กรุงเทพฯ--3 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2544 นายประดาป พิบูลสงคราม โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้โทรศัพท์ทางไกลจากชิลีแจ้งผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศระหว่างภูมิภาคเอเชียและ ลาตินอเมริกาในวันแรกว่า การประชุมครั้งนี้ประสบผลสำเร็จด้วยดีโดยเป็นครั้งแรกที่มีการพบปะระหว่างรัฐมนตรีจากสองภูมิภาคและนับเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างสอง ภูมิภาค ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมดจำนวน 30 ประเทศ โดยมาจากภูมิภาคเอเชีย 15 ประเทศ และจากภูมิภาคลาตินอเมริกา 15 ประเทศ ทั้งนี้ ก่อนการประชุมมีประเทศที่ได้รับเชิญเข้าร่วมทั้งสิ้น 27 ประเทศ ต่อมาในระหว่างการประชุมได้รับสมาชิกใหม่จำนวน 3 ประเทศ ได้แก่ คิวบา เอลซัลวาดอร์ และคอสตาริกาเข้าร่วมในการหารือครั้งนี้ด้วย
ที่ประชุมได้เสนอให้มีโครงการระดับชาติร่วมกันจำนวน 35 โครงการ โดยจะมีการตั้งคณะทำงานในด้านต่างๆ เพื่อประสานงานให้มีความสอดคล้องไม่ซ้ำซ้อนกัน สำหรับประเทศไทย ได้เสนอโครงการฝึกอบรมในด้านต่างๆ อาทิเช่น การเกษตร ชลประทาน การคมนาคม โดยมีกรมวิเทศสหการเป็นผู้ประสานงาน นอกจากนั้น ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอต่อที่ประชุมให้มีการดำเนินโครงการระดับภูมิภาค 2 โครงการ คือ การศึกษาเกี่ยวกับอุปสรรคและปัญหาทางด้านการค้าการลงทุนระหว่างสองภูมิภาคและให้มีการเก็บรักษา ข้อมูลความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันไว้ในศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center
ที่ประชุมได้ให้การรับรองเอกสารกรอบความร่วมมือที่เรียกว่า “Forum for East Asia and Latin America Cooperation Framework ” เพื่อเป็นแนวทางความร่วมมือและการ ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกัน โดยยึดหลักการ 5 ประการ ได้แก่
1. การเคารพในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนระหว่างกัน
2. การไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน
3. ความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันเพื่อพัฒนาไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
4. การเคารพในวัฒนธรรมและค่านิยมอันมีเอกลักษณ์ของแต่ละภูมิภาค
5. การตัดสินใจใดๆ โดยใช้หลักฉันทามติ
ความสัมพันธ์ระหว่างสองภูมิภาคที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่สามารถตอบสนองต่อกระแสโลกาภิวัฒน์ของโลกได้ในเชิงบวก กล่าวคือ การมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด การมีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจซึ่งกันและกัน การเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งจะมีผลให้มี การพัฒนาทางเศรษฐกิจในประเทศสมาชิกในยุคโลกาภิวัฒน์ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมในสองภูมิภาค การตั้งกลุ่มดังกล่าว และการประชุมครั้งแรกที่ประเทศชิลีในครั้งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ชื่นชมแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาเห็นว่า แม้ประเทศเหล่านี้จะประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจแต่ก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคมาได้และต้องการนำตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียไปใช้เป็นรูปแบบของตน เวทีระหว่างทั้งสองภูมิภาคนี้จะผลักดันให้การค้า การลงทุน และ การท่องเที่ยวระหว่างไทยกับประเทศลาตินอเมริกาขยายปริมาณมากยิ่งขึ้นในภายหน้า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2544 นายประดาป พิบูลสงคราม โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้โทรศัพท์ทางไกลจากชิลีแจ้งผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศระหว่างภูมิภาคเอเชียและ ลาตินอเมริกาในวันแรกว่า การประชุมครั้งนี้ประสบผลสำเร็จด้วยดีโดยเป็นครั้งแรกที่มีการพบปะระหว่างรัฐมนตรีจากสองภูมิภาคและนับเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างสอง ภูมิภาค ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมดจำนวน 30 ประเทศ โดยมาจากภูมิภาคเอเชีย 15 ประเทศ และจากภูมิภาคลาตินอเมริกา 15 ประเทศ ทั้งนี้ ก่อนการประชุมมีประเทศที่ได้รับเชิญเข้าร่วมทั้งสิ้น 27 ประเทศ ต่อมาในระหว่างการประชุมได้รับสมาชิกใหม่จำนวน 3 ประเทศ ได้แก่ คิวบา เอลซัลวาดอร์ และคอสตาริกาเข้าร่วมในการหารือครั้งนี้ด้วย
ที่ประชุมได้เสนอให้มีโครงการระดับชาติร่วมกันจำนวน 35 โครงการ โดยจะมีการตั้งคณะทำงานในด้านต่างๆ เพื่อประสานงานให้มีความสอดคล้องไม่ซ้ำซ้อนกัน สำหรับประเทศไทย ได้เสนอโครงการฝึกอบรมในด้านต่างๆ อาทิเช่น การเกษตร ชลประทาน การคมนาคม โดยมีกรมวิเทศสหการเป็นผู้ประสานงาน นอกจากนั้น ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอต่อที่ประชุมให้มีการดำเนินโครงการระดับภูมิภาค 2 โครงการ คือ การศึกษาเกี่ยวกับอุปสรรคและปัญหาทางด้านการค้าการลงทุนระหว่างสองภูมิภาคและให้มีการเก็บรักษา ข้อมูลความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันไว้ในศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center
ที่ประชุมได้ให้การรับรองเอกสารกรอบความร่วมมือที่เรียกว่า “Forum for East Asia and Latin America Cooperation Framework ” เพื่อเป็นแนวทางความร่วมมือและการ ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกัน โดยยึดหลักการ 5 ประการ ได้แก่
1. การเคารพในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนระหว่างกัน
2. การไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน
3. ความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันเพื่อพัฒนาไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
4. การเคารพในวัฒนธรรมและค่านิยมอันมีเอกลักษณ์ของแต่ละภูมิภาค
5. การตัดสินใจใดๆ โดยใช้หลักฉันทามติ
ความสัมพันธ์ระหว่างสองภูมิภาคที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่สามารถตอบสนองต่อกระแสโลกาภิวัฒน์ของโลกได้ในเชิงบวก กล่าวคือ การมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด การมีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจซึ่งกันและกัน การเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งจะมีผลให้มี การพัฒนาทางเศรษฐกิจในประเทศสมาชิกในยุคโลกาภิวัฒน์ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมในสองภูมิภาค การตั้งกลุ่มดังกล่าว และการประชุมครั้งแรกที่ประเทศชิลีในครั้งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ชื่นชมแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาเห็นว่า แม้ประเทศเหล่านี้จะประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจแต่ก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคมาได้และต้องการนำตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียไปใช้เป็นรูปแบบของตน เวทีระหว่างทั้งสองภูมิภาคนี้จะผลักดันให้การค้า การลงทุน และ การท่องเที่ยวระหว่างไทยกับประเทศลาตินอเมริกาขยายปริมาณมากยิ่งขึ้นในภายหน้า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-