11 กุมภาพันธ์ 2543 การหารือสองฝ่ายของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับรัฐมนตรีประเทศต่างๆ ในระหว่างการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ประจำวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2543 --------------- ในระหว่างการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 คณะผู้แทนไทยได้รับการติดต่อประสานจากประเทศสมาชิกต่างๆ จำนวนกว่า 40 ประเทศ ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนของตนจะขอเข้าพบหารือสองฝ่ายกับรองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2543 ได้มี หัวหน้าคณะผู้แทนจาก 3 ประเทศ เข้าพบ ดังนี้ 1. บังคลาเทศ นาย Abdul Jali รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์บังคลาเทศได้นำคณะผู้แทนเข้าพบสรุปสาระ สำคัญได้ดังนี้ 1.1 ฝ่ายไทยและบังคลาเทศได้หารือถึงความร่วมมือในกรอบ BIMST —EC โดยฝ่ายไทยเห็นว่ากลุ่ม ประเทศ BIMST-EC ควรจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจของกลุ่มเป็นประจำทุกปี เพื่อกระตุ้นให้ ความร่วมมือต่างๆ ที่กลุ่มเห็นชอบร่วมกัน มีความคืบหน้ายิ่งขึ้น ซึ่งบังคลาเทศก็มีความเห็นสอดคล้อง กับไทย ทั้งนี้ คณะทำงานของกลุ่ม BIMST-EC ได้มีการหารือถึงความเป็นไปได้ที่จะจัดทำเขตการค้าเสรี ซึ่งเป็น ข้อเสนอของฝ่ายไทย ในการประชุมที่กรุงดัคกา เมื่อปี 2542 1.2 ฝ่ายบังคลาเทศได้เรียกร้องขอให้ไทยกลับเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรปอระหว่างระเทศ (International Jute Organization : IJO ) และแจ้งว่า อินเดียก็ได้ยื่นขอกลับเข้าเป็นสมาชิกองค์กรนี้อีกครั้งแล้ว ฝ่ายไทย แจ้งว่าจะนำเรื่องนี้หารือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไปอย่างไรก็ดี ขณะนี้ไทยไม่มีการส่งออกปอแล้ว 2.เนปาล นาย Ram Krishna Tamrakar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เนปาลได้นำคณะผู้แทนเข้าพบหารือ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 2.1 ฝ่ายเนปาลแจ้งว่า การพัฒนาศาสนสถาน ณ เมืองลุมพินี ขณะนี้มีความคืบหน้าน้อยมาก เนื่องจาก จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และเนปาลมีงบประมาณไม่พอ ทางเนปาลจึงขอให้ประเทศไทย ช่วยจัดหาเงินทุนในการบูรณะศาสนสถานครั้งนี้ด้วย 2.2 ฝ่ายเนปาลได้เชิญชวนให้สายการบินของไทยจัดเที่ยวบินไปยังเมืองโภคะรา (Pokhra) และเมืองลุมพินี ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของเนปาล นอกจากนี้ยังแจ้งว่ารัฐบาลเนปาลกำลังสร้าง สนามบินนานาชาติ ที่ลุมพินี จึงเสนอว่าสายการบินของไทยน่าจะมีการใช้กลยุทธ์จูงใจในเรื่องราคา เพื่อดึงดูดให้มีผู้เดินทาง ไปเที่ยวเมืองทั้งสองมากขึ้น 2.3 ฝ่ายเนปาลมีความประสงค์ที่จะเข้าเป็นสมาชิก BIMST-EC จึงขอให้ไทยช่วยผลักดัน ให้มีการรับ เนปาลเข้าเป็นสมาชิกก่อนกำหนดเวลาปกติที่เปิดโอกาสให้มีการรับสมาชิกเพิ่ม 2.4 ฝ่ายเนปาลได้เสนอให้ฝ่ายไทยเร่งพิจารณาความตกลงทางการค้าระหว่างไทยกับเน ปาล นอกจากนี้ เนปาลได้ขอให้รัฐบาลไทยลดภาษีนำเข้าสินค้าหัตถกรรม ซึ่งขณะนี้เรียกเก็บอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60 2.5 ฝ่ายเนปาลขอให้ไทยสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของเนปาลด้วย ซึ่งฝ่ายไทยก็ยินดี 2.6 ฝ่ายเนปาลแจ้งว่าตนได้มีการทำความตกลงไม่เรียกเก็บภาษีระหว่างกันกับประเทศอินเดีย ดังนั้นไทย จึงน่าจะเข้าไปลงทุนในเนปาล ซึ่งจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวส่งสินค้าไปอินเดียโดยไม่ต้อง เสียภาษีได้ 3. แอฟริกาใต้ นาย Alec Erwin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของแอฟริกาใต้ สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้ 3.1 ไทยและแอฟริกาเห็นพ้องกันว่า ผลการประชุมคณะมนตรีทั่วไปขององค์การการค้า โลกที่ผ่านมาเมื่อ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นการส่งสัญญานที่ดีว่าประเทศสมาชิกมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันเจรจาเพื่อ เปิดการค้าเสรีต่อไป 3.2 ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ฝ่ายแอฟริกาใต้ทราบถึงความคืบหน้าของร่างความตกลงทางการค้าไทย-แอฟริกาใต้ ซึ่งได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างรอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-