นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ระหว่างวันที่ 6-7 มิถุนายน 2544 ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีรัฐมนตรีการค้าของเอเปค 21 ประเทศเข้าร่วมประชุม และมีนาย Shi Guang Sheng รัฐมนตรีกระทรวงการค้าต่างประเทศและความร่วมมือทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประธาน ผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
ผลักดันการเปิดเจรจารอบใหม่ของ WTO ที่ประชุมเห็นว่า การประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ที่โดฮา ประเทศกาตาร์ จะเป็นโอกาสสำคัญในการเริ่มการเจรจารอบใหม่ในปีนี้ สมาชิก APEC ยืนยันสนับสนุนการเปิดเจรจา และร่วมกันเร่งจัดทำวาระการเจรจาล่วงหน้าให้เร็วที่สุด โดยให้เป็นวาระที่สมดุล ครอบคลุมประเด็นไม่มากนัก (manageable) และสะท้อนความสนใจของสมาชิกทั้งหมด ทั้งนี้ ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีท่าทีที่ยืดหยุ่น (flexibility) เพื่อสามารถตกลงกันได้
การเสริมสร้างความสามารถ (capacity building) ของประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO ให้เกิดประสิทธิผลโดยเร็ว โดยได้มีการดำเนินการอย่างจริงจังในรูปโครงการช่วยเหลือต่างๆ ภายใต้ APEC Strategic Plan การช่วยเหลือในกรอบทวิภาคี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยสนับสนุนการเปิดเจรจารอบใหม่อีกทางหนึ่ง
การทบทวนแนวทางของแผนปฏิบัติการโอซาก้า (Osaka Action Plan: OAA) ที่สมาชิกได้ยึดเป็นกรอบในการเปิดเสรีของ APEC ตั้งแต่ปี 2538 ที่ประชุมเน้นการปรับปรุงแนวทางเพื่อให้มีความชัดเจนที่จะนำไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายโบกอร์ได้สะดวก อีกทั้งเป็นการปรับไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกและเศรษฐกิจของภูมิภาค ขณะนี้สมาชิกได้ ตกลงการแก้ไขปรับปรุงสาขาส่วนมากของ OAA แล้ว คาดว่าจะสามารถหาข้อสรุปเสนอที่ประชุมรัฐมนตรี APEC เดือนตุลาคม ศกนี้
แผนปฏิบัติการรายสมาชิก (Individual Action Plan: IAP) ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงระบบใหม่ หรือ e-IAP เพื่อเผยแพร่ทางอินเตอร์เนต นั้น ที่ประชุมสนับสนุนการปรับปรุงระบบ e-IAP ต่อไปเพื่อเพิ่มความโปร่งใส การใช้งานได้ง่าย และการใช้ประโยชน์ของภาคธุรกิจด้วย
หลักการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งได้จัดทำสำเร็จและที่ประชุมได้ให้การรับรอง และให้รีบพัฒนาโครงการ capacity building เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการปฏิบัติตามหลักการเรื่องนี้บนพื้นฐานความสมัครใจด้วย
การจัดทำความตกลงทางการค้าภูมิภาคและการจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Regional Trade Arrangements and Free Trade Agreements: RTAs & FTAs) ที่ประชุมสนับสนุนการจัดทำความตกลงที่เสริมสร้างการเปิดเสรีทางการค้าพหุภาคีและสอดคล้องกับกฎระเบียบในกรอบ WTO และเน้นความสำคัญของการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกเพื่อความโปร่งใสในเรื่องนี้
เรื่องเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ประชุมตระหนักถึงความสำคัญของการให้คำแนะนำด้านความปลอดภัยและการใช้ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ โดยคำนึงถึงกฎระเบียบของ WTO ตลอดจนความสนใจของผู้บริโภคในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร (food safety) และคุณภาพสิ่งแวดล้อม
New Economy ที่ประชุมพอใจต่อการจัดตั้งและผลงานของคณะทำงาน e-APEC Task Force เกี่ยวกับการจัดทำแผนกลยุทธ์ (visionary e-APEC strategy) เพื่อสร้างสังคมดิจิทัลในเอเปค โดยขอให้เวทีย่อยที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับคณะทำงาน เพื่อเสนอที่ประชุมรัฐมนตรีและผู้นำเอเปคพิจารณาในเดือนตุลาคม ศกนี้
ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ประชุมกระตุ้นให้สมาชิกร่วมมือกันมากขึ้นในการเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกกำลังพัฒนาทางด้านนี้ และเห็นชอบให้สมาชิกจัดทำแผนปฏิบัติการ ในเรื่อง paperless trading เสนอที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าทบทวนในปีหน้า
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าในการเตรียมการจัดประชุม APEC Chemical Dialogue ปลายปีนี้ และรับทราบผลการจัดประชุม APEC Automotive Dialogue ครั้งที่ 3 เมื่อต้นเดือนเมษายน ศกนี้ ที่กรุงเทพฯ ซึ่งประสบผลสำเร็จด้วยดี โดยมีเรื่องสำคัญที่จะเป็นประโยชน์กับสมาชิกกำลังพัฒนา เช่น การรับ IT Manifesto เกี่ยวกับบทบาทของ IT เพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ในภูมิภาค และความช่วยเหลือด้านการจัดฝึกอบรมและด้านข้อมูลแก่บริษัทรายย่อยผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในภูมิภาค
เรื่องที่ไทยผลักดันในการประชุมครั้งนี้ คือ
ผลักดันสมาชิกกำลังพัฒนาให้ความช่วยเหลือทวิภาคีด้าน capacity building ในการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO นอกจากญี่ปุ่นที่ให้ความช่วยเหลือไทยเรี่องนี้แล้ว แคนาดาก็ได้หารือที่จะมีความร่วมมือกับไทยด้วย
ไทยได้ประกาศเชิญชวนสมาชิกส่งผู้แทนเข้าร่วมการสัมมนาเริ่อง Regional Trading Arrangements: Stocktake and Next Steps ที่จัดโดยสภาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจแปซิฟิค (Pacific Economic Cooperation Council: PECC) ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน ศกนี้ ที่กรุงเทพฯ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการเจรจาจัดทำ RTAs/FTAs
ส่งเสริมความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์กับไทยจากผลการประชุม Automotive Dialogue โดยเฉพาะแผนงานความช่วยเหลือจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่แก่บริษัทรายย่อยผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในภูมิภาค
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ผลักดันการเปิดเจรจารอบใหม่ของ WTO ที่ประชุมเห็นว่า การประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ที่โดฮา ประเทศกาตาร์ จะเป็นโอกาสสำคัญในการเริ่มการเจรจารอบใหม่ในปีนี้ สมาชิก APEC ยืนยันสนับสนุนการเปิดเจรจา และร่วมกันเร่งจัดทำวาระการเจรจาล่วงหน้าให้เร็วที่สุด โดยให้เป็นวาระที่สมดุล ครอบคลุมประเด็นไม่มากนัก (manageable) และสะท้อนความสนใจของสมาชิกทั้งหมด ทั้งนี้ ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีท่าทีที่ยืดหยุ่น (flexibility) เพื่อสามารถตกลงกันได้
การเสริมสร้างความสามารถ (capacity building) ของประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO ให้เกิดประสิทธิผลโดยเร็ว โดยได้มีการดำเนินการอย่างจริงจังในรูปโครงการช่วยเหลือต่างๆ ภายใต้ APEC Strategic Plan การช่วยเหลือในกรอบทวิภาคี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยสนับสนุนการเปิดเจรจารอบใหม่อีกทางหนึ่ง
การทบทวนแนวทางของแผนปฏิบัติการโอซาก้า (Osaka Action Plan: OAA) ที่สมาชิกได้ยึดเป็นกรอบในการเปิดเสรีของ APEC ตั้งแต่ปี 2538 ที่ประชุมเน้นการปรับปรุงแนวทางเพื่อให้มีความชัดเจนที่จะนำไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายโบกอร์ได้สะดวก อีกทั้งเป็นการปรับไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกและเศรษฐกิจของภูมิภาค ขณะนี้สมาชิกได้ ตกลงการแก้ไขปรับปรุงสาขาส่วนมากของ OAA แล้ว คาดว่าจะสามารถหาข้อสรุปเสนอที่ประชุมรัฐมนตรี APEC เดือนตุลาคม ศกนี้
แผนปฏิบัติการรายสมาชิก (Individual Action Plan: IAP) ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงระบบใหม่ หรือ e-IAP เพื่อเผยแพร่ทางอินเตอร์เนต นั้น ที่ประชุมสนับสนุนการปรับปรุงระบบ e-IAP ต่อไปเพื่อเพิ่มความโปร่งใส การใช้งานได้ง่าย และการใช้ประโยชน์ของภาคธุรกิจด้วย
หลักการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งได้จัดทำสำเร็จและที่ประชุมได้ให้การรับรอง และให้รีบพัฒนาโครงการ capacity building เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการปฏิบัติตามหลักการเรื่องนี้บนพื้นฐานความสมัครใจด้วย
การจัดทำความตกลงทางการค้าภูมิภาคและการจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Regional Trade Arrangements and Free Trade Agreements: RTAs & FTAs) ที่ประชุมสนับสนุนการจัดทำความตกลงที่เสริมสร้างการเปิดเสรีทางการค้าพหุภาคีและสอดคล้องกับกฎระเบียบในกรอบ WTO และเน้นความสำคัญของการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกเพื่อความโปร่งใสในเรื่องนี้
เรื่องเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ประชุมตระหนักถึงความสำคัญของการให้คำแนะนำด้านความปลอดภัยและการใช้ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ โดยคำนึงถึงกฎระเบียบของ WTO ตลอดจนความสนใจของผู้บริโภคในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร (food safety) และคุณภาพสิ่งแวดล้อม
New Economy ที่ประชุมพอใจต่อการจัดตั้งและผลงานของคณะทำงาน e-APEC Task Force เกี่ยวกับการจัดทำแผนกลยุทธ์ (visionary e-APEC strategy) เพื่อสร้างสังคมดิจิทัลในเอเปค โดยขอให้เวทีย่อยที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับคณะทำงาน เพื่อเสนอที่ประชุมรัฐมนตรีและผู้นำเอเปคพิจารณาในเดือนตุลาคม ศกนี้
ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ประชุมกระตุ้นให้สมาชิกร่วมมือกันมากขึ้นในการเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกกำลังพัฒนาทางด้านนี้ และเห็นชอบให้สมาชิกจัดทำแผนปฏิบัติการ ในเรื่อง paperless trading เสนอที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าทบทวนในปีหน้า
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าในการเตรียมการจัดประชุม APEC Chemical Dialogue ปลายปีนี้ และรับทราบผลการจัดประชุม APEC Automotive Dialogue ครั้งที่ 3 เมื่อต้นเดือนเมษายน ศกนี้ ที่กรุงเทพฯ ซึ่งประสบผลสำเร็จด้วยดี โดยมีเรื่องสำคัญที่จะเป็นประโยชน์กับสมาชิกกำลังพัฒนา เช่น การรับ IT Manifesto เกี่ยวกับบทบาทของ IT เพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ในภูมิภาค และความช่วยเหลือด้านการจัดฝึกอบรมและด้านข้อมูลแก่บริษัทรายย่อยผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในภูมิภาค
เรื่องที่ไทยผลักดันในการประชุมครั้งนี้ คือ
ผลักดันสมาชิกกำลังพัฒนาให้ความช่วยเหลือทวิภาคีด้าน capacity building ในการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO นอกจากญี่ปุ่นที่ให้ความช่วยเหลือไทยเรี่องนี้แล้ว แคนาดาก็ได้หารือที่จะมีความร่วมมือกับไทยด้วย
ไทยได้ประกาศเชิญชวนสมาชิกส่งผู้แทนเข้าร่วมการสัมมนาเริ่อง Regional Trading Arrangements: Stocktake and Next Steps ที่จัดโดยสภาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจแปซิฟิค (Pacific Economic Cooperation Council: PECC) ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน ศกนี้ ที่กรุงเทพฯ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการเจรจาจัดทำ RTAs/FTAs
ส่งเสริมความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์กับไทยจากผลการประชุม Automotive Dialogue โดยเฉพาะแผนงานความช่วยเหลือจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่แก่บริษัทรายย่อยผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในภูมิภาค
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-