ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนมกราคม 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.7 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารลดลงร้อยละ 0.1 โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 5.8) เนื่องจากปริมาณผลผลิตผักและผลไม้บางชนิดเข้าสู่ตลาดลดลง อาทิ ผักคะน้า ผักบุ้งจีน และส้มเขียวหวาน ประกอบกับความต้องการมีมากขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน รองลงมาได้แก่หมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 0.6) ส่วนในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร ราคาหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร ลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -0.3) ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและน้ำมันสำเร็จรูปของสิงค์โปร์ที่ลดลง รองลงมา ได้แก่ หมวดเคหสถาน (ร้อยละ -0.1) เนื่องจากผู้ให้เช่าบ้านบางรายปรับค่าเช่าลดลง
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เดือนมกราคม 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2
ดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนมกราคม 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ร้อยละ 0.3 เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมร้อยละ 2.4 ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์แร่และ เชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 0.4 และหมวดผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมไม่เปลี่ยนแปลง โดยในหมวดผลผลิต เกษตรกรรม ราคาหมวดผลผลิตเกษตร ปศุสัตว์และป่าไม้ เพิ่มขึ้นมาก (ร้อยละ 3.5) เนื่องจากปริมาณผลผลิตเกษตรเข้าสู่ตลาดน้อยลง อาทิ ข้าวเปลือกเหนียวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประกอบกับความต้องการผักและผลไม้เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน หมวดผลิตภัณฑ์แร่และเชื้อเพลิง ราคาหมวดลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -2.8) และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สินค้าหมวดย่อยที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ (ร้อยละ 4.3) เนื่องจาก ผู้ผลิตไม้บางชนิดปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุน หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ (ร้อยละ 1.1) และหมวด ยานพาหนะและอุปกรณ์ (ร้อยละ 0.7) ส่วนหมวดสินค้าที่ราคาลดลงมากที่สุด ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ร้อยละ -3.8) ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เดือนมกราคม 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2
ดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนมกราคม 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ร้อยละ 0.3 เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมร้อยละ 2.4 ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์แร่และ เชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 0.4 และหมวดผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมไม่เปลี่ยนแปลง โดยในหมวดผลผลิต เกษตรกรรม ราคาหมวดผลผลิตเกษตร ปศุสัตว์และป่าไม้ เพิ่มขึ้นมาก (ร้อยละ 3.5) เนื่องจากปริมาณผลผลิตเกษตรเข้าสู่ตลาดน้อยลง อาทิ ข้าวเปลือกเหนียวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประกอบกับความต้องการผักและผลไม้เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน หมวดผลิตภัณฑ์แร่และเชื้อเพลิง ราคาหมวดลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -2.8) และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สินค้าหมวดย่อยที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ (ร้อยละ 4.3) เนื่องจาก ผู้ผลิตไม้บางชนิดปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุน หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ (ร้อยละ 1.1) และหมวด ยานพาหนะและอุปกรณ์ (ร้อยละ 0.7) ส่วนหมวดสินค้าที่ราคาลดลงมากที่สุด ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ร้อยละ -3.8) ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-