บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย
การเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๖ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองเกาะสมุย
พ.ศ. …. ซึ่ง นายประวิช นิลวัชรมณี กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติช่างเทคนิค พ.ศ. …. ซึ่ง นายสมควร
โอบอ้อม และนายนิโรธ สุนทรเลขา เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์ผู้สูงอายุ พ.ศ. ….
ซึ่ง นางนิภา พริ้งศุลกะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนประกันความเสี่ยงในการผลิต
ของเกษตรกร พ.ศ. …. ซึ่ง นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ และนายธีรโชต กองทอง
เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เยาวชน
และครอบครัว พ.ศ. …. ซึ่ง นางปวีณา หงสกุล เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒. รับทราบเรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำเรื่อง
ศาลขออนุญาตดำเนินคดีอาญา หมายเลขดำที่ ๖๒๑๖/๒๕๓๖ ซึ่ง
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ถูกฟ้องเป็นจำเลยในระหว่างสมัยประชุม
ออกจากระเบียบวาระการประชุมตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมร้องขอ เนื่องจาก
เหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๕๗
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงาน
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ จำนวน ๓ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๓ ครั้งดังกล่าว
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอให้เลื่อนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสภาการเกษตรแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน ๖๔,๓๖๘ คน เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑) ออกไปก่อน
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ ที่ประชุมได้ลงมติให้เลื่อนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปก่อน
หลังจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่
คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ ร่างพระราชบัญญัติเลื่อยยนต์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยได้แก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติเป็นร่างพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ….
และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป ตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ลงมติ
เห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย โดยในระหว่างการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัตินี้รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๓๐ นาฬิกา
ศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ....
********************************
ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย
การเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๖ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองเกาะสมุย
พ.ศ. …. ซึ่ง นายประวิช นิลวัชรมณี กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติช่างเทคนิค พ.ศ. …. ซึ่ง นายสมควร
โอบอ้อม และนายนิโรธ สุนทรเลขา เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์ผู้สูงอายุ พ.ศ. ….
ซึ่ง นางนิภา พริ้งศุลกะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนประกันความเสี่ยงในการผลิต
ของเกษตรกร พ.ศ. …. ซึ่ง นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ และนายธีรโชต กองทอง
เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เยาวชน
และครอบครัว พ.ศ. …. ซึ่ง นางปวีณา หงสกุล เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒. รับทราบเรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำเรื่อง
ศาลขออนุญาตดำเนินคดีอาญา หมายเลขดำที่ ๖๒๑๖/๒๕๓๖ ซึ่ง
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ถูกฟ้องเป็นจำเลยในระหว่างสมัยประชุม
ออกจากระเบียบวาระการประชุมตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมร้องขอ เนื่องจาก
เหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๕๗
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงาน
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ จำนวน ๓ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๓ ครั้งดังกล่าว
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอให้เลื่อนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสภาการเกษตรแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน ๖๔,๓๖๘ คน เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑) ออกไปก่อน
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ ที่ประชุมได้ลงมติให้เลื่อนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปก่อน
หลังจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่
คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ ร่างพระราชบัญญัติเลื่อยยนต์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยได้แก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติเป็นร่างพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ….
และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป ตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ลงมติ
เห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย โดยในระหว่างการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัตินี้รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๓๐ นาฬิกา
ศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ....
********************************