ชาวอังกฤษรู้จักและคุ้นเคยกับการใช้เครื่องเทศพอสมควร โดยนำมาใช้แต่งกลิ่น เปลี่ยนสี และเพิ่มรสชาดอาหารให้น่ารับประทานยิ่งขึ้นและนำมาใช้ในอุตสาหกรรมประเภทอาหารและยา กระดาษเช็ดปาก กระดาษชำระ และอุตสาหกรรมประเภทเครื่องสำอางค์ อย่างไรก็ดี ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะตลาดเครื่องเทศที่ใช้ในการปรุงอาหารเท่านั้น
ตลาดเครื่องเทศ
ตลาดที่รองรับสินค้าเครื่องเทศสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้.-
1) ใช้เป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร
2) ใช้เป็นส่วนผสมในการปรุงอาหารตามบ้านเรือน
3) ใช้เป็นวัตถุดิบในการสกัดเป็นน้ำมันสำหรับใช้ในการปรุงอาหาร
ปัจจุบันผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรหันมาบริโภคอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศมากขึ้น ทำให้ตลาดเครื่องเทศขยายตัวในปีหนึ่ง ๆ กว่าร้อยละ 4-5 และมียอดขายประมาณ 85 ล้านปอนด์ (5,500 ล้านบาท) การที่ตลาดเครื่องเทศขยายตัวเป็นผลจากการแนะนำการใช้เครื่องเทศโดยวารสารและนิตยสารที่มีคอลัมภ์เกี่ยวกับอาหาร รายการแนะนำการปรุงอาหารทางโทรทัศน์ ซึ่งมีการสาธิตการประกอบอาหารที่ใช้เครื่องเทศเป็นส่วนผสมและตัวชูรสมากขึ้น รวมทั้งการบอกเล่าถึงสรรพคุณทางยา และโภชนาการซึ่งมีอยู่ในเครื่องเทศ อาหารเหล่านี้จึงได้รับความสนใจจากผู้ชมรายการและผู้อ่านอย่างสูง การประชาสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคสนใจและหันมาให้ความสำคัญกับเครื่องเทศเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน
สำหรับตลาดพริกไทยซึ่งเป็นเครื่องเทศที่สำคัญประเภทหนึ่งนั้นขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 67 ตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา ยกเว้นพริกไทยขาวที่มียอดจำหน่ายยอดลงประมาณร้อยละ 13 ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริโภคได้หันมาบริโภคพริกไทยชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะพริกไทยดำมากขึ้น ตลาดเครื่องเทศมีแนวโน้มที่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะนิยมบริโภคเครื่องเทศชนิดผสม สำหรับเครื่องเทศเทียมหรือสารปรุงแต่งกลิ่น/รสซึ่งเป็นผลผลิตของเทคโนโลยีใหม่ทางด้านอุตสาหกรรมอาหารนั้น ไม่ค่อยจะเป็นที่นิยมบริโภคมากนัก ยกเว้นในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารแปรรูปบางประเภท
ช่องทางการจำหน่ายและการนำเข้าเครื่องเทศของสหราชอาณาจักร
ในสหราชอาณาจักรเครื่องเทศสมุนไพรต่าง ๆ ไม่มีการผลิตเป็นอุตสาหกรรม ผู้บริโภคจึงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตรเป็นหลัก ผู้นำเข้าเครื่องเทศแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1). การนำเข้าโดยผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีความรู้ มีความชำนาญเป็นพิเศษเกี่ยวกับเครื่องเทศและสมุนไพรและจะเป็นผู้จัดจำหน่ายต่อให้กับพ่อค้าคนกลาง จากนั้นพ่อค้าคนกลางจะเป็นผู้ทำความสะอาด คัดเลือก รวมทั้งนำไปบดป่นให้ละเอียดเป็นผงและผสมเป็นสูตรตามที่ตลาดต้องการแล้วจึงบรรจุหีบห่อเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าปลีกต่อไป
2). การนำเข้าโดยผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งนำเข้าเครื่องเทศโดยตรงจากประเทศผู้ผลิตเพื่อนำมาบรรจุหีบห่อเอง เช่น Mc Cormick Inc. และ Lious Food เป็นต้น อย่างไรก็ดี การจำหน่ายเครื่องเทศจำเป็นต้องอาศัยการส่งเสริมการตลาดอย่างกว้างขางและจริงจัง โดยเฉพาะผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ ๆ ที่บรรจุหีบห่อประเภทซอง วิธีการที่นิยม คือ การให้เปล่าเป็นของแถบพกเมื่อซื้อนิตยสาร
การนำเข้าเครื่องเทศจากประเทศไทยของสหราชอาณาจักร
ในปีหนึ่ง ๆ สหราชอาณาจักรมีการนำเข้าเครื่องเทศจากไทยประมาณปีละกว่า 80 ล้านบาท โดยมีการนำเข้าจำพวกเครื่องเทศและเครื่องแกง รวมทั้ง พริก, พริกไทย และกระเทียมต่าง ๆ
โอกาสของประเทศไทยกับการส่งออกเครื่องเทศไปยังสหราชอาณาจักร
โดยที่ประชาชนในสหราชอาณาจักรหันมาสนใจนิยมบริโภคและผลิตอาหารสำเร็จรูปประเภทอาหารเอเชียหรืออาหารแบบตะวันออก (Oriental Food) กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากความชื่นชอบในรสชาดของอาหาร และมีความเชื่อในสรรพคุณทางยาที่ว่า เครื่องเทศมีส่วนในการเสริมสร้างสุขภาพให้แก่ร่างกาย ทำให้ความต้องการเครื่องเทศเพื่อการปรุงอาหารเหล่านั้น เช่น พริกไทย พริก ขิง ข่า กระเทียม ฯลฯ เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การปรุงอาหารเหล่านี้ที่บ้านและการขยายตัวของอาหารและภัตตาคารประเภท Oriental Food ตลอดจนความตื่นตัวในการบริโภคผลิตภัณฑ์ประเภทวิตามินเพื่อสุขภาพ สบู่ แชมพู เครื่องบำรุงผิว และเครื่องสำอางค์จากสมุนไพร ทำให้อุปสงค์ของเครื่องเทศเพิ่มขึ้น ไทยจึงเป็นประเทศหนึ่งที่มีโอกาสสูงในการส่งออกเครื่องเทศมาจำหน่ายในสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ควรคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน การกำหนดราคาสินค้าที่สามารถแข่งขันได้และความเชื่อถือของผู้นำเข้าด้วย
ที่มา : สถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงลอนดอน
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3/15 กุมภาพันธ์ 2543--
ตลาดเครื่องเทศ
ตลาดที่รองรับสินค้าเครื่องเทศสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้.-
1) ใช้เป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร
2) ใช้เป็นส่วนผสมในการปรุงอาหารตามบ้านเรือน
3) ใช้เป็นวัตถุดิบในการสกัดเป็นน้ำมันสำหรับใช้ในการปรุงอาหาร
ปัจจุบันผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรหันมาบริโภคอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศมากขึ้น ทำให้ตลาดเครื่องเทศขยายตัวในปีหนึ่ง ๆ กว่าร้อยละ 4-5 และมียอดขายประมาณ 85 ล้านปอนด์ (5,500 ล้านบาท) การที่ตลาดเครื่องเทศขยายตัวเป็นผลจากการแนะนำการใช้เครื่องเทศโดยวารสารและนิตยสารที่มีคอลัมภ์เกี่ยวกับอาหาร รายการแนะนำการปรุงอาหารทางโทรทัศน์ ซึ่งมีการสาธิตการประกอบอาหารที่ใช้เครื่องเทศเป็นส่วนผสมและตัวชูรสมากขึ้น รวมทั้งการบอกเล่าถึงสรรพคุณทางยา และโภชนาการซึ่งมีอยู่ในเครื่องเทศ อาหารเหล่านี้จึงได้รับความสนใจจากผู้ชมรายการและผู้อ่านอย่างสูง การประชาสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคสนใจและหันมาให้ความสำคัญกับเครื่องเทศเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน
สำหรับตลาดพริกไทยซึ่งเป็นเครื่องเทศที่สำคัญประเภทหนึ่งนั้นขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 67 ตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา ยกเว้นพริกไทยขาวที่มียอดจำหน่ายยอดลงประมาณร้อยละ 13 ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริโภคได้หันมาบริโภคพริกไทยชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะพริกไทยดำมากขึ้น ตลาดเครื่องเทศมีแนวโน้มที่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะนิยมบริโภคเครื่องเทศชนิดผสม สำหรับเครื่องเทศเทียมหรือสารปรุงแต่งกลิ่น/รสซึ่งเป็นผลผลิตของเทคโนโลยีใหม่ทางด้านอุตสาหกรรมอาหารนั้น ไม่ค่อยจะเป็นที่นิยมบริโภคมากนัก ยกเว้นในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารแปรรูปบางประเภท
ช่องทางการจำหน่ายและการนำเข้าเครื่องเทศของสหราชอาณาจักร
ในสหราชอาณาจักรเครื่องเทศสมุนไพรต่าง ๆ ไม่มีการผลิตเป็นอุตสาหกรรม ผู้บริโภคจึงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตรเป็นหลัก ผู้นำเข้าเครื่องเทศแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1). การนำเข้าโดยผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีความรู้ มีความชำนาญเป็นพิเศษเกี่ยวกับเครื่องเทศและสมุนไพรและจะเป็นผู้จัดจำหน่ายต่อให้กับพ่อค้าคนกลาง จากนั้นพ่อค้าคนกลางจะเป็นผู้ทำความสะอาด คัดเลือก รวมทั้งนำไปบดป่นให้ละเอียดเป็นผงและผสมเป็นสูตรตามที่ตลาดต้องการแล้วจึงบรรจุหีบห่อเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าปลีกต่อไป
2). การนำเข้าโดยผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งนำเข้าเครื่องเทศโดยตรงจากประเทศผู้ผลิตเพื่อนำมาบรรจุหีบห่อเอง เช่น Mc Cormick Inc. และ Lious Food เป็นต้น อย่างไรก็ดี การจำหน่ายเครื่องเทศจำเป็นต้องอาศัยการส่งเสริมการตลาดอย่างกว้างขางและจริงจัง โดยเฉพาะผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ ๆ ที่บรรจุหีบห่อประเภทซอง วิธีการที่นิยม คือ การให้เปล่าเป็นของแถบพกเมื่อซื้อนิตยสาร
การนำเข้าเครื่องเทศจากประเทศไทยของสหราชอาณาจักร
ในปีหนึ่ง ๆ สหราชอาณาจักรมีการนำเข้าเครื่องเทศจากไทยประมาณปีละกว่า 80 ล้านบาท โดยมีการนำเข้าจำพวกเครื่องเทศและเครื่องแกง รวมทั้ง พริก, พริกไทย และกระเทียมต่าง ๆ
โอกาสของประเทศไทยกับการส่งออกเครื่องเทศไปยังสหราชอาณาจักร
โดยที่ประชาชนในสหราชอาณาจักรหันมาสนใจนิยมบริโภคและผลิตอาหารสำเร็จรูปประเภทอาหารเอเชียหรืออาหารแบบตะวันออก (Oriental Food) กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากความชื่นชอบในรสชาดของอาหาร และมีความเชื่อในสรรพคุณทางยาที่ว่า เครื่องเทศมีส่วนในการเสริมสร้างสุขภาพให้แก่ร่างกาย ทำให้ความต้องการเครื่องเทศเพื่อการปรุงอาหารเหล่านั้น เช่น พริกไทย พริก ขิง ข่า กระเทียม ฯลฯ เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การปรุงอาหารเหล่านี้ที่บ้านและการขยายตัวของอาหารและภัตตาคารประเภท Oriental Food ตลอดจนความตื่นตัวในการบริโภคผลิตภัณฑ์ประเภทวิตามินเพื่อสุขภาพ สบู่ แชมพู เครื่องบำรุงผิว และเครื่องสำอางค์จากสมุนไพร ทำให้อุปสงค์ของเครื่องเทศเพิ่มขึ้น ไทยจึงเป็นประเทศหนึ่งที่มีโอกาสสูงในการส่งออกเครื่องเทศมาจำหน่ายในสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ควรคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน การกำหนดราคาสินค้าที่สามารถแข่งขันได้และความเชื่อถือของผู้นำเข้าด้วย
ที่มา : สถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงลอนดอน
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3/15 กุมภาพันธ์ 2543--