ปี 2542 เศรษฐกิจจังหวัดน่านยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากปีก่อน ทั้งนี้จากการผลิตภาคเกษตร พืชหลายชนิดลดลงเนื่องจากมีน้ำท่วมช่วงเก็บเกี่ยว 2 ครั้ง แต่ความเสียหายไม่มาก เเม้ว่านอกภาคเกษตร ภาคเหมืองแร่ การผลิตจะเพิ่มขึ้นตามผลผลิตหินปูน และการใช้จ่ายภาคเอกชนเริ่มปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การลงทุน ยังคงซบเซา มีเพียงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น ภาคการเงิน เงินฝากยังคงลดลงตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำลง สินเชื่อลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน เงินในงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นจากการใช้จ่ายของรัฐบาล
ภาคเกษตรลดลงจากปีก่อน เนื่องจากผลผลิตหลายชนิดที่ลดลง ได้แก่ ผลผลิต ข้าวนาปี ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.4 เหลือ 98,616 เมตริกตัน ถั่วเหลือง ลดลงร้อยละ 1.6 เป็น 6,062 เมตริกตัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลดลงร้อยละ 0.4 เป็น 109,275 เมตริกตัน กระเทียม ลดลงร้อยละ 3.8 เหลือ 1,603 เมตริกตัน ส่วน ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ถั่วเขียวผิวมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เป็น 8,828 เมตริกตัน มีเพียง หอมแดง ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เป็น 1,387 เมตริกตัน
นอกภาคเกษตร ภาคเหมืองแร่ การผลิตหินปูนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเป็น 334,900 เมตริกตัน สนองความต้องการเพื่อการก่อสร้างที่ขยายตัว การใช้จ่ายภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน ผลจากดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำลงทำให้มีการถอนเงินฝากเพื่อใช้จ่าย รวมทั้งมาตรการเร่งการใช้จ่ายของรัฐบาลจากยอดจดทะเบียนรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 เป็น 467 คัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 74.8 ปีก่อน ส่วนยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 16.4 เหลือเพียง 2,773 คัน แต่ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 58.7 ปีก่อน และจากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม จำนวนผู้ประกันตนมีจำนวน 6,557 คน เทียบกับจำนวน 5,555 คนปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 7.4 เหลือยอดคงค้าง 689 ล้านบาท ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.8 เหลือ 50 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ปีก่อน จากการปรับลดอัตรา จัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 16.8 ปีก่อน
ภาคการลงทุน/ก่อสร้าง ยังคงซบเซา มีผู้ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นจำนวน 1 ราย เป็นเงิน 8 ล้านบาท โดยมีการจ้างงาน 102 คน สำหรับการจดทะเบียนโรงงานอุตสาหกรรมใหม่เพิ่มขึ้น 22 โรงงานเงินลงทุน 41 ล้านบาท เทียบกับ 14 ราย เงินลงทุน 187 ล้านบาทปีก่อน การก่อสร้างภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนจากพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เป็น 12,479 ตารางเมตร โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่อาศัย แต่สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างยังคงลดลงร้อยละ 3.8 เหลือยอดคงค้างทั้งสิ้น 325 ล้านบาท
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เป็น 18,330 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ปีก่อน โดยการเบิกถอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เป็น 7,261 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากในช่วงเดือนธันวาคม 2542 เพื่อรองรับปัญหา Y2K เป็นสำคัญ ขณะที่เงินนำฝากลดลงร้อยละ 1.9 เหลือ 11,069 ล้านบาท
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝาก มียอดคงค้างทั้งสิ้น 3,347 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 5.7 ปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำลงทำให้มีการถอนเงินไปฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า นอกจากนี้ส่วนหนึ่งมีการถอนเงินฝากเพื่อใช้จ่าย เงินฝากในเขตอำเภอเมืองและอำเภอรอบนอกลดลงร้อยละ 8.6 และร้อยละ 15.1 ส่วน สินเชื่อ มียอด คงค้างทั้งสิ้น 3,160 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 22.1 ปีก่อน ส่วนใหญ่ลดลงจาก สินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ทางด้านการใช้เช็ค ปี 2542 ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บผ่านสำนักหักบัญชีมีจำนวน 71,374 ฉบับ มูลค่า 3,544 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.8 และร้อยละ 18.5 ตามลำดับ ส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนมีจำนวน 1,043 ล้านบาท มูลค่ารวม 62 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43.6 และร้อยละ 46.8 ตามลำดับ สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.7
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 631 ราย วงเงิน 764.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 623 ราย วงเงิน 714.4 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวน 8 ราย วงเงิน 22.5 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ จำนวน 623 ราย เป็นเงิน 742.3 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดน่าน ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 4,682 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 4,597 ล้านบาทปีก่อน จากรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เป็น 4,907 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บ รายได้ลดลงร้อยละ 7.4 เหลือ 225 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 3,985 ล้านบาท ทำให้ขาดดุลเงินสด 696 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 243 ล้านบาทปีก่อน สำหรับเงินโครงการมิยาซาวาของจังหวัดน่าน วงเงินที่ได้รับอนุมัติ 340 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 278 ล้านบาท หรือร้อยละ 81.8 ของวงเงินอนุมัติ เป็นโครงการเกี่ยวกับการสร้างงานเกือบร้อยละ 64.6 ของเงินทั้งหมด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตรลดลงจากปีก่อน เนื่องจากผลผลิตหลายชนิดที่ลดลง ได้แก่ ผลผลิต ข้าวนาปี ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.4 เหลือ 98,616 เมตริกตัน ถั่วเหลือง ลดลงร้อยละ 1.6 เป็น 6,062 เมตริกตัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลดลงร้อยละ 0.4 เป็น 109,275 เมตริกตัน กระเทียม ลดลงร้อยละ 3.8 เหลือ 1,603 เมตริกตัน ส่วน ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ถั่วเขียวผิวมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เป็น 8,828 เมตริกตัน มีเพียง หอมแดง ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เป็น 1,387 เมตริกตัน
นอกภาคเกษตร ภาคเหมืองแร่ การผลิตหินปูนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเป็น 334,900 เมตริกตัน สนองความต้องการเพื่อการก่อสร้างที่ขยายตัว การใช้จ่ายภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน ผลจากดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำลงทำให้มีการถอนเงินฝากเพื่อใช้จ่าย รวมทั้งมาตรการเร่งการใช้จ่ายของรัฐบาลจากยอดจดทะเบียนรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 เป็น 467 คัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 74.8 ปีก่อน ส่วนยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 16.4 เหลือเพียง 2,773 คัน แต่ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 58.7 ปีก่อน และจากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม จำนวนผู้ประกันตนมีจำนวน 6,557 คน เทียบกับจำนวน 5,555 คนปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 7.4 เหลือยอดคงค้าง 689 ล้านบาท ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.8 เหลือ 50 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ปีก่อน จากการปรับลดอัตรา จัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 16.8 ปีก่อน
ภาคการลงทุน/ก่อสร้าง ยังคงซบเซา มีผู้ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นจำนวน 1 ราย เป็นเงิน 8 ล้านบาท โดยมีการจ้างงาน 102 คน สำหรับการจดทะเบียนโรงงานอุตสาหกรรมใหม่เพิ่มขึ้น 22 โรงงานเงินลงทุน 41 ล้านบาท เทียบกับ 14 ราย เงินลงทุน 187 ล้านบาทปีก่อน การก่อสร้างภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนจากพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เป็น 12,479 ตารางเมตร โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่อาศัย แต่สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างยังคงลดลงร้อยละ 3.8 เหลือยอดคงค้างทั้งสิ้น 325 ล้านบาท
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เป็น 18,330 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ปีก่อน โดยการเบิกถอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เป็น 7,261 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากในช่วงเดือนธันวาคม 2542 เพื่อรองรับปัญหา Y2K เป็นสำคัญ ขณะที่เงินนำฝากลดลงร้อยละ 1.9 เหลือ 11,069 ล้านบาท
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝาก มียอดคงค้างทั้งสิ้น 3,347 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 5.7 ปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำลงทำให้มีการถอนเงินไปฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า นอกจากนี้ส่วนหนึ่งมีการถอนเงินฝากเพื่อใช้จ่าย เงินฝากในเขตอำเภอเมืองและอำเภอรอบนอกลดลงร้อยละ 8.6 และร้อยละ 15.1 ส่วน สินเชื่อ มียอด คงค้างทั้งสิ้น 3,160 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 22.1 ปีก่อน ส่วนใหญ่ลดลงจาก สินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ทางด้านการใช้เช็ค ปี 2542 ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บผ่านสำนักหักบัญชีมีจำนวน 71,374 ฉบับ มูลค่า 3,544 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.8 และร้อยละ 18.5 ตามลำดับ ส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนมีจำนวน 1,043 ล้านบาท มูลค่ารวม 62 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43.6 และร้อยละ 46.8 ตามลำดับ สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.7
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 631 ราย วงเงิน 764.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 623 ราย วงเงิน 714.4 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวน 8 ราย วงเงิน 22.5 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ จำนวน 623 ราย เป็นเงิน 742.3 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดน่าน ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 4,682 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 4,597 ล้านบาทปีก่อน จากรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เป็น 4,907 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บ รายได้ลดลงร้อยละ 7.4 เหลือ 225 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 3,985 ล้านบาท ทำให้ขาดดุลเงินสด 696 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 243 ล้านบาทปีก่อน สำหรับเงินโครงการมิยาซาวาของจังหวัดน่าน วงเงินที่ได้รับอนุมัติ 340 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 278 ล้านบาท หรือร้อยละ 81.8 ของวงเงินอนุมัติ เป็นโครงการเกี่ยวกับการสร้างงานเกือบร้อยละ 64.6 ของเงินทั้งหมด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-