1.สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2.สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
เขตเกษตรเศรษฐกิจ : สำหรับปาล์มน้ำมันและอ้อยโรงงาน
คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจและมาตรการ
ดำเนินการ เพื่อเร่งรัดการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจให้ทันกับการเตรียมแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 คณะอนุกรรมการพัฒนา
กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจฯ ได้พิจารณาเขตเกษตรเศรษฐกิจปาล์มน้ำมัน และอ้อยโรงงาน ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเสนอ
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2543 ได้มีมติเห็นชอบและให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายในคราวประชุมเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2543 ซึ่งคณะกรรมการฯ
ได้มีมติเห็นชอบและให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรดำเนินการประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเขตเกษตรเศรษฐกิจฯ สำหรับปาล์มน้ำมัน
และอ้อยโรงงานต่อไป รายละเอียดของเขตเกษตรเศรษฐกิจดังกล่าว มีดังนี้
1. เขตเกษตรเศรษฐกิจปาล์มน้ำมัน ประกอบด้วย 12 จังหวัด 56 อำเภอ 273 ตำบล รายละเอียดดังนี้
1. สุราษฎร์ธานี รวม 16 อำเภอ 85 ตำบล
2. ชุมพร รวม 7 อำเภอ 22 ตำบล
3. ระนอง รวม 3 อำเภอ 4 ตำบล
4. สงขลา รวม 3 อำเภอ 20 ตำบล
5. นครศรีธรรมราช รวม 3 อำเภอ 17 ตำบล
6. พัทลุง รวม 4 อำเภอ 19 ตำบล
7. สตูล รวม 3 อำเภอ 13 ตำบล
8. ภูเก็ต รวม 1 อำเภอ 3 ตำบล
9. พังงา รวม 4 อำเภอ 13 ตำบล
10. กระบี่ รวม 6 อำเภอ 42 ตำบล
11. ตรัง รวม 6 อำเภอ 29 ตำบล
12. ประจวบคีรีขันธ์ รวม 1 อำเภอ 7 ตำบล
1. จังหวัดอุดรธานี รวม 9 อำเภอ 70 ตำบล
2. จังหวัดหนองบัวลำภู รวม 2 อำเภอ 19 ตำบล
3. จังหวัดเลย รวม 3 อำเภอ 23 ตำบล
4. จังหวัดขอนแก่น รวม 11 อำเภอ 100 ตำบล
5. จังหวัดกาฬสินธุ์ รวม 4 อำเภอ 45 ตำบล
6. จังหวัดมหาสารคาม รวม 3 อำเภอ 33 ตำบล
7. จังหวัดร้อยเอ็ด รวม 1 อำเภอ 8 ตำบล
8. จังหวัดสกลนคร รวม 1 อำเภอ 4 ตำบล
9. จังหวัดมุกดาหาร รวม 4 อำเภอ 27 ตำบล
10. จังหวัดชัยภูมิ รวม 13 อำเภอ 79 ตำบล
11. จังหวัดนครราชสีมา รวม 19 อำเภอ 151 ตำบล
12. จังหวัดบุรีรัมย์ รวม 5 อำเภอ 50 ตำบล
13. จังหวัดราชบุรี รวม 4 อำเภอ 51 ตำบล
14. ประจวบคีรีขันธ์ รวม 2 อำเภอ 11 ตำบล
15. จังหวัดกาญจนบุรี รวม 4 อำเภอ 25 ตำบล
16. จังหวัดสุพรรณบุรี รวม 6 อำเภอ 29 ตำบล
17. จังหวัดนครปฐม รวม 3 อำเภอ 32 ตำบล
18. จังหวัดชัยนาท รวม 1 อำเภอ 3 ตำบล
19. จังหวัดสิงห์บุรี รวม 3 อำเภอ 17 ตำบล
20. จังหวัดอ่างทอง รวม 2 อำเภอ 16 ตำบล
21. จังหวัดลพบุรี รวม 6 อำเภอ 31 ตำบล
22. จังหวัดสระบุรี รวม 3 อำเภอ 17 ตำบล
23. จังหวัดระยอง รวม 3 อำเภอ 21 ตำบล
24. จังหวัดชลบุรี รวม 4 อำเภอ 35 ตำบล
25. จังหวัดสระแก้ว รวม 5 อำเภอ 32 ตำบล
26. จังหวัดฉะเชิงเทรา รวม 3 อำเภอ 6 ตำบล
27. จังหวัดพิษณุโลก รวม 6 อำเภอ 55 ตำบล
28. จังหวัดพิจิตร รวม 2 อำเภอ 16 ตำบล
29. จังหวัดกำแพงเพชร รวม 8 อำเภอ 15 ตำบล
30. จังหวัดอุตรดิตถ์ รวม 1 อำเภอ 2 ตำบล
31. จังหวัดลำปาง รวม 1 อำเภอ 12 ตำบล
32. จังหวัดนครสวรรค์ รวม 6 อำเภอ 36 ตำบล
33. จังหวัดเพชรบูรณ์ รวม 1 อำเภอ 7 ตำบล
34. จังหวัดอุทัยธานี รวม 2 อำเภอ 6 ตำบล
35. จังหวัดสุโขทัย รวม 5 อำเภอ 29 ตำบล
มันฝรั่ง : การขอนำเข้ามันฝรั่งเพื่อทำพันธุ์เพิ่มเติม ปี 2543
คณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง คราวประชุมครั้งที่ 2/2543
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2543 ได้ให้ความเห็นชอบการนำเข้าหัวมันฝรั่งทำพันธุ์เพิ่มเติม ปี 2543 ดังนี้
พันธุ์โรงงาน ปริมาณตัน
- บริษัทเป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด 5,315.256
-บริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟูดส์ จำกัด 464.400
- บริษัทยูนิแซมป์ จำกัด 87.000
- บริษัทกอร์ดอน แอนด์ อันเนสเอเซีย จำกัด 50.000
- บริษัทเชียงใหม่ธนาธรการเกษตร จำกัด 25.000
- โครงการลดพื้นที่ปลูกหอมหัวใหญ่และกระเทียม 284.750
รวม 6,226.406
พันธุ์บริโภค ปริมาณตัน
- บริษัทซี พี เค แพลนเตชั่น จำกัด 12.500
- สหกรณ์ผู้ปลูกมันฝรั่งเชียงใหม่ จำกัด 127.000
- สหกรณ์ผู้ปลูกมันฝรั่งไชยปราการ ฝาง จำกัด 33.000
รวม 172.500
รวมทั้งหมด 6,398.906
บริษัทได้ทำสัญญาข้อตกลงกำหนดหลักเกณฑ์ในการรับซื้อผลผลิตตามเกรดและได้มาตรฐาน อยู่ระหว่างราคากิโลกรัมละ
6.50-7.30 บาท ราคาขายหัวพันธุ์ไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาท
การขึ้นทะเบียน : เกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย ปี 2543
1. ความเป็นมา
คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ในคราวประชุม เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2542 เห็นชอบในแนวทาง
ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย จากการยกเว้นอากรขาเข้าฝ้าย โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้นำเข้าต้องรับซื้อฝ้ายในประเทศ
ในปริมาณและราคาที่เหมาะสม รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการดูแลการรับซื้อฝ้าย คณะทำงานดูแลการรับซื้อฝ้ายระดับจังหวัด และกำหนดให้เกษตรกร
ผู้ปลูกฝ้ายในปีการผลิต 2542/43 ท้องที่ 33 จังหวัด ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ปลูกฝ้ายปี 2542 ภายใน 60 วัน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2542 ถึงวันที่ 30
ธันวาคม 2542
2.ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
2.1 การรับซื้อผลผลิตในประเทศ ปี 2542/43
ได้กำหนดราคาฝ้ายปุยในประเทศอ้างอิงจาก ราคาซื้อขายฝ้ายปุยล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ค ฝ้ายปุยไทยความยาวเส้นใย
1 3/32 นิ้ว เทียบเท่ากับคุณภาพฝ้าย T3 และความชื้นไม่เกินร้อยละ 8.5 ราคา ณ หน้าโรงงานกิโลกรัมละ 49.69 บาท และ T4 ราคากิโลกรัมละ
47.69 บาท เมื่อคิดทอนเป็นฝ้ายดอกชั้น 1 ราคา ณ หน้าโรงหีบกิโลกรัมละ 16.23 บาท และฝ้ายดอกชั้น 2 ราคากิโลกรัมละ 15.53 บาท
โดยเกษตรกรได้รับราคาเฉลี่ย ณ ไร่นา ฝ้ายชั้น 1 กิโลกรัมละ 15.26 บาท
ปัญหาที่สำคัญ คือสภาพฝนตกชุกในช่วงเก็บเกี่ยวส่งผลให้คุณภาพฝ้ายต่ำลง ไม่เป็นไปตามที่ตกลง ทำให้การทำ
สัญญาซื้อขายฝ้ายล่าช้า
2.2 การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย ปี 2542
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
โดยมีเป้าหมายจำนวนเกษตรกร 35,000 ราย สามารถดำเนินการขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้เพียงร้อยละ 22.42 ของเป้าหมาย ดังนี้
1. จำนวนเกษตรกรขึ้นทะเบียน 7,846 ราย
2. เนื้อที่ปลูกฝ้าย 55,941 ไร่
3. ผลผลิตรวม 10,990,000 กก.
ปัญหาที่สำคัญคือการขึ้นทะเบียนล่าช้าไปถึงเดือนธันวาคมซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว
เกษตรกรได้ทยอยขายฝ้ายไปมากแล้ว ส่งผลให้มีระยะเวลาการขึ้นทะเบียนสั้นลง
3. การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย ปี 2543
จากการที่เกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย ปี 2542 มาขึ้นทะเบียนเพียงร้อยละ 22.42 ดังนั้น ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายและ
แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 2/2543 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2543 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรจึงเสนอให้มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
ผู้ปลูกฝ้ายในปี 2543/44 เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายได้รับประโยชน์ในการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดราคารับ
ซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาที่เหมาะสมในแต่ละปี
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจ-การเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการ
ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกฝ้ายปี 2543 ในท้องที่ 33 จังหวัด ภายใน 60 วัน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2543 เป็นต้นไป
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 32 ประจำวันที่ 14 - 20 ส.ค. 2543--
-สส-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2.สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
เขตเกษตรเศรษฐกิจ : สำหรับปาล์มน้ำมันและอ้อยโรงงาน
คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจและมาตรการ
ดำเนินการ เพื่อเร่งรัดการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจให้ทันกับการเตรียมแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 คณะอนุกรรมการพัฒนา
กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจฯ ได้พิจารณาเขตเกษตรเศรษฐกิจปาล์มน้ำมัน และอ้อยโรงงาน ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเสนอ
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2543 ได้มีมติเห็นชอบและให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายในคราวประชุมเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2543 ซึ่งคณะกรรมการฯ
ได้มีมติเห็นชอบและให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรดำเนินการประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเขตเกษตรเศรษฐกิจฯ สำหรับปาล์มน้ำมัน
และอ้อยโรงงานต่อไป รายละเอียดของเขตเกษตรเศรษฐกิจดังกล่าว มีดังนี้
1. เขตเกษตรเศรษฐกิจปาล์มน้ำมัน ประกอบด้วย 12 จังหวัด 56 อำเภอ 273 ตำบล รายละเอียดดังนี้
1. สุราษฎร์ธานี รวม 16 อำเภอ 85 ตำบล
2. ชุมพร รวม 7 อำเภอ 22 ตำบล
3. ระนอง รวม 3 อำเภอ 4 ตำบล
4. สงขลา รวม 3 อำเภอ 20 ตำบล
5. นครศรีธรรมราช รวม 3 อำเภอ 17 ตำบล
6. พัทลุง รวม 4 อำเภอ 19 ตำบล
7. สตูล รวม 3 อำเภอ 13 ตำบล
8. ภูเก็ต รวม 1 อำเภอ 3 ตำบล
9. พังงา รวม 4 อำเภอ 13 ตำบล
10. กระบี่ รวม 6 อำเภอ 42 ตำบล
11. ตรัง รวม 6 อำเภอ 29 ตำบล
12. ประจวบคีรีขันธ์ รวม 1 อำเภอ 7 ตำบล
1. จังหวัดอุดรธานี รวม 9 อำเภอ 70 ตำบล
2. จังหวัดหนองบัวลำภู รวม 2 อำเภอ 19 ตำบล
3. จังหวัดเลย รวม 3 อำเภอ 23 ตำบล
4. จังหวัดขอนแก่น รวม 11 อำเภอ 100 ตำบล
5. จังหวัดกาฬสินธุ์ รวม 4 อำเภอ 45 ตำบล
6. จังหวัดมหาสารคาม รวม 3 อำเภอ 33 ตำบล
7. จังหวัดร้อยเอ็ด รวม 1 อำเภอ 8 ตำบล
8. จังหวัดสกลนคร รวม 1 อำเภอ 4 ตำบล
9. จังหวัดมุกดาหาร รวม 4 อำเภอ 27 ตำบล
10. จังหวัดชัยภูมิ รวม 13 อำเภอ 79 ตำบล
11. จังหวัดนครราชสีมา รวม 19 อำเภอ 151 ตำบล
12. จังหวัดบุรีรัมย์ รวม 5 อำเภอ 50 ตำบล
13. จังหวัดราชบุรี รวม 4 อำเภอ 51 ตำบล
14. ประจวบคีรีขันธ์ รวม 2 อำเภอ 11 ตำบล
15. จังหวัดกาญจนบุรี รวม 4 อำเภอ 25 ตำบล
16. จังหวัดสุพรรณบุรี รวม 6 อำเภอ 29 ตำบล
17. จังหวัดนครปฐม รวม 3 อำเภอ 32 ตำบล
18. จังหวัดชัยนาท รวม 1 อำเภอ 3 ตำบล
19. จังหวัดสิงห์บุรี รวม 3 อำเภอ 17 ตำบล
20. จังหวัดอ่างทอง รวม 2 อำเภอ 16 ตำบล
21. จังหวัดลพบุรี รวม 6 อำเภอ 31 ตำบล
22. จังหวัดสระบุรี รวม 3 อำเภอ 17 ตำบล
23. จังหวัดระยอง รวม 3 อำเภอ 21 ตำบล
24. จังหวัดชลบุรี รวม 4 อำเภอ 35 ตำบล
25. จังหวัดสระแก้ว รวม 5 อำเภอ 32 ตำบล
26. จังหวัดฉะเชิงเทรา รวม 3 อำเภอ 6 ตำบล
27. จังหวัดพิษณุโลก รวม 6 อำเภอ 55 ตำบล
28. จังหวัดพิจิตร รวม 2 อำเภอ 16 ตำบล
29. จังหวัดกำแพงเพชร รวม 8 อำเภอ 15 ตำบล
30. จังหวัดอุตรดิตถ์ รวม 1 อำเภอ 2 ตำบล
31. จังหวัดลำปาง รวม 1 อำเภอ 12 ตำบล
32. จังหวัดนครสวรรค์ รวม 6 อำเภอ 36 ตำบล
33. จังหวัดเพชรบูรณ์ รวม 1 อำเภอ 7 ตำบล
34. จังหวัดอุทัยธานี รวม 2 อำเภอ 6 ตำบล
35. จังหวัดสุโขทัย รวม 5 อำเภอ 29 ตำบล
มันฝรั่ง : การขอนำเข้ามันฝรั่งเพื่อทำพันธุ์เพิ่มเติม ปี 2543
คณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง คราวประชุมครั้งที่ 2/2543
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2543 ได้ให้ความเห็นชอบการนำเข้าหัวมันฝรั่งทำพันธุ์เพิ่มเติม ปี 2543 ดังนี้
พันธุ์โรงงาน ปริมาณตัน
- บริษัทเป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด 5,315.256
-บริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟูดส์ จำกัด 464.400
- บริษัทยูนิแซมป์ จำกัด 87.000
- บริษัทกอร์ดอน แอนด์ อันเนสเอเซีย จำกัด 50.000
- บริษัทเชียงใหม่ธนาธรการเกษตร จำกัด 25.000
- โครงการลดพื้นที่ปลูกหอมหัวใหญ่และกระเทียม 284.750
รวม 6,226.406
พันธุ์บริโภค ปริมาณตัน
- บริษัทซี พี เค แพลนเตชั่น จำกัด 12.500
- สหกรณ์ผู้ปลูกมันฝรั่งเชียงใหม่ จำกัด 127.000
- สหกรณ์ผู้ปลูกมันฝรั่งไชยปราการ ฝาง จำกัด 33.000
รวม 172.500
รวมทั้งหมด 6,398.906
บริษัทได้ทำสัญญาข้อตกลงกำหนดหลักเกณฑ์ในการรับซื้อผลผลิตตามเกรดและได้มาตรฐาน อยู่ระหว่างราคากิโลกรัมละ
6.50-7.30 บาท ราคาขายหัวพันธุ์ไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาท
การขึ้นทะเบียน : เกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย ปี 2543
1. ความเป็นมา
คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ในคราวประชุม เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2542 เห็นชอบในแนวทาง
ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย จากการยกเว้นอากรขาเข้าฝ้าย โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้นำเข้าต้องรับซื้อฝ้ายในประเทศ
ในปริมาณและราคาที่เหมาะสม รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการดูแลการรับซื้อฝ้าย คณะทำงานดูแลการรับซื้อฝ้ายระดับจังหวัด และกำหนดให้เกษตรกร
ผู้ปลูกฝ้ายในปีการผลิต 2542/43 ท้องที่ 33 จังหวัด ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ปลูกฝ้ายปี 2542 ภายใน 60 วัน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2542 ถึงวันที่ 30
ธันวาคม 2542
2.ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
2.1 การรับซื้อผลผลิตในประเทศ ปี 2542/43
ได้กำหนดราคาฝ้ายปุยในประเทศอ้างอิงจาก ราคาซื้อขายฝ้ายปุยล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ค ฝ้ายปุยไทยความยาวเส้นใย
1 3/32 นิ้ว เทียบเท่ากับคุณภาพฝ้าย T3 และความชื้นไม่เกินร้อยละ 8.5 ราคา ณ หน้าโรงงานกิโลกรัมละ 49.69 บาท และ T4 ราคากิโลกรัมละ
47.69 บาท เมื่อคิดทอนเป็นฝ้ายดอกชั้น 1 ราคา ณ หน้าโรงหีบกิโลกรัมละ 16.23 บาท และฝ้ายดอกชั้น 2 ราคากิโลกรัมละ 15.53 บาท
โดยเกษตรกรได้รับราคาเฉลี่ย ณ ไร่นา ฝ้ายชั้น 1 กิโลกรัมละ 15.26 บาท
ปัญหาที่สำคัญ คือสภาพฝนตกชุกในช่วงเก็บเกี่ยวส่งผลให้คุณภาพฝ้ายต่ำลง ไม่เป็นไปตามที่ตกลง ทำให้การทำ
สัญญาซื้อขายฝ้ายล่าช้า
2.2 การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย ปี 2542
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
โดยมีเป้าหมายจำนวนเกษตรกร 35,000 ราย สามารถดำเนินการขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้เพียงร้อยละ 22.42 ของเป้าหมาย ดังนี้
1. จำนวนเกษตรกรขึ้นทะเบียน 7,846 ราย
2. เนื้อที่ปลูกฝ้าย 55,941 ไร่
3. ผลผลิตรวม 10,990,000 กก.
ปัญหาที่สำคัญคือการขึ้นทะเบียนล่าช้าไปถึงเดือนธันวาคมซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว
เกษตรกรได้ทยอยขายฝ้ายไปมากแล้ว ส่งผลให้มีระยะเวลาการขึ้นทะเบียนสั้นลง
3. การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย ปี 2543
จากการที่เกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย ปี 2542 มาขึ้นทะเบียนเพียงร้อยละ 22.42 ดังนั้น ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายและ
แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 2/2543 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2543 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรจึงเสนอให้มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
ผู้ปลูกฝ้ายในปี 2543/44 เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายได้รับประโยชน์ในการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดราคารับ
ซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาที่เหมาะสมในแต่ละปี
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจ-การเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการ
ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกฝ้ายปี 2543 ในท้องที่ 33 จังหวัด ภายใน 60 วัน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2543 เป็นต้นไป
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 32 ประจำวันที่ 14 - 20 ส.ค. 2543--
-สส-