1. เรื่องทั่วไป
โรมาเนียเป็นตลาดระดับล่าง ชาวโรมาเนียนิยมซื้อสินค้าราคาถูกและสินค้าปลอมที่ติดตราสินค้ามีชื่อเสียง เช่น กระเป๋า เสื้อผ้า เครื่องหนัง ซึ่งผู้ส่งออกไทยควรให้ความสนใจมากขึ้น เพราะอาจเป็นช่องทางให้ขยายการค้าได้ง่ายกว่าตลาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป โดยสินค้าไทยที่มีลู่ทางและโอกาสทางการตลาด ได้แก่ สินค้าปลากระป๋องและสับปะรดกระป๋อง ขณะนี้คู่แข่งของไทยในตลาดโรมาเนีย เช่น ตุรกี กรีซ และจีน ได้ใช้กลยุทธ์เดินทางไปขยายช่องทางการค้าและการลงทุนในโรมาเนีย เนื่องจากพ่อค้าโรมาเนียชอบติดต่อพบปะกับผู้ขายโดยตรง
ปัญหาทางการค้าระหว่างไทยกับโรมาเนียในส่วนของภาครัฐบาลได้มีการประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรค แต่ยังไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม อุปสรรคที่สำคัญ คือ ปัญหาเรื่องการขนส่งซึ่งปัจจุบันไม่มีเส้นทางที่บินตรงระหว่างบูคาเรสต์-กรุงเทพฯ เนื่องจากสายการบิน Tarom ของโรมาเนียได้ยกเลิกไปแล้ว สำหรับปัญหาในส่วนของผู้ส่งออกเอง ส่วนใหญ่ขาดอำนาจต่อรอง เพราะเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร2. ธุรกิจที่นำเข้าหรือสนใจที่จะนำเข้าจากไทย
2.1 บริษัท Al GHAZAL Coffee & Reastery Srl. เป็นผู้ผลิตอาหารว่างที่ทำจากถั่วลิสง เช่น ถั่วคั่วอบ เกลือ และถั่วเคลือบช็อกโกแล็ต ฯลฯ โดยนำเข้าวัตถุดิบจากจีนและสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้นำเข้าสินค้าปลากระป๋อง ผัก และผลไม้กระป๋อง โดยมีแหล่งนำเข้าจากไทย อิตาลี เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งเป็นผู้นำเข้าโดยตรงในสินค้าปลาซาร์ดินกระป๋อง ปลาทูน่ากระป๋อง และสับปะรดกระป๋องจากไทย โดยติดตราสินค้าของตนเองชื่อ "BENNY" (พิมพ์เป็นภาษาโรมาเนียและติดสลากในประเทศไทย) แล้วจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าส่งอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้ ยังนำเข้าผลไม้รวม (ฟรุตค็อกเทล) จากไทย แต่ไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เนื่องจากฟรุตค็อกเทลของไทยมีผลไม้รวมเพียง 4 ชนิด (สับปะรด มะละกอ ฝรั่ง และกล้วยหอม) ในขณะที่ตลาดต้องการส่วนผสมที่เป็นผลไม้รวม 5 ชนิด (องุ่น มะละกอ/สับปะรด พีช แพร์ และเชอรี่เชื่อม) โดยเฉพาะชาวโรมาเนียนิยมบริโภคกล้วยหอมสดมากกว่าที่เป็นส่วนผสมในผลไม้รวม ขณะนี้บริษัทฯ มีโครงการจะขยายการนำเข้าอาหารกระป๋องจากไทยเพิ่มขึ้น และสนใจที่จะเดินทางมาพบเพื่อติดต่อผู้ประกอบการของไทยโดยตรง
2.2 บริษัท Omnitro Trading Srl. เป็นผู้ค้าส่งรายใหญ่ในสินค้าอาหารและเครื่องสำอาง โดยสั่งซื้อผ่านสำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอนเพื่อส่งให้แก่ซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ ๆ ของโรมาเนีย เช่น Metro Billa และห้างซุปเปอร์ Chain Store หลายสาขาทั่วประเทศ สินค้าที่บริษัทนำเข้าจากไทย คือ อาหารกระป๋อง ได้แก่ ปลาซาร์ดีน ทูน่า และสับปะรด วางจำหน่ายโดยใช้ Brand ของตนเอง คือ MARCO Polo และ Brand อื่น ๆ เช่น John West และ Del Monte นอกจากสินค้าดังกล่าวข้างต้นแล้ว บริษัทฯ ยังนำเข้าข้าวชนิด Italian Grade ในราคาขายปลีกกิโลกรัมละ 25 - 30 บาท และ Egypt Grade ในราคากิโลกรัมละ 15 - 20 บาท ดังนั้น หากผู้ส่งออกข้าวของไทยจะเปิดตลาดในโรมาเนียควรส่งออกข้าวคุณภาพ 15-25% และต้องใช้กลยุทธ์ราคาเพื่อแข่งขันกับอียิปต์ แต่หากเป็นข้าวหอมมะลิซึ่งมีราคาแพง ตลาดจะค่อนข้างจำกัด และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด
2.3 บริษัท M & Sons International Trading Srl. เป็นผู้นำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภค และสินค้าเกษตรจากไทยแล้วขายต่อผู้ค้าส่ง รวมทั้งส่งโดยตรงถึงห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีก โดยมีทั้งที่ใช้ Brand ของตนเอง และของไทย สินค้าที่นำเข้าจากไทย ได้แก่ สินค้าเครื่องใช้สำหรับเด็กอ่อน อาทิ ขวดนม หัวนมยาง และของใช้เด็กอ่อนที่ทำจากพลาสติก ซึ่งสินค้าเหล่านี้เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมในตลาดอย่างแพร่หลาย สำหรับสินค้าจากไทยที่บริษัทสนใจนำเข้าเพิ่มเติม ได้แก่ ผ้าเช็ดตัว (Cotton Towel) และเสื้อผ้าเด็ก บริษัทสนใจที่จะเดินทางไปประเทศไทยเพื่อติดต่อเลือกซื้อสินค้าด้วยตนเอง ตลอดจนหาลู่ทางนำเข้าสินค้าเกษตร เนื่องจากปีนี้โรมาเนียประสบปัญหาการเก็บเกี่ยวพืชผล ประกอบกับรัฐบาลโรมาเนียประกาศอนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดกว่า 0.5 ล้านตัน ซึ่งผู้ส่งออกไทยที่สนใจอาจเสนอขายได้3. ปัญหาและอุปสรรคของผู้ส่งออกสินค้าไทยไปโรมาเนีย
3.1 ผู้ผลิตปลากระป๋องของไทยบางรายไม่รักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้า เช่น ลดน้ำมันในปลาทูน่ากระป๋อง หรือใส่ส่วนผสมในอัตราที่ต่ำกว่าที่ระบุไว้บนฉลากสินค้า ตลอดจนสินค้าสับปะรดกระป๋องของไทยใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและความหวานด้อยกว่าสับปะรดกระป๋องที่มีแหล่งผลิตจากมณฑลกวางโจวของจีน
3.2 การสั่งซื้อสินค้าจากไทยมีขั้นตอนยุ่งยาก ต้องใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1.5 - 2 เดือน สินค้าจึงสามารถออกวางจำหน่ายในตลาดได้ โดยใช้เวลาขนส่งถึงท่าเรือประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นต้องรอหน่วยงานตรวจสอบสินค้าอาหารของโรมาเนียอีกประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อขอใบรับรองก่อนออกวางตลาด ในขณะที่การนำสินค้าชนิดเดียวกันจากประเทศใกล้เคียง เช่น อิตาลี สเปน ตุรกี ใช้เวลาทั้งสิ้นเพียง 2-3 สัปดาห์เท่านั้น หรือบางกรณีเมื่อสินค้าถึงท่าเรือแล้ว เอกสารการจัดส่งหรือลายเซ็นต์ในแบบฟอร์มรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าไม่ตรงกับตัวอย่างลายเซ็นต์ที่เจ้าหน้าที่โรมาเนียมีอยู่ ทำให้เสียเวลาตรวจสอบและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าเพิ่มขึ้น 3.3 ปัจจุบันการแข่งขันทางการค้ารุนแรงขึ้น โดยมีสินค้าจากแหล่งผลิตอื่นและสินค้าอาหารชนิดใหม่ๆให้เลือกซื้อในตลาดอย่างหลากหลายและมีเป็นจำนวนมาก กอปรกับไทยเป็นผู้ครองตลาดปลากระป๋องและสับปะรดกระป๋องในโรมาเนียมาช้านาน ทำให้มีผู้ค้าบางรายลักลอบนำปลากระป๋องไทยที่ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานเข้ามาจำหน่ายในราคาต่ำ และบางครั้งปลากระป๋องของไทยถูกสั่งห้ามจำหน่าย เนื่องจากไม่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรมาเนีย ทำให้สินค้าไทยเสียชื่อเสียงและความนิยม ประกอบกับในระยะหลังผู้ผลิตของไทยมักขาดการจัดส่งหรือส่งสินค้าล่าช้า ทำให้สินค้าขาดตลาด การนำส่งสินค้าให้แก่ร้านค้าทำได้ไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้ายี่ห้ออื่นแทน
3.4 สินค้านำเข้าจากไทยมีข้อเสียเปรียบเรื่องการชำระเงินเนื่องจากผู้ประกอบการไทยไม่กล้าให้เครดิต ขณะที่ผู้นำเข้าที่มีเงินทุนไม่เพียง อาจต้องกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยสูง และแม้ว่าสินค้าไทยอาจมีความน่าสนใจและราคาขายต่ำ แต่ก็มีผู้นำเข้าหลายรายในโรมาเนียซื้อสินค้าจากประเทศใกล้เคียงในราคาแพงกว่าสินค้าไทย เพราะเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายและระยะเวลาแล้วได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับการสั่งซื้อสินค้าจากไทย4. ภาครัฐและภาคเอกชนพยายามที่จะผลักดันให้ไทยและโรมาเนียมีความสัมพันธ์ทางการค้าต่อกันมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2544 ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าไทย-โรมาเนีย ครั้งที่ 10 ซึ่งผลการประชุมหารือสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้.-
4.1 การหารือระหว่างหัวหน้าคณะฝ่ายไทย (รมว. กระทรวงพาณิชย์) และโรมาเนีย
4.1.1 ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะผลักดันมูลค่าการค้าระหว่างกันให้ขยายตัวสูงขึ้น และได้กำหนดเป้าหมายไว้ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี โดยมีแนวทางการดำเนินการ ได้แก่ คัดเลือกสินค้าที่เห็นว่ามีศักยภาพ เพื่อให้การสนับสนุนในรูปการกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกต่าง ๆ ทั้งนี้ฝ่ายไทยได้เสนอที่จะใช้การค้าแบบตัดบัญชี (Account Trade) เพื่อเสริมการค้าให้คล่องตัวยิ่งขึ้นด้วย
4.1.2 นอกจากนี้ในการส่งเสริมความร่วมมือดั้านการค้าและการลงทุนโดยใช้ประเทศของตนเป็นประตูเชื่อมโยงไปสู่ประเทศอื่นในภูมิภาคของตน ทั้งนี้หัวหน้าคณะฝ่ายโรมาเนียได้เชิญหัวหน้าคณะฝ่ายไทย (รมว.กระทรวงพาณิชย์) นำคณะทั้งภาครัฐและเอกชนไปเยือนประเทศโรมาเนียในช่วงเดือนตุลาคมศกนี้ เพื่อขยายความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนสองฝ่าย และเข้าร่วมในงานแสดงสินค้าที่จะจัดขึ้น
4.2 การทบทวนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
4.2.1 ฝ่ายไทยได้กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศโดยในปี 2544 รัฐบาลไทยได้ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในด้านการเร่งแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เพิ่มศักยภาพธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ตลอดจนปรับปรุงประสิทธิภาพการส่งออก โดยคาดว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้จะขยายตัวระหว่าง 2.0-3.0%
4.2.2 ฝ่ายโรมาเนียได้บรรยายสรุปสภาวะเศรษฐกิจของประเทศว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศโดยเร่งรัดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้ากับประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย
4.3 การทบทวนการค้าไทย-โรมาเนีย
4.3.1 ฝ่ายไทยสรุปการค้าสองฝ่ายว่า ความสัมพันธ์ทางการค้าเป็นไปอย่างราบรื่นมา โดยตลอด ถึงแม้จะมีมูลค่าค่อนข้างน้อยเพียงร้อยละ 0.03 ของมูลค่าการค้ารวมของไทยในปี 2543 อย่างไรก็ตาม ในช่วงสี่เดือนแรกของปี 2544 การค้าสองฝ่ายเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยมีอัตราขยายตัวร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2543 สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก คือ เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศ ปลากระป๋อง เสื้อผ้าสำเร็จรูป และสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากโรมาเนีย คือ ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ และยาฆ่าแมลง
4.3.2 ฝ่ายโรมาเนียแจ้งว่า สถิติการค้าในส่วนของโรมาเนียมีตัวเลขการค้าสองฝ่ายแตกต่างจากของฝ่ายไทย ทั้งนี้สองฝ่ายเห็นชอบให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติการค้าระหว่างกัน เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง
4.3.3 สองฝ่ายได้ตกลงที่จะดำเนินความพยายามในการส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายของความสัมพันธ์ด้านการค้าบนพื้นฐานของความสมดุลและผลประโยชน์ และได้มีการกำหนดเป้าหมายมูลค่าการค้าระหว่างกันให้บรรลุ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการใช้การค้าแบบตัดบัญชี (Account Trade) ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดโดยความเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย
4.4 ความร่วมมือทางการค้า
4.4.1 ประเด็นการค้า ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะนำประเด็นปัญหาด้านภาษีการนำเข้าสินค้าที่แต่ละฝ่ายเห็นว่ามีอัตราสูงเข้าสู่การเจรจาทั้งในกรอบของ GSTP รอบต่อไป และกรอบการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) และเห็นชอบในการที่จะผลักดันร่างความตกลงการยอมรับร่วมในผลการตรวจสอบและการรับรองระหว่างสองประเทศ (Agreement on Mutual Recognition of Conformity Assessment - MRA) ต่อไป รวมทั้งแลกเปลี่ยนรายการสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกของแต่ละฝ่าย โดยรายการสินค้าของฝ่ายไทยมี 19 รายการ ส่วนของฝ่ายโรมาเนียมี 20 รายการ
4.4.2 มาตรการส่งเสริมการค้าและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะสนับสนุนการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและนิทรรศการที่จัดขึ้นของประเทศทั้งสอง และเห็นพ้องว่าภาคเอกชนของทั้งสองประเทศควรที่จะเข้าร่วมในงานแสดงสินค้าที่มีการจัดขึ้น และให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการค้าระหว่างกัน โดยฝ่ายโรมาเนียได้เสนอร่างความตกลงความร่วมมือด้านการประสานงานและการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้าระหว่างศูนย์การค้าต่างประเทศของโรมาเนีย (The Romanian Foreign Trade Center) และกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ของไทย เพื่อให้แต่ละฝ่ายใช้เป็นเครื่องมือในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างสองภูมิภาค
4.5 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
4.5.1 การลงทุน ฝ่ายไทยได้เชิญชวนให้ฝ่ายโรมาเนียมาลงทุนในประเทศไทยในอุตสาหกรรมสาขาที่โรมาเนียมีความถนัด เช่น เครื่องสำอาง เคมีภัณฑ์ และการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนฝ่ายโรงมาเนียได้เชิญชวนให้ภาคเอกชนของไทยเข้าไปลงทุนในโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมพลังงาน และการท่องเที่ยว โดยสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะสนับสนุนให้บริษัทไทยและโรมาเนียจัดตั้งโครงการตามที่สองฝ่ายเสนอและยังได้ตกลงที่จะขยายความร่วมมือที่จะส่งเสริมให้ทั้งสองประเทศเป็นประตูการค้าและการลงทุนสู่ภูมิภาคของทั้งสองฝ่าย
4.5.2 การธนาคาร ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญในความร่วมมือระหว่างธนาคารของทั้งสองประเทศ
4.5.3 ความตกลงทวิภาคีทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะหารือเกี่ยวกับข้อตกลงทวิภาคีระหว่างกันที่ยังคั่งค้างอยู่ เพื่อให้บรรลุข้อสรุปและสามารถลงนามกันได้
4.6.1 ฝ่ายไทยได้แจ้งว่า ความร่วมมือทางการค้าระดับภูมิภาคมีส่วนเกื้อหนุนต่อความพยายามระหว่างประเทศ เพื่อก่อให้เกิดการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจของโลก และรายงานความคืบหน้าของความร่วมมือทางการค้าระดับภูมิภาคและพหุภาคีที่ประเทศไทยมีส่วนร่วมอยู่ด้วยทั้ง ASEAN WTO และ APEC
4.6.2 สำหรับฝ่ายโรมาเนียได้รายงานให้ทราบถึงความคืบหน้าของความร่วมมือในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของโรมาเนีย และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศโรมาเนียกับประเทศในกลุ่มความตกลงการค้าเสรียุโรปกลาง (Central European Free Trade Agreement - CEFTA)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 12/2544 วันที่ 30 มิถุนายน 2544--
-อน-
โรมาเนียเป็นตลาดระดับล่าง ชาวโรมาเนียนิยมซื้อสินค้าราคาถูกและสินค้าปลอมที่ติดตราสินค้ามีชื่อเสียง เช่น กระเป๋า เสื้อผ้า เครื่องหนัง ซึ่งผู้ส่งออกไทยควรให้ความสนใจมากขึ้น เพราะอาจเป็นช่องทางให้ขยายการค้าได้ง่ายกว่าตลาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป โดยสินค้าไทยที่มีลู่ทางและโอกาสทางการตลาด ได้แก่ สินค้าปลากระป๋องและสับปะรดกระป๋อง ขณะนี้คู่แข่งของไทยในตลาดโรมาเนีย เช่น ตุรกี กรีซ และจีน ได้ใช้กลยุทธ์เดินทางไปขยายช่องทางการค้าและการลงทุนในโรมาเนีย เนื่องจากพ่อค้าโรมาเนียชอบติดต่อพบปะกับผู้ขายโดยตรง
ปัญหาทางการค้าระหว่างไทยกับโรมาเนียในส่วนของภาครัฐบาลได้มีการประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรค แต่ยังไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม อุปสรรคที่สำคัญ คือ ปัญหาเรื่องการขนส่งซึ่งปัจจุบันไม่มีเส้นทางที่บินตรงระหว่างบูคาเรสต์-กรุงเทพฯ เนื่องจากสายการบิน Tarom ของโรมาเนียได้ยกเลิกไปแล้ว สำหรับปัญหาในส่วนของผู้ส่งออกเอง ส่วนใหญ่ขาดอำนาจต่อรอง เพราะเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร2. ธุรกิจที่นำเข้าหรือสนใจที่จะนำเข้าจากไทย
2.1 บริษัท Al GHAZAL Coffee & Reastery Srl. เป็นผู้ผลิตอาหารว่างที่ทำจากถั่วลิสง เช่น ถั่วคั่วอบ เกลือ และถั่วเคลือบช็อกโกแล็ต ฯลฯ โดยนำเข้าวัตถุดิบจากจีนและสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้นำเข้าสินค้าปลากระป๋อง ผัก และผลไม้กระป๋อง โดยมีแหล่งนำเข้าจากไทย อิตาลี เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งเป็นผู้นำเข้าโดยตรงในสินค้าปลาซาร์ดินกระป๋อง ปลาทูน่ากระป๋อง และสับปะรดกระป๋องจากไทย โดยติดตราสินค้าของตนเองชื่อ "BENNY" (พิมพ์เป็นภาษาโรมาเนียและติดสลากในประเทศไทย) แล้วจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าส่งอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้ ยังนำเข้าผลไม้รวม (ฟรุตค็อกเทล) จากไทย แต่ไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เนื่องจากฟรุตค็อกเทลของไทยมีผลไม้รวมเพียง 4 ชนิด (สับปะรด มะละกอ ฝรั่ง และกล้วยหอม) ในขณะที่ตลาดต้องการส่วนผสมที่เป็นผลไม้รวม 5 ชนิด (องุ่น มะละกอ/สับปะรด พีช แพร์ และเชอรี่เชื่อม) โดยเฉพาะชาวโรมาเนียนิยมบริโภคกล้วยหอมสดมากกว่าที่เป็นส่วนผสมในผลไม้รวม ขณะนี้บริษัทฯ มีโครงการจะขยายการนำเข้าอาหารกระป๋องจากไทยเพิ่มขึ้น และสนใจที่จะเดินทางมาพบเพื่อติดต่อผู้ประกอบการของไทยโดยตรง
2.2 บริษัท Omnitro Trading Srl. เป็นผู้ค้าส่งรายใหญ่ในสินค้าอาหารและเครื่องสำอาง โดยสั่งซื้อผ่านสำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอนเพื่อส่งให้แก่ซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ ๆ ของโรมาเนีย เช่น Metro Billa และห้างซุปเปอร์ Chain Store หลายสาขาทั่วประเทศ สินค้าที่บริษัทนำเข้าจากไทย คือ อาหารกระป๋อง ได้แก่ ปลาซาร์ดีน ทูน่า และสับปะรด วางจำหน่ายโดยใช้ Brand ของตนเอง คือ MARCO Polo และ Brand อื่น ๆ เช่น John West และ Del Monte นอกจากสินค้าดังกล่าวข้างต้นแล้ว บริษัทฯ ยังนำเข้าข้าวชนิด Italian Grade ในราคาขายปลีกกิโลกรัมละ 25 - 30 บาท และ Egypt Grade ในราคากิโลกรัมละ 15 - 20 บาท ดังนั้น หากผู้ส่งออกข้าวของไทยจะเปิดตลาดในโรมาเนียควรส่งออกข้าวคุณภาพ 15-25% และต้องใช้กลยุทธ์ราคาเพื่อแข่งขันกับอียิปต์ แต่หากเป็นข้าวหอมมะลิซึ่งมีราคาแพง ตลาดจะค่อนข้างจำกัด และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด
2.3 บริษัท M & Sons International Trading Srl. เป็นผู้นำเข้าสินค้าอุปโภค-บริโภค และสินค้าเกษตรจากไทยแล้วขายต่อผู้ค้าส่ง รวมทั้งส่งโดยตรงถึงห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีก โดยมีทั้งที่ใช้ Brand ของตนเอง และของไทย สินค้าที่นำเข้าจากไทย ได้แก่ สินค้าเครื่องใช้สำหรับเด็กอ่อน อาทิ ขวดนม หัวนมยาง และของใช้เด็กอ่อนที่ทำจากพลาสติก ซึ่งสินค้าเหล่านี้เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมในตลาดอย่างแพร่หลาย สำหรับสินค้าจากไทยที่บริษัทสนใจนำเข้าเพิ่มเติม ได้แก่ ผ้าเช็ดตัว (Cotton Towel) และเสื้อผ้าเด็ก บริษัทสนใจที่จะเดินทางไปประเทศไทยเพื่อติดต่อเลือกซื้อสินค้าด้วยตนเอง ตลอดจนหาลู่ทางนำเข้าสินค้าเกษตร เนื่องจากปีนี้โรมาเนียประสบปัญหาการเก็บเกี่ยวพืชผล ประกอบกับรัฐบาลโรมาเนียประกาศอนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดกว่า 0.5 ล้านตัน ซึ่งผู้ส่งออกไทยที่สนใจอาจเสนอขายได้3. ปัญหาและอุปสรรคของผู้ส่งออกสินค้าไทยไปโรมาเนีย
3.1 ผู้ผลิตปลากระป๋องของไทยบางรายไม่รักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้า เช่น ลดน้ำมันในปลาทูน่ากระป๋อง หรือใส่ส่วนผสมในอัตราที่ต่ำกว่าที่ระบุไว้บนฉลากสินค้า ตลอดจนสินค้าสับปะรดกระป๋องของไทยใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและความหวานด้อยกว่าสับปะรดกระป๋องที่มีแหล่งผลิตจากมณฑลกวางโจวของจีน
3.2 การสั่งซื้อสินค้าจากไทยมีขั้นตอนยุ่งยาก ต้องใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1.5 - 2 เดือน สินค้าจึงสามารถออกวางจำหน่ายในตลาดได้ โดยใช้เวลาขนส่งถึงท่าเรือประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นต้องรอหน่วยงานตรวจสอบสินค้าอาหารของโรมาเนียอีกประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อขอใบรับรองก่อนออกวางตลาด ในขณะที่การนำสินค้าชนิดเดียวกันจากประเทศใกล้เคียง เช่น อิตาลี สเปน ตุรกี ใช้เวลาทั้งสิ้นเพียง 2-3 สัปดาห์เท่านั้น หรือบางกรณีเมื่อสินค้าถึงท่าเรือแล้ว เอกสารการจัดส่งหรือลายเซ็นต์ในแบบฟอร์มรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าไม่ตรงกับตัวอย่างลายเซ็นต์ที่เจ้าหน้าที่โรมาเนียมีอยู่ ทำให้เสียเวลาตรวจสอบและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าเพิ่มขึ้น 3.3 ปัจจุบันการแข่งขันทางการค้ารุนแรงขึ้น โดยมีสินค้าจากแหล่งผลิตอื่นและสินค้าอาหารชนิดใหม่ๆให้เลือกซื้อในตลาดอย่างหลากหลายและมีเป็นจำนวนมาก กอปรกับไทยเป็นผู้ครองตลาดปลากระป๋องและสับปะรดกระป๋องในโรมาเนียมาช้านาน ทำให้มีผู้ค้าบางรายลักลอบนำปลากระป๋องไทยที่ไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานเข้ามาจำหน่ายในราคาต่ำ และบางครั้งปลากระป๋องของไทยถูกสั่งห้ามจำหน่าย เนื่องจากไม่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรมาเนีย ทำให้สินค้าไทยเสียชื่อเสียงและความนิยม ประกอบกับในระยะหลังผู้ผลิตของไทยมักขาดการจัดส่งหรือส่งสินค้าล่าช้า ทำให้สินค้าขาดตลาด การนำส่งสินค้าให้แก่ร้านค้าทำได้ไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้ายี่ห้ออื่นแทน
3.4 สินค้านำเข้าจากไทยมีข้อเสียเปรียบเรื่องการชำระเงินเนื่องจากผู้ประกอบการไทยไม่กล้าให้เครดิต ขณะที่ผู้นำเข้าที่มีเงินทุนไม่เพียง อาจต้องกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยสูง และแม้ว่าสินค้าไทยอาจมีความน่าสนใจและราคาขายต่ำ แต่ก็มีผู้นำเข้าหลายรายในโรมาเนียซื้อสินค้าจากประเทศใกล้เคียงในราคาแพงกว่าสินค้าไทย เพราะเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายและระยะเวลาแล้วได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกับการสั่งซื้อสินค้าจากไทย4. ภาครัฐและภาคเอกชนพยายามที่จะผลักดันให้ไทยและโรมาเนียมีความสัมพันธ์ทางการค้าต่อกันมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2544 ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าไทย-โรมาเนีย ครั้งที่ 10 ซึ่งผลการประชุมหารือสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้.-
4.1 การหารือระหว่างหัวหน้าคณะฝ่ายไทย (รมว. กระทรวงพาณิชย์) และโรมาเนีย
4.1.1 ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะผลักดันมูลค่าการค้าระหว่างกันให้ขยายตัวสูงขึ้น และได้กำหนดเป้าหมายไว้ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี โดยมีแนวทางการดำเนินการ ได้แก่ คัดเลือกสินค้าที่เห็นว่ามีศักยภาพ เพื่อให้การสนับสนุนในรูปการกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกต่าง ๆ ทั้งนี้ฝ่ายไทยได้เสนอที่จะใช้การค้าแบบตัดบัญชี (Account Trade) เพื่อเสริมการค้าให้คล่องตัวยิ่งขึ้นด้วย
4.1.2 นอกจากนี้ในการส่งเสริมความร่วมมือดั้านการค้าและการลงทุนโดยใช้ประเทศของตนเป็นประตูเชื่อมโยงไปสู่ประเทศอื่นในภูมิภาคของตน ทั้งนี้หัวหน้าคณะฝ่ายโรมาเนียได้เชิญหัวหน้าคณะฝ่ายไทย (รมว.กระทรวงพาณิชย์) นำคณะทั้งภาครัฐและเอกชนไปเยือนประเทศโรมาเนียในช่วงเดือนตุลาคมศกนี้ เพื่อขยายความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนสองฝ่าย และเข้าร่วมในงานแสดงสินค้าที่จะจัดขึ้น
4.2 การทบทวนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
4.2.1 ฝ่ายไทยได้กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศโดยในปี 2544 รัฐบาลไทยได้ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในด้านการเร่งแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เพิ่มศักยภาพธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ตลอดจนปรับปรุงประสิทธิภาพการส่งออก โดยคาดว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้จะขยายตัวระหว่าง 2.0-3.0%
4.2.2 ฝ่ายโรมาเนียได้บรรยายสรุปสภาวะเศรษฐกิจของประเทศว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศโดยเร่งรัดการแปรรูปรัฐวิสาหกิจส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้ากับประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย
4.3 การทบทวนการค้าไทย-โรมาเนีย
4.3.1 ฝ่ายไทยสรุปการค้าสองฝ่ายว่า ความสัมพันธ์ทางการค้าเป็นไปอย่างราบรื่นมา โดยตลอด ถึงแม้จะมีมูลค่าค่อนข้างน้อยเพียงร้อยละ 0.03 ของมูลค่าการค้ารวมของไทยในปี 2543 อย่างไรก็ตาม ในช่วงสี่เดือนแรกของปี 2544 การค้าสองฝ่ายเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยมีอัตราขยายตัวร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2543 สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก คือ เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศ ปลากระป๋อง เสื้อผ้าสำเร็จรูป และสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากโรมาเนีย คือ ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ และยาฆ่าแมลง
4.3.2 ฝ่ายโรมาเนียแจ้งว่า สถิติการค้าในส่วนของโรมาเนียมีตัวเลขการค้าสองฝ่ายแตกต่างจากของฝ่ายไทย ทั้งนี้สองฝ่ายเห็นชอบให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติการค้าระหว่างกัน เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง
4.3.3 สองฝ่ายได้ตกลงที่จะดำเนินความพยายามในการส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายของความสัมพันธ์ด้านการค้าบนพื้นฐานของความสมดุลและผลประโยชน์ และได้มีการกำหนดเป้าหมายมูลค่าการค้าระหว่างกันให้บรรลุ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการใช้การค้าแบบตัดบัญชี (Account Trade) ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดโดยความเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย
4.4 ความร่วมมือทางการค้า
4.4.1 ประเด็นการค้า ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะนำประเด็นปัญหาด้านภาษีการนำเข้าสินค้าที่แต่ละฝ่ายเห็นว่ามีอัตราสูงเข้าสู่การเจรจาทั้งในกรอบของ GSTP รอบต่อไป และกรอบการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) และเห็นชอบในการที่จะผลักดันร่างความตกลงการยอมรับร่วมในผลการตรวจสอบและการรับรองระหว่างสองประเทศ (Agreement on Mutual Recognition of Conformity Assessment - MRA) ต่อไป รวมทั้งแลกเปลี่ยนรายการสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกของแต่ละฝ่าย โดยรายการสินค้าของฝ่ายไทยมี 19 รายการ ส่วนของฝ่ายโรมาเนียมี 20 รายการ
4.4.2 มาตรการส่งเสริมการค้าและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะสนับสนุนการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและนิทรรศการที่จัดขึ้นของประเทศทั้งสอง และเห็นพ้องว่าภาคเอกชนของทั้งสองประเทศควรที่จะเข้าร่วมในงานแสดงสินค้าที่มีการจัดขึ้น และให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการค้าระหว่างกัน โดยฝ่ายโรมาเนียได้เสนอร่างความตกลงความร่วมมือด้านการประสานงานและการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้าระหว่างศูนย์การค้าต่างประเทศของโรมาเนีย (The Romanian Foreign Trade Center) และกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ของไทย เพื่อให้แต่ละฝ่ายใช้เป็นเครื่องมือในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างสองภูมิภาค
4.5 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
4.5.1 การลงทุน ฝ่ายไทยได้เชิญชวนให้ฝ่ายโรมาเนียมาลงทุนในประเทศไทยในอุตสาหกรรมสาขาที่โรมาเนียมีความถนัด เช่น เครื่องสำอาง เคมีภัณฑ์ และการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนฝ่ายโรงมาเนียได้เชิญชวนให้ภาคเอกชนของไทยเข้าไปลงทุนในโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมพลังงาน และการท่องเที่ยว โดยสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะสนับสนุนให้บริษัทไทยและโรมาเนียจัดตั้งโครงการตามที่สองฝ่ายเสนอและยังได้ตกลงที่จะขยายความร่วมมือที่จะส่งเสริมให้ทั้งสองประเทศเป็นประตูการค้าและการลงทุนสู่ภูมิภาคของทั้งสองฝ่าย
4.5.2 การธนาคาร ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญในความร่วมมือระหว่างธนาคารของทั้งสองประเทศ
4.5.3 ความตกลงทวิภาคีทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะหารือเกี่ยวกับข้อตกลงทวิภาคีระหว่างกันที่ยังคั่งค้างอยู่ เพื่อให้บรรลุข้อสรุปและสามารถลงนามกันได้
4.6.1 ฝ่ายไทยได้แจ้งว่า ความร่วมมือทางการค้าระดับภูมิภาคมีส่วนเกื้อหนุนต่อความพยายามระหว่างประเทศ เพื่อก่อให้เกิดการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจของโลก และรายงานความคืบหน้าของความร่วมมือทางการค้าระดับภูมิภาคและพหุภาคีที่ประเทศไทยมีส่วนร่วมอยู่ด้วยทั้ง ASEAN WTO และ APEC
4.6.2 สำหรับฝ่ายโรมาเนียได้รายงานให้ทราบถึงความคืบหน้าของความร่วมมือในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของโรมาเนีย และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศโรมาเนียกับประเทศในกลุ่มความตกลงการค้าเสรียุโรปกลาง (Central European Free Trade Agreement - CEFTA)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 12/2544 วันที่ 30 มิถุนายน 2544--
-อน-