ข่าวในประเทศ
1. ผลการดำเนินงานกิจการวิเทศธนกิจเดือน เม.ย.44 รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการดำเนินงานของกิจการวิเทศธนกิจ (บีไอบีเอฟ) เดือน เม.ย.44 ว่า การให้กู้ยืมเงินของกิจการวิเทศธนกิจลดลงในอัตราที่ชะลอลง โดย ณ สิ้นเดือน เม.ย.44 มียอดเงินให้กู้ยืมคงค้าง 416.2 พัน ล.บาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปี 43 จำนวน 80.3 พัน ล.บาท หรือลดลงร้อยละ 16.2 สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากการชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนด โดยกิจการวิเทศธนกิจของกลุ่ม ธพ.ไทยมียอดเงินให้กู้ยืมคงค้างลดลงมากที่สุดจำนวน 31 พัน ล.บาท หรือลดลงร้อยละ 30.8 จากช่วงเดียวกันปี 43 อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.44 การให้กู้ยืมเพิ่มขึ้น เล็กน้อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับภาคธุรกิจที่มียอดเงินกู้ยืมคงค้างมากที่สุดคือ กิจการอุตสาหกรรม ซึ่งมียอดคงค้าง 214.3 พัน ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 51.5 (ข่าวสด 21)
2. จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในเดือน พ.ค. 44 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รายงานจาก ธพ. เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. 44 จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่ ธพ. รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย. 44 โดยเอ็นพีแอลของ ธ. ศรีนครมีจำนวน 1.02 แสน ล.บาท หรือร้อยละ 56.34 ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 1.56 พัน ล.บาทจากเดือน เม.ย. 44 ธ. เอเชียมีจำนวน 2.72 หมื่น ล.บาท หรือร้อยละ 24.05 เพิ่มขึ้น 1.2 พัน ล.บาท จากเดือน เม.ย. 44 ธ. ดีบีเอสไทยทนุมีจำนวน 5.03 พัน ล.บาท หรือร้อยละ 7.13 ลดลง 347.25 ล.บาท จากเดือน เม.ย. 44 ยอดเอ็นพีแอลของ ธพ. ส่วนใหญ่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากรายได้ของบริษัทต่าง ๆ ลดลงทำให้ศักยภาพในการชำหนี้น้อยลงตามไปด้วย ตลอดจนความไม่ชัดเจนของการจัดตั้งบรรษัทบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ลูกหนี้ชะลอการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อรอการจัดตั้งทีเอเอ็มซีเสร็จให้แล้วเสร็จก่อน (เดลินิวส์ 21)
3. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ว่าการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวของไทยน่าจะเหมาะสม บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์การเลือกใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทยว่า ปัญหาที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้เป็นปัญหาด้านการค้าระหว่างประเทศ โดยการหดตัวของการส่งออกทำให้ฐานะการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงมาก ขณะที่การไหลออกของเงินทุนก็เริ่มชะลอตัวลง ทางการไทยควรคำนึงถึงประเด็นความสามารถในการแข่งขัน โดยปล่อยให้ค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวและมีความยืดหยุ่นเพื่อทำให้แข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้ ดังนั้น จึงมองว่าระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวน่าจะเป็นระบบที่เหมาะสม ส่วนการดูแลเสถียรภาพสามารถทำได้โดยธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการดูแลอย่างต่อเนื่อง (โลกวันนี้ 21)
4. นิติบุคคลจดทะเบียนธุรกิจเพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค. 44 อธิบดีกรมทะเบียนการค้า เปิดเผยว่า เดือน พ.ค. 44 มีการจดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ทั่วราชอาณาจักร 2,274 ราย เงินทุนจดทะเบียน 6.87 พัน ล.บาท เงินทุนชำระแล้ว 4.87 พัน ล.บาท แยกเป็นส่วนกลาง 1,275 ราย และส่วนภูมิภาค 999 ราย ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. 44 แล้วมีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 187 ราย (แนวหน้า 21)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ในเดือน พ.ค. 44 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่ง รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 20 มิ.ย. 44 Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจ ( Leading economic indicators) ของ สรอ. ในเดือน พ.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน เม.ย. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 42 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เช่นกัน และเพิ่มขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์แห่งวอลล์สตรีทคาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ขณะเดียวกัน Coincident Index ที่ใช้วัดภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน เม.ย. 44 ที่ลดลงร้อยละ 0.1 และ Lagging Index ซึ่งใช้วัดภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 0.2 หลังจากลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน เม.ย. 44 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาดัชนีทั้ง 3 ตัวประกอบกัน Conference Board คาดว่า ระยะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอาจจะยังคงดำเนินต่อไปในช่วง 2-3 เดือนหน้า ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางคน กล่าวว่า รายงานครั้งนี้ บ่งชี้ถึงสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 44 (รอยเตอร์20)
2. ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย. 44 ลดลงร้อยละ 2.5 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียวเมื่อ 21 มิ.ย. 44 ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 44 ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมโดยรวม หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงร้อยละ 2.5 เทียบกับเดือน มี.ค. 44 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ขณะเดียวกัน Tertiary sector index ในเดือน เม.ย. 44 ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม และเป็นดัชนีที่ชี้ภาวะธุรกิจในภาคบริการ ลดลงถึงร้อยละ 3.6 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ในเดือน มี.ค. 44 ทั้งนี้ ดัชนีทั้ง 2 ตัวดังกล่าว นับว่า ลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปีตั้งแต่เดือน เม.ย. 40 (รอยเตอร์21)
3. รมว. เศรษฐกิจญี่ปุ่นคาดว่า ในปี งปม. 44/45 และ 45/46 จะไม่หดตัว รายงานจากโตเกียวเมื่อ 20 มิ.ย.44 รมว.เศรษฐกิจญี่ปุ่น (Heizo Takenaka) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี งปม. 44/45 และ 45/46 จะไม่หดตัว โดยคาดว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 2.3 ในระยะกลางถึงระยะยาว อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี งปม. 44/45 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.7 ซึ่งนักกำหนดนโยบายและนักเศรษฐศาสตร์หลายฝ่ายกล่าวว่าเป็นตัวเลขที่เป็นไปได้ยาก ทั้งนี้ การที่รัฐบาลญี่ปุ่นคาดหมายว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มการขยายตัวลดลงแม้ว่าจะไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ เนื่องจากมีสัญญาณจากตัวเลขผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) เมื่อสัปดาห์ก่อนที่อ่อนตัวลงเล็กน้อยในไตรมาสแรกปี 2544 (รอยเตอร์ 20)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 20 มิ.ย. 44 45.222 (45.296)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 20 มิ.ย. 44ซื้อ 45.0231 (45.1158) ขาย 45.3350 (45.4217)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,750 (5,750) ขาย 5,850 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.62 (24.30)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ผลการดำเนินงานกิจการวิเทศธนกิจเดือน เม.ย.44 รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการดำเนินงานของกิจการวิเทศธนกิจ (บีไอบีเอฟ) เดือน เม.ย.44 ว่า การให้กู้ยืมเงินของกิจการวิเทศธนกิจลดลงในอัตราที่ชะลอลง โดย ณ สิ้นเดือน เม.ย.44 มียอดเงินให้กู้ยืมคงค้าง 416.2 พัน ล.บาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปี 43 จำนวน 80.3 พัน ล.บาท หรือลดลงร้อยละ 16.2 สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากการชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนด โดยกิจการวิเทศธนกิจของกลุ่ม ธพ.ไทยมียอดเงินให้กู้ยืมคงค้างลดลงมากที่สุดจำนวน 31 พัน ล.บาท หรือลดลงร้อยละ 30.8 จากช่วงเดียวกันปี 43 อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.44 การให้กู้ยืมเพิ่มขึ้น เล็กน้อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับภาคธุรกิจที่มียอดเงินกู้ยืมคงค้างมากที่สุดคือ กิจการอุตสาหกรรม ซึ่งมียอดคงค้าง 214.3 พัน ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 51.5 (ข่าวสด 21)
2. จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในเดือน พ.ค. 44 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รายงานจาก ธพ. เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. 44 จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่ ธพ. รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย. 44 โดยเอ็นพีแอลของ ธ. ศรีนครมีจำนวน 1.02 แสน ล.บาท หรือร้อยละ 56.34 ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 1.56 พัน ล.บาทจากเดือน เม.ย. 44 ธ. เอเชียมีจำนวน 2.72 หมื่น ล.บาท หรือร้อยละ 24.05 เพิ่มขึ้น 1.2 พัน ล.บาท จากเดือน เม.ย. 44 ธ. ดีบีเอสไทยทนุมีจำนวน 5.03 พัน ล.บาท หรือร้อยละ 7.13 ลดลง 347.25 ล.บาท จากเดือน เม.ย. 44 ยอดเอ็นพีแอลของ ธพ. ส่วนใหญ่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากรายได้ของบริษัทต่าง ๆ ลดลงทำให้ศักยภาพในการชำหนี้น้อยลงตามไปด้วย ตลอดจนความไม่ชัดเจนของการจัดตั้งบรรษัทบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ลูกหนี้ชะลอการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อรอการจัดตั้งทีเอเอ็มซีเสร็จให้แล้วเสร็จก่อน (เดลินิวส์ 21)
3. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ว่าการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวของไทยน่าจะเหมาะสม บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์การเลือกใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทยว่า ปัญหาที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้เป็นปัญหาด้านการค้าระหว่างประเทศ โดยการหดตัวของการส่งออกทำให้ฐานะการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงมาก ขณะที่การไหลออกของเงินทุนก็เริ่มชะลอตัวลง ทางการไทยควรคำนึงถึงประเด็นความสามารถในการแข่งขัน โดยปล่อยให้ค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวและมีความยืดหยุ่นเพื่อทำให้แข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้ ดังนั้น จึงมองว่าระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวน่าจะเป็นระบบที่เหมาะสม ส่วนการดูแลเสถียรภาพสามารถทำได้โดยธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการดูแลอย่างต่อเนื่อง (โลกวันนี้ 21)
4. นิติบุคคลจดทะเบียนธุรกิจเพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค. 44 อธิบดีกรมทะเบียนการค้า เปิดเผยว่า เดือน พ.ค. 44 มีการจดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ทั่วราชอาณาจักร 2,274 ราย เงินทุนจดทะเบียน 6.87 พัน ล.บาท เงินทุนชำระแล้ว 4.87 พัน ล.บาท แยกเป็นส่วนกลาง 1,275 ราย และส่วนภูมิภาค 999 ราย ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. 44 แล้วมีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 187 ราย (แนวหน้า 21)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ในเดือน พ.ค. 44 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่ง รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 20 มิ.ย. 44 Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจ ( Leading economic indicators) ของ สรอ. ในเดือน พ.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน เม.ย. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 42 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เช่นกัน และเพิ่มขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์แห่งวอลล์สตรีทคาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ขณะเดียวกัน Coincident Index ที่ใช้วัดภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน เม.ย. 44 ที่ลดลงร้อยละ 0.1 และ Lagging Index ซึ่งใช้วัดภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 0.2 หลังจากลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน เม.ย. 44 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาดัชนีทั้ง 3 ตัวประกอบกัน Conference Board คาดว่า ระยะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอาจจะยังคงดำเนินต่อไปในช่วง 2-3 เดือนหน้า ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางคน กล่าวว่า รายงานครั้งนี้ บ่งชี้ถึงสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 44 (รอยเตอร์20)
2. ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย. 44 ลดลงร้อยละ 2.5 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียวเมื่อ 21 มิ.ย. 44 ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 44 ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมโดยรวม หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงร้อยละ 2.5 เทียบกับเดือน มี.ค. 44 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ขณะเดียวกัน Tertiary sector index ในเดือน เม.ย. 44 ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม และเป็นดัชนีที่ชี้ภาวะธุรกิจในภาคบริการ ลดลงถึงร้อยละ 3.6 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ในเดือน มี.ค. 44 ทั้งนี้ ดัชนีทั้ง 2 ตัวดังกล่าว นับว่า ลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปีตั้งแต่เดือน เม.ย. 40 (รอยเตอร์21)
3. รมว. เศรษฐกิจญี่ปุ่นคาดว่า ในปี งปม. 44/45 และ 45/46 จะไม่หดตัว รายงานจากโตเกียวเมื่อ 20 มิ.ย.44 รมว.เศรษฐกิจญี่ปุ่น (Heizo Takenaka) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี งปม. 44/45 และ 45/46 จะไม่หดตัว โดยคาดว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 2.3 ในระยะกลางถึงระยะยาว อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี งปม. 44/45 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.7 ซึ่งนักกำหนดนโยบายและนักเศรษฐศาสตร์หลายฝ่ายกล่าวว่าเป็นตัวเลขที่เป็นไปได้ยาก ทั้งนี้ การที่รัฐบาลญี่ปุ่นคาดหมายว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มการขยายตัวลดลงแม้ว่าจะไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ เนื่องจากมีสัญญาณจากตัวเลขผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) เมื่อสัปดาห์ก่อนที่อ่อนตัวลงเล็กน้อยในไตรมาสแรกปี 2544 (รอยเตอร์ 20)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 20 มิ.ย. 44 45.222 (45.296)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 20 มิ.ย. 44ซื้อ 45.0231 (45.1158) ขาย 45.3350 (45.4217)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,750 (5,750) ขาย 5,850 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.62 (24.30)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-