แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย
พรรคประชาธิปัตย์
ภาคใต้
จีดีพี
ส.ส.
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 ว่า
รัฐบาลตั้งงบประมาณจำนวน 1.36 ล้านล้านบาท จากสมมุติฐานและประมาณการที่ไม่สอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน คือ ตั้งงบจากสมมุติฐานการขยายตัวของจีดีพีที่ร้อยละ 5.5 หรือ 6.5 แต่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ประมาณการตัวเลขไตรมาสแรกจีดีพีเพิ่มแค่ 3.3% ภาวะราคาน้ำมันที่เป็นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 42.50 ดอลล์ล่าสหรัฐต่อบาเรล แต่ตอนนี้ราคาขึ้นมาเป็น 60 ดอลล์ล่าสหรัฐต่อบาเรล และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น ซึ่งจากประมาณการที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ ผลที่เกิดตามมาคือ จะเกิดการรีดภาษีจากผู้ประกอบการ ดังนั้นถ้ารัฐบาลไม่ยอมรับฐานความจริงที่เกิดขึ้น ก็จะเกิดผลกระทบต่อประชาชนอย่างชัดเจน และการที่รัฐบาลตั้งเป้าว่าจะเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10.07 ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.40 ปัญหาที่เกิดขึ้นคือสรรพากรก็ต้องไปจัดการเก็บภาษีให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการต้องรับภาระในการตั้งเป้าภาษีนี้ด้วย
นายวิรัตน์ กล่าวถึงแผนงบประมาณรักษาความมั่นคงของรัฐว่า รัฐบาลตั้งงบในส่วนนี้จำนวน 9,343.5 ล้านบาท โดยเน้นในเรื่องรักษาความมั่นคง ด้านการข่าว การลักลอบเข้าเมือง และการควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบ แต่ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ประชาชนได้รับโดยตรง เช่น ชาวบ้านไม่กล้าออกไปกรีดยาง พ่อค้าแม่ค้าไม่กล้าออกไปค้าขาย ผู้ประกอบการประมงก็ต้องหยุดออกเรือ เพราะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง เป็นต้น ในยุทธศาสตร์ของรัฐบาลมีการตั้งกองทุนมากมาย ตามมาตรา 28 มีทั้งหมด 22 กองทุน แต่ไม่มีกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากผลกระทบใน 5 จังหวัดภาคใต้ ไม่มีกองทุนช่วยเหลือชาวประมง ไม่มีกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยตรงหรือโดยอ้อมจากภัยสึนามิ ดังนั้นจึงอยากขอให้รัฐบาลเพิ่มกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยตรงหรือโดยอ้อมจากภัยสึนามิ และ กองทุนผู้ประสบภัยโดยตรงหรือโดยอ้อมจากหน่วยราชการภาคใต้ เข้าไปอีก 2 กองทุน เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่ได้ในสถานการณ์เช่นนี้
ส่วนยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ ที่พูดถึงการท่องเที่ยว การพัฒนาฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเดิมและแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ดำเนินมาตรการเชิงรุกด้านการตลาด พัฒนายกระดับมาตรฐานและบริการและปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยว ซึ่งฟังเหมือนเป็นเรื่องดี แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้คือผู้ประกอบการใน 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบภัยสึนามิยังยืนไม่ได้ ลูกจ้างพนักงานถูกเลิกจ้าง ถูกลดค่าจ้าง ทั้งผู้ประกอบการและลูกจ้างได้รับผลกระทบมหาศาล อีกทั้งสถานบริการ โรงแรม ร้านอาหาร ที่ยังเปิดอยู่ยังคงมีค่าใช้จ่ายเหมือนเดิม แต่ผู้ใช้บริการหรือนักท่องเที่ยวลดลง เพราะฉะนั้นยุทธศาสตร์นี้ยังไม่มีผลจับต้องได้ในพื้นที่ที่ประสบภัยสึนามิ จึงขอให้ปรับแผน เพราะมีงบถึงร้อยละ 13.2 ของงบประมาณทั้งหมด คิดเป็นเงิน 179,000 กว่าล้านบาท ซึ่งถือว่าเยอะทีเดียว ดังนั้นรัฐบาลจะต้องเร่งช่วยเหลือและดูแลโดยด่วน
“ขอให้จัดการลงไปใน 5 จังหวัดภาคใต้ ที่กระทบต่อความไม่สงบ และ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบภัยสึนามิ ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ เกิดขึ้นเพราะนโยบายคิดใหม่ ทำใหม่ ที่ผิดพลาด ทำให้เกิดผลกระทบมากมาย ซึ่งรัฐบาลจะปฏิเสธความรับผิดในส่วนนั้นไม่ได้ จึงขอได้โปรดจัดการให้งบถึงมือชาวบ้าน เกษตรกร ผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ค้า ชาวประมงที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม และต้องอย่าลืมว่า 6 จังหวัดที่ประสบภัยสึนามิเป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาประเทศไทย ดึงดูดงบประมาณมากมายมหาศาล ดังนั้นต้องให้ความช่วยเหลือโดยด่วน “ นายวิรัตน์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 มิ.ย. 2548--จบ--
รัฐบาลตั้งงบประมาณจำนวน 1.36 ล้านล้านบาท จากสมมุติฐานและประมาณการที่ไม่สอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน คือ ตั้งงบจากสมมุติฐานการขยายตัวของจีดีพีที่ร้อยละ 5.5 หรือ 6.5 แต่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ประมาณการตัวเลขไตรมาสแรกจีดีพีเพิ่มแค่ 3.3% ภาวะราคาน้ำมันที่เป็นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 42.50 ดอลล์ล่าสหรัฐต่อบาเรล แต่ตอนนี้ราคาขึ้นมาเป็น 60 ดอลล์ล่าสหรัฐต่อบาเรล และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น ซึ่งจากประมาณการที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ ผลที่เกิดตามมาคือ จะเกิดการรีดภาษีจากผู้ประกอบการ ดังนั้นถ้ารัฐบาลไม่ยอมรับฐานความจริงที่เกิดขึ้น ก็จะเกิดผลกระทบต่อประชาชนอย่างชัดเจน และการที่รัฐบาลตั้งเป้าว่าจะเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10.07 ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.40 ปัญหาที่เกิดขึ้นคือสรรพากรก็ต้องไปจัดการเก็บภาษีให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการต้องรับภาระในการตั้งเป้าภาษีนี้ด้วย
นายวิรัตน์ กล่าวถึงแผนงบประมาณรักษาความมั่นคงของรัฐว่า รัฐบาลตั้งงบในส่วนนี้จำนวน 9,343.5 ล้านบาท โดยเน้นในเรื่องรักษาความมั่นคง ด้านการข่าว การลักลอบเข้าเมือง และการควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบ แต่ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ประชาชนได้รับโดยตรง เช่น ชาวบ้านไม่กล้าออกไปกรีดยาง พ่อค้าแม่ค้าไม่กล้าออกไปค้าขาย ผู้ประกอบการประมงก็ต้องหยุดออกเรือ เพราะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง เป็นต้น ในยุทธศาสตร์ของรัฐบาลมีการตั้งกองทุนมากมาย ตามมาตรา 28 มีทั้งหมด 22 กองทุน แต่ไม่มีกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากผลกระทบใน 5 จังหวัดภาคใต้ ไม่มีกองทุนช่วยเหลือชาวประมง ไม่มีกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยตรงหรือโดยอ้อมจากภัยสึนามิ ดังนั้นจึงอยากขอให้รัฐบาลเพิ่มกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยตรงหรือโดยอ้อมจากภัยสึนามิ และ กองทุนผู้ประสบภัยโดยตรงหรือโดยอ้อมจากหน่วยราชการภาคใต้ เข้าไปอีก 2 กองทุน เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่ได้ในสถานการณ์เช่นนี้
ส่วนยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ ที่พูดถึงการท่องเที่ยว การพัฒนาฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเดิมและแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ดำเนินมาตรการเชิงรุกด้านการตลาด พัฒนายกระดับมาตรฐานและบริการและปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยว ซึ่งฟังเหมือนเป็นเรื่องดี แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้คือผู้ประกอบการใน 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบภัยสึนามิยังยืนไม่ได้ ลูกจ้างพนักงานถูกเลิกจ้าง ถูกลดค่าจ้าง ทั้งผู้ประกอบการและลูกจ้างได้รับผลกระทบมหาศาล อีกทั้งสถานบริการ โรงแรม ร้านอาหาร ที่ยังเปิดอยู่ยังคงมีค่าใช้จ่ายเหมือนเดิม แต่ผู้ใช้บริการหรือนักท่องเที่ยวลดลง เพราะฉะนั้นยุทธศาสตร์นี้ยังไม่มีผลจับต้องได้ในพื้นที่ที่ประสบภัยสึนามิ จึงขอให้ปรับแผน เพราะมีงบถึงร้อยละ 13.2 ของงบประมาณทั้งหมด คิดเป็นเงิน 179,000 กว่าล้านบาท ซึ่งถือว่าเยอะทีเดียว ดังนั้นรัฐบาลจะต้องเร่งช่วยเหลือและดูแลโดยด่วน
“ขอให้จัดการลงไปใน 5 จังหวัดภาคใต้ ที่กระทบต่อความไม่สงบ และ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบภัยสึนามิ ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ เกิดขึ้นเพราะนโยบายคิดใหม่ ทำใหม่ ที่ผิดพลาด ทำให้เกิดผลกระทบมากมาย ซึ่งรัฐบาลจะปฏิเสธความรับผิดในส่วนนั้นไม่ได้ จึงขอได้โปรดจัดการให้งบถึงมือชาวบ้าน เกษตรกร ผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ค้า ชาวประมงที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม และต้องอย่าลืมว่า 6 จังหวัดที่ประสบภัยสึนามิเป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาประเทศไทย ดึงดูดงบประมาณมากมายมหาศาล ดังนั้นต้องให้ความช่วยเหลือโดยด่วน “ นายวิรัตน์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 มิ.ย. 2548--จบ--