ข่าวการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๓
วันอังคารที่ ๑๐ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ ต่อเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว โดยพิจารณางบประมาณของกระทรวงการคลังในส่วนของ
กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต กรมสรรพากร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
กรมศุลกากร
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ๑,๒๗๙,๕๙๗,๔๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริหารการคลังและงบประมาณ ๑,๒๕๙,๓๔๔,๙๐๐ บาท
ข. แผนงานผลประโยชน์ในต่างประเทศ ๒๐,๒๕๒,๕๐๐ บาท
๑. กรรมาธิการได้ซักถามและให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็นการหลีกเลี่ยงภาษีรถยนต์นำเข้าอย่างกว้างขวาง
โดยกรมศุลากรได้ชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าว การจัดเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์นั้นจัดเก็บตาม
พิกัดอัตราภาษีศุลกากรโลก กรมศุลกากรได้พิจารณาจัดเก็บตามประเภทของการนำเข้า เช่น รถตู้ ๑๑ ที่นั่ง
ดัดแปลงมาเป็น ๗ ที่นั่ง จะต้องเสียภาษีสรรพสามิตคันละ ๑๓๒,๐๐๐ บาท เพราะฉะนั้นการจัดเก็บภาษี
รถยนต์แต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันตรงที่รถยนต์นำเข้านั้นได้บวกภาษีสรรพสามิตเพิ่มอีกหรือไม่
๒. กรมศุลกากรได้ชี้แจงถึงการพัฒนาระบบการทำงานว่า ปัจจุบันได้นำระบบ EDI
(Electronic Digital Interchange) มาใช้ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาครัฐ
และเอกชน ตลอดจนผู้ประกอบการขนส่งกับกรมศุลกากรเพื่อพัฒนาข้อมูลของกรมศุลกากรให้สมบูรณ์
และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะนี้มีผู้ใช้บริการ EDI ขาเข้าจำนวน ๗๐ เปอร์เซ็นต์ และขาออก
๘๔ เปอร์เซ็นต์ ของใบขน ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายไว้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ในเดือนตุลาคมนี้
๓. กรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรและสินค้าทั่ว ๆ ไป
ว่าควรกำหนดมาตรการป้องกันและบทลงโทษให้รัดกุมยิ่งขึ้น
กรมสรรพสามิต
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ๑,๐๖๓,๘๔๒,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริหารการคลังและงบประมาณ ๑,๐๖๓,๘๔๒,๐๐๐ บาท
จากการที่รัฐบาลมีนโยบายเปิดเสรีการผลิตสุรา ซึ่งมีผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าแข่งขัน
ในตลาดสุราเสรีอย่างมาก ประเด็นดังกล่าวนี้กรรมาธิการได้พิจารณาและแสดงความคิดเห็น สรุปดังนี้
การเปิดตลาดสุราเสรีของประเทศไทยยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ซึ่งมี
กรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเรียกเก็บภาษี กรมสรรพสามิตสามารถจัดเก็บรายได้
จากภาษีสุราปีละ ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท แม้ว่าสุราจะเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับรัฐบาลอย่างมากแต่รัฐบาล
จะต้องตระหนักถึงผลกระทบของการบริโภคสุรา ทั้งในเรื่องของสุขภาพของผู้บริโภค ปัญหาสังคม
และปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนั้นรัฐบาลจะต้องกำหนด
กลไกในการควบคุมตลาดสุราเสรีอย่างรัดกุม
กรมสรรพสามิตได้ส่งเสริมนโยบายสุราเสรีโดยสนับสนุนภูมิปัญญาชาวบ้านในการผลิตสุรา
โดยกำหนดเงื่อนไขสำคัญสำหรับชาวบ้านที่จะมาผลิตสุรา ดังนี้
- ผู้ผลิตสุราจะต้องรวมกลุ่มเป็นกลุ่มสหกรณ์การเกษตร
- สถานที่ตั้งผลิตสุราจะต้องแยกออกจากเคหะสถาน
- กรมสรรพสามิตจะต้องเป็นผู้ควบคุมตรวจสอบคุณภาพ
คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่างๆ ดังนี้
๑. รัฐบาลควรส่งเสริมให้นำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราขาว
(ภูมิปัญญาชาวบ้าน) เพราะจะทำให้มีรสชาติดีเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
๒. กรมสรรพสามิตควรแก้ไขการจัดเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม เช่น การจัดเก็บภาษีรถยนต์
กรมสรรพากร
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๔,๒๑๖,๘๑๓,๖๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้น จากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน
๑,๕๐๔,๒๗๓,๔๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. การขยายฐานภาษี กรมสรรพากรต้องมีความพร้อมในเรื่องระบบ ตัวบุคคลผู้ปฏิบัติงาน
และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้ทางกรม
สรรพากรกำลังดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการ จะขยายการจัดเก็บทั้งผู้ที่อยู่ในระบบและผู้ที่อยู่นอกระบบ
๒. ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อกรมสรรพากร ควรมีการแก้ไขด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อ
สร้างความเข้าใจและให้บริการที่ดีแก่ประชาชน โดยกรมสรรพากรอยู่ในระหว่างดำเนินการโดยใช้นโยบาย
การติดตามดูแลผู้เสียภาษีอย่างใกล้ชิด ให้ผู้เสียภาษีมีความเข้าใจและเสียภาษีอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อไม่ให้
เกิดเบี้ยปรับย้อนหลังเพราะเสียภาษีไม่ถูกต้อง และเป็นการแก้ไขไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในอนาคต มีการใช้
เทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศเข้ามาช่วยประชาสัมพันธ์ติดต่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจ แก้ไขภาพลักษณ์
ของกรมสรรพากรให้ดีขึ้น
๓. กรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่าภาษีธุรกิจเฉพาะมีการจัดเก็บน้อยลง อธิบดีชี้แจงว่า ภาษีธุรกิจ
เฉพาะจัดเก็บจากดอกเบี้ยซึ่งเป็นรายรับของธนาคารมีการจัดเก็บ ๓.๓ เปอร์เซ็นต์ แต่จากภาวะเศรษฐกิจ
ที่ผ่านมาส่งผลให้ธนาคารเอกชนปล่อยเงินให้กู้ยืมน้อยลง ดังนั้น ดอกเบี้ยที่ได้ย่อมน้อยลงด้วย และจัดเก็บ
จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของประชาชนซึ่งจากปัญหาเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์รัฐบาลจึงมีนโยบายให้จัดเก็บ
ภาษีธุรกิจเฉพาะลดลงจาก ๒% ปัจจุบันคงเหลือ ๐.๑ % ดังนั้นจึงส่งผลให้ภาษีธุรกิจเฉพาะมีการจัดเก็บลดลง
จากเดิม
๔. กรรมาธิการซักถามเกี่ยวกับแนวโน้มในการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรว่าจะจัดเก็บได้
ตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ อธิบดีชี้แจงว่า ปี ๒๕๔๔ ได้ตั้งเป้าหมายการจัดเก็บไว้ที่ ๔๙๐,๒๑๐ ล้านบาท
ผลการจัดเก็บ ๘ เดือน (ต.ค. ๔๓-พ.ค. ๔๔) ขณะนี้สามารถจัดเก็บได้ ๓๒๙,๔๑๕.๕๐ ล้านบาท ซึ่งคาดการณ์
ว่าจะสามารถจัดเก็บได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนปี ๒๕๔๕ ได้ตั้งเป้าหมายการจัดเก็บไว้ที่ ๕๑๕,๐๐๐ ล้านบาท
จากการรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดไว้ว่าปี ๒๕๔๕
จะมีการขยายตัวของเศรษฐกิจ ๕% และเงินเฟ้อ ๒.๘% ทำให้กรมสรรพากรมีความมั่นใจว่าจะสามารถ
จัดเก็บได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เช่นกัน
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการมีมติให้รอการพิจารณาและให้มีการพิจารณาอีกครั้งในวันพุธที่ ๑๑
กรกฎาคม ๒๕๔๔ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๓
วันอังคารที่ ๑๐ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ ต่อเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว โดยพิจารณางบประมาณของกระทรวงการคลังในส่วนของ
กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต กรมสรรพากร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
กรมศุลกากร
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ๑,๒๗๙,๕๙๗,๔๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริหารการคลังและงบประมาณ ๑,๒๕๙,๓๔๔,๙๐๐ บาท
ข. แผนงานผลประโยชน์ในต่างประเทศ ๒๐,๒๕๒,๕๐๐ บาท
๑. กรรมาธิการได้ซักถามและให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็นการหลีกเลี่ยงภาษีรถยนต์นำเข้าอย่างกว้างขวาง
โดยกรมศุลากรได้ชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าว การจัดเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์นั้นจัดเก็บตาม
พิกัดอัตราภาษีศุลกากรโลก กรมศุลกากรได้พิจารณาจัดเก็บตามประเภทของการนำเข้า เช่น รถตู้ ๑๑ ที่นั่ง
ดัดแปลงมาเป็น ๗ ที่นั่ง จะต้องเสียภาษีสรรพสามิตคันละ ๑๓๒,๐๐๐ บาท เพราะฉะนั้นการจัดเก็บภาษี
รถยนต์แต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันตรงที่รถยนต์นำเข้านั้นได้บวกภาษีสรรพสามิตเพิ่มอีกหรือไม่
๒. กรมศุลกากรได้ชี้แจงถึงการพัฒนาระบบการทำงานว่า ปัจจุบันได้นำระบบ EDI
(Electronic Digital Interchange) มาใช้ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาครัฐ
และเอกชน ตลอดจนผู้ประกอบการขนส่งกับกรมศุลกากรเพื่อพัฒนาข้อมูลของกรมศุลกากรให้สมบูรณ์
และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะนี้มีผู้ใช้บริการ EDI ขาเข้าจำนวน ๗๐ เปอร์เซ็นต์ และขาออก
๘๔ เปอร์เซ็นต์ ของใบขน ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายไว้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ในเดือนตุลาคมนี้
๓. กรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรและสินค้าทั่ว ๆ ไป
ว่าควรกำหนดมาตรการป้องกันและบทลงโทษให้รัดกุมยิ่งขึ้น
กรมสรรพสามิต
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ๑,๐๖๓,๘๔๒,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริหารการคลังและงบประมาณ ๑,๐๖๓,๘๔๒,๐๐๐ บาท
จากการที่รัฐบาลมีนโยบายเปิดเสรีการผลิตสุรา ซึ่งมีผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าแข่งขัน
ในตลาดสุราเสรีอย่างมาก ประเด็นดังกล่าวนี้กรรมาธิการได้พิจารณาและแสดงความคิดเห็น สรุปดังนี้
การเปิดตลาดสุราเสรีของประเทศไทยยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ซึ่งมี
กรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเรียกเก็บภาษี กรมสรรพสามิตสามารถจัดเก็บรายได้
จากภาษีสุราปีละ ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท แม้ว่าสุราจะเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับรัฐบาลอย่างมากแต่รัฐบาล
จะต้องตระหนักถึงผลกระทบของการบริโภคสุรา ทั้งในเรื่องของสุขภาพของผู้บริโภค ปัญหาสังคม
และปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนั้นรัฐบาลจะต้องกำหนด
กลไกในการควบคุมตลาดสุราเสรีอย่างรัดกุม
กรมสรรพสามิตได้ส่งเสริมนโยบายสุราเสรีโดยสนับสนุนภูมิปัญญาชาวบ้านในการผลิตสุรา
โดยกำหนดเงื่อนไขสำคัญสำหรับชาวบ้านที่จะมาผลิตสุรา ดังนี้
- ผู้ผลิตสุราจะต้องรวมกลุ่มเป็นกลุ่มสหกรณ์การเกษตร
- สถานที่ตั้งผลิตสุราจะต้องแยกออกจากเคหะสถาน
- กรมสรรพสามิตจะต้องเป็นผู้ควบคุมตรวจสอบคุณภาพ
คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่างๆ ดังนี้
๑. รัฐบาลควรส่งเสริมให้นำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราขาว
(ภูมิปัญญาชาวบ้าน) เพราะจะทำให้มีรสชาติดีเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
๒. กรมสรรพสามิตควรแก้ไขการจัดเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม เช่น การจัดเก็บภาษีรถยนต์
กรมสรรพากร
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๔,๒๑๖,๘๑๓,๖๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้น จากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน
๑,๕๐๔,๒๗๓,๔๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. การขยายฐานภาษี กรมสรรพากรต้องมีความพร้อมในเรื่องระบบ ตัวบุคคลผู้ปฏิบัติงาน
และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้ทางกรม
สรรพากรกำลังดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการ จะขยายการจัดเก็บทั้งผู้ที่อยู่ในระบบและผู้ที่อยู่นอกระบบ
๒. ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อกรมสรรพากร ควรมีการแก้ไขด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อ
สร้างความเข้าใจและให้บริการที่ดีแก่ประชาชน โดยกรมสรรพากรอยู่ในระหว่างดำเนินการโดยใช้นโยบาย
การติดตามดูแลผู้เสียภาษีอย่างใกล้ชิด ให้ผู้เสียภาษีมีความเข้าใจและเสียภาษีอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อไม่ให้
เกิดเบี้ยปรับย้อนหลังเพราะเสียภาษีไม่ถูกต้อง และเป็นการแก้ไขไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในอนาคต มีการใช้
เทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศเข้ามาช่วยประชาสัมพันธ์ติดต่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจ แก้ไขภาพลักษณ์
ของกรมสรรพากรให้ดีขึ้น
๓. กรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่าภาษีธุรกิจเฉพาะมีการจัดเก็บน้อยลง อธิบดีชี้แจงว่า ภาษีธุรกิจ
เฉพาะจัดเก็บจากดอกเบี้ยซึ่งเป็นรายรับของธนาคารมีการจัดเก็บ ๓.๓ เปอร์เซ็นต์ แต่จากภาวะเศรษฐกิจ
ที่ผ่านมาส่งผลให้ธนาคารเอกชนปล่อยเงินให้กู้ยืมน้อยลง ดังนั้น ดอกเบี้ยที่ได้ย่อมน้อยลงด้วย และจัดเก็บ
จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของประชาชนซึ่งจากปัญหาเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์รัฐบาลจึงมีนโยบายให้จัดเก็บ
ภาษีธุรกิจเฉพาะลดลงจาก ๒% ปัจจุบันคงเหลือ ๐.๑ % ดังนั้นจึงส่งผลให้ภาษีธุรกิจเฉพาะมีการจัดเก็บลดลง
จากเดิม
๔. กรรมาธิการซักถามเกี่ยวกับแนวโน้มในการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรว่าจะจัดเก็บได้
ตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ อธิบดีชี้แจงว่า ปี ๒๕๔๔ ได้ตั้งเป้าหมายการจัดเก็บไว้ที่ ๔๙๐,๒๑๐ ล้านบาท
ผลการจัดเก็บ ๘ เดือน (ต.ค. ๔๓-พ.ค. ๔๔) ขณะนี้สามารถจัดเก็บได้ ๓๒๙,๔๑๕.๕๐ ล้านบาท ซึ่งคาดการณ์
ว่าจะสามารถจัดเก็บได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนปี ๒๕๔๕ ได้ตั้งเป้าหมายการจัดเก็บไว้ที่ ๕๑๕,๐๐๐ ล้านบาท
จากการรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดไว้ว่าปี ๒๕๔๕
จะมีการขยายตัวของเศรษฐกิจ ๕% และเงินเฟ้อ ๒.๘% ทำให้กรมสรรพากรมีความมั่นใจว่าจะสามารถ
จัดเก็บได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เช่นกัน
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการมีมติให้รอการพิจารณาและให้มีการพิจารณาอีกครั้งในวันพุธที่ ๑๑
กรกฎาคม ๒๕๔๔ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา