ฉบับที่ 10/2543
การเงินและการธนาคาร
เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 264,076.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1 เนื่องจากรายได้จากการจำหน่ายพืชผลทางการเกษตรเริ่มเบาบางลงตามปริมาณผลผลิตที่งวดลง ทั้งนี้เงินฝากในจังหวัดที่สำคัญของภาคเหนือได้แก่เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก และแพร่ อยู่ในระดับทรงตัวจากเดือนก่อน
สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 มียอดคงค้าง 200,992.1 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อนหน้า จากการให้สินเชื่อกลุ่มลูกค้ารายย่อย เพื่ออยู่อาศัยและอุตสาหกรรม SME เป็นสำคัญ แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังคงลดลงร้อยละ 5.9 สินเชื่อเพิ่มขึ้นที่จังหวัดกำแพงเพชร อุตรดิตถ์ น่าน และลำปาง
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 3 เดือน 12 เดือน และ 24 เดือน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 ธนาคาร อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 ต่อปี ร้อยละ 3.75|4.00 ต่อปี และร้อยละ 4.00|4.75 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ร้อยละ 8.00 |8.50 ต่อปี
ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บผ่านสำนักหักบัญชีในภาคเหนือเดือนพฤษภาคม 2543 มีปริมาณ 389,321 ฉบับ มูลค่า 25,053.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 32.1 และร้อยละ 23.3 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นการใช้เช็คของโรงงานน้ำตาล ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บเพิ่มมากที่สำนักหักบัญชีนครสวรรค์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และพิษณุโลก ทางด้านปริมาณเช็คคืนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 เป็น 7,725 ฉบับ มูลค่า 468.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 9.7 ตามปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บที่เพิ่มสูงขึ้น สัดส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงจากร้อยละ 2.2 และร้อยละ 2.1 ของเดือนก่อนเหลือร้อยละ 2.0 และร้อยละ 1.9 ตามลำดับ
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือเดือนพฤษภาคม 2543 มีเงินในงบประมาณขาดดุล 7,946.7 ล้านบาท ลดลงเทียบกับที่ขาดดุล 8,481.7 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน จากรายจ่ายลดลงร้อยละ 4.9 ขณะรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เป็น 879.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่เมื่อรวมกับการรับจ่ายของเงินนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 9,416.6 ล้านบาท ส่งผลให้มีเงินสดเกินดุล 1,469.9 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 977.7 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน
รายได้นำส่งคลังจังหวัดและคลังจังหวัด ณ อำเภอทั้ง 19 แห่งในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3 เป็น 879.2 ล้านบาท โดยจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.7 เป็น 301.3 ล้านบาท จากการเร่งรัดจัดเก็บภาษี ขณะที่การจัดเก็บรายได้อื่นๆ ยังคงลดลง อาทิ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 16.0 เหลือ 269.4 ล้านบาท โดยภาษีที่จัดเก็บจากเงินได้ดอกเบี้ยลดลงร้อยละ 45.7 เหลือ 87.9 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 18.0 เหลือ 217.5 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับลดอัตราจัดเก็บเมื่อปีก่อน
รายจ่ายรัฐบาลในภาคเหนือลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 เหลือ 8,825.9 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 เดือนเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 16.1 เหลือ 3,108.2 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.7 เดือนเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากรายจ่ายเงินอุดหนุนที่ลดลงร้อยละ 44.7 เหลือ 1,063.2 ล้านบาท เนื่องจากได้เร่งจ่ายเงินอุดหนุนส่วนใหญ่ให้องค์การส่วนท้องถิ่นไปเกือบหมดแล้ว ส่วนรายจ่ายหมวดครุภัณฑ์ฯ ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.2 เป็น 1,708.4 ล้านบาท สำหรับรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เป็น 5,717.7 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เดือนเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายหมวดค่าสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3 เป็น 127.3 ล้านบาท และงบกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 เป็น 955.4 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมรายจ่ายจากเงินในงบประมาณกับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ซึ่งการเบิกจ่ายงวดลงแล้ว โดยมีเพียง 104.1 ล้านบาท ในเดือนนี้ ทำให้รายจ่ายรวมลดลงร้อยละ 31.1 เหลือ 8,930.0 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.3 เดือนเดียวกันปีก่อน
อนึ่ง รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 มีวงเงินอนุมัติ 8,458.1 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 7,720.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 91.3 ของวงเงินอนุมัติ จังหวัดที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูงสุดได้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอน พะเยา และเชียงราย ร้อยละ 97.3 ร้อยละ 96.3 และร้อยละ 96.2 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออกของภาคเหนือเดือนพฤษภาคม 2543 มีมูลค่า 108.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 14.1 ตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 4,193.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.0 และร้อยละ 42.4 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกผ่านด่านฯท่าอากาศยานเชียงใหม่ และการส่งออกผ่านชายแดน
การส่งออกผ่านด่านฯท่าอากาศยาน เชียงใหม่ มีมูลค่าส่งออก 90.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 12.1 และเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 40.3 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ โดยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรม ภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 42.9 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความต้องการสินค้าในตลาดเอเชียเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะจากฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน ขณะที่คำสั่งซื้อจากยุโรปและอเมริกายังมีมูลค่าสูงและอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากโรงงานบางแห่งได้ขยายกำลังการผลิตในช่วงก่อนหน้า สำหรับการส่งออกสินค้านอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.2 และร้อยละ 25.8 ตามลำดับ เป็น 12.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากผลผลิตเกษตรที่ใช้เป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมส่งออกออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
การส่งออกผ่านชายแดนมีมูลค่า 693.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.9 และร้อยละ 20.8 ตามลำดับ จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปพม่าและจีน (ตอนใต้) เป็นสำคัญ (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 17.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.3 และร้อยละ 14.8 ตามลำดับ)
การส่งออกไปพม่ามีมูลค่า 609.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.3 และร้อยละ 14.0 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพการค้าบริเวณชายแดนยังเอื้ออำนวยต่อการค้า โดยเฉพาะด่านแม่สอด มูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.3 ขณะที่ด่านอื่นๆ ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันแต่มูลค่าไม่สูงมากนัก สินค้าสำคัญที่ส่งออกได้มากเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น รองเท้าฟองน้ำ เสื้อเชิ้ต ผ้าทอ ผงชูรส น้ำมันพืช และสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ส่วนการส่งออกไปลาวมีมูลค่า 36.3 ล้านบาท ลดลงทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.6 และร้อยละ 6.2 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าวัสดุก่อสร้างเริ่มลดลงเพราะเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ส่วนการส่งออกไปจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 47.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 93.5 และเพิ่มจากเดือนเดียวกันปีก่อนมาก เนื่องจากสามารถส่งออกอาหารแปรรูปได้มากถึง 22.2 ล้านบาท นอกจากนั้นยังส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางถึง 12.8 ล้านบาท
การนำเข้า มีมูลค่า 100.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.4 และร้อยละ 52.9 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,874.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.6 และร้อยละ 60.8 ตามลำดับ) โดยเพิ่มขึ้นทั้งการนำเข้าผ่านด่านฯ ท่าอากาศยานเชียงใหม่และการนำเข้าผ่านชายแดน
การนำเข้าผ่านด่านฯ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 96.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.7 และร้อยละ 56.1 ตามลำดับ จากการนำเข้าวัตถุดิบของอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ โดยการนำเข้าผ่านด่านนิคมฯ มีมูลค่า 95.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.4 และร้อยละ 56.1 ตามลำดับ เนื่องจากต้องนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นตามภาวะการผลิตเพื่อการส่งออกที่ขยายตัว กอปรกับมีโรงงานบางแห่งกำลังขยายการผลิตจึงมีการนำเข้าเครื่องจักร ส่วนการนำเข้าสินค้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ นอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 0.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 33.3 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 46.7 จากการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น แต่การนำเข้าในส่วนนี้ยังมีมูลค่าต่ำมากเพียงร้อยละ 0.6 ของการนำเข้ารวม
การนำเข้าสินค้าจากชายแดน ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 154.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.3 และร้อยละ 7.7 ตามลำดับ (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 4.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 42.9 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ) จากการนำเข้าสินค้าจากพม่าเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
การนำเข้าสินค้าจากพม่า มีมูลค่า 102.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 83.4 และร้อยละ 19.9 ตามลำดับ จากมีการนำเข้าโค-กระบือ อาหารทะเล และไม้แปรรูปเพิ่มขึ้น ขณะที่การนำเข้าจากลาวมีมูลค่า 44.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.1 และร้อยละ 0.5 จากการนำเข้ากระบือมีชีวิต และถ่านหินลิกไนต์เพิ่มขึ้น ส่วนการนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 7.5 ล้านบาท ลดลงทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.8 และร้อยละ 45.2 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าจากจีนลดลง อีกทั้งบางส่วนนำเข้าผ่านด่านแม่สายเนื่องจากมีความสะดวกในการขนส่งมากกว่า อย่างไรก็ตาม มูลค่าสินค้านำเข้าจากลาวและจีน (ตอนใต้) ยังมีมูลค่าน้อยมาก มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.1 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ ของการนำเข้ารวมในภาคเหนือ
ดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม 2543 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.2 จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าทั้งหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ในอัตราเท่ากันร้อยละ 0.1
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.1 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้ากลุ่มผักและผลไม้ร้อยละ 2.0 และกลุ่มสินค้าเนื้อสัตว์เป็ดไก่และสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เนื่องจากต้นทุนด้านการขนส่งสูงขึ้น ขณะที่กลุ่มสินค้าเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.7 จากภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 0.5 จากปริมาณข้าวออกสู่ตลาดมากและการสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง สำหรับสินค้ากลุ่มอาหารอื่นที่ซื้อจากตลาด และอาหารอื่นที่ซื้อปริโภคลดลงร้อยละ 0.4 และร้อยละ 0.1 ตามลำดับ จากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
หมวดอื่นๆที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.1 จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นทำให้ราคาสินค้าหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 0.2 ขณะที่ราคาสินค้าหมวดเคหะสถาน และหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลทรงตัวเท่าเดือนก่อน ส่วนราคาสินค้าหมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษาลดลงร้อยละ 0.1 จากภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ/29 มิถุนายน 2543--
-ยก-
การเงินและการธนาคาร
เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 264,076.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1 เนื่องจากรายได้จากการจำหน่ายพืชผลทางการเกษตรเริ่มเบาบางลงตามปริมาณผลผลิตที่งวดลง ทั้งนี้เงินฝากในจังหวัดที่สำคัญของภาคเหนือได้แก่เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก และแพร่ อยู่ในระดับทรงตัวจากเดือนก่อน
สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 มียอดคงค้าง 200,992.1 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อนหน้า จากการให้สินเชื่อกลุ่มลูกค้ารายย่อย เพื่ออยู่อาศัยและอุตสาหกรรม SME เป็นสำคัญ แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังคงลดลงร้อยละ 5.9 สินเชื่อเพิ่มขึ้นที่จังหวัดกำแพงเพชร อุตรดิตถ์ น่าน และลำปาง
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 3 เดือน 12 เดือน และ 24 เดือน ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 ธนาคาร อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 ต่อปี ร้อยละ 3.75|4.00 ต่อปี และร้อยละ 4.00|4.75 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ร้อยละ 8.00 |8.50 ต่อปี
ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บผ่านสำนักหักบัญชีในภาคเหนือเดือนพฤษภาคม 2543 มีปริมาณ 389,321 ฉบับ มูลค่า 25,053.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 32.1 และร้อยละ 23.3 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นการใช้เช็คของโรงงานน้ำตาล ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บเพิ่มมากที่สำนักหักบัญชีนครสวรรค์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และพิษณุโลก ทางด้านปริมาณเช็คคืนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 เป็น 7,725 ฉบับ มูลค่า 468.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 9.7 ตามปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บที่เพิ่มสูงขึ้น สัดส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงจากร้อยละ 2.2 และร้อยละ 2.1 ของเดือนก่อนเหลือร้อยละ 2.0 และร้อยละ 1.9 ตามลำดับ
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือเดือนพฤษภาคม 2543 มีเงินในงบประมาณขาดดุล 7,946.7 ล้านบาท ลดลงเทียบกับที่ขาดดุล 8,481.7 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน จากรายจ่ายลดลงร้อยละ 4.9 ขณะรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เป็น 879.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่เมื่อรวมกับการรับจ่ายของเงินนอกงบประมาณซึ่งเกินดุล 9,416.6 ล้านบาท ส่งผลให้มีเงินสดเกินดุล 1,469.9 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 977.7 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน
รายได้นำส่งคลังจังหวัดและคลังจังหวัด ณ อำเภอทั้ง 19 แห่งในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3 เป็น 879.2 ล้านบาท โดยจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.7 เป็น 301.3 ล้านบาท จากการเร่งรัดจัดเก็บภาษี ขณะที่การจัดเก็บรายได้อื่นๆ ยังคงลดลง อาทิ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 16.0 เหลือ 269.4 ล้านบาท โดยภาษีที่จัดเก็บจากเงินได้ดอกเบี้ยลดลงร้อยละ 45.7 เหลือ 87.9 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 18.0 เหลือ 217.5 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับลดอัตราจัดเก็บเมื่อปีก่อน
รายจ่ายรัฐบาลในภาคเหนือลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 เหลือ 8,825.9 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 เดือนเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 16.1 เหลือ 3,108.2 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.7 เดือนเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากรายจ่ายเงินอุดหนุนที่ลดลงร้อยละ 44.7 เหลือ 1,063.2 ล้านบาท เนื่องจากได้เร่งจ่ายเงินอุดหนุนส่วนใหญ่ให้องค์การส่วนท้องถิ่นไปเกือบหมดแล้ว ส่วนรายจ่ายหมวดครุภัณฑ์ฯ ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.2 เป็น 1,708.4 ล้านบาท สำหรับรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เป็น 5,717.7 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เดือนเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายหมวดค่าสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3 เป็น 127.3 ล้านบาท และงบกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 เป็น 955.4 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมรายจ่ายจากเงินในงบประมาณกับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ซึ่งการเบิกจ่ายงวดลงแล้ว โดยมีเพียง 104.1 ล้านบาท ในเดือนนี้ ทำให้รายจ่ายรวมลดลงร้อยละ 31.1 เหลือ 8,930.0 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.3 เดือนเดียวกันปีก่อน
อนึ่ง รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 มีวงเงินอนุมัติ 8,458.1 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 7,720.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 91.3 ของวงเงินอนุมัติ จังหวัดที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูงสุดได้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอน พะเยา และเชียงราย ร้อยละ 97.3 ร้อยละ 96.3 และร้อยละ 96.2 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออกของภาคเหนือเดือนพฤษภาคม 2543 มีมูลค่า 108.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 14.1 ตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 4,193.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.0 และร้อยละ 42.4 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกผ่านด่านฯท่าอากาศยานเชียงใหม่ และการส่งออกผ่านชายแดน
การส่งออกผ่านด่านฯท่าอากาศยาน เชียงใหม่ มีมูลค่าส่งออก 90.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 12.1 และเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 40.3 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ โดยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรม ภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 42.9 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความต้องการสินค้าในตลาดเอเชียเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะจากฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน ขณะที่คำสั่งซื้อจากยุโรปและอเมริกายังมีมูลค่าสูงและอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากโรงงานบางแห่งได้ขยายกำลังการผลิตในช่วงก่อนหน้า สำหรับการส่งออกสินค้านอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.2 และร้อยละ 25.8 ตามลำดับ เป็น 12.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากผลผลิตเกษตรที่ใช้เป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมส่งออกออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
การส่งออกผ่านชายแดนมีมูลค่า 693.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.9 และร้อยละ 20.8 ตามลำดับ จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปพม่าและจีน (ตอนใต้) เป็นสำคัญ (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 17.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.3 และร้อยละ 14.8 ตามลำดับ)
การส่งออกไปพม่ามีมูลค่า 609.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.3 และร้อยละ 14.0 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพการค้าบริเวณชายแดนยังเอื้ออำนวยต่อการค้า โดยเฉพาะด่านแม่สอด มูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.3 ขณะที่ด่านอื่นๆ ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันแต่มูลค่าไม่สูงมากนัก สินค้าสำคัญที่ส่งออกได้มากเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น รองเท้าฟองน้ำ เสื้อเชิ้ต ผ้าทอ ผงชูรส น้ำมันพืช และสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ส่วนการส่งออกไปลาวมีมูลค่า 36.3 ล้านบาท ลดลงทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.6 และร้อยละ 6.2 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าวัสดุก่อสร้างเริ่มลดลงเพราะเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ส่วนการส่งออกไปจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 47.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 93.5 และเพิ่มจากเดือนเดียวกันปีก่อนมาก เนื่องจากสามารถส่งออกอาหารแปรรูปได้มากถึง 22.2 ล้านบาท นอกจากนั้นยังส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางถึง 12.8 ล้านบาท
การนำเข้า มีมูลค่า 100.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.4 และร้อยละ 52.9 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,874.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.6 และร้อยละ 60.8 ตามลำดับ) โดยเพิ่มขึ้นทั้งการนำเข้าผ่านด่านฯ ท่าอากาศยานเชียงใหม่และการนำเข้าผ่านชายแดน
การนำเข้าผ่านด่านฯ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 96.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.7 และร้อยละ 56.1 ตามลำดับ จากการนำเข้าวัตถุดิบของอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ โดยการนำเข้าผ่านด่านนิคมฯ มีมูลค่า 95.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.4 และร้อยละ 56.1 ตามลำดับ เนื่องจากต้องนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นตามภาวะการผลิตเพื่อการส่งออกที่ขยายตัว กอปรกับมีโรงงานบางแห่งกำลังขยายการผลิตจึงมีการนำเข้าเครื่องจักร ส่วนการนำเข้าสินค้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ นอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 0.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 33.3 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 46.7 จากการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น แต่การนำเข้าในส่วนนี้ยังมีมูลค่าต่ำมากเพียงร้อยละ 0.6 ของการนำเข้ารวม
การนำเข้าสินค้าจากชายแดน ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 154.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.3 และร้อยละ 7.7 ตามลำดับ (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 4.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 42.9 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ) จากการนำเข้าสินค้าจากพม่าเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
การนำเข้าสินค้าจากพม่า มีมูลค่า 102.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 83.4 และร้อยละ 19.9 ตามลำดับ จากมีการนำเข้าโค-กระบือ อาหารทะเล และไม้แปรรูปเพิ่มขึ้น ขณะที่การนำเข้าจากลาวมีมูลค่า 44.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.1 และร้อยละ 0.5 จากการนำเข้ากระบือมีชีวิต และถ่านหินลิกไนต์เพิ่มขึ้น ส่วนการนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 7.5 ล้านบาท ลดลงทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.8 และร้อยละ 45.2 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าจากจีนลดลง อีกทั้งบางส่วนนำเข้าผ่านด่านแม่สายเนื่องจากมีความสะดวกในการขนส่งมากกว่า อย่างไรก็ตาม มูลค่าสินค้านำเข้าจากลาวและจีน (ตอนใต้) ยังมีมูลค่าน้อยมาก มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.1 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ ของการนำเข้ารวมในภาคเหนือ
ดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม 2543 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.2 จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าทั้งหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ในอัตราเท่ากันร้อยละ 0.1
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.1 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้ากลุ่มผักและผลไม้ร้อยละ 2.0 และกลุ่มสินค้าเนื้อสัตว์เป็ดไก่และสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เนื่องจากต้นทุนด้านการขนส่งสูงขึ้น ขณะที่กลุ่มสินค้าเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.7 จากภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 0.5 จากปริมาณข้าวออกสู่ตลาดมากและการสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง สำหรับสินค้ากลุ่มอาหารอื่นที่ซื้อจากตลาด และอาหารอื่นที่ซื้อปริโภคลดลงร้อยละ 0.4 และร้อยละ 0.1 ตามลำดับ จากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
หมวดอื่นๆที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.1 จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นทำให้ราคาสินค้าหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 0.2 ขณะที่ราคาสินค้าหมวดเคหะสถาน และหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลทรงตัวเท่าเดือนก่อน ส่วนราคาสินค้าหมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษาลดลงร้อยละ 0.1 จากภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ/29 มิถุนายน 2543--
-ยก-