2542 2543
ทั้งปี H1 H2 Q1 Q2E H1
ดัชนีผลผลิตเหมืองแร่ 151.6 145.6 157.5 164 161.1 162.6
%D 5.4 6.7 4.3 12.2 11.2 11.7
ก๊าซธรรมชาติ 9.5 9.6 9.3 13.9 9.9 12.4
ลิกไนต์ -9.5 -9.3 -9.8 -9.7 -11.6 -10.6
หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ 29.2 42.3 19.3 -7.2 -19.3 -13.7
น้ำมันดิบ 16.3 4.3 27.2 83.2 88.6 86
ดีบุก 66.9 85.5 52.9 -4.9 -55.1 -35.1
ที่มา : คำนวณโดยทีมเกษตรกรรมและบริการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
สาขาเหมืองแร่ ขยายตัวในอัตราสูง โดยคาดว่าดัชนีผลผลิตรวม (ไม่รวมย่อยหิน) ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 11.7 โดยผลผลิตน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ ที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 50 ของผลผลิตรวมในสาขานี้ ขยายตัวถึงร้อยละ 86.0 และ 12.4 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายการขุดเจาะเพื่อตอบสนองอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น สำหรับ ผลผลิตแร่อื่น ๆ อาทิ แร่สังกะสี ยิปซั่ม บอลเคลย์ ตะกั่ว ขยายตัวดีเช่นกัน จากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าการผลิตถ่านหินลิกไนต์ และหินปูนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์จะลดลง เนื่องจากมีการนำเข้าถ่านหินคุณภาพดีจากต่างประเทศมากขึ้น ขณะที่หินปูนยังมีสต็อกสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก
ภาคบริการ : ขยายตัวในเกณฑ์ดี
2542 2543
ทั้งปี H1 H2. Q1 Q2E H1
1. จำนวนนักท่องเที่ยวทั่วราช อาณาจักร (พันคน) 8,580 4,173 4,407 2,487 2,130 4,617
%D จากระยะเดียวกันปีก่อน 10.5 11.1 10 9.1 12.5 10.7
2. อัตราการเข้าพักโรงแรม (ร้อยละ) 58 58.4 57.1 66.1 64.6 60.8
ที่มา : 1. จำนวนนักท่องเที่ยวทั่วราชอาณาจักร จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2. อัตราการเข้าพัก จากการสำรวจจากโรงแรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ประมาณ 165 แห่ง(เขตกรุงเทพฯ 45 แห่ง, ต่างจังหวัด 120แห่ง)
สาขาบริการ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 ขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากปีก่อน โดยบริการท่องเที่ยวยังขยายตัวในทิศทางสดใส เนื่องจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวในปีอะเมซิ่งไทยแลนด์ต่อเนื่องมาในปี 2543 โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ฯ และเอกชน ในการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการขายในต่างประเทศ กอปรกับการเน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น จึงคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศในครึ่งปีแรกจะเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 10.7 ส่งผลให้อัตราการเข้าพัก โรงแรมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60.8 (เทียบกับร้อยละ 58.4 ในช่วงเดียวกันปีก่อน)
สำหรับการบริการด้านการสาธารณสุข ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากคนเริ่มมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ทำให้มีการใช้บริการด้านการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ตลอดจนการบริการด้านการศึกษา และบริการอื่น ๆ มีการปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ทั้งปี H1 H2 Q1 Q2E H1
ดัชนีผลผลิตเหมืองแร่ 151.6 145.6 157.5 164 161.1 162.6
%D 5.4 6.7 4.3 12.2 11.2 11.7
ก๊าซธรรมชาติ 9.5 9.6 9.3 13.9 9.9 12.4
ลิกไนต์ -9.5 -9.3 -9.8 -9.7 -11.6 -10.6
หินปูนเพื่ออุตสาหกรรมซีเมนต์ 29.2 42.3 19.3 -7.2 -19.3 -13.7
น้ำมันดิบ 16.3 4.3 27.2 83.2 88.6 86
ดีบุก 66.9 85.5 52.9 -4.9 -55.1 -35.1
ที่มา : คำนวณโดยทีมเกษตรกรรมและบริการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
สาขาเหมืองแร่ ขยายตัวในอัตราสูง โดยคาดว่าดัชนีผลผลิตรวม (ไม่รวมย่อยหิน) ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 11.7 โดยผลผลิตน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ ที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 50 ของผลผลิตรวมในสาขานี้ ขยายตัวถึงร้อยละ 86.0 และ 12.4 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายการขุดเจาะเพื่อตอบสนองอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น สำหรับ ผลผลิตแร่อื่น ๆ อาทิ แร่สังกะสี ยิปซั่ม บอลเคลย์ ตะกั่ว ขยายตัวดีเช่นกัน จากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าการผลิตถ่านหินลิกไนต์ และหินปูนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์จะลดลง เนื่องจากมีการนำเข้าถ่านหินคุณภาพดีจากต่างประเทศมากขึ้น ขณะที่หินปูนยังมีสต็อกสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก
ภาคบริการ : ขยายตัวในเกณฑ์ดี
2542 2543
ทั้งปี H1 H2. Q1 Q2E H1
1. จำนวนนักท่องเที่ยวทั่วราช อาณาจักร (พันคน) 8,580 4,173 4,407 2,487 2,130 4,617
%D จากระยะเดียวกันปีก่อน 10.5 11.1 10 9.1 12.5 10.7
2. อัตราการเข้าพักโรงแรม (ร้อยละ) 58 58.4 57.1 66.1 64.6 60.8
ที่มา : 1. จำนวนนักท่องเที่ยวทั่วราชอาณาจักร จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2. อัตราการเข้าพัก จากการสำรวจจากโรงแรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ประมาณ 165 แห่ง(เขตกรุงเทพฯ 45 แห่ง, ต่างจังหวัด 120แห่ง)
สาขาบริการ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 ขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากปีก่อน โดยบริการท่องเที่ยวยังขยายตัวในทิศทางสดใส เนื่องจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวในปีอะเมซิ่งไทยแลนด์ต่อเนื่องมาในปี 2543 โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ฯ และเอกชน ในการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการขายในต่างประเทศ กอปรกับการเน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น จึงคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศในครึ่งปีแรกจะเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 10.7 ส่งผลให้อัตราการเข้าพัก โรงแรมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60.8 (เทียบกับร้อยละ 58.4 ในช่วงเดียวกันปีก่อน)
สำหรับการบริการด้านการสาธารณสุข ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากคนเริ่มมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ทำให้มีการใช้บริการด้านการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ตลอดจนการบริการด้านการศึกษา และบริการอื่น ๆ มีการปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-