1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศผลการดำเนินงานนโยบายและมาตรการข้าวปี 2543/44
ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อ การผลิต และบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ ปีการผลิต 2543/44 เป้าหมาย 500,000 ตัน ผลการรวบรวมข้าวเปลือก 1 พฤศจิกายน 2543 — 31 สิงหาคม 2544 มีปริมาณ 490,508.252 ตัน มูลค่า 2,693.21 ล้านบาท คงเหลือปริมาณ 209,953 ตัน มูลค่า 1,180.56 ล้านบาท
ส่วนการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและข้าวสารของ ธกส. อคส.และ อ.ต.ก. ปีการผลิต 2543/44 ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2543 — 12 ตุลาคม 44 สรุปได้ดังนี้
1. โครงการรับจำนำข้าวเปลือก โดย
ธกส. รับจำนำจากเกษตรกรที่มียุ้งฉางของตนเอง เป้าหมาย 1.5 ล้านตันผลการดำเนินงาน รับจำนำ 110,561 ราย ปริมาณข้าว 701,156 ตัน มูลค่า 3,617.89 ล้านบาทคงเหลือจากไถ่ถอนจำนำ 51,099 ราย ปริมาณข้าว 333,454 ตัน มูลค่า 1,638.26 ล้านบาท
อคส.และ อ.ต.ก. เป้าหมาย หน่วยงานละ 0.5 ล้านตัน โดยออกใบประทวนให้เกษตรกร ผลการดำเนินงาน อคส. รับจำนำแล้ว 33,381 ราย ปริมาณข้าว 546,095 ตัน มูลค่า 2,640.09 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอนจำนำ 29,850 ราย ปริมาณข้าว 481,628 ตัน มูลค่า 2,350.68 ล้านบาท
อ.ต.ก. รับจำนำแล้ว 24,641 ราย ปริมาณข้าว 371,245 ตัน มูลค่า 1,866.87 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอนจำนำ 24,632 ราย ปริมาณข้าว 371,096 ตัน มูลค่า 1,866.09 ล้านบาท
2. โครงการรับจำนำข้าวสาร ในโกดังกลางของ อคส.และ อ.ต.ก. เป้าหมายหน่วยงานละ 0.5 ล้านตัน โดย รับจำนำจากเกษตรกรแล้ว จำนวน 87,620 ราย ปริมาณ 802,844 ตัน มูลค่า 7,025.689 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอน 77,106 ราย ปริมาณ 695,110 ตัน มูลค่า 6,100.665 ล้านบาท
อเมริการับได้พันธุ์ข้าวไม่ถูกต้อง
นายอำพน กิตติอำพล ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยถึงผลการเดินทางไปเจรจากรณีนักวิจัยสหรัฐ ขโมยพันธุ์ข้าวหอมมะลิไปปรับปรุงพันธุ์และเตรียมจดสิทธิบัตรใหม่ว่า ขณะนี้สถาบันวิจัยพันธุ์ข้าวนานาชาติ (อีรี่) ซึ่งเก็บรักษาพันธุ์ข้าวของไทยไว้ ยอมรับในเบื้องต้นว่า นายคริส ดาเรน นักวิจัยสหรัฐ ได้นำพันธุ์ข้าวหอมมะลิไปจากสถาบันโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ แต่ให้เพื่อนซึ่งทำงานอยู่ในสถาบันอีรี่เป็นคนนำพันธุ์ข้าวไปให้ ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จะให้กรมวิชาการเกษตรเจรจากับนายคริสเรื่องการทำข้อตกลงการนำพันธุ์ข้าวไปวิจัยเพื่อประโยชน์ส่วนรวมให้ชัดเจน
ขณะเดียวกันกระทรวงเกษตรของสหรัฐได้แจ้งมาว่า เข้าใจถึงผลกระทบและความอ่อนไหวของประเทศไทยโดยเฉพาะเกษตรกรไทย ดังนั้น รมว.เกษตรสหรัฐ ได้สั่งการให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นการด่วน หากพบว่ามีการนำข้าวออกมาวิจัยด้วยวิธีที่ผิดกฎหมายหรือไม่ถูกต้องตามหลักการของสถาบันอีรี่ก็จะต้องเร่งดำเนินการให้ถูกต้อง โดยจะแจ้งเรื่องนี้อย่างเป็นทางการโดยตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย
นอกจากนั้น ฝ่ายไทยได้เสนอให้สหรัฐทำข้อตกลงกับอีรี่อย่างเป็นทางการว่า จะไม่พัฒนาพันธุ์ข้าวหอมมะลิไปในเชิงพาณิชย์ ปรากฏว่าสหรัฐไม่ได้มีข้อขัดแย้งแต่อย่างใด และจะให้คำตอบภายในกลางเดือน พย.นี้ พร้อมกับจะให้ความร่วมมือด้านวิชาการมากขึ้น
ภาวะการซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ ราคาข้าวส่วนใหญ่อ่อนตัวจากสัปดาห์ที่แล้ว เล็กน้อย เนื่องจากความต้องการข้าวมีน้อย ส่งผลให้การซื้อขายข้าวไม่คึกคักเท่าที่ควร ประกอบกับผลผลิตข้าวฤดูใหม่ทะยอยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกชลอการซื้อข้าวลง
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม —31 ตุลาคม 2544 ไทยส่งออกข้าวรวม 5,919,644.67 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 5,069,109.69 ตัน ของการส่งออกช่วงระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.78
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,935 บาท เพิ่มขึ้นจากเกวียนละ 4,927 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,898 บาท ลดลงจากเกวียนละ 4,903 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 18-19% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 3,970 บาท เพิ่มขึ้นจากเกวียนละ 3,969 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02
ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15 % ที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์ สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,330 บาท ราคาลดลงจากเกวียนละ 4,350 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.46
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,960 บาท ลดลงจากเกวียนละ 6,985 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 168 ดอลลาร์สหรัฐ (7,491 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 173 ดอลลาร์สหรัฐ (7,706 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.89
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศราคาข้าวเวียดนามแข็งตัวขึ้นทำให้ผู้ซื้อหันมาซื้อข้าวจากไทย
จากการที่สต็อกข้าวในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำโขงลดลงทำให้ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามต้องตั้งราคาข้าวสูงขึ้น ผู้ซื้อจึงหันมาซื้อข้าวจากไทยที่มีราคาต่ำกว่าแทน โดยในสัปดาห์นี้เวียดนามกำหนดราคาส่งออก FOB ณ ท่าเรือไซง่อน ข้าว 5 % เฉลี่ยตันละ 185.5 ดอลลาร์สหรัฐ (8,271 บาท/ตัน) สูงขึ้นจาก 180 ดอลลาร์สหรัฐ (8,026 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 3.05 และราคาข้าว 25% สูงขึ้นจาก 161.50 ดอลลาร์สหรัฐ (7,201 บาท/ตัน) เมื่อสัปดาห์ก่อนเพิ่มขึ้นเป็น 166 ดอลลาร์สหรัฐ (7,401 บาท/ตัน) ในสัปดาห์นี้คิดเป็นร้อยละ 2.79 เมื่อเทียบกับราคาข้าวของไทยคุณภาพเดียวกันที่เสนอขายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ราคาส่งออก FOB ข้าว 5% เสนอขายเฉลี่ย ตันละ 168.50 ดอลลาร์สหรัฐ (7,513 บาท/ตัน) และข้าว 25% ราคาเฉลี่ยตันละ 150.50 ดอลลาร์สหรัฐ (6,710 บาท/ตัน) ซึ่งต่ำกว่าราคาข้าวของเวียดนาม ทำให้ผู้ส่งออกข้าวของเวียดนามประสบปัญหาจากผู้ซื้อที่ลดลงและ ยังขาดทุนเล็กน้อยจากสัญญาขายข้าวที่ทำไว้ เมื่อเดือนก่อนด้วย
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 44.587 บาท
ราคาข้าวในตลาดโลก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประกาศราคาข้าวในตลาดโลก ณ วันที่ 23 ตุลาคม 2544 เทียบกับที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2544 ดังนี้
ข้าวเมล็ดยาวปอนด์ละ 5.18 เซนต์ (5.08 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดกลางปอนด์ละ 4.53 เซนต์ (4.44 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดสั้นปอนด์ละ 4.52 เซนต์ (4.43 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหักปอนด์ละ 2.59 เซนต์ (2.54 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 44.587 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำวันที่ 29 ต.ค.- 4 พ.ย. 2544--
-สส-
ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อ การผลิต และบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ ปีการผลิต 2543/44 เป้าหมาย 500,000 ตัน ผลการรวบรวมข้าวเปลือก 1 พฤศจิกายน 2543 — 31 สิงหาคม 2544 มีปริมาณ 490,508.252 ตัน มูลค่า 2,693.21 ล้านบาท คงเหลือปริมาณ 209,953 ตัน มูลค่า 1,180.56 ล้านบาท
ส่วนการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและข้าวสารของ ธกส. อคส.และ อ.ต.ก. ปีการผลิต 2543/44 ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2543 — 12 ตุลาคม 44 สรุปได้ดังนี้
1. โครงการรับจำนำข้าวเปลือก โดย
ธกส. รับจำนำจากเกษตรกรที่มียุ้งฉางของตนเอง เป้าหมาย 1.5 ล้านตันผลการดำเนินงาน รับจำนำ 110,561 ราย ปริมาณข้าว 701,156 ตัน มูลค่า 3,617.89 ล้านบาทคงเหลือจากไถ่ถอนจำนำ 51,099 ราย ปริมาณข้าว 333,454 ตัน มูลค่า 1,638.26 ล้านบาท
อคส.และ อ.ต.ก. เป้าหมาย หน่วยงานละ 0.5 ล้านตัน โดยออกใบประทวนให้เกษตรกร ผลการดำเนินงาน อคส. รับจำนำแล้ว 33,381 ราย ปริมาณข้าว 546,095 ตัน มูลค่า 2,640.09 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอนจำนำ 29,850 ราย ปริมาณข้าว 481,628 ตัน มูลค่า 2,350.68 ล้านบาท
อ.ต.ก. รับจำนำแล้ว 24,641 ราย ปริมาณข้าว 371,245 ตัน มูลค่า 1,866.87 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอนจำนำ 24,632 ราย ปริมาณข้าว 371,096 ตัน มูลค่า 1,866.09 ล้านบาท
2. โครงการรับจำนำข้าวสาร ในโกดังกลางของ อคส.และ อ.ต.ก. เป้าหมายหน่วยงานละ 0.5 ล้านตัน โดย รับจำนำจากเกษตรกรแล้ว จำนวน 87,620 ราย ปริมาณ 802,844 ตัน มูลค่า 7,025.689 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอน 77,106 ราย ปริมาณ 695,110 ตัน มูลค่า 6,100.665 ล้านบาท
อเมริการับได้พันธุ์ข้าวไม่ถูกต้อง
นายอำพน กิตติอำพล ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยถึงผลการเดินทางไปเจรจากรณีนักวิจัยสหรัฐ ขโมยพันธุ์ข้าวหอมมะลิไปปรับปรุงพันธุ์และเตรียมจดสิทธิบัตรใหม่ว่า ขณะนี้สถาบันวิจัยพันธุ์ข้าวนานาชาติ (อีรี่) ซึ่งเก็บรักษาพันธุ์ข้าวของไทยไว้ ยอมรับในเบื้องต้นว่า นายคริส ดาเรน นักวิจัยสหรัฐ ได้นำพันธุ์ข้าวหอมมะลิไปจากสถาบันโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ แต่ให้เพื่อนซึ่งทำงานอยู่ในสถาบันอีรี่เป็นคนนำพันธุ์ข้าวไปให้ ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จะให้กรมวิชาการเกษตรเจรจากับนายคริสเรื่องการทำข้อตกลงการนำพันธุ์ข้าวไปวิจัยเพื่อประโยชน์ส่วนรวมให้ชัดเจน
ขณะเดียวกันกระทรวงเกษตรของสหรัฐได้แจ้งมาว่า เข้าใจถึงผลกระทบและความอ่อนไหวของประเทศไทยโดยเฉพาะเกษตรกรไทย ดังนั้น รมว.เกษตรสหรัฐ ได้สั่งการให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นการด่วน หากพบว่ามีการนำข้าวออกมาวิจัยด้วยวิธีที่ผิดกฎหมายหรือไม่ถูกต้องตามหลักการของสถาบันอีรี่ก็จะต้องเร่งดำเนินการให้ถูกต้อง โดยจะแจ้งเรื่องนี้อย่างเป็นทางการโดยตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย
นอกจากนั้น ฝ่ายไทยได้เสนอให้สหรัฐทำข้อตกลงกับอีรี่อย่างเป็นทางการว่า จะไม่พัฒนาพันธุ์ข้าวหอมมะลิไปในเชิงพาณิชย์ ปรากฏว่าสหรัฐไม่ได้มีข้อขัดแย้งแต่อย่างใด และจะให้คำตอบภายในกลางเดือน พย.นี้ พร้อมกับจะให้ความร่วมมือด้านวิชาการมากขึ้น
ภาวะการซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ ราคาข้าวส่วนใหญ่อ่อนตัวจากสัปดาห์ที่แล้ว เล็กน้อย เนื่องจากความต้องการข้าวมีน้อย ส่งผลให้การซื้อขายข้าวไม่คึกคักเท่าที่ควร ประกอบกับผลผลิตข้าวฤดูใหม่ทะยอยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกชลอการซื้อข้าวลง
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม —31 ตุลาคม 2544 ไทยส่งออกข้าวรวม 5,919,644.67 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 5,069,109.69 ตัน ของการส่งออกช่วงระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.78
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,935 บาท เพิ่มขึ้นจากเกวียนละ 4,927 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,898 บาท ลดลงจากเกวียนละ 4,903 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 18-19% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 3,970 บาท เพิ่มขึ้นจากเกวียนละ 3,969 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02
ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรัง ความชื้น 14-15 % ที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์ สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,330 บาท ราคาลดลงจากเกวียนละ 4,350 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.46
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,960 บาท ลดลงจากเกวียนละ 6,985 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 168 ดอลลาร์สหรัฐ (7,491 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 173 ดอลลาร์สหรัฐ (7,706 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.89
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศราคาข้าวเวียดนามแข็งตัวขึ้นทำให้ผู้ซื้อหันมาซื้อข้าวจากไทย
จากการที่สต็อกข้าวในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำโขงลดลงทำให้ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามต้องตั้งราคาข้าวสูงขึ้น ผู้ซื้อจึงหันมาซื้อข้าวจากไทยที่มีราคาต่ำกว่าแทน โดยในสัปดาห์นี้เวียดนามกำหนดราคาส่งออก FOB ณ ท่าเรือไซง่อน ข้าว 5 % เฉลี่ยตันละ 185.5 ดอลลาร์สหรัฐ (8,271 บาท/ตัน) สูงขึ้นจาก 180 ดอลลาร์สหรัฐ (8,026 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 3.05 และราคาข้าว 25% สูงขึ้นจาก 161.50 ดอลลาร์สหรัฐ (7,201 บาท/ตัน) เมื่อสัปดาห์ก่อนเพิ่มขึ้นเป็น 166 ดอลลาร์สหรัฐ (7,401 บาท/ตัน) ในสัปดาห์นี้คิดเป็นร้อยละ 2.79 เมื่อเทียบกับราคาข้าวของไทยคุณภาพเดียวกันที่เสนอขายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ราคาส่งออก FOB ข้าว 5% เสนอขายเฉลี่ย ตันละ 168.50 ดอลลาร์สหรัฐ (7,513 บาท/ตัน) และข้าว 25% ราคาเฉลี่ยตันละ 150.50 ดอลลาร์สหรัฐ (6,710 บาท/ตัน) ซึ่งต่ำกว่าราคาข้าวของเวียดนาม ทำให้ผู้ส่งออกข้าวของเวียดนามประสบปัญหาจากผู้ซื้อที่ลดลงและ ยังขาดทุนเล็กน้อยจากสัญญาขายข้าวที่ทำไว้ เมื่อเดือนก่อนด้วย
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 44.587 บาท
ราคาข้าวในตลาดโลก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประกาศราคาข้าวในตลาดโลก ณ วันที่ 23 ตุลาคม 2544 เทียบกับที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2544 ดังนี้
ข้าวเมล็ดยาวปอนด์ละ 5.18 เซนต์ (5.08 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดกลางปอนด์ละ 4.53 เซนต์ (4.44 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดสั้นปอนด์ละ 4.52 เซนต์ (4.43 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหักปอนด์ละ 2.59 เซนต์ (2.54 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 44.587 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำวันที่ 29 ต.ค.- 4 พ.ย. 2544--
-สส-