แท็ก
คูเวต
ตามที่ประเทศคูเวตได้ประสบปัญหาสภาพอากาศร้อนจัดทำให้อุณหภูมิในที่ร่มสูงกว่า 50๐C (122๐F) และอุณหภูมิของน้ำในทะเลอ่าวอาหรับที่สูงถึง 36๐C (ซึ่งไม่เคยปรากฏในรอบ 14 ปีที่ผ่านมา) ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2544 เป็นต้นมา เป็นสาเหตุทำให้ปลาในอ่าวอาหรับตายกว่า 100,000 ตัน โดยปลาที่ตายส่วนใหญ่ คือ ปลา Meid, Liza Micolepis
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐบาลคูเวตได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง Environment Public Authority (EPA) และ Kuwait Institute for Scientific Research (KISR) และได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ร่วมศึกษาปรากฏการณ์ดังกล่าว และเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2544 EPA ได้เปิดเผยรายงานผลการศึกษาสรุปว่า สาเหตุการตายของปลาในน่านน้ำคูเวตเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย "Streptococcus" ซึ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยหลัก คือ อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นมาก รวมทั้งการที่ปริมาณ Oxygen ในน้ำลดลงจากระดับปกติ โดยนาย Mohammad Al-Sawari ผู้อำนวยการ EPA กล่าวว่า การติดเชื้อดังกล่าวของปลาจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออุณหภูมิในน้ำทะเลเริ่มต่ำลง
ขณะนี้ปรากฏการณ์ปลาตายในอ่าวคูเวตได้ขยายวงเป็นประเด็นทางการเมือง เนื่องจากมีหลายฝ่ายได้ออกมาแสดงความไม่พอใจต่อแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐบาล สรุปได้ดังนี้.-
1. Dr. Abdulmoshin Mohammad สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันคูเวตตั้งข้อสังเกตว่า การปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษจากสถานีทำน้ำจืด (Desalinization Plant) ในเมือง Subiya อาจเป็นสาเหตุทำให้ปลาตาย ขณะที่ Dr. Faisal Al-Sahrif ประธานคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า รายงานของ EPA ไม่สมบูรณ์เพราะไม่กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่สารเคมีจะเป็นสาเหตุทำให้ปลาตาย สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลพยายามปิดบังข้อมูล ทั้งนี้ท่าทีดังกล่าวมีน้ำหนักมากขึ้นเมื่อ Dr. Nahidah Butaiban นักวิจัยสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งได้ทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวออกมาระบุว่า อาการของปลาที่ตายเพราะติดเชื้อ Streptococcus เป็นอาการเดียวกับการตายเพราะสารเคมี
2. ทางด้าน NGOs ก็ได้มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง อาทิ Kuwait Environment Protection Society (KEPS) ได้ออกมาเรียกร้องให้นาย Mohammad Al-Sarawi และ Dr. Abduhadi Sadoun Al-Otabi ผู้อำนวยการ KISR แสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการลาออกจากตำแหน่ง และเรียกร้องให้รัฐบาลชดเชยให้ชาวประมงและผู้ประกอบการค้าปลา ซึ่งสูญเสียผลประโยชน์จำนวนมหาศาลจากปรากฎการณ์ปลาตาย ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2544 สมาชิก Environmental Green Line Group (EGLG) ภายใต้การนำของ นาย Khaled Hajri ได้ออกมาชุมนุมประท้วงหน้ารัฐสภาคูเวต เพื่อเรียกร้องให้มีการปลดนาย Al-Sawari ผู้อำนวยการ EPA และกดดันให้สมาชิกรัฐสภาออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่ชัดเจน
ทั้งนี้ รัฐบาลคูเวตได้ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ดังกล่าวมาก โดยเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2544 Sheik Jaber Al-Ahmad Al-Jaber Al-Sabah เจ้าผู้ครองรัฐคูเวตได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรี และหน่วยงานด้านวิทยา- ศาสตร์ทุกหน่วยงาน พร้อมกับขอให้เร่งแก้ไขปัญหาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์และได้กำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นอีก
อนึ่ง ขณะนี้เทศบาลคูเวตได้มีคำสั่งห้ามการจำหน่ายปลาทุกชนิดที่จับจากน่านน้ำคูเวต และได้สั่งปิดตลาดปลาที่ใหญ่ที่สุดในคูเวตจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจประมงภายในประเทศ อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบตามสหกรณ์และ Supermarket ต่างๆ ของคูเวตพบว่ายังสามารถขายปลาแช่แข็งที่นำเข้าจากต่างประเทศได้อยู่ โดยเฉพาะที่ปลาที่นำเข้าจากประเทศอินเดีย
ตามสถิติข้อมูลของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมคูเวต ปี 2542 คูเวตนำเข้าปลาแช่แข็งจากประเทศต่างๆ เรียงตามลำดับดังนี้.-
1). อินเดีย มูลค่า 59 ล้านบาท
2). ไต้หวัน มูลค่า 51 ล้านบาท
3). ไทย มูลค่า 43 ล้านบาท
4). สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ มูลค่า 34.1 ล้านบาท
5). ปากีสถาน มูลค่า 25 ล้านบาท
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้วเห็นว่าชาวคูเวตนิยมบริโภคปลาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากคูเวตมีอุตสาหกรรมประมงที่แข็งแกร่ง แต่ปรากฏการณ์ครั้งนี้ทำให้ชาวคูเวตต้องหันมาบริโภคปลาที่นำเข้าจากต่างประเทศมากขึ้น จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ส่งออกปลาแช่แข็งของไทยที่จะส่งออกปลาไปยังคูเวต และดำเนินการเชิงรุกเพื่อขยายตลาดปลาแช่แข็งของไทยในคูเวตต่อไป
(ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประจำเดือนตุลาคม 2544--
-อน-
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐบาลคูเวตได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง Environment Public Authority (EPA) และ Kuwait Institute for Scientific Research (KISR) และได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ร่วมศึกษาปรากฏการณ์ดังกล่าว และเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2544 EPA ได้เปิดเผยรายงานผลการศึกษาสรุปว่า สาเหตุการตายของปลาในน่านน้ำคูเวตเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย "Streptococcus" ซึ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยหลัก คือ อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นมาก รวมทั้งการที่ปริมาณ Oxygen ในน้ำลดลงจากระดับปกติ โดยนาย Mohammad Al-Sawari ผู้อำนวยการ EPA กล่าวว่า การติดเชื้อดังกล่าวของปลาจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออุณหภูมิในน้ำทะเลเริ่มต่ำลง
ขณะนี้ปรากฏการณ์ปลาตายในอ่าวคูเวตได้ขยายวงเป็นประเด็นทางการเมือง เนื่องจากมีหลายฝ่ายได้ออกมาแสดงความไม่พอใจต่อแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐบาล สรุปได้ดังนี้.-
1. Dr. Abdulmoshin Mohammad สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันคูเวตตั้งข้อสังเกตว่า การปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษจากสถานีทำน้ำจืด (Desalinization Plant) ในเมือง Subiya อาจเป็นสาเหตุทำให้ปลาตาย ขณะที่ Dr. Faisal Al-Sahrif ประธานคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า รายงานของ EPA ไม่สมบูรณ์เพราะไม่กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่สารเคมีจะเป็นสาเหตุทำให้ปลาตาย สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลพยายามปิดบังข้อมูล ทั้งนี้ท่าทีดังกล่าวมีน้ำหนักมากขึ้นเมื่อ Dr. Nahidah Butaiban นักวิจัยสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งได้ทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวออกมาระบุว่า อาการของปลาที่ตายเพราะติดเชื้อ Streptococcus เป็นอาการเดียวกับการตายเพราะสารเคมี
2. ทางด้าน NGOs ก็ได้มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง อาทิ Kuwait Environment Protection Society (KEPS) ได้ออกมาเรียกร้องให้นาย Mohammad Al-Sarawi และ Dr. Abduhadi Sadoun Al-Otabi ผู้อำนวยการ KISR แสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการลาออกจากตำแหน่ง และเรียกร้องให้รัฐบาลชดเชยให้ชาวประมงและผู้ประกอบการค้าปลา ซึ่งสูญเสียผลประโยชน์จำนวนมหาศาลจากปรากฎการณ์ปลาตาย ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2544 สมาชิก Environmental Green Line Group (EGLG) ภายใต้การนำของ นาย Khaled Hajri ได้ออกมาชุมนุมประท้วงหน้ารัฐสภาคูเวต เพื่อเรียกร้องให้มีการปลดนาย Al-Sawari ผู้อำนวยการ EPA และกดดันให้สมาชิกรัฐสภาออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่ชัดเจน
ทั้งนี้ รัฐบาลคูเวตได้ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ดังกล่าวมาก โดยเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2544 Sheik Jaber Al-Ahmad Al-Jaber Al-Sabah เจ้าผู้ครองรัฐคูเวตได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรี และหน่วยงานด้านวิทยา- ศาสตร์ทุกหน่วยงาน พร้อมกับขอให้เร่งแก้ไขปัญหาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์และได้กำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นอีก
อนึ่ง ขณะนี้เทศบาลคูเวตได้มีคำสั่งห้ามการจำหน่ายปลาทุกชนิดที่จับจากน่านน้ำคูเวต และได้สั่งปิดตลาดปลาที่ใหญ่ที่สุดในคูเวตจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจประมงภายในประเทศ อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบตามสหกรณ์และ Supermarket ต่างๆ ของคูเวตพบว่ายังสามารถขายปลาแช่แข็งที่นำเข้าจากต่างประเทศได้อยู่ โดยเฉพาะที่ปลาที่นำเข้าจากประเทศอินเดีย
ตามสถิติข้อมูลของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมคูเวต ปี 2542 คูเวตนำเข้าปลาแช่แข็งจากประเทศต่างๆ เรียงตามลำดับดังนี้.-
1). อินเดีย มูลค่า 59 ล้านบาท
2). ไต้หวัน มูลค่า 51 ล้านบาท
3). ไทย มูลค่า 43 ล้านบาท
4). สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ มูลค่า 34.1 ล้านบาท
5). ปากีสถาน มูลค่า 25 ล้านบาท
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้วเห็นว่าชาวคูเวตนิยมบริโภคปลาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากคูเวตมีอุตสาหกรรมประมงที่แข็งแกร่ง แต่ปรากฏการณ์ครั้งนี้ทำให้ชาวคูเวตต้องหันมาบริโภคปลาที่นำเข้าจากต่างประเทศมากขึ้น จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ส่งออกปลาแช่แข็งของไทยที่จะส่งออกปลาไปยังคูเวต และดำเนินการเชิงรุกเพื่อขยายตลาดปลาแช่แข็งของไทยในคูเวตต่อไป
(ที่มา : กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประจำเดือนตุลาคม 2544--
-อน-