กรุงเทพฯ--11 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นับตั้งแต่ประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2489 ประเทศไทยได้เข้าร่วมกิจกรรมด้านต่างๆ กับสหประชาชาติอย่างมากมายและมีบทบาทแข็งขันตลอดมา กิจกรรมที่สำคัญๆ ได้แก่ การเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกประเภทไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ การส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในหลายภูมิภาค รวมทั้งในติมอร์ตะวันออกด้วย นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในภูมิภาคคือ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ในปัจจุบันนี้ กิจกรรมต่างๆ ของสหประชาชาติได้เข้ามาเกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองกับประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับปีนี้ ปี พ.ศ.2543 หรือ ค.ศ.2000 เป็นปีที่เริ่มสหัสวรรษใหม่ สหประชาชาติซึ่งได้รับการก่อตั้งมาเป็นเวลา 55 ปี ได้พยายามปฏิรูปภายในองค์การเองอย่างเต็มที่ เพื่อท่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและสถานการณ์ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดีขึ้น จึงสมควรที่ประชาชนชาวไทยทั่วไปจะได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการของสหประชาชาติมากขึ้นด้วย
กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการกิจกรรมร่วมกับสหประชาชาติได้เห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะเผยแพร่กิจกรรมการดำเนินการของสหประชาชาติ ให้เป็นที่ประจักษ์แพร่หลายมากขึ้นสำหรับเยาวชนไทยทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยด้วย จึงได้จัดการประกวดภาพวาดเกี่ยวกับสหประชาชาติโดยเยาวชนไทยขึ้น โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 จะได้ไปเยือนสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนิวา ซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์การระหว่างประเทศที่สำคัยๆ อาทิ องค์การการค้าโลก (WTO) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNCC) องค์การอนามัยโลก (WHO) คณะกรรมาธิการพิจารณาชดเชยค่าเสียหายแห่งสหประชาชาติ (UNCC) ฯลฯ เพื่อจะได้รู้จักและรับทราบการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ของสหประชาชาติด้วยตนเอง และนำมาเผยแพร่ให้เยาวชนผู้อื่นได้ทราบต่อไป
เนื้อหาของภาพวาดที่ส่งเข้าประกวด
แบ่งออกเป็น 3 เนื้อหา ซึ่งผู้ส่งภาพเข้าประกวดมีสิทธิ์เลือกหัวข้อหนึ่งหัวข้อใดมาเป็นเนื้อหาในการวาดภาพ ดังนี้
1. ทหารไทยในปฏิบัติการักษาสันติภาพ
2. สหประชาชาติกับการปกป้องสิทธิเด็ก
3. สหประชาชาติในศตวรรษที่ 21
ประเภทของผลงานที่ส่งเข้าประกวด
ได้แก่ผลงานที่เป็นภาพวาดโดยใช้วัสดุ เทคนิค และวิธีการอิสระ เช่น สีน้ำ สีน้ำมัน สีเทียน หรือวิธีการปะปิด เป็นต้น และต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยส่งเข้าประกวดที่ใดมาก่อน
ผู้มีสิทธิส่งภาพวาดเข้าประกวด
เยาวชนไทยในประเทศ อายุระหว่าง 14-19 ปี
การส่งภาพวาด
เยาวชนไทยมีสิทธิ์ส่งภาพวาดเข้าร่วมประกวดได้คนละไม่เกิน 3 ชิ้น โดยผู้ส่งภาพวาดจะต้องกรอกชื่อ ที่อยู่และรายละเอียดอื่นๆ ลงในแบบฟอร์มที่แนบมา ซึ่งใช้เป็นหลักฐานสำหรับเจ้าหน้าที่ และผู้ส่งผลงานติดหลังภาพวาดโดยกรอกแบบฟอร์ม 2 ใบสำหรับภาพวาด 1 ภาพ ผู้จัดการประกวดจะรับผิดชอบและระวังรักษาภาพวาดทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดอย่างดีที่สุด ยกเว้นความเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุสุดวิสัย
ขนาดของภาพวาด
ขนาดของภาพวาดที่ส่งเข้าประกวด ประมาณ 15 นิ้ว X 22 นิ้ว จะเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้
คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน ประกอบด้วย1. นายนิตย์ พิบูลสงคราม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ประธานกรรมการ2. นางอภินันท์ ปวนะฤทธิ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ3. นางลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กรรมการ4. นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศ กรรมการ5. ผศ.วิโชค มุกดามณี ผู้อำนวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรรมการ6. นายเฉลิม โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินอิสระ กรรมการ7. อาจารย์ศุภชัย สุกขิโชติ คณบดีคณะศิลป์วิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรรมการ8. ผศ.สรรณรงค์ สิงหเสนี คณะวิจิตรศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีลาดกระบัง กรรมการ9. อาจารย์ทินกร กาษรสุวรรณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กรรมการ10. อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ กรรมการและเลขานุการ
มหาวิทยาลัยศิลปากร
การตัดสิน
คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินจะคัดเลือกและตัดสินตามแนวทาง ดังนี้
1. มีเนื้อหาของภาพวาดตามหัวข้อที่กำหนดไว้
2. เป็นภาพวาดที่มีคุณค่าและสร้างสรรค์
3. เป็นผลงานที่มีแนวความคิดของตนเอง ไม่ลอกเลียนแบบใคร
การตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินถือเป็นที่สุด จะอุทธรร์มิได้
รางวัล
1. รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล บัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพ-ซูริค-เจนิวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยกระทรวงการต่าง ประเทศจัดหาที่พักให้ พร้อมค่าเบี้ยเลี้ยง เพื่อไปทัศนศึกษาเกี่ยวกับสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศ ประมาณ 1 สัปดาห์ และถ้วย รางวัลชนะเลิศของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
2. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล บัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพ-ซูริค-เจนิวา โดยกระทรวงการต่างประเทศ จัดหาที่พักให้ พร้อมค่าเบี้ยเลี้ยง เพื่อไปทัศนศึกษาเกี่ยวกับสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศ ประมาณ 1 สัปดาห์ และถ้วยรางวัลรองชนะเลิศ อันดับหนึ่งของ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
3. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 จำนวน 2 รางวัล เงินรางวัลคนละ 5,000 บาท
4. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 3 จำนวน 10 รางวัล เงินรางวัลคนละ 1,000 บาท
ทุกรางวัลจะได้รับเกียรติบัตรท่านปลัดกระทรวงการต่างประเทศส่งเสริมการสร้างสรรค์
ผู้ส่งภาพวาดเข้าประกวดมีสิทธิ์ได้รับรางวัลเดียวเท่านั้น
บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ให้ความอนุเคราะห์บัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพ-ซูริคประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับรางวัลชนะเลิศ และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
นับตั้งแต่ประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2489 ประเทศไทยได้เข้าร่วมกิจกรรมด้านต่างๆ กับสหประชาชาติอย่างมากมายและมีบทบาทแข็งขันตลอดมา กิจกรรมที่สำคัญๆ ได้แก่ การเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกประเภทไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ การส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในหลายภูมิภาค รวมทั้งในติมอร์ตะวันออกด้วย นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในภูมิภาคคือ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ในปัจจุบันนี้ กิจกรรมต่างๆ ของสหประชาชาติได้เข้ามาเกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองกับประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับปีนี้ ปี พ.ศ.2543 หรือ ค.ศ.2000 เป็นปีที่เริ่มสหัสวรรษใหม่ สหประชาชาติซึ่งได้รับการก่อตั้งมาเป็นเวลา 55 ปี ได้พยายามปฏิรูปภายในองค์การเองอย่างเต็มที่ เพื่อท่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและสถานการณ์ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดีขึ้น จึงสมควรที่ประชาชนชาวไทยทั่วไปจะได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการของสหประชาชาติมากขึ้นด้วย
กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการกิจกรรมร่วมกับสหประชาชาติได้เห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะเผยแพร่กิจกรรมการดำเนินการของสหประชาชาติ ให้เป็นที่ประจักษ์แพร่หลายมากขึ้นสำหรับเยาวชนไทยทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยด้วย จึงได้จัดการประกวดภาพวาดเกี่ยวกับสหประชาชาติโดยเยาวชนไทยขึ้น โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 จะได้ไปเยือนสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนิวา ซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์การระหว่างประเทศที่สำคัยๆ อาทิ องค์การการค้าโลก (WTO) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNCC) องค์การอนามัยโลก (WHO) คณะกรรมาธิการพิจารณาชดเชยค่าเสียหายแห่งสหประชาชาติ (UNCC) ฯลฯ เพื่อจะได้รู้จักและรับทราบการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ของสหประชาชาติด้วยตนเอง และนำมาเผยแพร่ให้เยาวชนผู้อื่นได้ทราบต่อไป
เนื้อหาของภาพวาดที่ส่งเข้าประกวด
แบ่งออกเป็น 3 เนื้อหา ซึ่งผู้ส่งภาพเข้าประกวดมีสิทธิ์เลือกหัวข้อหนึ่งหัวข้อใดมาเป็นเนื้อหาในการวาดภาพ ดังนี้
1. ทหารไทยในปฏิบัติการักษาสันติภาพ
2. สหประชาชาติกับการปกป้องสิทธิเด็ก
3. สหประชาชาติในศตวรรษที่ 21
ประเภทของผลงานที่ส่งเข้าประกวด
ได้แก่ผลงานที่เป็นภาพวาดโดยใช้วัสดุ เทคนิค และวิธีการอิสระ เช่น สีน้ำ สีน้ำมัน สีเทียน หรือวิธีการปะปิด เป็นต้น และต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยส่งเข้าประกวดที่ใดมาก่อน
ผู้มีสิทธิส่งภาพวาดเข้าประกวด
เยาวชนไทยในประเทศ อายุระหว่าง 14-19 ปี
การส่งภาพวาด
เยาวชนไทยมีสิทธิ์ส่งภาพวาดเข้าร่วมประกวดได้คนละไม่เกิน 3 ชิ้น โดยผู้ส่งภาพวาดจะต้องกรอกชื่อ ที่อยู่และรายละเอียดอื่นๆ ลงในแบบฟอร์มที่แนบมา ซึ่งใช้เป็นหลักฐานสำหรับเจ้าหน้าที่ และผู้ส่งผลงานติดหลังภาพวาดโดยกรอกแบบฟอร์ม 2 ใบสำหรับภาพวาด 1 ภาพ ผู้จัดการประกวดจะรับผิดชอบและระวังรักษาภาพวาดทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดอย่างดีที่สุด ยกเว้นความเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุสุดวิสัย
ขนาดของภาพวาด
ขนาดของภาพวาดที่ส่งเข้าประกวด ประมาณ 15 นิ้ว X 22 นิ้ว จะเป็นแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้
คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน ประกอบด้วย1. นายนิตย์ พิบูลสงคราม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ประธานกรรมการ2. นางอภินันท์ ปวนะฤทธิ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ3. นางลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กรรมการ4. นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศ กรรมการ5. ผศ.วิโชค มุกดามณี ผู้อำนวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรรมการ6. นายเฉลิม โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินอิสระ กรรมการ7. อาจารย์ศุภชัย สุกขิโชติ คณบดีคณะศิลป์วิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรรมการ8. ผศ.สรรณรงค์ สิงหเสนี คณะวิจิตรศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีลาดกระบัง กรรมการ9. อาจารย์ทินกร กาษรสุวรรณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กรรมการ10. อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ กรรมการและเลขานุการ
มหาวิทยาลัยศิลปากร
การตัดสิน
คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินจะคัดเลือกและตัดสินตามแนวทาง ดังนี้
1. มีเนื้อหาของภาพวาดตามหัวข้อที่กำหนดไว้
2. เป็นภาพวาดที่มีคุณค่าและสร้างสรรค์
3. เป็นผลงานที่มีแนวความคิดของตนเอง ไม่ลอกเลียนแบบใคร
การตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินถือเป็นที่สุด จะอุทธรร์มิได้
รางวัล
1. รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล บัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพ-ซูริค-เจนิวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยกระทรวงการต่าง ประเทศจัดหาที่พักให้ พร้อมค่าเบี้ยเลี้ยง เพื่อไปทัศนศึกษาเกี่ยวกับสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศ ประมาณ 1 สัปดาห์ และถ้วย รางวัลชนะเลิศของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
2. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล บัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพ-ซูริค-เจนิวา โดยกระทรวงการต่างประเทศ จัดหาที่พักให้ พร้อมค่าเบี้ยเลี้ยง เพื่อไปทัศนศึกษาเกี่ยวกับสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศ ประมาณ 1 สัปดาห์ และถ้วยรางวัลรองชนะเลิศ อันดับหนึ่งของ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
3. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 จำนวน 2 รางวัล เงินรางวัลคนละ 5,000 บาท
4. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 3 จำนวน 10 รางวัล เงินรางวัลคนละ 1,000 บาท
ทุกรางวัลจะได้รับเกียรติบัตรท่านปลัดกระทรวงการต่างประเทศส่งเสริมการสร้างสรรค์
ผู้ส่งภาพวาดเข้าประกวดมีสิทธิ์ได้รับรางวัลเดียวเท่านั้น
บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ให้ความอนุเคราะห์บัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพ-ซูริคประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับรางวัลชนะเลิศ และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-