อใหม่ของธนาคารพาณิชย์ สินเชื่อลดลงมากในประเภทเพื่อการพาณิชยกรรม และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล มีเพียงสินเชื่อเพื่อการบริการเท่านั้นที่เพิ่มขึ้น ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน แม้ว่าปริมาณเช็คเรียกเก็บจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เป็น 1,529,195 ฉบับ เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.7 เหลือ 1,506,921 ฉบับปีก่อน แต่มูลค่าเช็คกลับลดลงร้อยละ 10.7 เหลือ 104.6 ล้านบาท แต่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกที่ลดลงร้อยละ 35.3 เหลือ 117.1 ล้านบาทปีก่อน อย่างไรก็ตามปริมาณเช็คที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าปีก่อนของภาคธุรกิจ ส่วนเช็คคืนลดลงทั้งจำนวนฉบับและมูลค่า ร้อยละ 34.5 และร้อยละ 37.3 ตามลำดับ ทางด้านสัดส่วนจำนวนฉบับของเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ในระดับเดียวกับปีก่อนคือร้อยละ 3.7 ขณะที่มูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงเหลือระดับร้อยละ 1.7 เทียบกับระดับร้อยละ 2.5 ปีก่อน
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จาก รายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนทั้งสิ้น 986 ราย วงเงิน 1,806.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 964 ราย วงเงิน 1,659.2 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุง โครงสร้างหนี้จำนวน 68 ราย วงเงิน 121.4 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 918 ราย เป็นเงิน 1,684.8 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดลำพูนปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 2,231 ล้านบาท เทียบกับขาดดุล 2,324 ล้านบาทปีก่อน ขณะที่เงินนอกงบประมาณขาดดุลสูงขึ้นเป็น 818 ล้านบาท เทียบกับขาดดุล 228 ล้านบาทปีก่อน ส่งผลให้ขาดดุลเงินสด 3,048 ล้านบาท เทียบกับขาดดุล 2,552 ล้านบาท ปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายการเร่งเบิกจ่ายและมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จังหวัดลำพูนมีการเบิกจ่ายเงินตามโครงการมิยาซาวาทั้งสิ้น 191 ล้านบาท สำหรับรายได้ที่จัดเก็บได้ในปีนี้ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 18.7 โดยเพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการเลื่อนการชำระภาษี และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานในจังหวัดลำพูนเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการ จ้างงานเพิ่มขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ส่วนรายจ่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.5 ตามการเร่งเบิกจ่าย และการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-