กรุงเทพฯ--5 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (วันที่ 4 ตุลาคม 2543) กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งว่า ในวันที่ 6 ตุลาคม 2543 จะ มีการลงนามความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย โดย ฯพณฯ นายศุภชัย พาณิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลไทย และนาง Dato ’ Seri Rafidah Aziz รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมของมาเลเซียเป็นผู้ ลงนามในนามรัฐบาลมาเลเซีย ที่ โรงแรมเวสติน จังหวัดเชียงใหม่
สาระสำคัญของความตกลงฯ มีดังนี้
1. ภาคีคู่สัญญาจะดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการอำนวยความสะดวก เสริมสร้างและกระจายสินค้า โดยทั้งสองประเทศจะให้การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most — Favoured — Nation — MFN) แก่กันในส่วนที่เกี่ยวกับอากรศุลกากร ภาษีรวมทั้งพิธีการทางศุลกากรเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์
2. จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้งจากภาคีแต่ละฝ่าย โดยคณะกรรมการ ฯ มีหน้าที่ส่งเสริมความเข้าใจทางการค้าและนโยบายพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศให้ดีขึ้น และสำรวจมาตรการเพื่อการขยายและกระจายสินค้าระหว่างประเทศทั้งสอง รวมทั้งหามาตรการในการแก้ปัญหาซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการอนุวัติความตกลงนี้ โดยคณะกรรมการฯ จะประชุมกันตามที่ภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งร้องขอสลับกันในไทยและมาเลเซีย
3. ความตกลงนี้ จัดทำเป็น 3 ภาษา คือ ไทย มาเลเซีย และอังกฤษ จะมีผลบังคับใช้ในวันซึ่งได้มีการแจ้งครั้งหลังจากภาคีคู่สัญญา เพื่อยืนยันว่าแต่ละประเทศได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฏหมายภายในสำหรับการมีผลบังคับใช้โดยครบถ้วนแล้ว ความตกลงฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 5 ปี และจะต่ออายุโดยอัตโนมัติเป็นระยะเวลาเดียวกันจนกว่าภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะบอกเลิก
ประโยชน์ของความตกลงฯ
ความตกลงฉบับนี้จะทำให้มีการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อผลประโยชน์ระหว่างกัน และสร้างสภาพแวดล้อมอันเอื้ออำนวยต่อการค้าของประเทศภาคีคู่สัญญา และยังช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียในด้านการค้า อีกทั้ง ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการจัดงานแสดงสินค้า และนิทรรศการระหว่างทั้งสองประเทศด้วย นอกจากนี้ การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าจะเป็นเวทีหนึ่งที่ภาคีคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะได้หารือร่วมกันในการพิจารณาทบทวนการดำเนินการโครงการและ/หรือกิจกรรมทางการค้าระหว่างกัน รวมทั้งหาแนวทางหรือมาตรการในการแก้ปัญหาทางการค้าร่วมกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (วันที่ 4 ตุลาคม 2543) กระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งว่า ในวันที่ 6 ตุลาคม 2543 จะ มีการลงนามความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย โดย ฯพณฯ นายศุภชัย พาณิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลไทย และนาง Dato ’ Seri Rafidah Aziz รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมของมาเลเซียเป็นผู้ ลงนามในนามรัฐบาลมาเลเซีย ที่ โรงแรมเวสติน จังหวัดเชียงใหม่
สาระสำคัญของความตกลงฯ มีดังนี้
1. ภาคีคู่สัญญาจะดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการอำนวยความสะดวก เสริมสร้างและกระจายสินค้า โดยทั้งสองประเทศจะให้การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most — Favoured — Nation — MFN) แก่กันในส่วนที่เกี่ยวกับอากรศุลกากร ภาษีรวมทั้งพิธีการทางศุลกากรเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์
2. จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้งจากภาคีแต่ละฝ่าย โดยคณะกรรมการ ฯ มีหน้าที่ส่งเสริมความเข้าใจทางการค้าและนโยบายพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศให้ดีขึ้น และสำรวจมาตรการเพื่อการขยายและกระจายสินค้าระหว่างประเทศทั้งสอง รวมทั้งหามาตรการในการแก้ปัญหาซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการอนุวัติความตกลงนี้ โดยคณะกรรมการฯ จะประชุมกันตามที่ภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งร้องขอสลับกันในไทยและมาเลเซีย
3. ความตกลงนี้ จัดทำเป็น 3 ภาษา คือ ไทย มาเลเซีย และอังกฤษ จะมีผลบังคับใช้ในวันซึ่งได้มีการแจ้งครั้งหลังจากภาคีคู่สัญญา เพื่อยืนยันว่าแต่ละประเทศได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฏหมายภายในสำหรับการมีผลบังคับใช้โดยครบถ้วนแล้ว ความตกลงฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 5 ปี และจะต่ออายุโดยอัตโนมัติเป็นระยะเวลาเดียวกันจนกว่าภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะบอกเลิก
ประโยชน์ของความตกลงฯ
ความตกลงฉบับนี้จะทำให้มีการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อผลประโยชน์ระหว่างกัน และสร้างสภาพแวดล้อมอันเอื้ออำนวยต่อการค้าของประเทศภาคีคู่สัญญา และยังช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียในด้านการค้า อีกทั้ง ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการจัดงานแสดงสินค้า และนิทรรศการระหว่างทั้งสองประเทศด้วย นอกจากนี้ การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าจะเป็นเวทีหนึ่งที่ภาคีคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะได้หารือร่วมกันในการพิจารณาทบทวนการดำเนินการโครงการและ/หรือกิจกรรมทางการค้าระหว่างกัน รวมทั้งหาแนวทางหรือมาตรการในการแก้ปัญหาทางการค้าร่วมกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-