สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--10 มี.ค.--นิวส์สแตนด์
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ปาล์มน้ำมัน : ราคาโน้มตัวต่ำลง
กรมการค้าภายในรายงานตัวเลขผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบปี 2542 มีเท่ากับ 707,951 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2541 ซึ่งผลิตได้ 352,118 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 101 ดังนั้น ณ สิ้นธันวาคมสต็อคคงเหลือยกมามีเท่ากับ 180,577 ตัน ซึ่งเป็นระดับสต็อคที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา สำหรับปี 2543 คาดว่าผลผลิติปาล์มสดจะมีน้อยลงเมื่อเท่ากับปี 2542 แต่ก็ยังอยู่ในเกรณ์ดี และเริ่มออกสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา จากภาวะสต็อคคงเหลือที่มีอยู่เกณฑ์สูง ผลผลิตเริ่มออกมากและราคาต่างประเทศโน้มตัวต่ำลง ได้ส่งผลให้ราคาปาล์มสดและน้ำมันดิบในประเทศโน้มตัวลดลงใกล้เคียงกับราคาในตลาดมาเลเซีย โดยราคาผลปาล์มสดลดลงจากกิโลกรัมละ 1.38 บาท ในสัปดาห์ที่แล้ว เหลือกิโลกรัมละ 1.29 บาทในสัปดาห์นี้ ราคาน้ำมันดิบลดลงจากกิโลกรัมละ 11.40 บาท ในสัปดาห์ที่แล้วเหลือกิโลกรัมละ 10.76 บาท ในสัปดาห์นี้โดยราคานี้ใกล้เคียงกับราคาน้ำมันปาล์มในตลาดมาเลเซียซึ่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.28-10.53 บาทในปัจจุบัน
สำหรับแนวโน้มการค้าในตลาดต่างประเทศนั้น มาเลเซียส่งออกลดลงมากตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 เนื่องจากประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ อาทิ อินเดีย ปากีสถาน เพิ่มภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์ม เพื่อคุ้มครองการผลิตน้ำมันพืชภายใน ประกอบกับราคาน้ำมันพืชแข่งขัน คือ น้ำมันถั่วเหลืองมีราคาลดลง และส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มโน้มต่ำลง และอาจดีงให้ราคาของไทย
ข้อคิดเห็น
1. ให้ อคส. เร่งส่งออกน้ำมันปาล์มดิบที่รับซื้อไว้ตามโครงการแทรกแซงตลาดนำมันดิบ ปี 2542 เพื่อลดปริมาณน้ำมันดิบภายในประเทศ
2. การกวดขันการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย เนื่องจากส่วนต่างของราคาน้ำมันบริสุทธิ์ในขณะนี้ส่งผลให้มีการลักลอบน้ำเข้ามากขึ้น
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 มันสำปะหลัง : ปีหน้าราคายังไม่ดีขึ้น
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรว่า ได้วิเคราะห์นโยบายเกษตรร่วมของสหภาพยุโรป ตาม Agenda 2000 ซึ่งจะลดราคาประกันธัญพืชทุกชนิดลงในอัตราร้อยละ 7.50 ต่อปี ระหว่างปี 2543/44 - 2544/45 โดยจะจ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรด้วยอีกตันละ 63 อีซียู ซึ่งมาตรการดังกล่าวนี้จะส่งผลให้เกษตรกรของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปมีรายได้คงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะส่งผลโดยรวมทำให้ราคาธัญพืชในตลาดสหภาพยุโรปลดลง ถึงแม้ว่าการใช้มาตรการนี้ไม่ขัดต่อข้อตกลงการค้าภายใต้ WTO เพราะเป็นมาตรการ Blue Box ที่ปฏิบัติได้ตามข้อยกเว้นของ WTO แต่การอุดหนุนนี้จะส่งผลเป็นการบิดเบือนต่อราคา และการค้าสินค้าเกษตรในตลาดโลก ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อราคาส่งออกมันอัดเม็ดของไทย
ซึ่งจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราคาธัญพืชของตลาดสหถาพยุโรปกับราคามันสำปะหลังของไทย พบว่า ราคาสินค้าทั้งสองมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก กล่าวคือ ถ้าราคาธัญพืชลดลง จะส่งผลให้ราคามันสำปะหลังส่งออกจากไทยลดลงไปด้วย และสอดคล้องกับที่ผู้ส่งออกมันอัดเม็ดได้ซื้อขายล่วงหน้ามันอัดเม็ดในเดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2543 เมื่อทอนเป็นราคาส่งออก FOB กรุงเทพ จะเป็นตันละ 65 - 68 ดอลลาร์สหรัฐ ฉะนั้น หากราคามันสำปะหลังอัดเม็ดที่ส่งออกไปสหภาพยุโรปขายได้ในราคาดังกล่าว จะมีผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ ลดลงเหลือเพียงกิโลกรัมละ 0.70-0.75 บาท ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนเช่นปีที่ผ่านมา
ข้อเสนอแนะ
เพื่อที่จะลดผลกระทบจากราคามันสำปะหลังที่จะเกิดขึ้น ควรดำเนินการดังนี้
1) ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบถึงสถานการณ์มันสำปะหลัง ปี 2544
2) เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกพืชแบบผสมผสานตามโครงการปรับโครงสร้างระบบการผลิตทางการเกษตร
3) เร่งรัดการลดต้นทุนการผลิตให้มีการใช้พันธุ์ที่มีผลผลิตต่อไร่และเปอร์เซนต์ แป้งมันสูง เช่น พันธุ์ระยอง 5 ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 90 ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
4) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์หัวมันสดในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และอาหารสัตว์
5) ศึกษารายละเอียดประเด็นการใช้มาตรการลดราคาธัญพืชและอุดหนุนรายได้ของสหภาพยุโรป เพื่อเสนอให้คณะผู้แทนไทยใน WTO ใช้ในการเจรจาหารือกับสหภาพยุโรป และ WTO ต่อไป
2.2 ไข่ไก่ : ราคาเริ่มกระเตื้องขึ้น
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ หน่วย : บาท/ฟอง
ปี มค. กพ. มีค. เมย. พค. มิย. กค. สค. กย. ตค. พย. ธค. เฉลี่ย
2542 1.87 1.82 1.83 1.80 1.86 1.89 1.86 1.83 1.74 1.66 1.62 1.67 1.79
2543 1.59 1.44
จากราคาที่ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนตุลาคม 2542 เป็นต้นมา และลดลงมากในเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ฟองละ 1.44 บาท และเฉลี่ยฟองละ 1.36 บาทในแหล่งเลี้ยงภาคกลาง ในขณะที่ต้นทุนการผลิตในเดือนมกราคมเฉลี่ยฟองละ 1.56 บาท ส่งผลให้ผู้เลี้ยงประสบกับภาวะขาดทุน สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาตกต่ำมาจากผลผลิตที่มีปริมาณมากเกินความต้องการ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศหนาวเย็นในช่วงปลายปี ทำให้อัตราการให้ไข่ดี ในขณะที่ผู้เลี้ยงได้ชะลอการปลดแม่ไก่ไข่ไปจนถึงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งอยู่ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เพราะคาดว่าราคาแม่ไก่ไข่จะสูงกว่าปกติ ส่งผลให้มีผลผลิตไข่ไก่สะสมในตลาดเป็นปริมาณมาก ในขณะที่ความต้องการบริโภคไม่ได้เพิ่มขึ้น และราคาตกต่ำลงมาก
จากภาวะการณ์ดังกล่าว ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคราชการและกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา โดยภาครัฐฯ ได้แทรกแซงตลาดด้วยการรวบรวมไข่ไก่เก็บเข้าห้องเย็น ในขณะที่กลุ่มผู้เลี้ยงได้ผลักดันให้ส่งออกไข่ไก่เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้ปลดไก่แก่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลจากการดำเนินงานทำให้ภาวะการซื้อขายไข่ไก่ปรับตัวดีขึ้น โดยราคาเริ่มทรงตัวหลังจากลดต่ำมาโดยตลอด ซึ่งราคาใน 2 สัปดาห์แรกทรงตัวอยู่ที่ฟองละ 1.43 บาท และราคาในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ทรงตัวอยู่ที่ฟองละ 1.45 บาท คาดว่าหลังจากเดือนกุมภาพันธ์ไปแล้ว ราคาจะกระเตื้องขึ้นอีก เพราะนอกจากปริมาณแม่ไก่ไข่ที่ลดลงแล้ว สภาพอากาศที่เริ่มร้อนขึ้นในเดือนหน้า จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตไข่ไก่มีปริมาณน้อยลง และราคาไข่ไก่มีโอกาสปรับสูงขึ้น
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 28 ก.พ.- 5 มี.ค. 2543--
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ปาล์มน้ำมัน : ราคาโน้มตัวต่ำลง
กรมการค้าภายในรายงานตัวเลขผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบปี 2542 มีเท่ากับ 707,951 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2541 ซึ่งผลิตได้ 352,118 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 101 ดังนั้น ณ สิ้นธันวาคมสต็อคคงเหลือยกมามีเท่ากับ 180,577 ตัน ซึ่งเป็นระดับสต็อคที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา สำหรับปี 2543 คาดว่าผลผลิติปาล์มสดจะมีน้อยลงเมื่อเท่ากับปี 2542 แต่ก็ยังอยู่ในเกรณ์ดี และเริ่มออกสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา จากภาวะสต็อคคงเหลือที่มีอยู่เกณฑ์สูง ผลผลิตเริ่มออกมากและราคาต่างประเทศโน้มตัวต่ำลง ได้ส่งผลให้ราคาปาล์มสดและน้ำมันดิบในประเทศโน้มตัวลดลงใกล้เคียงกับราคาในตลาดมาเลเซีย โดยราคาผลปาล์มสดลดลงจากกิโลกรัมละ 1.38 บาท ในสัปดาห์ที่แล้ว เหลือกิโลกรัมละ 1.29 บาทในสัปดาห์นี้ ราคาน้ำมันดิบลดลงจากกิโลกรัมละ 11.40 บาท ในสัปดาห์ที่แล้วเหลือกิโลกรัมละ 10.76 บาท ในสัปดาห์นี้โดยราคานี้ใกล้เคียงกับราคาน้ำมันปาล์มในตลาดมาเลเซียซึ่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.28-10.53 บาทในปัจจุบัน
สำหรับแนวโน้มการค้าในตลาดต่างประเทศนั้น มาเลเซียส่งออกลดลงมากตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 เนื่องจากประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ อาทิ อินเดีย ปากีสถาน เพิ่มภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์ม เพื่อคุ้มครองการผลิตน้ำมันพืชภายใน ประกอบกับราคาน้ำมันพืชแข่งขัน คือ น้ำมันถั่วเหลืองมีราคาลดลง และส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มโน้มต่ำลง และอาจดีงให้ราคาของไทย
ข้อคิดเห็น
1. ให้ อคส. เร่งส่งออกน้ำมันปาล์มดิบที่รับซื้อไว้ตามโครงการแทรกแซงตลาดนำมันดิบ ปี 2542 เพื่อลดปริมาณน้ำมันดิบภายในประเทศ
2. การกวดขันการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย เนื่องจากส่วนต่างของราคาน้ำมันบริสุทธิ์ในขณะนี้ส่งผลให้มีการลักลอบน้ำเข้ามากขึ้น
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 มันสำปะหลัง : ปีหน้าราคายังไม่ดีขึ้น
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรว่า ได้วิเคราะห์นโยบายเกษตรร่วมของสหภาพยุโรป ตาม Agenda 2000 ซึ่งจะลดราคาประกันธัญพืชทุกชนิดลงในอัตราร้อยละ 7.50 ต่อปี ระหว่างปี 2543/44 - 2544/45 โดยจะจ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรด้วยอีกตันละ 63 อีซียู ซึ่งมาตรการดังกล่าวนี้จะส่งผลให้เกษตรกรของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปมีรายได้คงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะส่งผลโดยรวมทำให้ราคาธัญพืชในตลาดสหภาพยุโรปลดลง ถึงแม้ว่าการใช้มาตรการนี้ไม่ขัดต่อข้อตกลงการค้าภายใต้ WTO เพราะเป็นมาตรการ Blue Box ที่ปฏิบัติได้ตามข้อยกเว้นของ WTO แต่การอุดหนุนนี้จะส่งผลเป็นการบิดเบือนต่อราคา และการค้าสินค้าเกษตรในตลาดโลก ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อราคาส่งออกมันอัดเม็ดของไทย
ซึ่งจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างราคาธัญพืชของตลาดสหถาพยุโรปกับราคามันสำปะหลังของไทย พบว่า ราคาสินค้าทั้งสองมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก กล่าวคือ ถ้าราคาธัญพืชลดลง จะส่งผลให้ราคามันสำปะหลังส่งออกจากไทยลดลงไปด้วย และสอดคล้องกับที่ผู้ส่งออกมันอัดเม็ดได้ซื้อขายล่วงหน้ามันอัดเม็ดในเดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2543 เมื่อทอนเป็นราคาส่งออก FOB กรุงเทพ จะเป็นตันละ 65 - 68 ดอลลาร์สหรัฐ ฉะนั้น หากราคามันสำปะหลังอัดเม็ดที่ส่งออกไปสหภาพยุโรปขายได้ในราคาดังกล่าว จะมีผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ ลดลงเหลือเพียงกิโลกรัมละ 0.70-0.75 บาท ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนเช่นปีที่ผ่านมา
ข้อเสนอแนะ
เพื่อที่จะลดผลกระทบจากราคามันสำปะหลังที่จะเกิดขึ้น ควรดำเนินการดังนี้
1) ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบถึงสถานการณ์มันสำปะหลัง ปี 2544
2) เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกพืชแบบผสมผสานตามโครงการปรับโครงสร้างระบบการผลิตทางการเกษตร
3) เร่งรัดการลดต้นทุนการผลิตให้มีการใช้พันธุ์ที่มีผลผลิตต่อไร่และเปอร์เซนต์ แป้งมันสูง เช่น พันธุ์ระยอง 5 ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 90 ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
4) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์หัวมันสดในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร และอาหารสัตว์
5) ศึกษารายละเอียดประเด็นการใช้มาตรการลดราคาธัญพืชและอุดหนุนรายได้ของสหภาพยุโรป เพื่อเสนอให้คณะผู้แทนไทยใน WTO ใช้ในการเจรจาหารือกับสหภาพยุโรป และ WTO ต่อไป
2.2 ไข่ไก่ : ราคาเริ่มกระเตื้องขึ้น
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ หน่วย : บาท/ฟอง
ปี มค. กพ. มีค. เมย. พค. มิย. กค. สค. กย. ตค. พย. ธค. เฉลี่ย
2542 1.87 1.82 1.83 1.80 1.86 1.89 1.86 1.83 1.74 1.66 1.62 1.67 1.79
2543 1.59 1.44
จากราคาที่ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนตุลาคม 2542 เป็นต้นมา และลดลงมากในเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ฟองละ 1.44 บาท และเฉลี่ยฟองละ 1.36 บาทในแหล่งเลี้ยงภาคกลาง ในขณะที่ต้นทุนการผลิตในเดือนมกราคมเฉลี่ยฟองละ 1.56 บาท ส่งผลให้ผู้เลี้ยงประสบกับภาวะขาดทุน สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาตกต่ำมาจากผลผลิตที่มีปริมาณมากเกินความต้องการ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศหนาวเย็นในช่วงปลายปี ทำให้อัตราการให้ไข่ดี ในขณะที่ผู้เลี้ยงได้ชะลอการปลดแม่ไก่ไข่ไปจนถึงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งอยู่ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เพราะคาดว่าราคาแม่ไก่ไข่จะสูงกว่าปกติ ส่งผลให้มีผลผลิตไข่ไก่สะสมในตลาดเป็นปริมาณมาก ในขณะที่ความต้องการบริโภคไม่ได้เพิ่มขึ้น และราคาตกต่ำลงมาก
จากภาวะการณ์ดังกล่าว ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคราชการและกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา โดยภาครัฐฯ ได้แทรกแซงตลาดด้วยการรวบรวมไข่ไก่เก็บเข้าห้องเย็น ในขณะที่กลุ่มผู้เลี้ยงได้ผลักดันให้ส่งออกไข่ไก่เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้ปลดไก่แก่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลจากการดำเนินงานทำให้ภาวะการซื้อขายไข่ไก่ปรับตัวดีขึ้น โดยราคาเริ่มทรงตัวหลังจากลดต่ำมาโดยตลอด ซึ่งราคาใน 2 สัปดาห์แรกทรงตัวอยู่ที่ฟองละ 1.43 บาท และราคาในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ทรงตัวอยู่ที่ฟองละ 1.45 บาท คาดว่าหลังจากเดือนกุมภาพันธ์ไปแล้ว ราคาจะกระเตื้องขึ้นอีก เพราะนอกจากปริมาณแม่ไก่ไข่ที่ลดลงแล้ว สภาพอากาศที่เริ่มร้อนขึ้นในเดือนหน้า จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตไข่ไก่มีปริมาณน้อยลง และราคาไข่ไก่มีโอกาสปรับสูงขึ้น
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 28 ก.พ.- 5 มี.ค. 2543--