กฎเกณฑ์การค้าภายใต้องค์การการค้าโลก กลับสู่หน้าเดิม ที่มาขององค์การการค้าโลก หลักการของความตกลงแกตต์ วิวัฒนาการของระเบียบกฎเกณฎ์การค้าภายใต้แกตต์ Tokyo Round codes การเจรจารอบอุรุกวัยที่นำไปสู่การจัดตั้ง WTO กฎเกณฑ์การค้าที่ได้รับการปรับปรุง ความตกลงภายใต้ WTO โครงสร้างในแง่สาระของความตกลง WTO ในแง่สถาบัน ประเทศไทยกับการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ You can contact for get update information HERE !! -------------------------------------------------------------------------------- ที่มาขององค์การการค้าโลก [Back to Header
] ความตกลงแกตต์ องค์การการค้าโลก หรือ World Trade Organization หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า WTO ได้รับการจัดตั้งและเริ่มปฎิบัติงาน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ถึงแม้ว่า WTO จะเป็นองค์การ ที่เพิ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ แต่ประเทศที่เป็นสมาชิกต่างก็มีความเข้าใจ ค่อนข้างมากในหลักการที่เป็นพื้นฐานของ ความตกลงที่จัดตั้งองค์การรวมทั้งความตกลงที่บริหารโดยองค์การ และประเทศสมาชิกต่างก็มี ความสามารถ ค่อนข้างสูงที่จะคาดหมายถึงแนวการปฎิบัติงานขององค์การในอนาคต ทั้งนี้เพราะหลักการพื้นฐานและแนวปฎิบัต ขององค์การการค้าโลกเป็นหลักการพื้นฐานและแนวปฎิบัติอย่างเดียวกันกับที่ความตกลงแกตต์อิงและใช้อยู่ มานานร่วม 45 ปี ความตกลงแกตต์ที่รู้จักกันนี้มีชื่อเต็มว่า General Agreement on Tariffs and Trade หรือ GATT เป็นความตกลงทาง ด้านการค้าระหว่างประเทศที่มีประเทศต่าง ๆ ให้การยอมรับมากที่สุด โดยในตอนแรกที่เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2491 นั้น มีภาคีคู่สัญญาร่วมก่อตั้ง 23 ประเทศ และภายในปี 2537 มีภาคีทั้งสิ้น 127 ประเทศ ในแง่ประวัติศาสตร์ ประเทศภาคีคู่สัญญาดั้งเดิม ได้ยอมรับให้ความตกลงแกตต์ มีผลบังคับใช้โดยไม่เต็มใจนัก เพราะประเทศ เหล่านั้นได้ตั้งความหวังไว้สูงกว่านี้ โดยตั้งเป้าหมายว่า จะให้มีการจัดตั้งองค์การ การค้าระหว่างประเทศ (International Trade Organization หรือ ITO) ขึ้นมาควบคุมการใช้มาตรการการค้าของประเทศต่าง ๆ คู่ขนานไปกับการ ควบคุมการเงินระหว่างประเทศ โดย International Monetary Fund หรือ IMF และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกผ่านทางธนาคารโลก ทั้งนี้เพราะ ภัยสงครามโลกทั้งสองครั้ง ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง ต่อสังคม และเศรษฐกิจ องประเทศทั่วโลก และปัจจัยอย่างหนึ่งที่เป็นต้นเหตุก็คือความบีบคั้นทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการใช้นโยบายการค้าอย่าง ตามใจตนเองของประเทศที่มีอิทธิพลสูง ในสังคมโลกในสมัยนั้น หลังจากที่ได้เจรจาจนสามารถร่างความตกลงจัดตั้ง ITO เสร็จแล้ว ก็พบว่าสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ในสมัยนั้น ไม่ยินยอมให้ความเห็นชอบให้รัฐบาล ยื่นสัตยาบันรับรองความตกลงดังกล่าว เพราะตามระบบการกำหนด นโยบายการค้า ต่างประเทศของสหรัฐฯ นั้นสภาคองเกรส มีส่วนในการตัดสินใจ ค่อนข้างสูง จึงเกรงว่า หากประเทศสหรัฐฯ กลายเป็นสมาชิก ขององค์กรระหว่างประเทศเช่น ITO ก็จะทำให้ ต้องปฎิบัติตาม พันธกรณี อย่างเคร่งครัด จนลดความสำคัญในด้านการมีส่วนร่วมในการกำหนด นโยบายดังกล่าว อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของประเทศภาคีดั้งเดิม รวมทั้งรัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงเห็นความจำเป็น ที่จะต้องมีกฎระเบียบ ทางการค้าระหว่างประเทศ จึงได้ตกลงกัน ที่จะตัดทอนความตกลงจัดตั้ง ITO ในส่วนที่เป็นสถาบันออกไป จนเหลือสิ่งที่เป็นความตกลงแกตต์ 1947 และให้ความตกลงมีผลบังคับ ระหว่างภาคีคู่สัญญา อย่างเป็นการชั่วคราว (Provisional Application) โดยหวังว่าสภาครองเกรสของสหรัฐฯ คงจะเห็นความสำคัญขององค์การ ITO และ ยินยอมเห็นชอบในที่สุด แต่เป็นที่ทราบกั นโดยทั่วไปว่าภายใน 4-5 ปี หลังจากนั้น ก็เป็น ที่ชัดเจนว่าสหรัฐฯ ไม่ประสงค์ ที่จะให้มีการจัดตั้ง ITO และพอใจที่จะยอมรับ ความตกลงแกตต์เป็นการชั่วคราว เนื่องจาก การยอมรับชั่วคราวนี้ สหรัฐฯ สามารถที่จะยังคงใช้กฎหมายภายใน ที่มีข้อบัญญัติที่ขัดกับ พันธกรณีของ ความตกลงแกตต์ได้ หากกฎหมายดังกล่าว มีบทบัญญัติที่บังคับให้รัฐบาลต้องปฎิบัติ และเป็นกฎหมายที่ออกมาก่อนการเริ่มบังคับใช้ ของความตกลงแกตต์ หลักการของความตกลงแกตต์ [Back to Header
] หลักการที่เป็นพื้นฐานของบทบัญญัติต่าง ๆ ของแกตต์ เป็นหลักการที่กฎหมายระหว่างประเทศ โดยทั่วไป ใช้อยู่อย่างกว้างขวาง แต่เนื่องจากการใช้มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวข้องกับ การปฎิบัติต่อการนำเข้าส่งออกซึ่งสินค้าหลักการพื้น ฐานดังกล่าว จึงถูกนำมาบัญญัติใช้ อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรมมากกว่าที่ใช้อยู่ในกรอบ ของความตกลงระหว่างประเทศทาง ด้านสังคม และความมั่นคง ดังนั้น จึงมีการเน้นหลักการ ของความตกลงแกตต์อยู่เสมอในการศึกษา และการตีความบทบัญญัติความตกลง เมื่อมีปัญหาของการปฎิบัติ ตามพันธกรณี หลักการสำคัญ มีดังนี้ หลักการปฎิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured-Nation Treatment หรือ MFN) ซึ่ง หมายความว่า การบังคับใช้มาตรการการค้าต่อ หรือการให้สิทธิประโยชน์ แก่การนำเข้า การส่งออก และการจ่ายโอนเงินที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสินค้า ที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศภาคีใดๆ จะต้องไม่มากกว่า หรือ ไม่น้อยกว่าที่ปฎิบัติกับการนำเข้า การส่งออก และการจ่ายโอนเงิน ซึ่งสินค้าจากประเทศภาคีอื่น พันธกรณีและสิทธิประโยชน์ที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการนี้ เกี่ยวข้องกับมาตรการการค้าที่เขตแดน เมื่อมีการนำเข้าหรือการส่งออก ที่เห็นได้ชัดคือการเก็บภาษีศุลกากร หากเก็บในอัตราใดก็ต้องเหมือนกันหมด สำหรับสินค้า ที่คล้ายคลึงกันจากทุกประเทศภาคี หลักการปฎิบัติเยี่ยงชาติ (National Treatement) ซึ่งหมายความว่าหากประเทศภาคีใด ให้การปฎิบัติแก่สินค้า การค้า และการบริการ ที่กำเนิดจากภายในประเทศของภาคีนั้น ประเทศภาคีดังกล่าวก็ต้องให้การปฎิบัติที่ทัดเทียมกัน แก่สินค้า การค้า และการบริการที่คล้ายคลึงกัน ที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศภาคีอื่นด้วย หลักการนี้เป็นพื้นฐานสำหรับพันธกรณี และสิทธิประโยชน์ภายในประเทศ คือ หลังจากผ่านเขตแดนมาแล้ว หลักการความโปร่งใส (Transparency) ซึ่งหมายความว่า ในการกำหนดการบังคับใช้หรือการให้สิทธิประโยชน์ ทางการค้าโดยภาคีใด ๆ ต้องมีความชัดเจน เปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไป ทั้งนี้เพื่อทำให้การค้าเป็นสิ่งที่ทำนายได้ล่วงหน้า และ ระบบการค้ามีเสถียรภาพ วิวัฒนาการของระเบียบกฎเกณฎ์การค้าภายใต้แกตต์ [Back to Header
] แม้ว่าความตกลงแกตต์จะบังคับใช้เป็นการชั่วคราว และไม่มีลักษณะเป็นองค์การ ระหว่างประเทศ แต่ความตกลงแกตต์ ก็ได้รับการยอมรับจากประเทศที่มีการค้าระหว่างประเทศ เป็นกิจกรรม เศรษฐกิจที่สำคัญมาโดยตลอด 45 ปี ทั้งนี้เพราะทุกประเทศ เห็นว่าหากปล่อยให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปโดยไร้ระเบียบ โดยสิ้นเชิง ก็จะเกิดความเสียหายเกินกว่าที่จะรับได้ ที่สำคัญก็คือ ได้มีการจัดระบบการบริหาร เพื่อให้มีการปฎิบัติ ตามพันธกรณีภายใต้แกตต์ เสมือนหนึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น มีสำนักเลขาธิการแกตต์ทำหน้าที่ทางด้านเทคนิค ระบบการประชุม และกฎหมาย ซึ่งเป็นที่เชื่อถือยอมรับของภาคี และเลขาธิการที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจรจาระงับข้อขัดแข้งทางการค้าได้ผล มีการประชุมร่วมของผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศภาคี เพื่อร่วมกันตัดสินใจวางใจ หลักเกณฑ์กฎระเบียบ และมติ ความเข้าใจ กฎเกณฑ์เหล่านี้ก็เป็นข้อผูกพันให้รัฐบาลต้อง ปฎิบัติตามเยี่ยงระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศ มีกระบวนการระงับข้อพิพาท โดยมีการตัดสินตีความ การปฎิบัติตามพันธกรณี ในทำนองเดียวกับคณะลูกขุน พิจารณาไต่สวนคดี และให้ข้อวินิจฉัย แทนการตอบโต้ทางการค้า มีเวทีให้ประเทศต่าง ๆ เจรจาการค้าเพื่อลดอุปสรรคการค้าหรือเพื่อจัดทำกฎเกณฑ์การค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ได้มีการปรับปรุงระเบียบการค้าภายใต้กรอบของความตกลงมาเป็นลำดับ ตามสถานการณ์ความจำเป็น ในแต่ละช่วงเวลา โดยใช้วิธีการเจรจาเพื่อให้ประเทศที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ได้ตกลงยอมรับ ก่อนนำไปปฎิบัติตามข้อผูกพัน ซึ่งในการปรับปรุงแต่ละครั้ง นอกจากจะใช้หลักประนีประนอม จนประเทศที่เดือดร้อนมีเวลา ปรับตัวเพียงพอแล้ว ยังได้ทำให้ ระเบียบกฎเกณฑ์ มีความชัดเจน และนำไปสู่การแข่งขัน ที่เป็นธรรมมากขึ้น การปรับปรุง ที่สำคัญได้แก่ การเพิ่มบรรพ 4 (Part IV : Trade and Development) ซึ่งเกี่ยวกับ การพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ แก่ประเทศ กำลังพัฒนาเพื่อการขยายการค้า และการพัฒนาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง ของความตกลงแกตต์ โดยมีการเจรจาภายใต้ Second Special Session ของการประชุมภาคีร่วม ใน เรื่องหลักการ และบทบัญญัติจนสำเร็จ ระหว่างช่วง 17 พฤศจิกายน 2507 ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2508 ซึ่งในหลักการแม้ จะไม่มีการบังคับให้ประเทศพัฒนาแล้ว ต้องให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนาโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ก็เป็นการเริ่มต้นวางพื้นฐาน ให้ข้อยกเว้นหรือข้อยืดหยุ่นในการปฎิบัติ ตามพันธกรณีแก่ประเทศกำลังพัฒนา ในช่วงหลังจาก นั้นเป็นต้นมาและให้ผลประโยชน์แก่ส่วนรวม ในแง่ที่ทำให้ข้อกล่าวหา ของบางประเทศที่ว่าแกตต์ เป็นสโมสรของประเทศ ร่ำรวย ลดความสำคัญลงและประเทศกำลังพัฒนา ยื่นเสนอเป็นภาคีมากขึ้น เนื่องจากตัวบทของบรรพ 4 ดังกล่าว ไม่มีพันธะผูกมัดประเทศพัฒนาแล้ว จึงไม่ก่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ดังนั้นในการเจรจารอบโตเกียว ประเทศที่กำลังพัฒนา จึงผลักดันให้ที่ประชุมของภาคี รวมยอมรับมติของวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 ที่เรียกว่า Differential and More Favourable Treatment Reciprocity and Fuller Participation of Developing Countries หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า Enabling Clause โดยมีหลักการว่า ประเทศพัฒนาแล้วอาจให้สิทธิพิเศษ ทางศุลกากร แก่ประเทศกำลังพัฒนา ในรูปของการลดอากรขาเข้า ให้มากกว่าที่ลดให้กับสินค้าเข้าจาก ประเทศพัฒนาแล้วได้ โดยไม่ผิดหลัก MFN และประเทศกำลัง พัฒนาเหล่านั้น ไม่ต้องให้ผลประโยชน์ตอบแทน เช่น การให้ประโยชน์ภายใต้โครงการ GSP เป็นต้น นอกจากนี้หากประเทศ กำลังพัฒนาจะรวมตัวกันเพื่อลดภาษีให้กันก็ย่อมทำได้ โดยไม่ต้องให้ประเทศนอกกลุ่มเป็นการทั่วไปตามหลัก MFN ซึ่งก็คือคำ อธิบายความเป็นไปได้ของโครงการ AFTA ของอาเซียน ได้มีการทำข้อตกลงยกเว้นสินค้าสิ่งทอ และเสื้อผ้าออกจาก ระเบียบกฎเกณฑ์ของแกตต์ โดยเริ่มต้นผลิตภัณฑ์จากฝ้าย ออกจากแกตต์ก่อนในปี 2504 และต่อมาก็ขยาย ขอบเขตสินค้าจนครบ โดยประเทศต่าง ๆ สามารถที่ทำข้อตกลงที่เรียกว่า ข้อตกลง Multifibre Arrangement ได้ในปี 2517 ซึ่งภายใต้ข้อตกลงนี้ ประเทศผู้นำเข้ามีสิทธิที่จะตั้ง โควต้านำเข้าเป็นรายประเทศ ผู้ส่งออกได้ และจะปิดตลาดได้เมื่อเห็นว่าสินค้าดังกล่าว จะทำความเสียหายให้สินค้าที่ผลิตภายใน ในการเจรจารอบโตเกียวระหว่าง 2516-2522 ได้มีการทำความตกลงย่อย 6 ฉบับ (เรียกว่าเป็น Tokyo Round codes) เพื่อให้การปฎิบัติตามพันธกรณีความตกลงแกตต์ ในส่วนที่ถือว่าเป็นมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร มีความชัดเจนและความตกลง เกี่ยวกับสินค้าที่เรียกว่า Sectoral agreements อีก3 ความตกลง ทั้งนี้ไม่มีการบังคับผูกพันให้ประเทศภาคี ต้องลงนามเป็นคู่สัญญา ได้แก่ Tokyo Round codes : [Back to Header
] Tokyo Round codes : Agreement on Technical Barriers to Trade Agreement on Government Procurement Agreement on Interpretation and Application of Articles VI, XVI and XXIII หรือ Subsidies Code Agreement on Implementation of Article VII หรือ Customs Valuation Code Agreement on Import Licensing Procedures Agreement on Implementation of Article VI หรือ Anti-Dumping Code Sectoral agreements : Arrangement Regarding Bovine Meat International Dairy Arrangement Agreement on Trade in Civil Aircraft ซึ่งเห็นว่าได้มีแนววิวัฒนาการที่จะทำความตกลงเฉพาะมากขึ้น เพราะบทบัญญัติในความตกลงแกตต์ ครอบคลุมกว้างขวางจึงมีการตีความ เพื่อการปฎิบัติได้หลายรูปแบบ จึงมีแนวโน้มที่จะใช้รูปแบบที่เป็นประโยชน์ กับประเทศมากที่สุด ซึ่งผลลัพท์ ก็คือการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม แนวทางนี้คือ แนวทางที่การเจรจา รอบอุรุกวัยซึ่งเริ่มต่อจากรอบโตเกียวในอีก 7 ปีต่อมายึดถือปฎิบัติ การเจรจารอบอุรุกวัยที่นำไปสู่การจัดตั้ง WTO [Back to Header
] การเจรจารอบอุรุกวัยเริ่มต้นเมื่อเดือนกันยายน 2529 และเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เมื่อเดือนธันวาคม 2536 นับเป็นการเจรจา ที่ยาวนาน และซับซ้อน กว่ารอบอื่น ๆ ที่แกตต์จัดขึ้นในอดีต เพราะการเจรจาครอบคลุมเนื้อหากว้างขวาง นอกจากมีการปรับปรุง Tokyo Round Codes แล้ว ยังได้นำเรื่องสินค้าเกษตร และสิ่งทอเข้ามาเจรจาเพื่อ เปิดเสรีการค้าสินค้าทั้งสองอีกด้วย ที่สำคัญก็คือ มีการนำเรื่อง การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าบริการ ซึ่งไม่เคยมีความตกลงมาเจรจาเพื่อจัดทำความตกลง หลักเป็นครั้งแรก เมื่อเรื่องที่เจรจาคลุมถึง ผลประโยชน์การค้ามหาศาล การเจรจาจึงยากลำบาก เมื่อรัฐมนตรีของประเทศที่เข้าร่วมเจรจา ทั้งหมดเห็นชอบกับแนวทาง และวัตถุประสงค์ ของการเจรจาก็ได้ร่วม ประกาศปฎิญญาที่เรียกว่า Punta del Este Declaration และเริ่มเจรจาในระดับเจ้าหน้าที่ อย่างเป็นทางการที่เจนีวาในราวต้นปี 2530 แม้ว่าจะมีเรื่องที่ต้องเจรจา ทำความตกลงมากมาย แต่ปฎิญญาดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า เมื่อจบสิ้นจนมีความตกลงครบแล้ว จะบริหารความตกลงต่าง ๆ อย่างไรมีเพียงการกล่าวถึงใน 2 ส่วน ส่วนแรกภายใต้เรื่อง Functioning of the GATT System ได้ประกาศแนวทางว่า : "Negotiations shall aim to develop understandings and arrangements ....... to improve the overall effectiveness and decision-making of the GATT as an institution, including, inter alia, through involvement of Ministers ......" ส่วนที่สอง ภายใต้เรื่อง Implementation of Results under Parts I and II ซึ่งก็คือผลการเจรจา ทั้งหมดได้ระบุว่า เมื่อ ทราบผลการเจรจาแล้ว รัฐมนตรีจะได้ประชุร่วมกันในการประชุมที่เรียกว่า Special Session of CONTRACTING PARTIES เพื่อตัดสินและมีมติ "..... regarding the international implementation of the respective results." เมื่อการเจรจาก้าวหน้าไปมาก ประเทศต่าง ๆ จึงเริ่มมองเห็นปัญหา ของการบริหาร ความตกลงในอนาคต หากยังคงใช้แนวทางเดิม คือ ความตกลงแต่ละฉบับมีอิสระในการบริหาร โดยไม่มีการบังคับการเข้าเป็นสมาชิก และมีกระบวนการยุติข้อพิพาทที่แยกจาก กัน ดังนั้นจึงมีข้อเสนอให้มี การจัดตั้งองค์การการค้าโลก เพื่อบริหารความตกลงทั้งหมด ที่เป็นผลจากการเจรจารองอุรุกวัย และ มีการปรับปรุงกระบวนการยุติข้อพิพาท ทางการค้าให้มีลักษณะที่บังคับให้ประเทศสมาชิกต้องปฎิบัติ ตามคำตัดสินของคณะลูก ขุนหรือองค์กรพิจารณาข้ออุทธรณ์ในกรณี ที่มีการอุทธรณ์ ยกเว้นแต่สมาชิกทุกประเทศเห็นร่วม กันว่าไม่ควรปฎิบัติตาม กฎเกณฑ์การค้าที่ได้รับการปรับปรุง ความตกลงภายใต้ WTO [Back to Header
] 2.1 ความตกลงภายใต้ WTO ความตกลงหลักที่เป็นผลของการเจรจาก็คือ ความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก ซึ่งเป็น สนธิสัญญาที่มีบท บัญญัติที่กำหนดลักษณะ หน้าที่ และสถาบันเพื่อการบริหารความตกลง และที่สำคัญก็คือการยอมรับนับถือว่าความตกลงอื่น ๆ และข้อตกลงทุกฉบับ เป็นส่วนหนึ่ง ของความตกลงจัดตั้งองค์การการค้าโลก ดังนั้น การเป็นสมาชิก WTO กระทำได้โดยการ ลงนามและยื่นสัตยาบันรับรองความตกลง มาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก เมื่อเป็นสมาชิก ก็มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติ ตามความตกลงต่าง ๆ ที่แนบท้ายในทุกส่วน ยกเว้นในส่วนที่ 4 ซึ่งเป็นความตกลงที่เป็นผลจากการเจรจาในรอบอื่น ไม่ใช่รอบอุรุกวัย สมาชิกจึงยอมรับบนพื้นฐานของความสมัครใจ ภาคผนวกดังกล่าวมี 4 ส่วน ส่วนที่ 1 รวมความตกลงต่าง ๆ ดังนี้ ความตกลงพหุภาคีทั้งหลาย(แกตต์และอื่น ๆ) ที่เกี่ยวกับการค้าสินค้า ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า ส่วนที่ 2 เป็นความเข้าใจร่วมกันในกฎและวิธีการที่ควบคุมกระบวนการยุติข้อพิพาท การทบทวนนโยบายการค้า ความตกลงการค้าหลายฝ่าย ในเรื่อง: Agreement on Trade in Civil Aircraft Agreement on G0vernment Procurement International dairy Agreement International Bovine Meat Agreement โครงสร้างในแง่สาระของความตกลง {Back to Header
] เพื่อให้เห็นภาพของขอบเขตของมาตรการการค้าที่ WTO จะต้องดูแลควบคุม อาจจะแบ่งความตกลงต่าง ๆ เป็นกลุ่มๆ ตามสาระหลักดังนี้ ความตกลงหลักกำหนดโครงสร้างสถาบัน ได้แก่ ความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การ การค้าโลก ซึ่งบทบัญญัติหลัก จะกล่าวถึงเรื่องต่อไปนี้ สถานะขององค์การการค้าโลก มีสภาพนิติบุคคลตามกฎหมาย ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันจากประเทศสมาชิก หน้าที่ขององค์การการค้าโลก บริหารความตกลงพหุภาคีต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมถึงการค้าบริการ การลงทุน และทรัพย์สินทางปัญญา เป็นเวทีการเจรจาระหว่างสมาชิกในเรื่องความสัมพันธ์ทางการค้าที่ เกี่ยวข้องกับความตกลงฉบับต่าง ๆ ตลอดจน การปฏิบัติตามผลของการเจรจา บริหารความเข้าใจว่าด้วยกระบวนการระงับข้อพิพาทและกลไกทบทวน นโยบายการค้า ร่วมมือกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก เพื่อให้ การวางนโยบายเศรษฐกิจสอดคล้องกัน บริหารความตกลงหลายฝ่าย ซึ่งความตกลงเหล่านี้เป็นผลจากการเจรจารอบ โตเกียวจึงไม่บังคับให้ ประเทศสมาชิกต้องเป็นภาคี ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยการค้าอากาศยานพลเรือน ความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อโดยรัฐ ความตกลงว่าด้วย นม และผลิตภัณฑ์นมระหว่างประเทศ และความตกลงว่าด้วย เนื้อโบไวน์ระหว่างประเทศ กำหนดสถาบันและองค์กรต่าง ๆ ของ WTO ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
] ความตกลงแกตต์ องค์การการค้าโลก หรือ World Trade Organization หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า WTO ได้รับการจัดตั้งและเริ่มปฎิบัติงาน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ถึงแม้ว่า WTO จะเป็นองค์การ ที่เพิ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ แต่ประเทศที่เป็นสมาชิกต่างก็มีความเข้าใจ ค่อนข้างมากในหลักการที่เป็นพื้นฐานของ ความตกลงที่จัดตั้งองค์การรวมทั้งความตกลงที่บริหารโดยองค์การ และประเทศสมาชิกต่างก็มี ความสามารถ ค่อนข้างสูงที่จะคาดหมายถึงแนวการปฎิบัติงานขององค์การในอนาคต ทั้งนี้เพราะหลักการพื้นฐานและแนวปฎิบัต ขององค์การการค้าโลกเป็นหลักการพื้นฐานและแนวปฎิบัติอย่างเดียวกันกับที่ความตกลงแกตต์อิงและใช้อยู่ มานานร่วม 45 ปี ความตกลงแกตต์ที่รู้จักกันนี้มีชื่อเต็มว่า General Agreement on Tariffs and Trade หรือ GATT เป็นความตกลงทาง ด้านการค้าระหว่างประเทศที่มีประเทศต่าง ๆ ให้การยอมรับมากที่สุด โดยในตอนแรกที่เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2491 นั้น มีภาคีคู่สัญญาร่วมก่อตั้ง 23 ประเทศ และภายในปี 2537 มีภาคีทั้งสิ้น 127 ประเทศ ในแง่ประวัติศาสตร์ ประเทศภาคีคู่สัญญาดั้งเดิม ได้ยอมรับให้ความตกลงแกตต์ มีผลบังคับใช้โดยไม่เต็มใจนัก เพราะประเทศ เหล่านั้นได้ตั้งความหวังไว้สูงกว่านี้ โดยตั้งเป้าหมายว่า จะให้มีการจัดตั้งองค์การ การค้าระหว่างประเทศ (International Trade Organization หรือ ITO) ขึ้นมาควบคุมการใช้มาตรการการค้าของประเทศต่าง ๆ คู่ขนานไปกับการ ควบคุมการเงินระหว่างประเทศ โดย International Monetary Fund หรือ IMF และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกผ่านทางธนาคารโลก ทั้งนี้เพราะ ภัยสงครามโลกทั้งสองครั้ง ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง ต่อสังคม และเศรษฐกิจ องประเทศทั่วโลก และปัจจัยอย่างหนึ่งที่เป็นต้นเหตุก็คือความบีบคั้นทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการใช้นโยบายการค้าอย่าง ตามใจตนเองของประเทศที่มีอิทธิพลสูง ในสังคมโลกในสมัยนั้น หลังจากที่ได้เจรจาจนสามารถร่างความตกลงจัดตั้ง ITO เสร็จแล้ว ก็พบว่าสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ในสมัยนั้น ไม่ยินยอมให้ความเห็นชอบให้รัฐบาล ยื่นสัตยาบันรับรองความตกลงดังกล่าว เพราะตามระบบการกำหนด นโยบายการค้า ต่างประเทศของสหรัฐฯ นั้นสภาคองเกรส มีส่วนในการตัดสินใจ ค่อนข้างสูง จึงเกรงว่า หากประเทศสหรัฐฯ กลายเป็นสมาชิก ขององค์กรระหว่างประเทศเช่น ITO ก็จะทำให้ ต้องปฎิบัติตาม พันธกรณี อย่างเคร่งครัด จนลดความสำคัญในด้านการมีส่วนร่วมในการกำหนด นโยบายดังกล่าว อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของประเทศภาคีดั้งเดิม รวมทั้งรัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงเห็นความจำเป็น ที่จะต้องมีกฎระเบียบ ทางการค้าระหว่างประเทศ จึงได้ตกลงกัน ที่จะตัดทอนความตกลงจัดตั้ง ITO ในส่วนที่เป็นสถาบันออกไป จนเหลือสิ่งที่เป็นความตกลงแกตต์ 1947 และให้ความตกลงมีผลบังคับ ระหว่างภาคีคู่สัญญา อย่างเป็นการชั่วคราว (Provisional Application) โดยหวังว่าสภาครองเกรสของสหรัฐฯ คงจะเห็นความสำคัญขององค์การ ITO และ ยินยอมเห็นชอบในที่สุด แต่เป็นที่ทราบกั นโดยทั่วไปว่าภายใน 4-5 ปี หลังจากนั้น ก็เป็น ที่ชัดเจนว่าสหรัฐฯ ไม่ประสงค์ ที่จะให้มีการจัดตั้ง ITO และพอใจที่จะยอมรับ ความตกลงแกตต์เป็นการชั่วคราว เนื่องจาก การยอมรับชั่วคราวนี้ สหรัฐฯ สามารถที่จะยังคงใช้กฎหมายภายใน ที่มีข้อบัญญัติที่ขัดกับ พันธกรณีของ ความตกลงแกตต์ได้ หากกฎหมายดังกล่าว มีบทบัญญัติที่บังคับให้รัฐบาลต้องปฎิบัติ และเป็นกฎหมายที่ออกมาก่อนการเริ่มบังคับใช้ ของความตกลงแกตต์ หลักการของความตกลงแกตต์ [Back to Header
] หลักการที่เป็นพื้นฐานของบทบัญญัติต่าง ๆ ของแกตต์ เป็นหลักการที่กฎหมายระหว่างประเทศ โดยทั่วไป ใช้อยู่อย่างกว้างขวาง แต่เนื่องจากการใช้มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวข้องกับ การปฎิบัติต่อการนำเข้าส่งออกซึ่งสินค้าหลักการพื้น ฐานดังกล่าว จึงถูกนำมาบัญญัติใช้ อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรมมากกว่าที่ใช้อยู่ในกรอบ ของความตกลงระหว่างประเทศทาง ด้านสังคม และความมั่นคง ดังนั้น จึงมีการเน้นหลักการ ของความตกลงแกตต์อยู่เสมอในการศึกษา และการตีความบทบัญญัติความตกลง เมื่อมีปัญหาของการปฎิบัติ ตามพันธกรณี หลักการสำคัญ มีดังนี้ หลักการปฎิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured-Nation Treatment หรือ MFN) ซึ่ง หมายความว่า การบังคับใช้มาตรการการค้าต่อ หรือการให้สิทธิประโยชน์ แก่การนำเข้า การส่งออก และการจ่ายโอนเงินที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสินค้า ที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศภาคีใดๆ จะต้องไม่มากกว่า หรือ ไม่น้อยกว่าที่ปฎิบัติกับการนำเข้า การส่งออก และการจ่ายโอนเงิน ซึ่งสินค้าจากประเทศภาคีอื่น พันธกรณีและสิทธิประโยชน์ที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการนี้ เกี่ยวข้องกับมาตรการการค้าที่เขตแดน เมื่อมีการนำเข้าหรือการส่งออก ที่เห็นได้ชัดคือการเก็บภาษีศุลกากร หากเก็บในอัตราใดก็ต้องเหมือนกันหมด สำหรับสินค้า ที่คล้ายคลึงกันจากทุกประเทศภาคี หลักการปฎิบัติเยี่ยงชาติ (National Treatement) ซึ่งหมายความว่าหากประเทศภาคีใด ให้การปฎิบัติแก่สินค้า การค้า และการบริการ ที่กำเนิดจากภายในประเทศของภาคีนั้น ประเทศภาคีดังกล่าวก็ต้องให้การปฎิบัติที่ทัดเทียมกัน แก่สินค้า การค้า และการบริการที่คล้ายคลึงกัน ที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศภาคีอื่นด้วย หลักการนี้เป็นพื้นฐานสำหรับพันธกรณี และสิทธิประโยชน์ภายในประเทศ คือ หลังจากผ่านเขตแดนมาแล้ว หลักการความโปร่งใส (Transparency) ซึ่งหมายความว่า ในการกำหนดการบังคับใช้หรือการให้สิทธิประโยชน์ ทางการค้าโดยภาคีใด ๆ ต้องมีความชัดเจน เปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไป ทั้งนี้เพื่อทำให้การค้าเป็นสิ่งที่ทำนายได้ล่วงหน้า และ ระบบการค้ามีเสถียรภาพ วิวัฒนาการของระเบียบกฎเกณฎ์การค้าภายใต้แกตต์ [Back to Header
] แม้ว่าความตกลงแกตต์จะบังคับใช้เป็นการชั่วคราว และไม่มีลักษณะเป็นองค์การ ระหว่างประเทศ แต่ความตกลงแกตต์ ก็ได้รับการยอมรับจากประเทศที่มีการค้าระหว่างประเทศ เป็นกิจกรรม เศรษฐกิจที่สำคัญมาโดยตลอด 45 ปี ทั้งนี้เพราะทุกประเทศ เห็นว่าหากปล่อยให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปโดยไร้ระเบียบ โดยสิ้นเชิง ก็จะเกิดความเสียหายเกินกว่าที่จะรับได้ ที่สำคัญก็คือ ได้มีการจัดระบบการบริหาร เพื่อให้มีการปฎิบัติ ตามพันธกรณีภายใต้แกตต์ เสมือนหนึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น มีสำนักเลขาธิการแกตต์ทำหน้าที่ทางด้านเทคนิค ระบบการประชุม และกฎหมาย ซึ่งเป็นที่เชื่อถือยอมรับของภาคี และเลขาธิการที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจรจาระงับข้อขัดแข้งทางการค้าได้ผล มีการประชุมร่วมของผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศภาคี เพื่อร่วมกันตัดสินใจวางใจ หลักเกณฑ์กฎระเบียบ และมติ ความเข้าใจ กฎเกณฑ์เหล่านี้ก็เป็นข้อผูกพันให้รัฐบาลต้อง ปฎิบัติตามเยี่ยงระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศ มีกระบวนการระงับข้อพิพาท โดยมีการตัดสินตีความ การปฎิบัติตามพันธกรณี ในทำนองเดียวกับคณะลูกขุน พิจารณาไต่สวนคดี และให้ข้อวินิจฉัย แทนการตอบโต้ทางการค้า มีเวทีให้ประเทศต่าง ๆ เจรจาการค้าเพื่อลดอุปสรรคการค้าหรือเพื่อจัดทำกฎเกณฑ์การค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ได้มีการปรับปรุงระเบียบการค้าภายใต้กรอบของความตกลงมาเป็นลำดับ ตามสถานการณ์ความจำเป็น ในแต่ละช่วงเวลา โดยใช้วิธีการเจรจาเพื่อให้ประเทศที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ได้ตกลงยอมรับ ก่อนนำไปปฎิบัติตามข้อผูกพัน ซึ่งในการปรับปรุงแต่ละครั้ง นอกจากจะใช้หลักประนีประนอม จนประเทศที่เดือดร้อนมีเวลา ปรับตัวเพียงพอแล้ว ยังได้ทำให้ ระเบียบกฎเกณฑ์ มีความชัดเจน และนำไปสู่การแข่งขัน ที่เป็นธรรมมากขึ้น การปรับปรุง ที่สำคัญได้แก่ การเพิ่มบรรพ 4 (Part IV : Trade and Development) ซึ่งเกี่ยวกับ การพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ แก่ประเทศ กำลังพัฒนาเพื่อการขยายการค้า และการพัฒนาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง ของความตกลงแกตต์ โดยมีการเจรจาภายใต้ Second Special Session ของการประชุมภาคีร่วม ใน เรื่องหลักการ และบทบัญญัติจนสำเร็จ ระหว่างช่วง 17 พฤศจิกายน 2507 ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2508 ซึ่งในหลักการแม้ จะไม่มีการบังคับให้ประเทศพัฒนาแล้ว ต้องให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนาโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ก็เป็นการเริ่มต้นวางพื้นฐาน ให้ข้อยกเว้นหรือข้อยืดหยุ่นในการปฎิบัติ ตามพันธกรณีแก่ประเทศกำลังพัฒนา ในช่วงหลังจาก นั้นเป็นต้นมาและให้ผลประโยชน์แก่ส่วนรวม ในแง่ที่ทำให้ข้อกล่าวหา ของบางประเทศที่ว่าแกตต์ เป็นสโมสรของประเทศ ร่ำรวย ลดความสำคัญลงและประเทศกำลังพัฒนา ยื่นเสนอเป็นภาคีมากขึ้น เนื่องจากตัวบทของบรรพ 4 ดังกล่าว ไม่มีพันธะผูกมัดประเทศพัฒนาแล้ว จึงไม่ก่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ดังนั้นในการเจรจารอบโตเกียว ประเทศที่กำลังพัฒนา จึงผลักดันให้ที่ประชุมของภาคี รวมยอมรับมติของวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 ที่เรียกว่า Differential and More Favourable Treatment Reciprocity and Fuller Participation of Developing Countries หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า Enabling Clause โดยมีหลักการว่า ประเทศพัฒนาแล้วอาจให้สิทธิพิเศษ ทางศุลกากร แก่ประเทศกำลังพัฒนา ในรูปของการลดอากรขาเข้า ให้มากกว่าที่ลดให้กับสินค้าเข้าจาก ประเทศพัฒนาแล้วได้ โดยไม่ผิดหลัก MFN และประเทศกำลัง พัฒนาเหล่านั้น ไม่ต้องให้ผลประโยชน์ตอบแทน เช่น การให้ประโยชน์ภายใต้โครงการ GSP เป็นต้น นอกจากนี้หากประเทศ กำลังพัฒนาจะรวมตัวกันเพื่อลดภาษีให้กันก็ย่อมทำได้ โดยไม่ต้องให้ประเทศนอกกลุ่มเป็นการทั่วไปตามหลัก MFN ซึ่งก็คือคำ อธิบายความเป็นไปได้ของโครงการ AFTA ของอาเซียน ได้มีการทำข้อตกลงยกเว้นสินค้าสิ่งทอ และเสื้อผ้าออกจาก ระเบียบกฎเกณฑ์ของแกตต์ โดยเริ่มต้นผลิตภัณฑ์จากฝ้าย ออกจากแกตต์ก่อนในปี 2504 และต่อมาก็ขยาย ขอบเขตสินค้าจนครบ โดยประเทศต่าง ๆ สามารถที่ทำข้อตกลงที่เรียกว่า ข้อตกลง Multifibre Arrangement ได้ในปี 2517 ซึ่งภายใต้ข้อตกลงนี้ ประเทศผู้นำเข้ามีสิทธิที่จะตั้ง โควต้านำเข้าเป็นรายประเทศ ผู้ส่งออกได้ และจะปิดตลาดได้เมื่อเห็นว่าสินค้าดังกล่าว จะทำความเสียหายให้สินค้าที่ผลิตภายใน ในการเจรจารอบโตเกียวระหว่าง 2516-2522 ได้มีการทำความตกลงย่อย 6 ฉบับ (เรียกว่าเป็น Tokyo Round codes) เพื่อให้การปฎิบัติตามพันธกรณีความตกลงแกตต์ ในส่วนที่ถือว่าเป็นมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร มีความชัดเจนและความตกลง เกี่ยวกับสินค้าที่เรียกว่า Sectoral agreements อีก3 ความตกลง ทั้งนี้ไม่มีการบังคับผูกพันให้ประเทศภาคี ต้องลงนามเป็นคู่สัญญา ได้แก่ Tokyo Round codes : [Back to Header
] Tokyo Round codes : Agreement on Technical Barriers to Trade Agreement on Government Procurement Agreement on Interpretation and Application of Articles VI, XVI and XXIII หรือ Subsidies Code Agreement on Implementation of Article VII หรือ Customs Valuation Code Agreement on Import Licensing Procedures Agreement on Implementation of Article VI หรือ Anti-Dumping Code Sectoral agreements : Arrangement Regarding Bovine Meat International Dairy Arrangement Agreement on Trade in Civil Aircraft ซึ่งเห็นว่าได้มีแนววิวัฒนาการที่จะทำความตกลงเฉพาะมากขึ้น เพราะบทบัญญัติในความตกลงแกตต์ ครอบคลุมกว้างขวางจึงมีการตีความ เพื่อการปฎิบัติได้หลายรูปแบบ จึงมีแนวโน้มที่จะใช้รูปแบบที่เป็นประโยชน์ กับประเทศมากที่สุด ซึ่งผลลัพท์ ก็คือการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม แนวทางนี้คือ แนวทางที่การเจรจา รอบอุรุกวัยซึ่งเริ่มต่อจากรอบโตเกียวในอีก 7 ปีต่อมายึดถือปฎิบัติ การเจรจารอบอุรุกวัยที่นำไปสู่การจัดตั้ง WTO [Back to Header
] การเจรจารอบอุรุกวัยเริ่มต้นเมื่อเดือนกันยายน 2529 และเสร็จสิ้นสมบูรณ์ เมื่อเดือนธันวาคม 2536 นับเป็นการเจรจา ที่ยาวนาน และซับซ้อน กว่ารอบอื่น ๆ ที่แกตต์จัดขึ้นในอดีต เพราะการเจรจาครอบคลุมเนื้อหากว้างขวาง นอกจากมีการปรับปรุง Tokyo Round Codes แล้ว ยังได้นำเรื่องสินค้าเกษตร และสิ่งทอเข้ามาเจรจาเพื่อ เปิดเสรีการค้าสินค้าทั้งสองอีกด้วย ที่สำคัญก็คือ มีการนำเรื่อง การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าบริการ ซึ่งไม่เคยมีความตกลงมาเจรจาเพื่อจัดทำความตกลง หลักเป็นครั้งแรก เมื่อเรื่องที่เจรจาคลุมถึง ผลประโยชน์การค้ามหาศาล การเจรจาจึงยากลำบาก เมื่อรัฐมนตรีของประเทศที่เข้าร่วมเจรจา ทั้งหมดเห็นชอบกับแนวทาง และวัตถุประสงค์ ของการเจรจาก็ได้ร่วม ประกาศปฎิญญาที่เรียกว่า Punta del Este Declaration และเริ่มเจรจาในระดับเจ้าหน้าที่ อย่างเป็นทางการที่เจนีวาในราวต้นปี 2530 แม้ว่าจะมีเรื่องที่ต้องเจรจา ทำความตกลงมากมาย แต่ปฎิญญาดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า เมื่อจบสิ้นจนมีความตกลงครบแล้ว จะบริหารความตกลงต่าง ๆ อย่างไรมีเพียงการกล่าวถึงใน 2 ส่วน ส่วนแรกภายใต้เรื่อง Functioning of the GATT System ได้ประกาศแนวทางว่า : "Negotiations shall aim to develop understandings and arrangements ....... to improve the overall effectiveness and decision-making of the GATT as an institution, including, inter alia, through involvement of Ministers ......" ส่วนที่สอง ภายใต้เรื่อง Implementation of Results under Parts I and II ซึ่งก็คือผลการเจรจา ทั้งหมดได้ระบุว่า เมื่อ ทราบผลการเจรจาแล้ว รัฐมนตรีจะได้ประชุร่วมกันในการประชุมที่เรียกว่า Special Session of CONTRACTING PARTIES เพื่อตัดสินและมีมติ "..... regarding the international implementation of the respective results." เมื่อการเจรจาก้าวหน้าไปมาก ประเทศต่าง ๆ จึงเริ่มมองเห็นปัญหา ของการบริหาร ความตกลงในอนาคต หากยังคงใช้แนวทางเดิม คือ ความตกลงแต่ละฉบับมีอิสระในการบริหาร โดยไม่มีการบังคับการเข้าเป็นสมาชิก และมีกระบวนการยุติข้อพิพาทที่แยกจาก กัน ดังนั้นจึงมีข้อเสนอให้มี การจัดตั้งองค์การการค้าโลก เพื่อบริหารความตกลงทั้งหมด ที่เป็นผลจากการเจรจารองอุรุกวัย และ มีการปรับปรุงกระบวนการยุติข้อพิพาท ทางการค้าให้มีลักษณะที่บังคับให้ประเทศสมาชิกต้องปฎิบัติ ตามคำตัดสินของคณะลูก ขุนหรือองค์กรพิจารณาข้ออุทธรณ์ในกรณี ที่มีการอุทธรณ์ ยกเว้นแต่สมาชิกทุกประเทศเห็นร่วม กันว่าไม่ควรปฎิบัติตาม กฎเกณฑ์การค้าที่ได้รับการปรับปรุง ความตกลงภายใต้ WTO [Back to Header
] 2.1 ความตกลงภายใต้ WTO ความตกลงหลักที่เป็นผลของการเจรจาก็คือ ความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก ซึ่งเป็น สนธิสัญญาที่มีบท บัญญัติที่กำหนดลักษณะ หน้าที่ และสถาบันเพื่อการบริหารความตกลง และที่สำคัญก็คือการยอมรับนับถือว่าความตกลงอื่น ๆ และข้อตกลงทุกฉบับ เป็นส่วนหนึ่ง ของความตกลงจัดตั้งองค์การการค้าโลก ดังนั้น การเป็นสมาชิก WTO กระทำได้โดยการ ลงนามและยื่นสัตยาบันรับรองความตกลง มาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก เมื่อเป็นสมาชิก ก็มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติ ตามความตกลงต่าง ๆ ที่แนบท้ายในทุกส่วน ยกเว้นในส่วนที่ 4 ซึ่งเป็นความตกลงที่เป็นผลจากการเจรจาในรอบอื่น ไม่ใช่รอบอุรุกวัย สมาชิกจึงยอมรับบนพื้นฐานของความสมัครใจ ภาคผนวกดังกล่าวมี 4 ส่วน ส่วนที่ 1 รวมความตกลงต่าง ๆ ดังนี้ ความตกลงพหุภาคีทั้งหลาย(แกตต์และอื่น ๆ) ที่เกี่ยวกับการค้าสินค้า ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า ส่วนที่ 2 เป็นความเข้าใจร่วมกันในกฎและวิธีการที่ควบคุมกระบวนการยุติข้อพิพาท การทบทวนนโยบายการค้า ความตกลงการค้าหลายฝ่าย ในเรื่อง: Agreement on Trade in Civil Aircraft Agreement on G0vernment Procurement International dairy Agreement International Bovine Meat Agreement โครงสร้างในแง่สาระของความตกลง {Back to Header
] เพื่อให้เห็นภาพของขอบเขตของมาตรการการค้าที่ WTO จะต้องดูแลควบคุม อาจจะแบ่งความตกลงต่าง ๆ เป็นกลุ่มๆ ตามสาระหลักดังนี้ ความตกลงหลักกำหนดโครงสร้างสถาบัน ได้แก่ ความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การ การค้าโลก ซึ่งบทบัญญัติหลัก จะกล่าวถึงเรื่องต่อไปนี้ สถานะขององค์การการค้าโลก มีสภาพนิติบุคคลตามกฎหมาย ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันจากประเทศสมาชิก หน้าที่ขององค์การการค้าโลก บริหารความตกลงพหุภาคีต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมถึงการค้าบริการ การลงทุน และทรัพย์สินทางปัญญา เป็นเวทีการเจรจาระหว่างสมาชิกในเรื่องความสัมพันธ์ทางการค้าที่ เกี่ยวข้องกับความตกลงฉบับต่าง ๆ ตลอดจน การปฏิบัติตามผลของการเจรจา บริหารความเข้าใจว่าด้วยกระบวนการระงับข้อพิพาทและกลไกทบทวน นโยบายการค้า ร่วมมือกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก เพื่อให้ การวางนโยบายเศรษฐกิจสอดคล้องกัน บริหารความตกลงหลายฝ่าย ซึ่งความตกลงเหล่านี้เป็นผลจากการเจรจารอบ โตเกียวจึงไม่บังคับให้ ประเทศสมาชิกต้องเป็นภาคี ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยการค้าอากาศยานพลเรือน ความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อโดยรัฐ ความตกลงว่าด้วย นม และผลิตภัณฑ์นมระหว่างประเทศ และความตกลงว่าด้วย เนื้อโบไวน์ระหว่างประเทศ กำหนดสถาบันและองค์กรต่าง ๆ ของ WTO ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-