กรุงเทพฯ--4 ต.ค.--พรรคประชาธิปัตย์
พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเวลา 16.00 น. ได้มีการประชุม ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ โดยมีบรรดาแกนนำมาร่วมประชุมร่วมกันอย่างคับคั่ง อาทิ เช่น นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองหัวหน้าพรรค นายบุญชู โรจนเสถียร เป็นต้น โดยใช้เวลาในการประชุมประมาณ 3 ชั่วโมง
ภายหลังการประชุม นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย โฆษกพรรคแถลงว่า ก่อนการประชุมนายบัญญัติ ได้เข้าชี้แจง ถึงข่าวที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการแจ้งบัญชีทรัพย์สิน เนื่องจ ากเกรงข่าวที่เกิดขึ้นจะสร้างความสับสนให้กับประชาชนโดยนายบัญญัติ ชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าว เนื่องจากน้องชายนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองหัวหน้าพรรคได้ขอให้ไปร่วมหุ้น ซึ่งนายบัญญัติได้เข้าร่วมหุ้นจริง แต่จากบริษัทไม่ได้ติดต่อกับนายบัญญัติ ไม่ได้ใบหุ้น อย่างไรก็ตามนายบัญญัติ ยอมรับว่า ลืมแจ้งบัญชีดังกล่าวจริง ซึ่งสมาชิกในที่ประชุมก็เข้าใจ นอกจากนี้ที่ประชุมมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยมีการวิเคราะห์กันว่าพรรคไทยรักไทย พยายามที่จะหยิบยกเรื่องของนายบัญญัติขึ้นมา เพื่อทำให้เห็นว่าเป็นกรณีเดียวกับการแจ้งบัญชีทรัพย์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย เพื่อที่จะลดน้ำหนักกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ และพยายาม เพิ่มน้ำหนักของนายบัญญัติให้เท่ากับ พ.ต.ท.ทักษิณ
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมเห็นว่า ทั้งสองกรณีเป็นคนละเรื่องกัน กล่าวคือกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ มีความไม่ชอบมาพากล ซึ่งกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ เคยให้สัมภาษณ์ว่าลืมแจ้งหุ้นจำนวน 60 ล้านบาท เป็นเพียงกรณีเดียวที่สามารถเทียบเคียงกับกรณีของนายบัญญัติได้อีก 3 กรณีไม่ใช่ คือกรณีการโอนหุ้นให้ลูก เนื่องจากมีข้อสังเกตว่าเป็นการโอนหุ้นให้เฉพาะลูกชายที่บรรลุนิติภาวะจำนวนมาก แต่ลูกสาวอีก 2 คน ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะโอนให้เพียงเล็กน้อย ซึ่งที่ประชุมวิเคราะห์ว่าเป็นเจตนาหลบเลี่ยงการตรวจสอบนักการเมืองกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เป็นรัฐมนตรี คือหลีกเลี่ยงกฎหมายจัดการหุ้นส่วนรัฐมนตรี เนื่องจากบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วไม่จำเป็นต้องโอนหุ้นออกไปและถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิรูปการเมือง เป็นเจตนาขัดขวางการปฏิรูปการเมืองที่ชัดเจน
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า พฤติกรรมที่น่าสงสัยอีกเรื่องหนึ่งก็คือการโอนหุ้นให้คนรับใช้ ยาม คนขับรถ ถือเป็นการดำเนินการที่ซับซ้อน และส่อเจตนาว่าปกปิดทรัพย์สินหนี้สิน ถือเป็นอีกกรณีหนึ่งที่ไม่ชอบมาพากล และในกรณีนี้มาเทียบเคียงกับกรณีของนายบัญญัติ ไม่ได้ เพราะกรณีของพ.ต.ท.ทักษิณ ทางปปช. เป็นคนตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว แต่กรณีของนาบัญญัติ ยังเป็นการตรวจสอบตามปกติ ของปปช. เท่านั้น ซึ่งมีน้ำหนักต่างกัน ส่วนพฤติกรรม สุดท้ายในความไม่ชอบมาพากลของพ.ต.ท.ทักษิณ คือการขายหุ้นให้บริษัทที่จดทะเบียนบนเกาะ บิติส เวอร์จิน ซึ่งตาม รายงานข่าวของสื่อมวลชนพบว่า ยังไม่ทราบรายงานการโอนเงินจากเกาะดังกล่าวมาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ฉะนั้นทั้ง 3 กรณีหลังนี้ ไม่สามารถเทียบเคียงกรณีของนายบัญญัติ ได้และพรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่าจากนี้ไปพรรคไทยรักไทยคงพยายามที่จะหาเหตุมากล่าวร้ายโจมตีพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อกลบเกลื่อนเรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ อีกและทางพรรคได้กำชับให้ส.ส. ทุกพื้นที่ชี้แจงข้อเท็จจริงกับประชาชน โดยจะออกให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในทุกเรื่องที่มีการพาดพิงถึงพรรคปชป.--จบ--
-วว-
พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเวลา 16.00 น. ได้มีการประชุม ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ โดยมีบรรดาแกนนำมาร่วมประชุมร่วมกันอย่างคับคั่ง อาทิ เช่น นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองหัวหน้าพรรค นายบุญชู โรจนเสถียร เป็นต้น โดยใช้เวลาในการประชุมประมาณ 3 ชั่วโมง
ภายหลังการประชุม นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย โฆษกพรรคแถลงว่า ก่อนการประชุมนายบัญญัติ ได้เข้าชี้แจง ถึงข่าวที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการแจ้งบัญชีทรัพย์สิน เนื่องจ ากเกรงข่าวที่เกิดขึ้นจะสร้างความสับสนให้กับประชาชนโดยนายบัญญัติ ชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าว เนื่องจากน้องชายนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองหัวหน้าพรรคได้ขอให้ไปร่วมหุ้น ซึ่งนายบัญญัติได้เข้าร่วมหุ้นจริง แต่จากบริษัทไม่ได้ติดต่อกับนายบัญญัติ ไม่ได้ใบหุ้น อย่างไรก็ตามนายบัญญัติ ยอมรับว่า ลืมแจ้งบัญชีดังกล่าวจริง ซึ่งสมาชิกในที่ประชุมก็เข้าใจ นอกจากนี้ที่ประชุมมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยมีการวิเคราะห์กันว่าพรรคไทยรักไทย พยายามที่จะหยิบยกเรื่องของนายบัญญัติขึ้นมา เพื่อทำให้เห็นว่าเป็นกรณีเดียวกับการแจ้งบัญชีทรัพย์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย เพื่อที่จะลดน้ำหนักกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ และพยายาม เพิ่มน้ำหนักของนายบัญญัติให้เท่ากับ พ.ต.ท.ทักษิณ
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมเห็นว่า ทั้งสองกรณีเป็นคนละเรื่องกัน กล่าวคือกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ มีความไม่ชอบมาพากล ซึ่งกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ เคยให้สัมภาษณ์ว่าลืมแจ้งหุ้นจำนวน 60 ล้านบาท เป็นเพียงกรณีเดียวที่สามารถเทียบเคียงกับกรณีของนายบัญญัติได้อีก 3 กรณีไม่ใช่ คือกรณีการโอนหุ้นให้ลูก เนื่องจากมีข้อสังเกตว่าเป็นการโอนหุ้นให้เฉพาะลูกชายที่บรรลุนิติภาวะจำนวนมาก แต่ลูกสาวอีก 2 คน ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะโอนให้เพียงเล็กน้อย ซึ่งที่ประชุมวิเคราะห์ว่าเป็นเจตนาหลบเลี่ยงการตรวจสอบนักการเมืองกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เป็นรัฐมนตรี คือหลีกเลี่ยงกฎหมายจัดการหุ้นส่วนรัฐมนตรี เนื่องจากบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วไม่จำเป็นต้องโอนหุ้นออกไปและถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการปฏิรูปการเมือง เป็นเจตนาขัดขวางการปฏิรูปการเมืองที่ชัดเจน
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า พฤติกรรมที่น่าสงสัยอีกเรื่องหนึ่งก็คือการโอนหุ้นให้คนรับใช้ ยาม คนขับรถ ถือเป็นการดำเนินการที่ซับซ้อน และส่อเจตนาว่าปกปิดทรัพย์สินหนี้สิน ถือเป็นอีกกรณีหนึ่งที่ไม่ชอบมาพากล และในกรณีนี้มาเทียบเคียงกับกรณีของนายบัญญัติ ไม่ได้ เพราะกรณีของพ.ต.ท.ทักษิณ ทางปปช. เป็นคนตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว แต่กรณีของนาบัญญัติ ยังเป็นการตรวจสอบตามปกติ ของปปช. เท่านั้น ซึ่งมีน้ำหนักต่างกัน ส่วนพฤติกรรม สุดท้ายในความไม่ชอบมาพากลของพ.ต.ท.ทักษิณ คือการขายหุ้นให้บริษัทที่จดทะเบียนบนเกาะ บิติส เวอร์จิน ซึ่งตาม รายงานข่าวของสื่อมวลชนพบว่า ยังไม่ทราบรายงานการโอนเงินจากเกาะดังกล่าวมาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ฉะนั้นทั้ง 3 กรณีหลังนี้ ไม่สามารถเทียบเคียงกรณีของนายบัญญัติ ได้และพรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่าจากนี้ไปพรรคไทยรักไทยคงพยายามที่จะหาเหตุมากล่าวร้ายโจมตีพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อกลบเกลื่อนเรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ อีกและทางพรรคได้กำชับให้ส.ส. ทุกพื้นที่ชี้แจงข้อเท็จจริงกับประชาชน โดยจะออกให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในทุกเรื่องที่มีการพาดพิงถึงพรรคปชป.--จบ--
-วว-