อลงกรณ์เร่งรัดนายกฯ บรรเทาปัญหาราคาน้ำมันแพง เสนอรัฐบาล 6 มาตรการ 4 โครงการ แก้ไขปัญหาด่วน
วันที่ 19 เมษายน 2544 ที่รัฐสภา นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี
พรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นว่า จากการที่ราคาน้ำมัน ณ วันที่ 19 เมษายน 2544 นี้
ได้ปรับราคาสูงขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 10 วัน และนับเป็นการปรับราคาสูงสุดตั้งแต่เกิดวิกฤติการณ์น้ำมันในปี 2540
เป็นต้นมา ซึ่งได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและค่าครองชีพของประชาชน จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขบรรเทา
ปัญหาโดยเร่งด่วนใน 6 มาตรการ คือ
มาตรการที่ 1 มาตรการเร่งรัดผลักดันโครงการพลังงานทดแทน เพื่อลดการนำเข้าและพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศ
มาตรการที่ 2 มาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง สำหรับสาขาคมนาคมขนส่งอาชีพประมงและเกษตรกรอื่น ๆ
เช่น เร่งรัดโครงการจัดตั้งสถานี (Tanker) จำหน่ายน้ำมันในเขตต่อเนื่อง เร่งสานต่อโครงการช่วยเหลือลดราคาน้ำมันให้ชาวประมงชายฝั่ง
ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ลิตรละ 3 บาท ของรัฐบาลชุดที่แล้ว
มาตรการที่ 3 มาตรการประหยัดโดยกำหนดเป็นแนวปฏิบัติการใช้น้ำมันและ
พลังงานของหน่วยงานรัฐ โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า เพื่อเป็นตัวอย่างต่อประชาชน รัฐมนตรีควรลดการใช้รถนำขบวนโดยไม่จำเป็น
มาตรการที่ 4 มาตรการหาแหล่งน้ำมันใหม่โดยเร่งการสำรวจแหล่งน้ำมันปิโตรเลียมตามแผนเปิดสัมปทานใหม่โดยเร็วเพื่อ
เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันภายในประเทศ
มาตรการที่ 5 มาตรการสร้างเสถียรภาพราคาน้ำมันด้วยการสร้างเสถียรภาพค่าเงินบาทโดยเร่งทำการฟื้นฟูเศรษฐกิจและ
สร้างความเชื่อมั่นในค่าเงินบาท ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมันในประเทศแพงขึ้นจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัว
และมาตรการที่ 6 มาตรการควบคุมการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าและค่าบริการซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อภาระค่าครองชีพ
ของประชาชน
นอกจากนี้นายอลงกรณ์ ได้กล่าวถึง 4 โครงการที่รัฐบาลควรเร่งทำว่า เป็น โครงการที่อยู่ในมาตรการหาพลังงานทดแทน
เพื่อลดการนำเข้าและพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศได้แก่
1. เร่งรัดสนับสนุนและส่งเสริมโครงการผลิตน้ำมันเอทานอลจากอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวฟ่างหวาน ข้าวโพด และข้าว ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก
คณะรัฐมนตรีชุดที่แล้ว แต่รัฐบาลใหม่โดยอธิบดีกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง กลับไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้
2. ขอให้คณะรัฐมนตรีเร่งรัดให้ความเห็นชอบโครงการผลิตน้ำมันดีเซลชีวภาพ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการไบโอดีเซล กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
เพื่อให้มีการผลิตน้ำมันดีเซลจากน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว และพืชน้ำมันต่าง ๆ
3. ขยายโครงการใช้แก๊ซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ โดยให้มีสถานีบริการ แก๊ซอย่างทั่วถึง
4. ส่งเสริมโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สามารถพัฒนาจนประสบความสำเร็จแล้ว
--------------------------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
วันที่ 19 เมษายน 2544 ที่รัฐสภา นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี
พรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นว่า จากการที่ราคาน้ำมัน ณ วันที่ 19 เมษายน 2544 นี้
ได้ปรับราคาสูงขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 10 วัน และนับเป็นการปรับราคาสูงสุดตั้งแต่เกิดวิกฤติการณ์น้ำมันในปี 2540
เป็นต้นมา ซึ่งได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและค่าครองชีพของประชาชน จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขบรรเทา
ปัญหาโดยเร่งด่วนใน 6 มาตรการ คือ
มาตรการที่ 1 มาตรการเร่งรัดผลักดันโครงการพลังงานทดแทน เพื่อลดการนำเข้าและพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศ
มาตรการที่ 2 มาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง สำหรับสาขาคมนาคมขนส่งอาชีพประมงและเกษตรกรอื่น ๆ
เช่น เร่งรัดโครงการจัดตั้งสถานี (Tanker) จำหน่ายน้ำมันในเขตต่อเนื่อง เร่งสานต่อโครงการช่วยเหลือลดราคาน้ำมันให้ชาวประมงชายฝั่ง
ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ลิตรละ 3 บาท ของรัฐบาลชุดที่แล้ว
มาตรการที่ 3 มาตรการประหยัดโดยกำหนดเป็นแนวปฏิบัติการใช้น้ำมันและ
พลังงานของหน่วยงานรัฐ โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า เพื่อเป็นตัวอย่างต่อประชาชน รัฐมนตรีควรลดการใช้รถนำขบวนโดยไม่จำเป็น
มาตรการที่ 4 มาตรการหาแหล่งน้ำมันใหม่โดยเร่งการสำรวจแหล่งน้ำมันปิโตรเลียมตามแผนเปิดสัมปทานใหม่โดยเร็วเพื่อ
เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันภายในประเทศ
มาตรการที่ 5 มาตรการสร้างเสถียรภาพราคาน้ำมันด้วยการสร้างเสถียรภาพค่าเงินบาทโดยเร่งทำการฟื้นฟูเศรษฐกิจและ
สร้างความเชื่อมั่นในค่าเงินบาท ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมันในประเทศแพงขึ้นจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัว
และมาตรการที่ 6 มาตรการควบคุมการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าและค่าบริการซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อภาระค่าครองชีพ
ของประชาชน
นอกจากนี้นายอลงกรณ์ ได้กล่าวถึง 4 โครงการที่รัฐบาลควรเร่งทำว่า เป็น โครงการที่อยู่ในมาตรการหาพลังงานทดแทน
เพื่อลดการนำเข้าและพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศได้แก่
1. เร่งรัดสนับสนุนและส่งเสริมโครงการผลิตน้ำมันเอทานอลจากอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวฟ่างหวาน ข้าวโพด และข้าว ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก
คณะรัฐมนตรีชุดที่แล้ว แต่รัฐบาลใหม่โดยอธิบดีกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง กลับไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้
2. ขอให้คณะรัฐมนตรีเร่งรัดให้ความเห็นชอบโครงการผลิตน้ำมันดีเซลชีวภาพ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการไบโอดีเซล กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
เพื่อให้มีการผลิตน้ำมันดีเซลจากน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว และพืชน้ำมันต่าง ๆ
3. ขยายโครงการใช้แก๊ซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ โดยให้มีสถานีบริการ แก๊ซอย่างทั่วถึง
4. ส่งเสริมโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สามารถพัฒนาจนประสบความสำเร็จแล้ว
--------------------------------------------------
กองการประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร