จากการประชุมรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจการค้าของกลุ่ม BIMST-EC ครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2544 ณ กรุงย่างกุ้ง สหภาพพม่า ที่ประชุมได้เห็นชอบเกี่ยวกับแนวทางดำเนินการ เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีของกลุ่ม BIMST-EC กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์เห็นถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมสำหรับความพยายามในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีในครั้งนี้ และได้ทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้และผลกระทบที่ไทยจะ ได้รับ ดังนี้
1. ประเทศในกลุ่ม BIMST-EC เป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรประมาณ 1,260 ล้านคน การลดภาษีระหว่างกันจะช่วยให้ไทยขยายตลาดสินค้าส่งออกได้ สินค้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เม็ดพลาสติก ยานพาหนะ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผ้าผืน น้ำตาลทราย และปูนซีเมนต์ เป็นต้น
2. แม้ว่าการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน อาจทำให้สินค้าของประเทศในกลุ่ม BIMST-EC เข้าสู่ตลาดไทยมากขึ้น แต่เนื่องจากสินค้าที่ไทยนำเข้าจากประเทศในกลุ่ม BIMST-EC ส่วนมากเป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบ เช่น อัญมณี เคมีภัณฑ์ ไม้ กากพืชน้ำมัน และอาหารทะเลแช่แข็ง เป็นต้น ที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อการ ส่งออก การปรับลดภาษีจึงช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบที่นำเข้า และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของสินค้าไทยใน ตลาดโลก อันจะเป็นประโยชน์ต่อการค้ารวมของไทย
3. ไทยจะมีโอกาสผลักดันให้ประเทศในกลุ่ม BIMST-EC ผ่อนคลายมาตรการมิใช่ภาษีบางมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าที่สำคัญของไทย เช่น มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีที่ ค่อนข้างซับซ้อนของอินเดีย และมาตรการห้ามนำเข้าผลไม้ทุกชนิดของพม่า เป็นต้น
4. การจัดทำเขตการค้าเสรีของกลุ่ม BIMST-EC ยังเป็นโอกาสที่ดีของไทยในการเป็นประตูการค้า (gateway) ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นขยายตลาดสินค้าของตนไปสู่ประเทศต่าง ๆ ในเอเซียใต้ และให้ประเทศในเอเซียใต้ขยายตลาดสินค้าเข้ามายังประเทศอาเซียนและอินโดจีน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของไทยในด้านการหลั่งไหลของเงินลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment-FDI)
5. การรวมกลุ่มการค้าเสรีสำหรับตลาดขนาดใหญ่ จะดึงดูดการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งเพิ่มอำนาจการต่อรองในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วย
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เห็นว่าการจัดตั้งเขตการค้าเสรีของกลุ่ม BIMST-EC ควรจะดำเนินการ ดังนี้
1. เป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้เพราะ แต่ละประเทศมีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ ระบบการปกครอง และความพร้อมที่แตกต่างกัน และควรให้ความสำคัญและผลักดันการเจรจาในประเด็นที่เกี่ยวกับมาตรการภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีก่อน เมื่อประสบผลสำเร็จแล้วจึงค่อยหารือกันในประเด็นการลงทุน และบริการ เป็นต้น
2. คำนึงถึงพันธกรณีการลดภาษีของไทยภายใต้ AFTA ด้วย โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ทางการค้าที่จะได้รับควรอยู่ในระดับที่ไม่สูงไปกว่าสิทธิประโยชน์ที่ให้กันระหว่างประเทศสมาชิก อาเซียน
3. การจัดทำเขตการค้าเสรีเป็นเพียงกลไกหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างให้มีโอกาสด้านการขยายตัวทางการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงควรดำเนินมาตรการอื่น ๆ ในการเพิ่มขีดความสามารถการ แข่งขันไปพร้อมกันด้วย เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพทางการผลิตเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของสินค้า การปรับกลยุทธ์ให้สินค้าเข้าสู่ตลาดในแต่ละประเทศ รวมทั้งการแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เป็นต้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
1. ประเทศในกลุ่ม BIMST-EC เป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรประมาณ 1,260 ล้านคน การลดภาษีระหว่างกันจะช่วยให้ไทยขยายตลาดสินค้าส่งออกได้ สินค้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เม็ดพลาสติก ยานพาหนะ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผ้าผืน น้ำตาลทราย และปูนซีเมนต์ เป็นต้น
2. แม้ว่าการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน อาจทำให้สินค้าของประเทศในกลุ่ม BIMST-EC เข้าสู่ตลาดไทยมากขึ้น แต่เนื่องจากสินค้าที่ไทยนำเข้าจากประเทศในกลุ่ม BIMST-EC ส่วนมากเป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบ เช่น อัญมณี เคมีภัณฑ์ ไม้ กากพืชน้ำมัน และอาหารทะเลแช่แข็ง เป็นต้น ที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อการ ส่งออก การปรับลดภาษีจึงช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบที่นำเข้า และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของสินค้าไทยใน ตลาดโลก อันจะเป็นประโยชน์ต่อการค้ารวมของไทย
3. ไทยจะมีโอกาสผลักดันให้ประเทศในกลุ่ม BIMST-EC ผ่อนคลายมาตรการมิใช่ภาษีบางมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าที่สำคัญของไทย เช่น มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีที่ ค่อนข้างซับซ้อนของอินเดีย และมาตรการห้ามนำเข้าผลไม้ทุกชนิดของพม่า เป็นต้น
4. การจัดทำเขตการค้าเสรีของกลุ่ม BIMST-EC ยังเป็นโอกาสที่ดีของไทยในการเป็นประตูการค้า (gateway) ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นขยายตลาดสินค้าของตนไปสู่ประเทศต่าง ๆ ในเอเซียใต้ และให้ประเทศในเอเซียใต้ขยายตลาดสินค้าเข้ามายังประเทศอาเซียนและอินโดจีน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของไทยในด้านการหลั่งไหลของเงินลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment-FDI)
5. การรวมกลุ่มการค้าเสรีสำหรับตลาดขนาดใหญ่ จะดึงดูดการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งเพิ่มอำนาจการต่อรองในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วย
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เห็นว่าการจัดตั้งเขตการค้าเสรีของกลุ่ม BIMST-EC ควรจะดำเนินการ ดังนี้
1. เป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้เพราะ แต่ละประเทศมีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ ระบบการปกครอง และความพร้อมที่แตกต่างกัน และควรให้ความสำคัญและผลักดันการเจรจาในประเด็นที่เกี่ยวกับมาตรการภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีก่อน เมื่อประสบผลสำเร็จแล้วจึงค่อยหารือกันในประเด็นการลงทุน และบริการ เป็นต้น
2. คำนึงถึงพันธกรณีการลดภาษีของไทยภายใต้ AFTA ด้วย โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ทางการค้าที่จะได้รับควรอยู่ในระดับที่ไม่สูงไปกว่าสิทธิประโยชน์ที่ให้กันระหว่างประเทศสมาชิก อาเซียน
3. การจัดทำเขตการค้าเสรีเป็นเพียงกลไกหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างให้มีโอกาสด้านการขยายตัวทางการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงควรดำเนินมาตรการอื่น ๆ ในการเพิ่มขีดความสามารถการ แข่งขันไปพร้อมกันด้วย เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพทางการผลิตเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของสินค้า การปรับกลยุทธ์ให้สินค้าเข้าสู่ตลาดในแต่ละประเทศ รวมทั้งการแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เป็นต้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-