ส่วนที่ 1 สรุปภาวะเศรษฐกิจ
ข้อมูลเบื้องต้นเดือนมกราคม ภาค การผลิต การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาค เอกชนมีแนวโน้มทรงตัว ดุลเงินสดรัฐบาลยังคงขาดดุล สำหรับภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน เนื่องจากมูลค่า การส่งออกขยายตัวในอัตราลดลง ขณะที่การ นำเข้าขยายตัวในเกณฑ์สูง ส่วนภาคการเงิน มีแนวโน้มดีขึ้นทั้งปริมาณเงิน เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและสินเชื่อทรงตัว ค่าเงินบาทเฉลี่ยอ่อนตัวเล็กน้อย ส่วนอัตราเงินเฟ้อใกล้เคียงกับเดือนก่อน ทั้งนี้ รายละเอียด มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน (หากไม่รวม การผลิตสุราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5) หมวดที่ยังขยายตัว ในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง โดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดส่งออก หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่อัตราการขยายตัวสูงเนื่องจากฐานการผลิตเดือนมกราคม ปีก่อนอยู่ในเกณฑ์ต่ำเพราะโรงกลั่นไทยออยล์ที่ประสบอัคคีภัยเริ่มเปิดดำเนินการได้เฉพาะช่วงครึ่งหลังของเดือนเท่านั้น และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับที่ขยายตัวตามการส่งออก สำหรับสินค้าที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และ หมวดวัสดุก่อสร้าง ตามการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดสำคัญที่กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน ปีก่อน โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้าที่สูงขึ้นมากเนื่องจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนมกราคมปีก่อนต่ำเพราะมีการเร่งนำเข้าในช่วงก่อนหน้านั้นเพื่อป้องกันปัญหา Y2K ส่วนการลงทุนภาคเอกชน แนวโน้มยังคงทรงตัวทั้งด้านเครื่องจักรอุปกรณ์และการ ก่อสร้าง แม้เดือนนี้อัตราการขยายตัวจะเริ่มกระเตื้องขึ้นบ้าง เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
3. ดุลเงินสดรัฐบาล ขาดดุล 5.9 พันล้านบาท เป็นการขาดดุลในงบประมาณ 12.6 พันล้านบาท ขณะที่เงินนอกงบประมาณเกินดุล 6.6 พันล้านบาท รายได้การจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคของรัฐบาลเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้นร้อยละ 18.5 และภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 โดยส่วนใหญ่เป็นรายได้จากภาษีน้ำมันร้อยละ 15.6 และเบียร์ร้อยละ 13.7 เช่นเดียวกับรายได้ภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 โดยมาจากการเก็บอากรขาเข้าร้อยละ 17.7 ส่วนรายได้อื่นปรับตัวลดลง ร้อยละ 37.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เพราะการ นำส่งรายได้รัฐวิสาหกิจจากจำนวน 700 ล้านบาทในเดือนมกราคมปีก่อนลดลงเป็น 500 ล้านบาทในเดือนนี้ ด้าน รายจ่าย รัฐบาลมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากฐานรายจ่ายงบประมาณปีก่อนที่ค่อนข้างต่ำเพราะส่วนราชการมีการเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ เพราะราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.7 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารลดลงร้อยละ 0.1 สินค้าในหมวดผักและผลไม้ เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือร้อยละ 5.8 เนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง ประกอบกับความต้องการมีมากขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน รองลงมา ได้แก่ หมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.6 ส่วนในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารลดลง มากที่สุดร้อยละ 0.3 เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก รองลงมา ได้แก่ หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.1 เนื่องจากผู้ให้เช่าบ้านบางรายปรับลดค่าเช่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 จากระยะ เดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า
5. ภาคต่างประเทศ การส่งออกมีมูลค่า 5,040 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.9 จากระยะ เดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 5,323 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน ทำให้ดุลการค้าขาดดุล 282 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เนื่องจาก ดุลบริการและบริจาคเกินดุลถึง 580 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัด จึงยังคงเกินดุล 298 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงิน เกินดุล 513 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 181 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 อยู่ ณ ระดับ 32.8 พันล้าน ดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องของระบบ การเงิน ช่วงครึ่งแรกของเดือนปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจาก ที่ตึงตัวเมื่อสิ้นปี 2543 อย่างไรก็ตาม สภาพคล่อง เงินบาทได้ปรับตึงตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงเทศกาลตรุษจีน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินเพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยร้อยละ 1.70 ต่อปี ในเดือนก่อนมาเป็นเฉลี่ย ร้อยละ 2.01 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พันธบัตรระยะ 1 วัน เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยร้อยละ 1.22 ต่อปี เป็นเฉลี่ยร้อยละ 1.44 ต่อปีเช่นกัน ทั้งนี้ สภาพคล่องของระบบการเงินได้ปรับเพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินลดลงสู่ระดับปกติ ด้านอัตรา ดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งทรงตัวอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปี ตามลำดับ ณ สิ้นเดือนมกราคม ต่อมาธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและ เงินให้กู้ยืมลงร้อยละ 0.50 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของ ปีก่อนลดลงร้อยละ 9.4 ต่อปี แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เพิ่มขึ้น 26 พันล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อบวกกลับหนี้สูญและสินเชื่อ ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่ AMCs เห็นได้ชัดว่าสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่องจากกลางปี 2542 โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ต่อปี ในเดือนมกราคม 2544 ด้านเงินฝากธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 5.6 ต่อปี และปริมาณเงิน M2A เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ต่อปี จากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ
7. อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทเฉลี่ยต่อดอลลาร์สรอ. ปรับตัวอ่อนลงเล็กน้อยจาก 43.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้ามาเป็น 43.12 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนนี้ หรือคิดเป็นการอ่อนตัวลงร้อยละ 0.07 อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาท ณ สิ้นเดือนมกราคมปรับตัวแข็งขึ้นเทียบกับสิ้นเดือนก่อน เพราะได้รับปัจจัยบวกจากสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศที่ชัดเจนขึ้น และการอ่อนค่าของ เงินดอลลาร์สรอ. จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มมีสัญญาณ การชะลอตัว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/28 กุมภาพันธ์ 2544--
-ยก-
ข้อมูลเบื้องต้นเดือนมกราคม ภาค การผลิต การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาค เอกชนมีแนวโน้มทรงตัว ดุลเงินสดรัฐบาลยังคงขาดดุล สำหรับภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน เนื่องจากมูลค่า การส่งออกขยายตัวในอัตราลดลง ขณะที่การ นำเข้าขยายตัวในเกณฑ์สูง ส่วนภาคการเงิน มีแนวโน้มดีขึ้นทั้งปริมาณเงิน เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและสินเชื่อทรงตัว ค่าเงินบาทเฉลี่ยอ่อนตัวเล็กน้อย ส่วนอัตราเงินเฟ้อใกล้เคียงกับเดือนก่อน ทั้งนี้ รายละเอียด มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน (หากไม่รวม การผลิตสุราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5) หมวดที่ยังขยายตัว ในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง โดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดส่งออก หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่อัตราการขยายตัวสูงเนื่องจากฐานการผลิตเดือนมกราคม ปีก่อนอยู่ในเกณฑ์ต่ำเพราะโรงกลั่นไทยออยล์ที่ประสบอัคคีภัยเริ่มเปิดดำเนินการได้เฉพาะช่วงครึ่งหลังของเดือนเท่านั้น และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับที่ขยายตัวตามการส่งออก สำหรับสินค้าที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และ หมวดวัสดุก่อสร้าง ตามการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดสำคัญที่กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน ปีก่อน โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้าที่สูงขึ้นมากเนื่องจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนมกราคมปีก่อนต่ำเพราะมีการเร่งนำเข้าในช่วงก่อนหน้านั้นเพื่อป้องกันปัญหา Y2K ส่วนการลงทุนภาคเอกชน แนวโน้มยังคงทรงตัวทั้งด้านเครื่องจักรอุปกรณ์และการ ก่อสร้าง แม้เดือนนี้อัตราการขยายตัวจะเริ่มกระเตื้องขึ้นบ้าง เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
3. ดุลเงินสดรัฐบาล ขาดดุล 5.9 พันล้านบาท เป็นการขาดดุลในงบประมาณ 12.6 พันล้านบาท ขณะที่เงินนอกงบประมาณเกินดุล 6.6 พันล้านบาท รายได้การจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคของรัฐบาลเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้นร้อยละ 18.5 และภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 โดยส่วนใหญ่เป็นรายได้จากภาษีน้ำมันร้อยละ 15.6 และเบียร์ร้อยละ 13.7 เช่นเดียวกับรายได้ภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 โดยมาจากการเก็บอากรขาเข้าร้อยละ 17.7 ส่วนรายได้อื่นปรับตัวลดลง ร้อยละ 37.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เพราะการ นำส่งรายได้รัฐวิสาหกิจจากจำนวน 700 ล้านบาทในเดือนมกราคมปีก่อนลดลงเป็น 500 ล้านบาทในเดือนนี้ ด้าน รายจ่าย รัฐบาลมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากฐานรายจ่ายงบประมาณปีก่อนที่ค่อนข้างต่ำเพราะส่วนราชการมีการเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ เพราะราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.7 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารลดลงร้อยละ 0.1 สินค้าในหมวดผักและผลไม้ เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือร้อยละ 5.8 เนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง ประกอบกับความต้องการมีมากขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน รองลงมา ได้แก่ หมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.6 ส่วนในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารลดลง มากที่สุดร้อยละ 0.3 เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก รองลงมา ได้แก่ หมวดเคหสถานลดลงร้อยละ 0.1 เนื่องจากผู้ให้เช่าบ้านบางรายปรับลดค่าเช่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 จากระยะ เดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า
5. ภาคต่างประเทศ การส่งออกมีมูลค่า 5,040 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.9 จากระยะ เดียวกันปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 5,323 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน ทำให้ดุลการค้าขาดดุล 282 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เนื่องจาก ดุลบริการและบริจาคเกินดุลถึง 580 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัด จึงยังคงเกินดุล 298 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงิน เกินดุล 513 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 181 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 อยู่ ณ ระดับ 32.8 พันล้าน ดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องของระบบ การเงิน ช่วงครึ่งแรกของเดือนปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจาก ที่ตึงตัวเมื่อสิ้นปี 2543 อย่างไรก็ตาม สภาพคล่อง เงินบาทได้ปรับตึงตัวขึ้นอีกครั้งในช่วงเทศกาลตรุษจีน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินเพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยร้อยละ 1.70 ต่อปี ในเดือนก่อนมาเป็นเฉลี่ย ร้อยละ 2.01 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พันธบัตรระยะ 1 วัน เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยร้อยละ 1.22 ต่อปี เป็นเฉลี่ยร้อยละ 1.44 ต่อปีเช่นกัน ทั้งนี้ สภาพคล่องของระบบการเงินได้ปรับเพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินลดลงสู่ระดับปกติ ด้านอัตรา ดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งทรงตัวอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปี ตามลำดับ ณ สิ้นเดือนมกราคม ต่อมาธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและ เงินให้กู้ยืมลงร้อยละ 0.50 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของ ปีก่อนลดลงร้อยละ 9.4 ต่อปี แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เพิ่มขึ้น 26 พันล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อบวกกลับหนี้สูญและสินเชื่อ ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่ AMCs เห็นได้ชัดว่าสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่องจากกลางปี 2542 โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ต่อปี ในเดือนมกราคม 2544 ด้านเงินฝากธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 5.6 ต่อปี และปริมาณเงิน M2A เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ต่อปี จากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ
7. อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทเฉลี่ยต่อดอลลาร์สรอ. ปรับตัวอ่อนลงเล็กน้อยจาก 43.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้ามาเป็น 43.12 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนนี้ หรือคิดเป็นการอ่อนตัวลงร้อยละ 0.07 อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาท ณ สิ้นเดือนมกราคมปรับตัวแข็งขึ้นเทียบกับสิ้นเดือนก่อน เพราะได้รับปัจจัยบวกจากสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศที่ชัดเจนขึ้น และการอ่อนค่าของ เงินดอลลาร์สรอ. จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มมีสัญญาณ การชะลอตัว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/28 กุมภาพันธ์ 2544--
-ยก-