ตลาดแรก
ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ออกใหม่ในประเทศมีจำนวน 89.0พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบเท่าตัว ทั้งนี้เนื่องจากในปีก่อน มีการออกพันธบัตรภาครัฐบาล เพื่อโครงการเพิ่มทุนชั้นที่ 1 และ 2 แก่สถาบันการเงินเป็นจำนวนมาก และ การเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์ในตราสารทุนและตราสารหนี้ในรูป SLIPS&CAPS กว่า 100 พันล้านบาท สำหรับหุ้นทุนของภาคที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเพิ่มทุน 4.4 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มทุนของกลุ่มสื่อสาร พลังงาน วัสดุก่อสร้างเป็นสำคัญ ส่วนหุ้นกู้มีการออกจำหน่ายแบบเฉพาะเจาะจงอย่างคึกคักในช่วงไตรมาสที่ 1 ถึง 47.6 พันล้านบาท เนื่องจากการออกประกาศของก.ล.ต. ที่กำหนดให้ผู้ที่จะออกหุ้นกู้เกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยวิธีขายเฉพาะเจาะจงจะต้องผ่านการจัดอันดับความน่าเชื่อ (Credit Rating ) ก่อน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 เม.ย นี้ ทำให้ภาคธุรกิจเร่งออกหุ้นกู้เฉพาะมี.ค.สูงถึง 42.8 พันล้านบาท ที่สำคัญได้แก่บมจ.ปูนซีเมนต์ไทย บมจ.แอดวานซ์ อินโฟฯ และ บมจ.สยามพาณิชย์ลิสซิ่ ง สำหรับพันธบัตรรัฐบาลออกมาเพื่อเป็นเครื่องมืออีกรูปแบบหนึ่งในการออมทรัพย์ของประชาชนและชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ทางด้านรัฐวิสาหกิจที่สำคัญได้แก่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้ออกพันธบัตรเพื่อนำไปเพิ่มทุนให้บริษัทไทยออยส์และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ออกพันธบัตรเพื่อชำระค่าก่อสร้างทางเป็นสำคัญ
ตลาดรอง
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2543 นี้ ตลาดฯเริ่มปรับตัวสูงขึ้นเหนือ 400 จุด ที่ 400.32 จุด มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันทำการกว่า 6,000 ล้านบาทเท่ากับ 6,343.47 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ13.72 และ 84.72 ตามลำดับ ปัจจัยบวกที่สำคัญได้แก่ (1) การคาดการณ์ผลประกอบการของสถาบันการเงินไตรมาสที่ 1 จะออกมาดี เนื่องจากกำไรส่วนต่างของดอกเบี้ยดีขื้น โดยเฉพาะต้นทุนเงินฝากที่ลดลงต่อเนื่อง แม้ดอกเบี้ยรับจากการปล่อยสินเชื่อไม่เพิ่มขึ้นก็ตาม (2) การปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีดาวโจนส์ และ ดัชนีในแถบภูมิภาคนี้ (3) การคาดว่า MOODY จะปรับอันดับความน่าเชื่อถือให้กับประเทศไทย (4) การฟ้องล้มละลายบริษัท TPI ซึ่งเจ้าหนี้เป็นฝ่ายชนะ โดยฝ่ายเจ้าหนี้เป็นผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ (5) ความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ของธนาคารกรุงไทย โดยกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท และ (6) นอกจากนั้นตลาดหลักทรัพย์ยังได้พยายามปรับปรุงกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อเอื้อให้มีบริษัทเข้ามาจดทะเบียน โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยี่สารสนเทศ (IT) และ ชี้ชวนบริษัทที่ไปจดทะเบียนในต่างประเทศกลับเข้าด้วย รวมทั้งจะรับการกระจายหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่จะแปลงเป็นธุรกิจอาทิ โรงไฟฟ้าราชบุรี เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ออกใหม่ในประเทศมีจำนวน 89.0พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบเท่าตัว ทั้งนี้เนื่องจากในปีก่อน มีการออกพันธบัตรภาครัฐบาล เพื่อโครงการเพิ่มทุนชั้นที่ 1 และ 2 แก่สถาบันการเงินเป็นจำนวนมาก และ การเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์ในตราสารทุนและตราสารหนี้ในรูป SLIPS&CAPS กว่า 100 พันล้านบาท สำหรับหุ้นทุนของภาคที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเพิ่มทุน 4.4 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มทุนของกลุ่มสื่อสาร พลังงาน วัสดุก่อสร้างเป็นสำคัญ ส่วนหุ้นกู้มีการออกจำหน่ายแบบเฉพาะเจาะจงอย่างคึกคักในช่วงไตรมาสที่ 1 ถึง 47.6 พันล้านบาท เนื่องจากการออกประกาศของก.ล.ต. ที่กำหนดให้ผู้ที่จะออกหุ้นกู้เกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป ด้วยวิธีขายเฉพาะเจาะจงจะต้องผ่านการจัดอันดับความน่าเชื่อ (Credit Rating ) ก่อน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 เม.ย นี้ ทำให้ภาคธุรกิจเร่งออกหุ้นกู้เฉพาะมี.ค.สูงถึง 42.8 พันล้านบาท ที่สำคัญได้แก่บมจ.ปูนซีเมนต์ไทย บมจ.แอดวานซ์ อินโฟฯ และ บมจ.สยามพาณิชย์ลิสซิ่ ง สำหรับพันธบัตรรัฐบาลออกมาเพื่อเป็นเครื่องมืออีกรูปแบบหนึ่งในการออมทรัพย์ของประชาชนและชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ทางด้านรัฐวิสาหกิจที่สำคัญได้แก่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้ออกพันธบัตรเพื่อนำไปเพิ่มทุนให้บริษัทไทยออยส์และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ออกพันธบัตรเพื่อชำระค่าก่อสร้างทางเป็นสำคัญ
ตลาดรอง
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2543 นี้ ตลาดฯเริ่มปรับตัวสูงขึ้นเหนือ 400 จุด ที่ 400.32 จุด มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันทำการกว่า 6,000 ล้านบาทเท่ากับ 6,343.47 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ13.72 และ 84.72 ตามลำดับ ปัจจัยบวกที่สำคัญได้แก่ (1) การคาดการณ์ผลประกอบการของสถาบันการเงินไตรมาสที่ 1 จะออกมาดี เนื่องจากกำไรส่วนต่างของดอกเบี้ยดีขื้น โดยเฉพาะต้นทุนเงินฝากที่ลดลงต่อเนื่อง แม้ดอกเบี้ยรับจากการปล่อยสินเชื่อไม่เพิ่มขึ้นก็ตาม (2) การปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีดาวโจนส์ และ ดัชนีในแถบภูมิภาคนี้ (3) การคาดว่า MOODY จะปรับอันดับความน่าเชื่อถือให้กับประเทศไทย (4) การฟ้องล้มละลายบริษัท TPI ซึ่งเจ้าหนี้เป็นฝ่ายชนะ โดยฝ่ายเจ้าหนี้เป็นผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ (5) ความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ของธนาคารกรุงไทย โดยกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท และ (6) นอกจากนั้นตลาดหลักทรัพย์ยังได้พยายามปรับปรุงกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อเอื้อให้มีบริษัทเข้ามาจดทะเบียน โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยี่สารสนเทศ (IT) และ ชี้ชวนบริษัทที่ไปจดทะเบียนในต่างประเทศกลับเข้าด้วย รวมทั้งจะรับการกระจายหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่จะแปลงเป็นธุรกิจอาทิ โรงไฟฟ้าราชบุรี เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-