1.ข้อเท็จจริง
1.1 การค้าของโลกในปัจจุบันและอนาคต
(1) การค้าของโลกขยายตัวทั้งการค้าสินค้าและการค้าบริการ
ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา (1989-1998) การส่งออกสินค้าของโลกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.8 นับตั้งแต่ปี 1996 เป็นต้นมาอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราเฉลี่ย
ยุโรปตะวันตกมีสัดส่วนการส่งออกสูงสุดร้อยละ 43.3 ของการส่งออกโลก รองลงมาคือเอเซียร้อยละ 26.6 และอเมริกาเหนือร้อยละ 16.6
การส่งออกการค้าบริการของโลกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8.3 ต่อปี นับตั้งแต่ปี 1996 อัตราการขยายตัวต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยเช่นเดียวกัน
ยุโรปตะวันตกมีสัดส่วนการส่งออกบริการสูงสุดร้อยละ 48.3 ของการส่งออกบริการของโลก รองลงมาคืออเมริกาเหนือร้อยละ 20.5 และเอเซียร้อยละ 19.4
เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกสินค้าและการส่งออกบริการ มูลค่าการส่งออก สินค้าคิดเป็นร้อยละ 80.5 การส่งออกบริการคิดเป็นร้อยละ 19.5 ดังนั้น แม้การส่งออกบริการจะมีอัตราการขยายตัวมากกว่าการส่งออกสินค้า แต่มูลค่าการส่งออกสินค้าของโลกก็ยังสูงกว่ามูลค่าการส่งออกบริการถึง 4 เท่า
(2) ปริมาณการค้าของโลกขยายตัวมากกว่าปริมาณการผลิต ปริมาณการส่งออกสินค้าของโลกขยายตัวสูงกว่าปริมาณการผลิตโลกประมาณ 3 เท่า โดยปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตร การที่ปริมาณการค้าขยายตัวสูงกว่าปริมาณการผลิตมาก แสดงว่าสินค้าที่ผลิตขึ้นในปัจจุบันมีการใช้ในประเทศผู้ผลิตไม่ถึงครึ่ง ส่วนที่เหลือนำไปส่งออก ประเทศต่างๆ จึงต้องพึ่งพากันมากขึ้น
(3) โครงสร้างการค้าของโลกเปลี่ยนแปลงไป ในระยะ 9 ปีที่ผ่านมาสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงจากร้อยละ 12.2 เหลือร้อยละ 10.5 ของมูลค่าการค้าโลก ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมมีความสำคัญเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 70.6 เป็นร้อยละ 76.1 สินค้าที่มีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นมาก คือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง ได้แก่ สินค้าประเภทรถยนต์ อุปกรณ์สำนักงานและโทรคมนาคม ส่วนสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศกำลังพัฒนา เช่น อาหาร สิ่งทอ และ เสื้อผ้า มีสัดส่วนในการส่งออกลดลงทั้งสิ้น
(4) ผลประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศตกอยู่กับประเทศพัฒนาแล้วมากกว่าประเทศกำลังพัฒนา การค้าระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนที่สูงขึ้น แต่จากที่การค้าระหว่างประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าผลประโยชน์ไม่ได้กระจายไปยังประเทศต่างๆ อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง กล่าวคือ รายได้เฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้วในปี 1992 สูงกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรโลก 5 เท่า สูงกว่ารายได้เฉลี่ยของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด 22 เท่า และ 70 เท่าตามลำดับ
ทั้งนี้แม้ว่าในปี 1998 รายได้เฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น และช่องว่างของรายได้ระหว่างกลุ่มประเทศทั้ง 3 กลุ่มแคบลงเล็กน้อย แต่ก็ยังเป็นช่องว่างที่ยังห่างอยู่อีกมาก การค้าระหว่างประเทศก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ช่องว่างแคบลง แต่จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นการลดช่องว่างเป็นไปอย่างเชื่องช้ามาก เนื่องจากการส่งออกสินค้าเกือบร้อยละ 70 เป็นของประเทศพัฒนาแล้วประมาณ 30 ประเทศ และอีกร้อยละ 30 เป็นการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดเกือบ 150 ประเทศ
(5) การจัดระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศมีความซับซ้อนขึ้น จากการที่การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จึงได้มีความพยายามในการจัดระเบียบทางการค้าให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น การจัดระเบียบการค้าของโลกที่เป็นวงกว้างที่สุดคือการเจรจาการค้าหลายฝ่าย แต่เนื่องจากในเวทีการเจรจาการค้าหลายฝ่ายแม้ว่าประเทศสมาชิกจะมีสิทธิเท่าเทียมกันแต่อำนาจการต่อรองไม่เท่าเทียมกัน ประเทศพัฒนาแล้วเป็นกลุ่มประเทศที่มีอำนาจการต่อรองสูงกว่าและได้รับประโยชน์จากการกำหนดกฎเกณฑ์สูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา ทำให้เกิดความเคลือบแคลงว่าระบบดังกล่าวสร้างความเป็นธรรมได้จริงหรือไม่ ประกอบกับประสบการณ์ที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าระบบการค้าหลายฝ่ายยังมีจุดอ่อนอยู่อีกหลายประการ ประเทศต่างๆ จึงได้มีความพยายามในการร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศในรูปแบบอื่นๆ เพื่อช่วยเสริมให้การค้าระหว่างประเทศเสรียิ่งขึ้น เช่น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเซียแปซิฟิก หรือเอเปก การทำความตกลงการค้าเสรีในรูปแบบต่างๆ เช่น สหภาพยุโรป นาฟตา อาเซียน ปัจจุบันการทำความตกลงการค้าเสรีได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆ มากขึ้นเนื่องจากมีข้อได้เปรียบกว่าการเจรจาในเวทีการค้าหลายฝ่ายบางประการ
(6) ผลดีผลเสียของการทำความตกลงการค้าเสรี
1.2 ความสัมพันธ์ทางการค้าของไทยกับภูมิภาคต่างๆ
การค้าของไทยในระยะ 20 ปีที่ผ่านมาขยายตัวเกือบตลอดยกเว้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ปี1996-1998) ส่วนใหญ่อัตราการขยายตัวทางด้านการนำเข้าสูงกว่าการขยายตัวทางด้านการส่งออก ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า การส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 เท่า
1.3 ความสัมพันธ์ทางด้านการลงทุนของไทยกับประเทศต่างๆ
ในปี 1998 การลงทุนสุทธิจากต่างประเทศของไทยมาจากภูมิภาคเอเซียสูงสุดร้อยละ 68.3 อย่างไรก็ตามสัดส่วนนี้มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 86.6 ในปี 1990 หากพิจารณาเป็นรายประเทศแล้ว ประเทศที่นำเงินมาลงทุนสูงสุดคือญี่ปุ่น รองลงมาคือสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอาเซียนซึ่งส่วนใหญ่คือสิงคโปร์
2. รูปแบบและความเป็นไปได้ในการทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศในเอเซีย
จากข้อมูลข้างต้นที่สรุปได้ว่าการค้าโลกและการค้าของไทยขยายตัว การจัดระเบียบทางการค้ามีความซับซ้อนมากขึ้น มีการเจรจาทางการค้าทั้งในกรอบกว้างในระดับโลกและกรอบที่แคบลงมาเป็นภูมิภาคต่างๆ หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ กันมากขึ้น
สำหรับประเทศไทยคงต้องให้ความสำคัญกับการทำความตกลงการค้าเสรีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศในภูมิภาคเอเซียที่มีความสำคัญกับไทยสูงสุดทั้งทางด้านการลงทุนและการค้า ประเทศที่ไทยควรให้ความสนใจในขณะนี้คือ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินเดีย เพราะประเทศเหล่านี้เป็นคู่ค้าในลำดับต้นของไทยในเอเซียและอาจรวมไปถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เนื่องจากประเทศทั้งสองได้เสนอทำความตกลงการค้าเสรีกับอาเซียนแล้ว3. ความเห็น
3.1 ไทยควรมีท่าทีในทางบวกสำหรับข้อเสนอในการทำความตกลงการค้าจากประเทศต่างๆ ไม่ว่าเป็นการเสนอแบบสองฝ่ายหรือขอทำความตกลงกับอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศในเอเซีย เพื่อเป็นทางเลือกหากการเจรจาในเวทีหลายฝ่ายไม่คืบหน้า ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าประเทศต่างๆ ให้ความสนใจในเรื่องการทำความตกลงการค้าเสรีค่อนข้างมาก ประเด็นสำคัญคือประเทศที่ริเริ่มในเรื่องนี้มีความตั้งใจแล้วว่าต้องการปรับระบบเศรษฐกิจการค้าให้เสรีมากขึ้น แต่ไม่ต้องการดำเนินการเพียงฝ่ายเดียวและเห็นว่าจะได้รับผลประโยชน์มากขึ้นหากมีการชักชวนประเทศอื่นๆ ทำความตกลงการค้าเสรีด้วย สำหรับประเทศไทย หากมีความชัดเจนว่าการเปิดเสรีมีประโยชน์ก็อาจทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ได้
3.2 ไทยอาจทำความตกลงการค้าเสรีได้โดยเอกเทศกับประเทศต่างๆ หรือทำความตกลงพร้อมๆ กับอาเซียน เช่น อาฟตา-เซอร์ แต่การทำความตกลงทั้งอาเซียนน่าจะมีผลมากกว่าเนื่องจากประเทศที่ต้องการทำความตกลงการค้าเสรีคงให้ความสนใจตลาดอาเซียนมากกว่าประเทศไทยแต่เพียงประเทศเดียว การทำความตกลงในนามอาเซียนจะเพิ่มอำนาจในการต่อรองให้ไทยด้วย แต่สำหรับจีนน่าจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะหากมีการทำความตกลงกับจีนคาดว่าทั้งอาเซียนและไทยต้องปรับตัวรุนแรงมาก เพราะอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ไม่สามารถแข่งขันกับจีนได้ สังคมยังอาจรับไม่ได้ในขณะนี้
3.3 การทำความตกลงการค้าเสรีควรรวมสินค้าเกษตรและประมงไว้ด้วย เพราะเป็นผลประโยชน์ต่อการส่งออกของไทย สำหรับประเทศที่มีปัญหาในเรื่องนี้อาจเจรจาให้มีความยืดหยุ่นบ้างในเรื่องระยะของเวลา โดยไทยหรืออาเซียนอาจขอยืดหยุ่นในสาขาที่ยังไม่พร้อมบางสาขาด้วย
3.4 การทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศสมาชิกเอเปกที่ต้องเปิดเสรีภายใต้ เอเปกในปี 2010 ควรจะเสร็จสิ้นก่อนปี 2010 ไม่เช่นนั้นก็ไม่เป็นประโยชน์สำหรับไทยหรือ อาเซียนที่จะได้รับผลประโยชน์จากการเปิดเสรีในเอเปก (หากเอเปกมีการปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้) แต่จะต้องหลังจากปี 2003 ซึ่งเป็นปีที่อาเซียนต้องลดภาษีให้เหลือร้อยละ 0-5 ดังนั้นหากไทยหรืออาเซียนไม่ได้รับประโยชน์ตามที่ต้องการก็ไม่ควรจะรีบร้อน แต่หากดำเนินการได้เร็วกว่าก็จะเป็นประโยชน์ในการดึงดูดให้ประเทศอื่นๆ มาร่วมด้วย
3.5 การทำความตกลงอาจครอบคลุมในหลายเรื่องได้ เช่น การค้า การค้าบริการและการลงทุน แต่ ไทยควรเสนอให้ดำเนินการเรื่องการค้าสินค้าก่อนเพราะเป็นเรื่องที่เห็นผลเร็วกว่าในการเจรจาพร้อมกันไปหลายๆ เรื่อง สำหรับประเด็นอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับการค้า เช่น นโยบายการแข่งการค้าและสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ควรเลือกเรื่องที่ไทยและอาเซียนมีความพร้อมก่อน เรื่องใดที่ยังไม่มีกรอบภายใต้อาเซียนอาจสร้างปัญหาภายใต้อาเซียนได้ อาเซียนจึงควรได้มีการทบทวนเรื่องต่างๆ ที่อาเซียนยังไม่มีกฎเกณฑ์ระหว่างกัน
3.6 หากทำความตกลงในนามของอาเซียนจะต้องมีความยืดหยุ่นให้กับประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน อย่างน้อยภายหลังจากที่ประเทศสมาชิกใหม่ได้ปฏิบัติตามอาฟตาเสร็จสิ้นแล้ว อย่างไรก็ตามหากอาเซียนทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ แต่สมาชิกใหม่ของอาเซียนไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควรเนื่องจากยังไม่สามารถให้ประโยชน์กับประเทศอื่นๆ ได้เช่นกัน การทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศอื่นๆ อาจเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้สมาชิกอาเซียนใหม่ต้องปรับตัวเร็วขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์กับอาฟตาด้วย
3.7 ไทยคงไม่สามารถต้านกระแสการเปิดเสรีได้ จากการที่เอเปคกำหนดให้มีการเปิดเสรีในปี 2010 เป็นแรงกดดันให้ประเทศพัฒนาแล้วชักชวนประเทศกำลังพัฒนาในเอเปกทำความตกลงการค้าเสรีระห่วางกันให้มากที่สุด รวมทั้งการชักชวนประเทศนอกกลุ่มเอเปก เพื่อแก้ไขปัญหา free rider และกดดันให้สหภาพยุโรปเปิดเสรีมากขึ้น ซึ่งก็เท่ากับเป็นการเร่งการเปิดเสรีในเวทีการค้าหลายฝ่ายด้วย จึงมีความเป็นได้ว่าภายหลังปี 2010 การค้าสินค้าของประเทศพัฒนาแล้วเสรีเกือบหมด อาเซียนแม้จะไม่ทำความตกลงการค้าเสรีในขณะนี้ก็จะต้องถูกผลักดันให้เปิดเสรีมากขึ้นภายหลังปี 2010 ไม่ด้วยวิธีการใดก็วิธีการหนึ่ง เช่นอาจมีความตกลงเป็นรายสาขาเพิ่มขึ้นคล้ายกับความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ
ภายหลังปี 2020 คาดว่าการค้าของโลกเสรีเกือบทั้งหมด อุปสรรคทางการค้าจะเป็นรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ใช่มาตรการภาษีอีกต่อไป และเมื่อถึงเวลานั้นประเทศที่ทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างกันก็ได้พัฒนารูปแบบของความร่วมมือในการแก้ไขอุปสรรคทางการค้าในรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ใช่การลดภาษีไปแล้ว
ดังนั้น ไทยคงจะไม่สามารถต้านกระแสการเปิดเสรีได้ ทั้งในวงกว้างตามรูปแบบของการค้าหลายฝ่ายและวงแคบในลักษณะของความตกลงการค้าเสรีในภูมิภาค หากไทยเตรียมพร้อมและเร่งดำเนินการก่อนก็น่าจะเป็นทิศทางที่ถูกต้องเพราะเป็นการปรับตัวให้เร็วขึ้น
3.8 เนื่องจากรูปแบบทางการค้าของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปทำให้การค้าบริการมีความสำคัญเพิ่มขึ้นและเปิดเสรีมากขึ้นเป็นลำดับ ไทยควรให้ความสนใจเรื่องการค้าบริการมากขึ้น และคงไม่สามารถต้านทานกระแสได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรพิจารณาว่าจะใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีในสาขานี้ได้อย่างไรมากกว่าการพิจารณาว่าจะปกป้องไม่ให้มีการแข่งขันจากต่างประเทศได้อย่างไร
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
1.1 การค้าของโลกในปัจจุบันและอนาคต
(1) การค้าของโลกขยายตัวทั้งการค้าสินค้าและการค้าบริการ
ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา (1989-1998) การส่งออกสินค้าของโลกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.8 นับตั้งแต่ปี 1996 เป็นต้นมาอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราเฉลี่ย
ยุโรปตะวันตกมีสัดส่วนการส่งออกสูงสุดร้อยละ 43.3 ของการส่งออกโลก รองลงมาคือเอเซียร้อยละ 26.6 และอเมริกาเหนือร้อยละ 16.6
การส่งออกการค้าบริการของโลกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8.3 ต่อปี นับตั้งแต่ปี 1996 อัตราการขยายตัวต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยเช่นเดียวกัน
ยุโรปตะวันตกมีสัดส่วนการส่งออกบริการสูงสุดร้อยละ 48.3 ของการส่งออกบริการของโลก รองลงมาคืออเมริกาเหนือร้อยละ 20.5 และเอเซียร้อยละ 19.4
เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกสินค้าและการส่งออกบริการ มูลค่าการส่งออก สินค้าคิดเป็นร้อยละ 80.5 การส่งออกบริการคิดเป็นร้อยละ 19.5 ดังนั้น แม้การส่งออกบริการจะมีอัตราการขยายตัวมากกว่าการส่งออกสินค้า แต่มูลค่าการส่งออกสินค้าของโลกก็ยังสูงกว่ามูลค่าการส่งออกบริการถึง 4 เท่า
(2) ปริมาณการค้าของโลกขยายตัวมากกว่าปริมาณการผลิต ปริมาณการส่งออกสินค้าของโลกขยายตัวสูงกว่าปริมาณการผลิตโลกประมาณ 3 เท่า โดยปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตร การที่ปริมาณการค้าขยายตัวสูงกว่าปริมาณการผลิตมาก แสดงว่าสินค้าที่ผลิตขึ้นในปัจจุบันมีการใช้ในประเทศผู้ผลิตไม่ถึงครึ่ง ส่วนที่เหลือนำไปส่งออก ประเทศต่างๆ จึงต้องพึ่งพากันมากขึ้น
(3) โครงสร้างการค้าของโลกเปลี่ยนแปลงไป ในระยะ 9 ปีที่ผ่านมาสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงจากร้อยละ 12.2 เหลือร้อยละ 10.5 ของมูลค่าการค้าโลก ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมมีความสำคัญเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 70.6 เป็นร้อยละ 76.1 สินค้าที่มีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นมาก คือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง ได้แก่ สินค้าประเภทรถยนต์ อุปกรณ์สำนักงานและโทรคมนาคม ส่วนสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศกำลังพัฒนา เช่น อาหาร สิ่งทอ และ เสื้อผ้า มีสัดส่วนในการส่งออกลดลงทั้งสิ้น
(4) ผลประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศตกอยู่กับประเทศพัฒนาแล้วมากกว่าประเทศกำลังพัฒนา การค้าระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนที่สูงขึ้น แต่จากที่การค้าระหว่างประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าผลประโยชน์ไม่ได้กระจายไปยังประเทศต่างๆ อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง กล่าวคือ รายได้เฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้วในปี 1992 สูงกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรโลก 5 เท่า สูงกว่ารายได้เฉลี่ยของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด 22 เท่า และ 70 เท่าตามลำดับ
ทั้งนี้แม้ว่าในปี 1998 รายได้เฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น และช่องว่างของรายได้ระหว่างกลุ่มประเทศทั้ง 3 กลุ่มแคบลงเล็กน้อย แต่ก็ยังเป็นช่องว่างที่ยังห่างอยู่อีกมาก การค้าระหว่างประเทศก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ช่องว่างแคบลง แต่จากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นการลดช่องว่างเป็นไปอย่างเชื่องช้ามาก เนื่องจากการส่งออกสินค้าเกือบร้อยละ 70 เป็นของประเทศพัฒนาแล้วประมาณ 30 ประเทศ และอีกร้อยละ 30 เป็นการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดเกือบ 150 ประเทศ
(5) การจัดระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศมีความซับซ้อนขึ้น จากการที่การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จึงได้มีความพยายามในการจัดระเบียบทางการค้าให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น การจัดระเบียบการค้าของโลกที่เป็นวงกว้างที่สุดคือการเจรจาการค้าหลายฝ่าย แต่เนื่องจากในเวทีการเจรจาการค้าหลายฝ่ายแม้ว่าประเทศสมาชิกจะมีสิทธิเท่าเทียมกันแต่อำนาจการต่อรองไม่เท่าเทียมกัน ประเทศพัฒนาแล้วเป็นกลุ่มประเทศที่มีอำนาจการต่อรองสูงกว่าและได้รับประโยชน์จากการกำหนดกฎเกณฑ์สูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา ทำให้เกิดความเคลือบแคลงว่าระบบดังกล่าวสร้างความเป็นธรรมได้จริงหรือไม่ ประกอบกับประสบการณ์ที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าระบบการค้าหลายฝ่ายยังมีจุดอ่อนอยู่อีกหลายประการ ประเทศต่างๆ จึงได้มีความพยายามในการร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศในรูปแบบอื่นๆ เพื่อช่วยเสริมให้การค้าระหว่างประเทศเสรียิ่งขึ้น เช่น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเซียแปซิฟิก หรือเอเปก การทำความตกลงการค้าเสรีในรูปแบบต่างๆ เช่น สหภาพยุโรป นาฟตา อาเซียน ปัจจุบันการทำความตกลงการค้าเสรีได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆ มากขึ้นเนื่องจากมีข้อได้เปรียบกว่าการเจรจาในเวทีการค้าหลายฝ่ายบางประการ
(6) ผลดีผลเสียของการทำความตกลงการค้าเสรี
1.2 ความสัมพันธ์ทางการค้าของไทยกับภูมิภาคต่างๆ
การค้าของไทยในระยะ 20 ปีที่ผ่านมาขยายตัวเกือบตลอดยกเว้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ปี1996-1998) ส่วนใหญ่อัตราการขยายตัวทางด้านการนำเข้าสูงกว่าการขยายตัวทางด้านการส่งออก ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า การส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 เท่า
1.3 ความสัมพันธ์ทางด้านการลงทุนของไทยกับประเทศต่างๆ
ในปี 1998 การลงทุนสุทธิจากต่างประเทศของไทยมาจากภูมิภาคเอเซียสูงสุดร้อยละ 68.3 อย่างไรก็ตามสัดส่วนนี้มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 86.6 ในปี 1990 หากพิจารณาเป็นรายประเทศแล้ว ประเทศที่นำเงินมาลงทุนสูงสุดคือญี่ปุ่น รองลงมาคือสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอาเซียนซึ่งส่วนใหญ่คือสิงคโปร์
2. รูปแบบและความเป็นไปได้ในการทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศในเอเซีย
จากข้อมูลข้างต้นที่สรุปได้ว่าการค้าโลกและการค้าของไทยขยายตัว การจัดระเบียบทางการค้ามีความซับซ้อนมากขึ้น มีการเจรจาทางการค้าทั้งในกรอบกว้างในระดับโลกและกรอบที่แคบลงมาเป็นภูมิภาคต่างๆ หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ กันมากขึ้น
สำหรับประเทศไทยคงต้องให้ความสำคัญกับการทำความตกลงการค้าเสรีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศในภูมิภาคเอเซียที่มีความสำคัญกับไทยสูงสุดทั้งทางด้านการลงทุนและการค้า ประเทศที่ไทยควรให้ความสนใจในขณะนี้คือ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินเดีย เพราะประเทศเหล่านี้เป็นคู่ค้าในลำดับต้นของไทยในเอเซียและอาจรวมไปถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เนื่องจากประเทศทั้งสองได้เสนอทำความตกลงการค้าเสรีกับอาเซียนแล้ว3. ความเห็น
3.1 ไทยควรมีท่าทีในทางบวกสำหรับข้อเสนอในการทำความตกลงการค้าจากประเทศต่างๆ ไม่ว่าเป็นการเสนอแบบสองฝ่ายหรือขอทำความตกลงกับอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศในเอเซีย เพื่อเป็นทางเลือกหากการเจรจาในเวทีหลายฝ่ายไม่คืบหน้า ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าประเทศต่างๆ ให้ความสนใจในเรื่องการทำความตกลงการค้าเสรีค่อนข้างมาก ประเด็นสำคัญคือประเทศที่ริเริ่มในเรื่องนี้มีความตั้งใจแล้วว่าต้องการปรับระบบเศรษฐกิจการค้าให้เสรีมากขึ้น แต่ไม่ต้องการดำเนินการเพียงฝ่ายเดียวและเห็นว่าจะได้รับผลประโยชน์มากขึ้นหากมีการชักชวนประเทศอื่นๆ ทำความตกลงการค้าเสรีด้วย สำหรับประเทศไทย หากมีความชัดเจนว่าการเปิดเสรีมีประโยชน์ก็อาจทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ได้
3.2 ไทยอาจทำความตกลงการค้าเสรีได้โดยเอกเทศกับประเทศต่างๆ หรือทำความตกลงพร้อมๆ กับอาเซียน เช่น อาฟตา-เซอร์ แต่การทำความตกลงทั้งอาเซียนน่าจะมีผลมากกว่าเนื่องจากประเทศที่ต้องการทำความตกลงการค้าเสรีคงให้ความสนใจตลาดอาเซียนมากกว่าประเทศไทยแต่เพียงประเทศเดียว การทำความตกลงในนามอาเซียนจะเพิ่มอำนาจในการต่อรองให้ไทยด้วย แต่สำหรับจีนน่าจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะหากมีการทำความตกลงกับจีนคาดว่าทั้งอาเซียนและไทยต้องปรับตัวรุนแรงมาก เพราะอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ไม่สามารถแข่งขันกับจีนได้ สังคมยังอาจรับไม่ได้ในขณะนี้
3.3 การทำความตกลงการค้าเสรีควรรวมสินค้าเกษตรและประมงไว้ด้วย เพราะเป็นผลประโยชน์ต่อการส่งออกของไทย สำหรับประเทศที่มีปัญหาในเรื่องนี้อาจเจรจาให้มีความยืดหยุ่นบ้างในเรื่องระยะของเวลา โดยไทยหรืออาเซียนอาจขอยืดหยุ่นในสาขาที่ยังไม่พร้อมบางสาขาด้วย
3.4 การทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศสมาชิกเอเปกที่ต้องเปิดเสรีภายใต้ เอเปกในปี 2010 ควรจะเสร็จสิ้นก่อนปี 2010 ไม่เช่นนั้นก็ไม่เป็นประโยชน์สำหรับไทยหรือ อาเซียนที่จะได้รับผลประโยชน์จากการเปิดเสรีในเอเปก (หากเอเปกมีการปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้) แต่จะต้องหลังจากปี 2003 ซึ่งเป็นปีที่อาเซียนต้องลดภาษีให้เหลือร้อยละ 0-5 ดังนั้นหากไทยหรืออาเซียนไม่ได้รับประโยชน์ตามที่ต้องการก็ไม่ควรจะรีบร้อน แต่หากดำเนินการได้เร็วกว่าก็จะเป็นประโยชน์ในการดึงดูดให้ประเทศอื่นๆ มาร่วมด้วย
3.5 การทำความตกลงอาจครอบคลุมในหลายเรื่องได้ เช่น การค้า การค้าบริการและการลงทุน แต่ ไทยควรเสนอให้ดำเนินการเรื่องการค้าสินค้าก่อนเพราะเป็นเรื่องที่เห็นผลเร็วกว่าในการเจรจาพร้อมกันไปหลายๆ เรื่อง สำหรับประเด็นอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับการค้า เช่น นโยบายการแข่งการค้าและสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ควรเลือกเรื่องที่ไทยและอาเซียนมีความพร้อมก่อน เรื่องใดที่ยังไม่มีกรอบภายใต้อาเซียนอาจสร้างปัญหาภายใต้อาเซียนได้ อาเซียนจึงควรได้มีการทบทวนเรื่องต่างๆ ที่อาเซียนยังไม่มีกฎเกณฑ์ระหว่างกัน
3.6 หากทำความตกลงในนามของอาเซียนจะต้องมีความยืดหยุ่นให้กับประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน อย่างน้อยภายหลังจากที่ประเทศสมาชิกใหม่ได้ปฏิบัติตามอาฟตาเสร็จสิ้นแล้ว อย่างไรก็ตามหากอาเซียนทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ แต่สมาชิกใหม่ของอาเซียนไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควรเนื่องจากยังไม่สามารถให้ประโยชน์กับประเทศอื่นๆ ได้เช่นกัน การทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศอื่นๆ อาจเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้สมาชิกอาเซียนใหม่ต้องปรับตัวเร็วขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์กับอาฟตาด้วย
3.7 ไทยคงไม่สามารถต้านกระแสการเปิดเสรีได้ จากการที่เอเปคกำหนดให้มีการเปิดเสรีในปี 2010 เป็นแรงกดดันให้ประเทศพัฒนาแล้วชักชวนประเทศกำลังพัฒนาในเอเปกทำความตกลงการค้าเสรีระห่วางกันให้มากที่สุด รวมทั้งการชักชวนประเทศนอกกลุ่มเอเปก เพื่อแก้ไขปัญหา free rider และกดดันให้สหภาพยุโรปเปิดเสรีมากขึ้น ซึ่งก็เท่ากับเป็นการเร่งการเปิดเสรีในเวทีการค้าหลายฝ่ายด้วย จึงมีความเป็นได้ว่าภายหลังปี 2010 การค้าสินค้าของประเทศพัฒนาแล้วเสรีเกือบหมด อาเซียนแม้จะไม่ทำความตกลงการค้าเสรีในขณะนี้ก็จะต้องถูกผลักดันให้เปิดเสรีมากขึ้นภายหลังปี 2010 ไม่ด้วยวิธีการใดก็วิธีการหนึ่ง เช่นอาจมีความตกลงเป็นรายสาขาเพิ่มขึ้นคล้ายกับความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ
ภายหลังปี 2020 คาดว่าการค้าของโลกเสรีเกือบทั้งหมด อุปสรรคทางการค้าจะเป็นรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ใช่มาตรการภาษีอีกต่อไป และเมื่อถึงเวลานั้นประเทศที่ทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างกันก็ได้พัฒนารูปแบบของความร่วมมือในการแก้ไขอุปสรรคทางการค้าในรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ใช่การลดภาษีไปแล้ว
ดังนั้น ไทยคงจะไม่สามารถต้านกระแสการเปิดเสรีได้ ทั้งในวงกว้างตามรูปแบบของการค้าหลายฝ่ายและวงแคบในลักษณะของความตกลงการค้าเสรีในภูมิภาค หากไทยเตรียมพร้อมและเร่งดำเนินการก่อนก็น่าจะเป็นทิศทางที่ถูกต้องเพราะเป็นการปรับตัวให้เร็วขึ้น
3.8 เนื่องจากรูปแบบทางการค้าของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปทำให้การค้าบริการมีความสำคัญเพิ่มขึ้นและเปิดเสรีมากขึ้นเป็นลำดับ ไทยควรให้ความสนใจเรื่องการค้าบริการมากขึ้น และคงไม่สามารถต้านทานกระแสได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรพิจารณาว่าจะใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีในสาขานี้ได้อย่างไรมากกว่าการพิจารณาว่าจะปกป้องไม่ให้มีการแข่งขันจากต่างประเทศได้อย่างไร
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-