ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประจำเดือน ม.ค. 43 จากแบบสำรวจของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 107 ตัวอย่าง ดังนี้ :-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ม.ค. 43 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอีกในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ภาพรวมธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ม.ค. 43 อยู่ที่ระดับร้อยละ 53.2 สูงกว่าเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 51.9และอยู่พ้นระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ (ร้อยละ 50.0) โดยปัจจัยความเชื่อมั่นทางธุรกิจส่วนใหญ่ดีขึ้นจากเดือนก่อนไม่ว่าจะเป็นด้านผลประกอบการ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม ด้านการจ้างงาน และแนวโน้มการส่งออก ยกเว้นปัจจัยความเชื่อมั่นด้านต้นทุนการประกอบการกลับลดลง
สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในระยะ 4 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ เห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นในเดือน ก.พ. 43 อยู่ที่ร้อยละ 53.4 และช่วง มี.ค.-พ.ค. 43 อยู่ที่ร้อยละ 53.5 ซึ่งสูงกว่าระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปในเดือน ม.ค. ลดลงจากเดือนก่อน ดัชนีปริมาณสินค้าคงคลังมีค่าเท่ากับร้อยละ 47.2 ต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ย (ร้อยละ 50) ผู้ประกอบการมีการควบคุมสต๊อกสินค้าให้พอเหมาะกับปริมาณสั่งซื้อเพื่อควบคุมต้นทุนการผลิตและยังมีภาระในการบริหารสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ ผู้ประกอบการที่มีตลาดในประเทศประสบปัญหาการแข่งขันทางธุรกิจทั้งด้านตลาดและราคาสูงขึ้นจากเดือนก่อน ดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ในระดับร้อยละ 33.3 การแข่งขันยังคงรุนแรง เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศลดลง โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 54.2 เห็นว่าการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศสูงขึ้น
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการส่งออกมีการแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นจากเดือนก่อน ดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 35.4 เทียบกับการแข่งขันในระดับปกติ (คือร้อยละ 50) การแข่งขันยังคงมีความรุนแรง โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 58.3 เห็นว่าการแข่งขันด้านการส่งออกสูงขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการ ร้อยละ 33.3 เห็นว่าการแข่งขันด้านการส่งออกยังคงเท่าเดิม
2.3 ภาวะการเงินเดือน ม.ค. 43 ดีขึ้นจากเดือนก่อน ผู้ประกอบการให้เครดิตกับลูกค้า และมีสภาพคล่องในธุรกิจเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ยังสูงขึ้นจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค. 43 ผู้ประกอบการเห็นว่ามีแนวโน้มลดลง ธุรกิจจะมีสภาพคล่องลดลง ดัชนีอยู่ที่ร้อยละ 54.7 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะสูงขึ้นดัชนีอยู่ที่ร้อยละ 49.4 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 50.5 เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเท่าเดิม สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ผู้ประกอบการเห็นว่าแนวโน้มค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลง ซึ่งอาจจะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 ภาครัฐควรช่วยดูแลราคาสินค้าเกษตรสำคัญ เนื่องจากราคาส่วนใหญ่ยังคงตกต่ำ
3.2 การปรับโครงสร้างหนี้ของผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ไม่ค่อยมีปัญหานัก จะมีปัญหามากในกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ ๆ
3.3 ขณะนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองก่อนตัดสินใจลงทุน ขณะเดียวกันผู้ประกอบการบางรายเริ่มขยายการลงทุน
3.4 ต้นทุนการประกอบการสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้น
3.5 ธนาคารพาณิชย์ควรคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกิน 7-8%
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 44.9 42.1 12.1
2. อำนาจซื้อของประชาชน 46.7 37.4 12.1
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 26.2 62.6 10.3
4. การจ้างงานในธุรกิจ 16.8 74.8 7.5
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 46.7 40.2 10.3
6. แนวโน้มการส่งออก 32.0 60.0 8.0
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง
- วัตถุดิบ 22.4 38.3 14.0 25.2
- สินค้าสำเร็จรูป 25.2 46.7 15.0 13.1
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 54.2 34.6 0.9 10.3
- ต่างประเทศ 58.3 33.3 8.3 -
3. ภาวะการเงินเดือน ม.ค. 43
- ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 20.6 58.9 10.3 10.3
- การให้เครดิตแก่ลูกค้า 10.3 67.3 10.3 12.1
- สภาพคล่อง 19.6 64.5 12.1 3.7
4. แนวโน้มตลาดเงินที่คาดไว้ในเดือน มี.ค.-พ.ค. 43
เทียบกับเดือน ม.ค. 43
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 16.8 50.5 15.0 17.8
- อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ 19.6 44.9 15.9 19.6
- สภาพคล่อง 23.4 53.3 7.5 15.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ม.ค. 43 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอีกในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ภาพรวมธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ม.ค. 43 อยู่ที่ระดับร้อยละ 53.2 สูงกว่าเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 51.9และอยู่พ้นระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ (ร้อยละ 50.0) โดยปัจจัยความเชื่อมั่นทางธุรกิจส่วนใหญ่ดีขึ้นจากเดือนก่อนไม่ว่าจะเป็นด้านผลประกอบการ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม ด้านการจ้างงาน และแนวโน้มการส่งออก ยกเว้นปัจจัยความเชื่อมั่นด้านต้นทุนการประกอบการกลับลดลง
สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในระยะ 4 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ เห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นในเดือน ก.พ. 43 อยู่ที่ร้อยละ 53.4 และช่วง มี.ค.-พ.ค. 43 อยู่ที่ร้อยละ 53.5 ซึ่งสูงกว่าระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปในเดือน ม.ค. ลดลงจากเดือนก่อน ดัชนีปริมาณสินค้าคงคลังมีค่าเท่ากับร้อยละ 47.2 ต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ย (ร้อยละ 50) ผู้ประกอบการมีการควบคุมสต๊อกสินค้าให้พอเหมาะกับปริมาณสั่งซื้อเพื่อควบคุมต้นทุนการผลิตและยังมีภาระในการบริหารสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ ผู้ประกอบการที่มีตลาดในประเทศประสบปัญหาการแข่งขันทางธุรกิจทั้งด้านตลาดและราคาสูงขึ้นจากเดือนก่อน ดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ในระดับร้อยละ 33.3 การแข่งขันยังคงรุนแรง เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศลดลง โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 54.2 เห็นว่าการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศสูงขึ้น
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการส่งออกมีการแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นจากเดือนก่อน ดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 35.4 เทียบกับการแข่งขันในระดับปกติ (คือร้อยละ 50) การแข่งขันยังคงมีความรุนแรง โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 58.3 เห็นว่าการแข่งขันด้านการส่งออกสูงขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการ ร้อยละ 33.3 เห็นว่าการแข่งขันด้านการส่งออกยังคงเท่าเดิม
2.3 ภาวะการเงินเดือน ม.ค. 43 ดีขึ้นจากเดือนก่อน ผู้ประกอบการให้เครดิตกับลูกค้า และมีสภาพคล่องในธุรกิจเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ยังสูงขึ้นจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค. 43 ผู้ประกอบการเห็นว่ามีแนวโน้มลดลง ธุรกิจจะมีสภาพคล่องลดลง ดัชนีอยู่ที่ร้อยละ 54.7 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะสูงขึ้นดัชนีอยู่ที่ร้อยละ 49.4 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 50.5 เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเท่าเดิม สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ผู้ประกอบการเห็นว่าแนวโน้มค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลง ซึ่งอาจจะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 ภาครัฐควรช่วยดูแลราคาสินค้าเกษตรสำคัญ เนื่องจากราคาส่วนใหญ่ยังคงตกต่ำ
3.2 การปรับโครงสร้างหนี้ของผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ไม่ค่อยมีปัญหานัก จะมีปัญหามากในกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ ๆ
3.3 ขณะนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองก่อนตัดสินใจลงทุน ขณะเดียวกันผู้ประกอบการบางรายเริ่มขยายการลงทุน
3.4 ต้นทุนการประกอบการสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้น
3.5 ธนาคารพาณิชย์ควรคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกิน 7-8%
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 44.9 42.1 12.1
2. อำนาจซื้อของประชาชน 46.7 37.4 12.1
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 26.2 62.6 10.3
4. การจ้างงานในธุรกิจ 16.8 74.8 7.5
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 46.7 40.2 10.3
6. แนวโน้มการส่งออก 32.0 60.0 8.0
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง
- วัตถุดิบ 22.4 38.3 14.0 25.2
- สินค้าสำเร็จรูป 25.2 46.7 15.0 13.1
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 54.2 34.6 0.9 10.3
- ต่างประเทศ 58.3 33.3 8.3 -
3. ภาวะการเงินเดือน ม.ค. 43
- ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 20.6 58.9 10.3 10.3
- การให้เครดิตแก่ลูกค้า 10.3 67.3 10.3 12.1
- สภาพคล่อง 19.6 64.5 12.1 3.7
4. แนวโน้มตลาดเงินที่คาดไว้ในเดือน มี.ค.-พ.ค. 43
เทียบกับเดือน ม.ค. 43
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 16.8 50.5 15.0 17.8
- อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ 19.6 44.9 15.9 19.6
- สภาพคล่อง 23.4 53.3 7.5 15.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-