ระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๒๓ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
(๑) กระทู้ถาม
๑.๑ กระทู้ถามสด(ถ้ามี)
๑.๒ กระทู้ถามทั่วไป
๑.๒.๑ กระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าสาธารณะ
นายอำนวย คลังผา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม
ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
๑.๒.๒ กระทู้ถาม เรื่อง การพิจารณาสรรหานายกสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม
ถามรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
๑.๒.๓ กระทู้ถาม เรื่อง การติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้าน
นายวิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม
ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(๒) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
- รับทราบรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การแก้ไขปัญหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ขาดการประชุมสภา ของคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร
(๓) รับรองรายงานการประชุม(ไม่มี)
(๔) เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
๔.๑ รายงานติดตามผลการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกา
กำหนดเขตหวงห้ามที่ดินของทางราชการ
ซึ่งคณะกรรมาธิการติดตามผลการปฏิบัติตามมติของสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเสร็จแล้ว
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๒)
๔.๒ รายงานการพิจารณาศึกษาญัตติให้มีการควบคุมการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ซึ่งคณะกรรมาธิการการปกครองพิจารณาเสร็จแล้ว
๔.๓ รายงานผลการพิจารณาศึกษาและตรวจสภาพความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังในเรือนจำ
ซึ่งคณะกรรมาธิการการปกครองพิจารณาเสร็จแล้ว
๔.๔ รายงานการพิจารณาศึกษาญัตติ การทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการ
ซึ่งคณะกรรมาธิการการปกครองพิจารณาเสร็จแล้ว
(เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๔.๒ - ๔.๔ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๒)
๔.๕ รายงานผลการศึกษากรณีการจ่ายเงินค่าชดเชยตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ซึ่งคณะกรรมาธิการนโยบายและติดตามผลงานงบประมาณรายจ่ายประจำปี
พิจารณาเสร็จแล้ว
เรื่องด่วน
๑. ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกันพิจารณาเพื่อให้มีการทบทวนมาตรการ
ของคณะรัฐมนตรีในเรื่องการปรับปรุงสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
(นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑)
๒. ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาสินค้า
ราคาแพง
(นายวิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
๓. ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาศึกษาหาแนวทางป้องกันปัญหาอาชญากรรม
เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
(นายวิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(เรื่องตามระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒ - ๓ เป็นเรื่องที่ค้างมาจากการประชุม
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑)
๔. ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้รัฐบาลพิจารณาจัดตั้งองค์กรป้องกันการทำลายทรัพยากรของชาติ
(ศึกษากรณีการตัดไม้เถื่อนในเขตอุทยานแห่งชาติสาละวินเป็นตัวอย่าง)
(นายตรีพล เจาะจิตต์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๑)
๕. ญัตติด่วน เรื่อง การแก้ปัญหาภัยแล้งและช่วยเร่งออกโฉนดให้ราษฎรมีหลักทรัพย์กู้เงิน
มาลงทุน
(นายนิยม วรปัญญา และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๒๐
(สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒)
๖. ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาคดีอาญา นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ
ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๗. ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาคดีอาญา ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง
ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๘. ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาคดีอาญา นายมงคล จงสุทธนามณี
ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(เรื่องตามระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๖ - ๘ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๓)
๙. ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาคดีอาญา นายอดิศร เพียงเกษ
ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๑๐. ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาร่วมกันพิจารณาหามาตรการป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น
กับสมาชิกรัฐสภาและสภาท้องถิ่นทุกระดับ
(นายสืบแสง พรหมบุญ เป็นผู้เสนอ)
๑๑. ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
(นายอดิศร เพียงเกษ กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(เรื่องตามระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๙ - ๑๑ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๓)
๑๒. ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาคดีอาญา นายสุนทร วิลาวัลย์
ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๓)
๑๓. ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณากรณีทหารชาวกะเหรี่ยงบุกยึด
โรงพยาบาลราชบุรี
(นายมุข สุไลมาน กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓)
๑๔. ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพง
(นายอำนวย คลังผา กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(๕) เรื่องที่ค้างพิจารณา
๕.๑ ญัตติ เรื่อง ขอให้รัฐบาลแก้ไขงบประมาณสร้างถนนลาดยาง เทคอนกรีตในหมู่บ้านให้เป็น
เทคอนกรีต เพราะถนนในหมู่บ้านแคบและคดโค้งลาดยางไม่ได้ผล ไม่สามารถบดอัดแน่นได้
ทั้งก่อนและหลังลาดยาง จึงขอให้เปลี่ยนเป็นเทคอนกรีตทั้งหมด เว้นแต่ถนนกว้างและตรง
(นายนิยม วรปัญญา และนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ เป็นผู้เสนอ)
๕.๒ ญัตติ เรื่อง เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรและสหกรณ์ เพื่อให้กู้ยืมสักสองแสนล้านบาท
(นายนิยม วรปัญญา และนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ เป็นผู้เสนอ)
๕.๓ ญัตติ เรื่อง เงินกองทุนสงเคราะห์ให้เด็กนักเรียนกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้กำหนดเกณฑ์
เปิดกว้างให้เด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ม. ๑ มีโอกาสกู้ยืมได้
(นายนิยม วรปัญญา และนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ เป็นผู้เสนอ)
๕.๔ ญัตติ เรื่อง การแก้ไขปัญหาความคับคั่งการจราจรติดขัด และเพื่อกระจายความเจริญออกสู่
ชนบทโดยเปิดสาขาธนาคาร และคลังจังหวัดในอำเภอชนบทให้ทั่วทุกอำเภอและสั่งลด
อัตราดอกเบี้ย ๒%
(นายนิยม วรปัญญา และนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ เป็นผู้เสนอ)
(เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๕.๑ - ๕.๔ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง) วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๙)
๕.๕ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาการจัดตั้ง
ธนาคารโดยใช้ระบบอิสลาม
(นายสนั่น สุธากุล กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๙
(สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง)
วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๔๐)
๕.๖ ญัตติ เรื่อง การขยายถนนเพื่อลดความคับคั่งในเมือง เป็นทางเลี่ยงเมือง และเป็นทาง
โครงข่ายเพื่อรองรับอุตสาหกรรม ขยายโอกาสการศึกษา ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
ดังนี้ ๑. สาย ๒๐๕ (สุรนารายณ์) ๒. สายสระบุรี - หล่มสัก
(นายนิยม วรปัญญา และพันจ่าอากาศเอก เด็ดดวงดอกรัก คุ้มชนะ เป็นผู้เสนอ)
๕.๗ ญัตติ เรื่อง ขยายถนนดังนี้
๑. สายม่วงค่อม-ชัยบาดาล-ท่าหลวง-ด่านขุนทด-นครราชสีมา และ
๒. สายพหลโยธิน ตั้งแต่วงเวียนสมเด็จพระนารายณ์มหาราช-โคกสำโรง-หนองม่วง-
ตากฟ้า-ตาคลี-ชัยนาท-อุทัยธานี-นครสวรรค์ เป็น ๔ ช่องจราจร
(นายนิยม วรปัญญา และพันจ่าอากาศเอก เด็ดดวงดอกรัก คุ้มชนะ เป็นผู้เสนอ)
๕.๘ ญัตติ เรื่อง การสร้างเขื่อนตะพุงเหนือ อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
(นายบุญเกิด หิรัญคำ และนายเจริญ จรรย์โกมล เป็นผู้เสนอ)
๕.๙ ญัตติ เรื่อง ขยายก่อสร้างทางแต่แยกจากถนนเอเซีย จากจังหวัดสิงห์บุรี บางงา ท่าโขลง
บ้านหมี่ โคกสำโรง ชัยบาดาล บ้านเพ็ชร หนองบัวโคก นครราชสีมา สาย ๒๐๕
(ถนนสุรนารายณ์) เป็น ๔ ช่องจราจร
(นายประทีป กรีฑาเวช เป็นผู้เสนอ)
๕.๑๐ ญัตติ เรื่อง บูรณะปรับปรุงถนนสายจากม่วงค่อม ด่านขุนทด หนองบัวโคก ชัยภูมิ
เป็น ๔ ช่องจราจร
(นายบุญเกิด หิรัญคำ และนายประทีป กรีฑาเวช เป็นผู้เสนอ)
๕.๑๑ ญัตติ เรื่อง หนี้สินของเกษตรกร
(นายบุญเกิด หิรัญคำ กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๕.๖ - ๕.๑๑ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๑ (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง) วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๔๐)
๕.๑๒ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกันพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อ
พิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
(นายถาวร กาสมสัน กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
๕.๑๓ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดจาก
การจราจรทางบก
(นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
๕.๑๔ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
ของผักตบชวาในแม่น้ำ
(นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
๕.๑๕ ญัตติ เรื่อง ขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ราษฎร
(นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๕.๑๒ - ๕.๑๕ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง) วันพฤหัสบดีที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐)
๕.๑๖ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาเพื่อหามาตรการหรือแนวทางในการแก้ไข
ปัญหาและปลดเปลื้องหนี้สินให้แก่เกษตรกรทั่วประเทศ
(นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง)
วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐)
๕.๑๗ ญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเรื่องอุบัติเหตุรถยนต์บนทางหลวง
(นายนิยม วรปัญญา กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
๕.๑๘ ญัตติ เรื่อง ให้รัฐบาลลาดยางหรือเทคอนกรีตถนนในหมู่บ้าน และทางเชื่อมระหว่าง
หมู่บ้านและสาธารณูปโภค
(นายนิยม วรปัญญา และนายชัย ชิดชอบ เป็นผู้เสนอ)
๕.๑๙ ญัตติ เรื่อง ขอให้กรมทางหลวงขยายถนนสายด่านขุนทด วัดบ้านไร่ (วัดหลวงพ่อคูณ)
บ้านคำปิง ก่อสร้างลาดยางเป็น ๔ ช่องจราจร
(นายนิยม วรปัญญา และนายชัย ชิดชอบ เป็นผู้เสนอ)
๕.๒๐ ญัตติ เรื่อง ขอให้กรมชลประทานและกรมส่งเสริมพลังงานสำรวจความเหมาะสม
เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก ๖ แห่ง
(นายนิยม วรปัญญา และนายชัย ชิดชอบ เป็นผู้เสนอ)
(เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๕.๑๗ - ๕.๒๐ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง) วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐)
๕.๒๑ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาความไม่ถูกต้องในการขอคืนภาษี
(นายประเทือง วิจารณ์ปรีชา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๕.๒๒ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาเพื่อหามาตรการในการแก้ไขปัญหา
ความเดือดร้อนของวงการพลอย
(นายธวัชชัย อนามพงษ์ และนายประวัฒน์ อุตตะโมต เป็นผู้เสนอ)
๕.๒๓ ญัตติ เรื่อง ขอให้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม บูรณะปรับปรุงถนนสายแยกสิงห์บุรี
บางงา ท่าโขลง บ้านหมี่ โคกสำโรง ลำนารายณ์ ลำสนธิ ตลาดหนองรี วะตะแบก
เทพสถิตย์ บำเหน็จณรงค์ หนองบัวโคก นครราชสีมา ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญเชื่อมต่อ
ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคเหนือ ซึ่งเป็นเส้นทางเลี่ยงเมืองและประหยัดเวลา
และค่าใช้จ่าย เป็นสี่ช่องจราจร
(นายประทีป กรีฑาเวช และนายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ เป็นผู้เสนอ)
(เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๕.๒๑ - ๕.๒๓ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๔๐)
๕.๒๔ ญัตติ เรื่อง ขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร (ธกส.)
(นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๔
(สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๐)
๕.๒๕ ญัตติ เรื่อง ขอให้รัฐบาลพิจารณาบูรณะและปรับปรุงทางหลวงแผ่นดิน
(นายนิยม วรปัญญา และนายสันต์ศักย์ งามพิเชษฐ์ เป็นผู้เสนอ)
๕.๒๖ ญัตติ เรื่อง ขอให้ขยายถนนจากนครราชสีมา จงจอหอ ด่านขุนทด ชัยบาดาล ม่วงค่อม
เป็นถนน ๔ ช่องจราจร
(นายประทีป กรีฑาเวช กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๕.๒๕ - ๕.๒๖ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๐)
๕.๒๗ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาหามาตรการในการส่งเสริมฟื้นฟูการท่องเที่ยว
(นายสันต์ศักย์ งามพิเชษฐ์ และนายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ เป็นผู้เสนอ)
๕.๒๘ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาหาแนวทางในการออก
เอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกินให้แก่ราษฎร
(นายประทีป กรีฑาเวช กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
๕.๒๙ ญัตติ เรื่อง การสร้างถนนเชื่อมอ่างเก็บน้ำป่าสัก
(นายนิยม วรปัญญา กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๕.๒๗ - ๕.๒๙ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐)
๕.๓๐ ญัตติ เรื่อง ขอให้รัฐบาลพิจารณาบูรณะและปรับปรุงทางหลวงแผ่นดินสายบางงา - ท่าโขลง
บ้านหมี่ ชัยบาดาล ลำนารายณ์ หนองบัวโคก นครราชสีมา
(นายนิยม วรปัญญา และนายชาญชัย ปทุมารักษ์ เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง)
วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๐)
๕.๓๑ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกันพิจารณาเพื่อบรรจุรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนทุกระดับ
การศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๑
(นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๐)
๕.๓๒ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณายกเลิกดอกเบี้ย ธ.ก.ส.
(นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
๕.๓๓ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาขอให้ผ่อนผันการส่งเงินกู้สำหรับธนาคาร
เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๕.๓๒ - ๕.๓๓ ค้างมาจากการประชุม
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๐)
๕.๓๔ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกันพิจารณาเพื่อปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา
ทุกระดับ ให้มีเนื้อหาวิชาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
(นายสมัย เจริญช่าง กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่๑๐ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๘ มกราคม ๒๕๔๑)
๕.๓๕ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาเพื่อหามาตรการการขยายระยะเวลาการชำระหนี้
ของเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
(นายประทีป กรีฑาเวช และนายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่๑๒ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๔๑)
๕.๓๖ ญัตติ เรื่อง การออกแบบก่อสร้างอาคารสำนักงาน บ้านพัก สถานที่ราชการ สะพาน
ไหล่ทาง ไฟฟ้า โทรศัพท์ ถนน ทางเท้า ของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ ให้ออกแบบ
โดยประหยัด
เพื่อลดราคาค่าจ้างงานเพิ่มความแข็งแรงทนทาน ลดการตกแต่งความสวยงามที่มีราคาแพง
เพื่อประหยัดเงินไว้กู้เศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ
(นายบุญเกิด หิรัญคำ เป็นผู้เสนอ)
๕.๓๗ ญัตติ เรื่อง การส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชอายุสั้นผักสวนครัว แก้ไขกฎกมาย
สงวนพันธุ์สัตว์บางชนิดเป็นการส่งเสริมการเพาะพันธุ์และเลี้ยงเพื่อปลูกส่งเสริมเศรษฐกิจ
ช่วยชาวชนบทผู้ยากจนให้มีโอกาสมีรายได้ยังชีพและเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจช่วยเหลือคนว่างงาน
ให้มีงานทำต่อเนื่องและหารายได้เข้าประเทศแก้เศรษฐกิจ
(นายบุญเกิด หิรัญคำ เป็นผู้เสนอ)
(เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๕.๓๖ - ๕.๓๗ ค้างมาจากการประชุม
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๑)
๕.๓๘ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณา เพื่อให้มีการเร่งขยายสถานีเครือข่ายโทรศัพท์
มือถือระบบ ๘๐๐ ระบบ ๙๐๐ และระบบ ๑๘๐๐ ให้ใช้ได้ทั่วถึงทุกพื้นที่ของประเทศ
พร้อมทั้งลดราคาค่าบริการรายเดือน
(นายสุเมธ พรมพันห่าว และนายชัย ชิดชอบ เป็นผู้เสนอ)
๕.๓๙ ญัตติ เรื่อง ขอให้ขยายเครือข่ายและติดตั้งสถานีรับส่งโทรศัพท์มือถือชนิด ๘๐๐
ชนิด ๙๐๐ และชนิด ๑๘๐๐ ให้ใช้ได้ทั่วทุกพื้นที่ในประเทศ และขอให้ลดราคาค่าบริการ
รายเดือนลงจากเดือนละ ๕๐๐ บาท เหลือเดือนละ ๑๐๐ บาท
(นายบุญเกิด หิรัญคำ เป็นผู้เสนอ)
(เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๕.๓๘ - ๕.๓๙ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑)
๕.๔๐ ญัตติ เรื่อง ภัยแล้ง
(นายนิยม วรปัญญา กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๑)
๕.๔๑ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาให้มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัว
ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลจนทุพพลภาพ
หรือเสียชีวิต
(นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
๕.๔๒ ญัตติ เรื่อง ขอให้รัฐบาลกำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(นายถวิล ฤกษ์หร่าย กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๑๐
(สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๗ มกราคม ๒๕๔๒)
๕.๔๓ ญัตติ เรื่อง การขึ้นทะเบียนวัดและสำนักสงฆ์ที่ยังไม่ถูกต้องตามกฎหมายรวมถึงวัดร้าง
ให้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วย
(นายนิยม วรปัญญา และนายสมชาย สหชัยรุ่งเรือง เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒)
๕.๔๔ ญัตติ เรื่อง ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร
(นายนิยม วรปัญญา กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒)
๕.๔๕ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาหาแนวทางให้ศูนย์ลำพญากลาง จังหวัดลพบุรี
ขยายพันธุ์โคและกระบือให้เกษตรกรนำไปเป็นพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์
(นายอำนวย คลังผา เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๓๖ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๒)
๕.๔๖ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาปัญหาสถานพยาบาลขาดแคลนแพทย์
(นายอำนวย คลังผา เป็นผู้เสนอ)
๕.๔๗ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ พิจารณาให้ผู้มีรายได้น้อยได้รับการช่วยเหลือจากรัฐในด้าน
การรักษาพยาบาล
(นายอำนวย คลังผา เป็นผู้เสนอ)
๕.๔๘ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ พิจารณาปัญหาเพื่อหาอาชีพเสริมให้เกษตรกรหลังฤดูเก็บเกี่ยว
และผู้ถูกเลิกจ้าง
(นายอำนวย คลังผา เป็นผู้เสนอ)
๕.๔๙ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่จะส่งเสริม
การท่องเที่ยวไทย
(นายอำนวย คลังผา เป็นผู้เสนอ)
๕.๕๐ ญัตติ เรื่อง ขอให้รัฐบาลเร่งรัดการพัฒนาลุ่มแม่น้ำยมและเร่งรัดการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
(นายพินิจ จันทรสุรินทร์ และนายประทวน เขียวฤทธิ์ เป็นผู้เสนอ)
(เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๕.๔๖ - ๕.๕๐ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๒)
๕.๕๑ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาการจัดตั้งองค์กรที่รับผิดชอบ
ขั้นตอนการผลิตวัตถุดิบ การแปรรูป การจำหน่าย ทั้งภายในและต่างประเทศของสินค้า
ทางด้านเกษตร อุตสาหกรรรม และอื่น ๆ
(นายยงยุทธ ติยะไพรัช กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๓)
(๖) เรื่องที่เสนอใหม่
๖.๑ ญัตติ เรื่อง ให้รัฐบาลลาดยางหรือเทคอนกรีตถนนในหมู่บ้าน
(นายอำนวย คลังผา กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
๖.๒ ญัตติ เรื่อง ภัยแล้ง
(นายอำนวย คลังผา กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
๖.๓ ญัตติ เรื่อง การชำระหนี้สินของเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและ
สหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
(นายอำนวย คลังผา กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
๖.๔ ญัตติ เรื่อง หนี้สินของเกษตรกร
(นายอำนวย คลังผา กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
(๗) เรื่องอื่น ๆ
๗.๑ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการทหาร
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (นายยุทธ อังกินันทน์ ลาออก)
๗.๒ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการศาสนา
ศิลปะและวัฒนธรรม แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (นายเด่น โต๊ะมีนา ลาออก
จากพรรค)
(เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๗.๑ - ๗.๒ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๓)
๗.๓ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร
และสถาบันการเงิน แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง
(นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ลาออกจากพรรค)
๗.๔ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ลาออก)
(เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๗.๓ - ๗.๔ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๓)
๗.๕ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการติดตามผลการปฏิบัติ
ตามมติของสภาผู้แทนราษฎร (นายมานพ จรัสดำรงนิตย์ ลาออก)