1. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดัชนี MSCI ใหม่ จากวิธี Full Market Capitalization Method เป็น Free Float Adjusting Method ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชี้แจงว่าจะมีผลต่อ ตลาดหุ้นไทย คือ สนับสนุนให้จำนวนหลักทรัพย์ เพิ่มขึ้น และสนับสนุนการกระจายหุ้นของรัฐวิสาหกิจ
2. การกำหนดประเภทหลักทรัพย์ ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ( บลจ. ) ลงทุนเพิ่มเติมได้ คือให้ลงทุนในฐานะซื้อ (Long position) ใน option ที่เป็นหลักทรัพย์ซึ่งตลาด หลักทรัพย์ฯ หรือบริษัทย่อยเป็นผู้ออกได้ไม่เกิน ร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 และ มีผลบังคับใช้วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544
3. การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้เป็นมาตรฐาน เดียวกับธุรกิจจัดการลงทุนอื่น โดยสมาชิกกองทุนฯ สามารถเสนอนโยบายการลงทุนได้หลากหลาย มากขึ้น แต่อย่างน้อยบริษัทจัดการต้องเสนอนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำด้วยทุกครั้ง และสมาชิกสามารถเปลี่ยนนโยบายการลงทุนได้อย่างน้อยปีละครั้ง โดยให้บริษัทจัดการเสนอนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ โดยอ้างอิง Portfolio Duration และให้จัดทำรายงาน Portfolio Duration และเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ นอกจากนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถลงทุนในหลักทรัพย์เช่นเดียวกับ กองทุนรวมอื่นๆ รวมทั้งสามารถลงทุนเพื่อรองรับตราสารและนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น Index Option อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินของบริษัทหนึ่งๆ ได้ไม่เกิน ร้อยละ 15 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ทั้งนี้ ได้ประกาศเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 30 มีนาคม 2544 แต่สำหรับการรายงานฯ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
4. หลักเกณฑ์ เงื่อนไข การจัดตั้ง กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) เพื่อส่งเสริมการออมและการลงทุนระยะยาว รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา ผู้ที่ทำงานในบริษัทเอกชน ที่ไม่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระที่ต้องการออมเพื่อการเกษียณอายุสามารถออมเงินผ่าน RMF ได้
เงื่อนไขพิเศษของกองทุนรวม RMF คือ ผู้ลงทุนต้องลงทุนสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง และจะไถ่ถอนเงินลงทุนโดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่น้อยกว่า 55 ปี และมีการลงทุน มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี รวมทั้งเมื่อรวมกับ กองทุนรวมทุกประเภทแล้วต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ผู้ลงทุนได้รับในแต่ละปีภาษี และผู้ลงทุนไม่สามารถนำหน่วยลงทุนดังกล่าวไปจำหน่ายจ่ายโอน จำนำ หรือนำไปเป็นประกัน ทั้งนี้ ได้กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้จากการลงทุนในหน่วยลงทุน RMF โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ตามที่ จ่ายจริง แต่เมื่อนับรวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และต้องไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น
(ทั้งนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 เป็นต้นไป)
5. การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทจัดการ ทั้งที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุนรวม และบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด ที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจ จัดการกองทุนส่วนบุคคล สามารถประกอบธุรกิจอื่นเพิ่มเติมได้ ดังนี้
1) การเป็นตัวกลางในการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือแนะนำผู้ขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือ
ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจจัดการ หรือจัดการกองทุนส่วนบุคคล
2) การเป็นตัวแทนสนับสนุนการขายหรือ รับซื้อคืนหน่วยลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมอื่น
(ทั้งนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2544 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2544 เป็นต้นไป)
6. การกำหนดอัตราส่วนการลงทุน ในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทอื่นเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม สาระสำคัญคือ
บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีหุ้นของบริษัทใดๆ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งรวมกัน ทุกกองในขณะใดขณะหนึ่งได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น ยกเว้นการได้มาเนื่องจากการรับชำระหนี้
(ทั้งนี้ ประกาศเมื่อ 10 พฤษภาคม 2544และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 16 พฤษภาคม 2544 เป็นต้นไป
7. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับฐานการคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET INDEX) โดยจะไม่นำหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่ ถูกสั่งพักซื้อขายนานกว่า 1 ปี มารวมอยู่ในการคำนวณ เพื่อให้ SET INDEX สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ได้อย่าง แท้จริง ทั้งนี้ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
8. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับโครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมรายปีลงเฉลี่ยร้อยละ 50 และลดค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอเข้าเป็นบริษัท จดทะเบียนลงร้อยละ 67 มีผลตั้งแต่รอบระยะเวลาการเป็นบริษัทจดทะเบียนวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
ส่วนบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ใหม่ 10 บริษัทแรกภายในปี 2544 จะได้รับยกเว้น ค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอแรกเข้า และ ลดค่าธรรมเนียมรายปีอีกร้อยละ 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-
2. การกำหนดประเภทหลักทรัพย์ ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ( บลจ. ) ลงทุนเพิ่มเติมได้ คือให้ลงทุนในฐานะซื้อ (Long position) ใน option ที่เป็นหลักทรัพย์ซึ่งตลาด หลักทรัพย์ฯ หรือบริษัทย่อยเป็นผู้ออกได้ไม่เกิน ร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ทั้งนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 และ มีผลบังคับใช้วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544
3. การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้เป็นมาตรฐาน เดียวกับธุรกิจจัดการลงทุนอื่น โดยสมาชิกกองทุนฯ สามารถเสนอนโยบายการลงทุนได้หลากหลาย มากขึ้น แต่อย่างน้อยบริษัทจัดการต้องเสนอนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำด้วยทุกครั้ง และสมาชิกสามารถเปลี่ยนนโยบายการลงทุนได้อย่างน้อยปีละครั้ง โดยให้บริษัทจัดการเสนอนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ โดยอ้างอิง Portfolio Duration และให้จัดทำรายงาน Portfolio Duration และเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ นอกจากนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถลงทุนในหลักทรัพย์เช่นเดียวกับ กองทุนรวมอื่นๆ รวมทั้งสามารถลงทุนเพื่อรองรับตราสารและนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น Index Option อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินของบริษัทหนึ่งๆ ได้ไม่เกิน ร้อยละ 15 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ทั้งนี้ ได้ประกาศเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 30 มีนาคม 2544 แต่สำหรับการรายงานฯ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
4. หลักเกณฑ์ เงื่อนไข การจัดตั้ง กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) เพื่อส่งเสริมการออมและการลงทุนระยะยาว รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา ผู้ที่ทำงานในบริษัทเอกชน ที่ไม่มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระที่ต้องการออมเพื่อการเกษียณอายุสามารถออมเงินผ่าน RMF ได้
เงื่อนไขพิเศษของกองทุนรวม RMF คือ ผู้ลงทุนต้องลงทุนสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง และจะไถ่ถอนเงินลงทุนโดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่น้อยกว่า 55 ปี และมีการลงทุน มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี รวมทั้งเมื่อรวมกับ กองทุนรวมทุกประเภทแล้วต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ผู้ลงทุนได้รับในแต่ละปีภาษี และผู้ลงทุนไม่สามารถนำหน่วยลงทุนดังกล่าวไปจำหน่ายจ่ายโอน จำนำ หรือนำไปเป็นประกัน ทั้งนี้ ได้กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้จากการลงทุนในหน่วยลงทุน RMF โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ตามที่ จ่ายจริง แต่เมื่อนับรวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และต้องไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น
(ทั้งนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 เป็นต้นไป)
5. การขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทจัดการ ทั้งที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุนรวม และบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด ที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อประกอบธุรกิจ จัดการกองทุนส่วนบุคคล สามารถประกอบธุรกิจอื่นเพิ่มเติมได้ ดังนี้
1) การเป็นตัวกลางในการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือแนะนำผู้ขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนหรือ
ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจจัดการ หรือจัดการกองทุนส่วนบุคคล
2) การเป็นตัวแทนสนับสนุนการขายหรือ รับซื้อคืนหน่วยลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมอื่น
(ทั้งนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2544 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2544 เป็นต้นไป)
6. การกำหนดอัตราส่วนการลงทุน ในหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทอื่นเพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม สาระสำคัญคือ
บริษัทจัดการอาจลงทุนหรือมีหุ้นของบริษัทใดๆ เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งรวมกัน ทุกกองในขณะใดขณะหนึ่งได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทนั้น ยกเว้นการได้มาเนื่องจากการรับชำระหนี้
(ทั้งนี้ ประกาศเมื่อ 10 พฤษภาคม 2544และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 16 พฤษภาคม 2544 เป็นต้นไป
7. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับฐานการคำนวณดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET INDEX) โดยจะไม่นำหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่ ถูกสั่งพักซื้อขายนานกว่า 1 ปี มารวมอยู่ในการคำนวณ เพื่อให้ SET INDEX สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ได้อย่าง แท้จริง ทั้งนี้ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
8. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับโครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมรายปีลงเฉลี่ยร้อยละ 50 และลดค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอเข้าเป็นบริษัท จดทะเบียนลงร้อยละ 67 มีผลตั้งแต่รอบระยะเวลาการเป็นบริษัทจดทะเบียนวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
ส่วนบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ใหม่ 10 บริษัทแรกภายในปี 2544 จะได้รับยกเว้น ค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอแรกเข้า และ ลดค่าธรรมเนียมรายปีอีกร้อยละ 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-