สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--21 มี.ค.--นิวส์สแตนด์
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 สุกร : คาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นในเดือนเมษายน
===================================================================================
รายการ กย.42 ตค.42 พย.42 ธค.42 มค.43 กพ.43 มีค43*
===================================================================================
ราคาที่เกษตรกรขายได้(บาท/กก.) 37.67 32.23 35.86 37.70 35.65 34.65 33.61
ต้นทุนการผลิต (บาท/กก.) 40.69 40.16 37.32 34.23 31.01 30.80 33.00
ราคาลูกสุกร(บาท/ตัว) 700 650 850 900 900 900 800
===================================================================================
หมายเหตุ * เฉลี่ย 2 สัปดาห์
ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศในสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ33.57 บาท ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.64 บาท ร้อยละ 0.21 และราคาลูกสุกรเฉลี่ยตันละ 750 บาท ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมีราคาเฉลี่ยตัวละ 800อ บาท ร้อยละ 6.25 ทั้งนี้ราคาสุกรได้อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปี 2543 เนื่องจากมีสุกรออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการบริโภคยังอยู่ในระดับเดิม โดยราคาสุกรได้ลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.65 บาท ในเดือนมกราคาเหลือเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.61 บาท ในเดือนมีนาคม สำหรับในภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงสุกรที่สำคัญราคาสุกรในเดือนมีนาคมเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.76 บาท ต่ำกว่าภาคอื่น ๆ เพราะปริมาณสุกรมีมากและต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ซึ่งอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 33 บาท ทำให้ผู้เลี้ยงสุกรเริ่มมีประสบกาขาดทุน อย่างไรก็ตามคาดว่าราคาสุกรจะเริ่มทรงตัวและมีแนวโน้มที่ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนเมษายน เนื่องจากในช่วงปลายปีที่ผ่านมาอากาศเย็นจัดจึงมีลูกสุกรเสียหายไปส่วนหนึ่ง ประกอบกับสภาพอากาศร้อนทำให้สุกรขุนเจริญเติบโตช้าส่งผลให้สุกรที่จะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมมีปริมาณลดน้อยลง ทำให้ราคาสุกรปรับตัวสูงขึ้น แต่ราคาจะไม่สูงมากนัก เพราะปริมาณสุกรมีเพียงพอกับความต้องการบริโภค
2.2 ปาล์มน้ำมัน: คาดคะเนผลผลิตและพื้นที่เก็บเกี่ยวปี 2543
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าในปี 2543 จะมีพื้นที่เก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน 1.301 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับปี 2542 และมีผลผลิตปาล์มสด เท่ากับ 3.404 ล้านตัน ในขณะที่ปี 2542 มีผลผลิตปาล์มสด 3.512 ล้านตัน เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศเข้าสู่ภาวะปกติ และส่งผลให้ผลผลิต ต่อไร่เฉลี่ย 2.615 ตัน ซึ่งปีที่ผ่านมาเฉลี่ยไร่ละ 2.819 ตัน
สำหรับความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบในปี 2543 คาดว่าจะมีเท่ากับ 533,040 ตัน ใกล้เคียงกับปี 2542 ซึ่งมีเท่ากับ 532,802 ตัน
ส่วนราคาผลปาล์มสดมีแนวโน้มลดต่ำลงจากกิโลกรัมละ 1.94 บาท ในเดือนมกราคมเหลือกิโลกรัมละ 1.52 บาท ในเดือนกุมภาพันธ์กิโลกรัมละ 1.24 บาท ของช่วงสัปดาห์แรกเดือนมีนาคม ราคาผลปาล์มสดลดลงเป็นลำดับอย่างต่อเนื่องนั้น สาเหตุมาจากปริมาณผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบและสต๊อกคงเหลือในตลาดโลกมีมาก ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบลดลง นอกจากนี้ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียประกาศลดภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ และผลิตภัณฑ์เพื่อกระตุ้นการส่งออก ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาราคาน้ำมันปาล์มดิบภายในประเทศสูงกว่าตลาดต่างประเทศ จึงจูงใจให้มีการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มตามแนวชายแดนไทย อีกทั้งยังไม่ได้มีการระบายน้ำมันปาล์มดิบที่ อคส. รับซื้อไว้จากการแทรกแซงตลาดปาล์มน้ำมันปี 2542 ซึ่งมีปริมาณถึง 70,239 ตัน ออกต่างประเทศ และในเดือนเมษายนเป็นต้นไปเป็นระยะที่ผลผลิตปาล์มออกสู่ตลาดมากอีกด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อราคาผลปาล์มสดลดต่ำลงไปอีก และเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2543 ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดให้มีการประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันขึ้น ซึ่งมี ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอาคม เอ่งฉ้วน) เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้พิจารณาถึงสถานการณ์ ดังกล่าวข้างต้นอย่างกว้างขวาง และเห็นว่าเพื่อเป็นการบรรเทาไม่ให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันได้รับผลกระทบจากราคาตกต่ำ จึงมอบหมายให้องค์การคลังสินค้าเร่งส่งออกน้ำมันปาล์มดิบจากการแทรกแซงตลาดปี 2542 ปริมาณ 70,239 ตัน ไปต่างประเทศโดยด่วน สำหรับการจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบไปต่างประเทศนั้น ควรใช้วิธีการต่อรองราคาแทนการประมูล นอกจากนี้จะต้องรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรขาย ผลปาล์มที่มีคุณภาพ ตลอดจนเร่งรัดให้กรมศุลกากรและสำนักงานตำรวจแห่งชาติปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มอย่างจริงจังอีกทางหนึ่งด้วย
2.3 การพัฒนายางพารา : ยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราครบวงจรที่มีต่อการพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางพารา
เนื่องจากปัจจุบันตลาดยางพาราของโลกมีการแข่งขันอย่างรุนแรงและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราครบวงจร 5 ยุทธศาสตร์ขึ้นเพื่อให้การพัฒนายางของประเทศมีทิศทางที่ชัดเจนเป็นเอกภาพและต่อเนื่อง โดยมีสาระสำคัญครอบคลุมกิจการยางทุกสาขาและทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรชาวสวนยาง ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ด้านการผลิตยาง สนับสนุนการพัฒนาการผลิตยางชนิดอื่นนอกเหนือจากยางแผ่นดิบและน้ำยางสด สนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางรวมตัวเป็นสหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลและดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเอง สนับสนุนการเสริมรายได้ให้เจ้าของสวนยางขนาดเล็กมีรายได้เพิ่มขึ้น ดำเนินการจดทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางตามเขตการปลูกยาง ( Zoning) ที่ได้กำหนดไว้ สนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านพันธุ์ การใช้ปุ๋ยเคมี การกรีดยางและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง กำหนดให้ขยายพื้นที่ปลูกยางไปยังพื้นที่ใหม่ไม่เกิน 12 ล้านไร่
2. ยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมยาง สนับสนุนและช่วยเหลือให้โรงงานแปรรูปยางดิบได้การรับรองตามมาตรฐานสากล พัฒนาการแปรรูปยางแผ่นดิบและรักษาสัดส่วนความสมดุลการผลิตยางแปรรูปชนิดต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการผลิตและการใช้ยางของโลก
3. ยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมไม้ยางพารา ให้ดำเนินการแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ยางพารา สนับสนุนให้มีการปรับปรุงพันธุ์ยางและกำหนดมาตรการให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนใช้อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานที่ผลิตจากไม้ยางพารา
4. ยุทธศาสตร์ด้านตลาดยาง พัฒนาการบริการการส่งออกยางแบบครบวงจรในจุดเดียว สนับสนุนการพัฒนาระบบตลาดท้องถิ่นและผลักดันให้ไทยเป็นตลาดยางที่สำคัญของโลก
5. ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารงานภาคยาง ตั้งคณะกรรมการยางพาราแห่งประเทศไทย เพื่อกำหนดนโยบายแผนงาน มาตรการยางของประเทศและตั้งองค์การยางแห่งประเทศไทยขึ้น เพื่อดำเนินงานด้านยางพาราครบวงจร
แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้ยุทธศาสตร์เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาสถาบันเกษตรกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอาคม เอ่งฉ้วน) และ(นายเนวิน ชิดชอบ) ได้ให้แนวทางและสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. เพื่อแก้ไขปัญหาราคาและสถานที่จำหน่ายผลผลิตได้ให้ ส.ก.ย. จัดโครงการตลาดประมูลยางระดับท้องถิ่นเชื่อมโยงกับตลาดกลาง
2. ในมาตรการแทรกแซงราคากำหนดราคาเป้าหมายนำกิโลกรัมละ 23.66 บาท และระยะเวลาแทรกแซงตามมติขยายไปสิ้นสุดธันวาคม 2543
3. สนับสนุนให้สมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรที่ไม่เป็นสมาชิกขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อประโยชน์ในการเลือกผู้แทนถาวรเข้าไปบริหารกองทุนฯ
4. สนับสนุนสินเชื่อเพื่อให้เงินกู้ในการซื้อปุ๋ยปลอดดอกเบี้ย 6 เดือน แก่สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง โดยผ่านสหกรณ์จังหวัด
5. สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ โดยให้การฝึกอบรม
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญประจำวันที่ 13 - 19 มี.ค. 2543--
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 สุกร : คาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นในเดือนเมษายน
===================================================================================
รายการ กย.42 ตค.42 พย.42 ธค.42 มค.43 กพ.43 มีค43*
===================================================================================
ราคาที่เกษตรกรขายได้(บาท/กก.) 37.67 32.23 35.86 37.70 35.65 34.65 33.61
ต้นทุนการผลิต (บาท/กก.) 40.69 40.16 37.32 34.23 31.01 30.80 33.00
ราคาลูกสุกร(บาท/ตัว) 700 650 850 900 900 900 800
===================================================================================
หมายเหตุ * เฉลี่ย 2 สัปดาห์
ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศในสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ33.57 บาท ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.64 บาท ร้อยละ 0.21 และราคาลูกสุกรเฉลี่ยตันละ 750 บาท ลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมีราคาเฉลี่ยตัวละ 800อ บาท ร้อยละ 6.25 ทั้งนี้ราคาสุกรได้อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปี 2543 เนื่องจากมีสุกรออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการบริโภคยังอยู่ในระดับเดิม โดยราคาสุกรได้ลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.65 บาท ในเดือนมกราคาเหลือเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.61 บาท ในเดือนมีนาคม สำหรับในภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงสุกรที่สำคัญราคาสุกรในเดือนมีนาคมเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.76 บาท ต่ำกว่าภาคอื่น ๆ เพราะปริมาณสุกรมีมากและต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ซึ่งอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 33 บาท ทำให้ผู้เลี้ยงสุกรเริ่มมีประสบกาขาดทุน อย่างไรก็ตามคาดว่าราคาสุกรจะเริ่มทรงตัวและมีแนวโน้มที่ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนเมษายน เนื่องจากในช่วงปลายปีที่ผ่านมาอากาศเย็นจัดจึงมีลูกสุกรเสียหายไปส่วนหนึ่ง ประกอบกับสภาพอากาศร้อนทำให้สุกรขุนเจริญเติบโตช้าส่งผลให้สุกรที่จะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมมีปริมาณลดน้อยลง ทำให้ราคาสุกรปรับตัวสูงขึ้น แต่ราคาจะไม่สูงมากนัก เพราะปริมาณสุกรมีเพียงพอกับความต้องการบริโภค
2.2 ปาล์มน้ำมัน: คาดคะเนผลผลิตและพื้นที่เก็บเกี่ยวปี 2543
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าในปี 2543 จะมีพื้นที่เก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน 1.301 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับปี 2542 และมีผลผลิตปาล์มสด เท่ากับ 3.404 ล้านตัน ในขณะที่ปี 2542 มีผลผลิตปาล์มสด 3.512 ล้านตัน เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศเข้าสู่ภาวะปกติ และส่งผลให้ผลผลิต ต่อไร่เฉลี่ย 2.615 ตัน ซึ่งปีที่ผ่านมาเฉลี่ยไร่ละ 2.819 ตัน
สำหรับความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบในปี 2543 คาดว่าจะมีเท่ากับ 533,040 ตัน ใกล้เคียงกับปี 2542 ซึ่งมีเท่ากับ 532,802 ตัน
ส่วนราคาผลปาล์มสดมีแนวโน้มลดต่ำลงจากกิโลกรัมละ 1.94 บาท ในเดือนมกราคมเหลือกิโลกรัมละ 1.52 บาท ในเดือนกุมภาพันธ์กิโลกรัมละ 1.24 บาท ของช่วงสัปดาห์แรกเดือนมีนาคม ราคาผลปาล์มสดลดลงเป็นลำดับอย่างต่อเนื่องนั้น สาเหตุมาจากปริมาณผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบและสต๊อกคงเหลือในตลาดโลกมีมาก ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบลดลง นอกจากนี้ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียประกาศลดภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ และผลิตภัณฑ์เพื่อกระตุ้นการส่งออก ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาราคาน้ำมันปาล์มดิบภายในประเทศสูงกว่าตลาดต่างประเทศ จึงจูงใจให้มีการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มตามแนวชายแดนไทย อีกทั้งยังไม่ได้มีการระบายน้ำมันปาล์มดิบที่ อคส. รับซื้อไว้จากการแทรกแซงตลาดปาล์มน้ำมันปี 2542 ซึ่งมีปริมาณถึง 70,239 ตัน ออกต่างประเทศ และในเดือนเมษายนเป็นต้นไปเป็นระยะที่ผลผลิตปาล์มออกสู่ตลาดมากอีกด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อราคาผลปาล์มสดลดต่ำลงไปอีก และเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2543 ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดให้มีการประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันขึ้น ซึ่งมี ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอาคม เอ่งฉ้วน) เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้พิจารณาถึงสถานการณ์ ดังกล่าวข้างต้นอย่างกว้างขวาง และเห็นว่าเพื่อเป็นการบรรเทาไม่ให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันได้รับผลกระทบจากราคาตกต่ำ จึงมอบหมายให้องค์การคลังสินค้าเร่งส่งออกน้ำมันปาล์มดิบจากการแทรกแซงตลาดปี 2542 ปริมาณ 70,239 ตัน ไปต่างประเทศโดยด่วน สำหรับการจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบไปต่างประเทศนั้น ควรใช้วิธีการต่อรองราคาแทนการประมูล นอกจากนี้จะต้องรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรขาย ผลปาล์มที่มีคุณภาพ ตลอดจนเร่งรัดให้กรมศุลกากรและสำนักงานตำรวจแห่งชาติปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มอย่างจริงจังอีกทางหนึ่งด้วย
2.3 การพัฒนายางพารา : ยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราครบวงจรที่มีต่อการพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางพารา
เนื่องจากปัจจุบันตลาดยางพาราของโลกมีการแข่งขันอย่างรุนแรงและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราครบวงจร 5 ยุทธศาสตร์ขึ้นเพื่อให้การพัฒนายางของประเทศมีทิศทางที่ชัดเจนเป็นเอกภาพและต่อเนื่อง โดยมีสาระสำคัญครอบคลุมกิจการยางทุกสาขาและทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรชาวสวนยาง ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ด้านการผลิตยาง สนับสนุนการพัฒนาการผลิตยางชนิดอื่นนอกเหนือจากยางแผ่นดิบและน้ำยางสด สนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางรวมตัวเป็นสหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลและดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเอง สนับสนุนการเสริมรายได้ให้เจ้าของสวนยางขนาดเล็กมีรายได้เพิ่มขึ้น ดำเนินการจดทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางตามเขตการปลูกยาง ( Zoning) ที่ได้กำหนดไว้ สนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านพันธุ์ การใช้ปุ๋ยเคมี การกรีดยางและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง กำหนดให้ขยายพื้นที่ปลูกยางไปยังพื้นที่ใหม่ไม่เกิน 12 ล้านไร่
2. ยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมยาง สนับสนุนและช่วยเหลือให้โรงงานแปรรูปยางดิบได้การรับรองตามมาตรฐานสากล พัฒนาการแปรรูปยางแผ่นดิบและรักษาสัดส่วนความสมดุลการผลิตยางแปรรูปชนิดต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการผลิตและการใช้ยางของโลก
3. ยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมไม้ยางพารา ให้ดำเนินการแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ยางพารา สนับสนุนให้มีการปรับปรุงพันธุ์ยางและกำหนดมาตรการให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนใช้อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานที่ผลิตจากไม้ยางพารา
4. ยุทธศาสตร์ด้านตลาดยาง พัฒนาการบริการการส่งออกยางแบบครบวงจรในจุดเดียว สนับสนุนการพัฒนาระบบตลาดท้องถิ่นและผลักดันให้ไทยเป็นตลาดยางที่สำคัญของโลก
5. ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารงานภาคยาง ตั้งคณะกรรมการยางพาราแห่งประเทศไทย เพื่อกำหนดนโยบายแผนงาน มาตรการยางของประเทศและตั้งองค์การยางแห่งประเทศไทยขึ้น เพื่อดำเนินงานด้านยางพาราครบวงจร
แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้ยุทธศาสตร์เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาสถาบันเกษตรกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอาคม เอ่งฉ้วน) และ(นายเนวิน ชิดชอบ) ได้ให้แนวทางและสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. เพื่อแก้ไขปัญหาราคาและสถานที่จำหน่ายผลผลิตได้ให้ ส.ก.ย. จัดโครงการตลาดประมูลยางระดับท้องถิ่นเชื่อมโยงกับตลาดกลาง
2. ในมาตรการแทรกแซงราคากำหนดราคาเป้าหมายนำกิโลกรัมละ 23.66 บาท และระยะเวลาแทรกแซงตามมติขยายไปสิ้นสุดธันวาคม 2543
3. สนับสนุนให้สมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรที่ไม่เป็นสมาชิกขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อประโยชน์ในการเลือกผู้แทนถาวรเข้าไปบริหารกองทุนฯ
4. สนับสนุนสินเชื่อเพื่อให้เงินกู้ในการซื้อปุ๋ยปลอดดอกเบี้ย 6 เดือน แก่สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง โดยผ่านสหกรณ์จังหวัด
5. สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ โดยให้การฝึกอบรม
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญประจำวันที่ 13 - 19 มี.ค. 2543--