กรุงเทพฯ--11 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมร่วมประจำปีระหว่างสมาคมไทย-ลาว และสมาคมมิตรภาพลาว-ไทย ประจำปี 2543 มีขึ้น ณ จังหวัดกระบี่ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2543 โดยมีนายอาสา สารสิน นายกสมาคมไทย-ลาว เป็นหัวหน้าคณะและเป็นประธานการประชุมร่วม (ฝ่ายไทย) และมีนายเพ้า บุนนะผน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขนส่ง ไปรษณีย์และก่อสร้าง เป็นหัวหน้าคณะและเป็นประธานการประชุมร่วม (ฝ่ายลาว)
ที่ประชุมได้ปรึกษาหารืและแลกเปลี่ยนทัศนะกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับผลงานในรอบปีที่ผ่านมาที่สมาคมทั้งสองได้ดำเนินการร่วมกันและที่ได้ดำเนินการอย่างเอกเทศ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า การดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมาของทั้งสองสมาคมเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนไทยและประชาชนลาวเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับแผนงานที่ทั้งสองสมาคมจะร่วมมือกันดำเนินการต่อไปเพื่อขยายความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของประเทศทั้งสองให้เพิ่มขึ้นโดยยึดหลัก "จิตใจใหม่ไ หรือ "new spirit" เป็นพื้นฐานในการดำเนินการเพื่อการก้าวย่างเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ของความร่วมมือไทย-ลาว
สำหรับแผนงานซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้สมาคมทั้งสองดำเนินงานร่วมกันในปีต่อไป มีดังนี้
1. โครงการด้านศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว และการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันประกอบด้วย โครงการจัดนิทรรศการภาพเขียนจิตรกรไทยในเมืองหลวงพระบาง ครั้งที่ 2 ที่เวียงจันทน์ (ครั้งที่ 1 จัดที่กรุงเทพฯ ระหว่าง 3-6 สิงหาคม 2541) โครงการเข้าร่วมงานบุญระหว่างสองสมาคมที่จังหวัดชายแดนไทย-ลาว และโครงการส่งเสริมด้านกีฬา ระหว่างแขวงและจังหวัดชายแดนไทย-ลาว นอกจากนี้ ยังมีโครงการนำนักท่องเที่ยวไทยเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวใน สปป.ลาว และนำนักท่องเที่ยวลาวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพื่อการศึกษา โดยจะมอบหมายให้บริษัทท่องเที่ยวทั้งของไทยและของลาวดำเนินการภายใต้การสนับสนุนของสมาคมทั้งสอง ที่สำคัญอีกโครงการหนึ่งคือ โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวในลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะการนำนักท่องเที่ยล่องเรือตามลำน้ำโขงจากเชียงรุ่ง (จีน) ลงมายังหลวงพระบาง (ลาว) หรือจากเชียงของ (ไทย) ขึ้นไปยังหลวงพระบาง เพื่อรองรับการลงนามความตกลงว่าด้วยการเดินเรือตามลำน้ำโขง 4 ฝ่าย (จีน ไทย ลาว พม่า)
2. โครงการด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วยโครงการนำคณะนักธุรกิจด้านการลงทุนที่มีศักยภาพ เช่น บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ เป็นอาทิ เยือน สปป.ลาว เพื่อพบปะผู้นำระดับสูง และเจ้าแขวงต่าง ๆ ของลาวเพื่อทำความรู้จักคุ้นเคยและแสวงหาลู่ทางการลงทุนใน สปป.ลาว โครงการนำคณะนักธุรกิจลาวมาเยือนประเทศไทยเพื่อศึกษาโอกาสและแนวทางในการขยายการค้าในประเทศไทยและสร้างความรู้จักคุ้นเคยกับนักธุรกิจไทยและโครงการศึกษาและทบทวนโครงการการลงทึนของไทยทีได้เริ่มลงทุนแล้ว แต่มีปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้โครงการไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้
3. โครงการด้านวิชาการ ประกอบด้วยโครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาและนักเรียนลาวมีโอกาสเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับอาชีวะของไทยที่ตั้งอยู่ตามจังหวัดชายแดนไทย-ลาว โดยเงินทุนสนับสนุนเพื่อการนี้มาจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งสองสมาคมให้ความเห็นชอบร่วมกัน ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มเติมจากความร่วมมือระดับรัฐบาลที่มีอยู่แล้ว โครงการฝึกอบรมแรงงานลาวด้านช่างยนต์ที่ศูนย์ฝึกอบรมของโตโยต้า โดยความร่วมมือของบริษัทโตโยต้า ประเทศไทย โครงการฝึกอบรมฝีมือด้านหัตถรรมและโครงการฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับแรงงานลาวในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานของไทยที่ตั้งอยู่ตามจังหวัดชายแดนไทย-ลาว โดยความร่วมมือของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยความร่วมมือของ IMET และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศโครงการสัมมนาเพื่อการติดตามผลการสัมมนาเรื่อง "สู่สหัสวรรษใหม่ความร่วมมือไทย-ลาว" โดยความร่วมือของกระทรวงการต่างประเทศ และโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาและปรับปรุงหอสมุดในระดับแขวงของ สปป.ลาว
4. ด้านสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วยโครงการจัดสัมมนาสื่อมวลชนไทย-ลาว ที่เวียงจันทน์ ในปี 2543 โดยสมาคมมิตรภาพลาว-ไทยเป็นเจ้าภาพ โครงการจัดพิมพ์เอกสารคู่มือคำศัพท์ภาษาไทย-ลาว ที่มักจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและสับสน โดยความร่วมมือของสมาคมผู้สื่อข่าวแห่งประเทศไทยและกระทรวงการต่างประเทศ และโครงการข่าวสารไทย-ลาว ทางวิทยุสราญรมย์โดยความร่วมมือกับกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศไทย--จบ--
-อน-
การประชุมร่วมประจำปีระหว่างสมาคมไทย-ลาว และสมาคมมิตรภาพลาว-ไทย ประจำปี 2543 มีขึ้น ณ จังหวัดกระบี่ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2543 โดยมีนายอาสา สารสิน นายกสมาคมไทย-ลาว เป็นหัวหน้าคณะและเป็นประธานการประชุมร่วม (ฝ่ายไทย) และมีนายเพ้า บุนนะผน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขนส่ง ไปรษณีย์และก่อสร้าง เป็นหัวหน้าคณะและเป็นประธานการประชุมร่วม (ฝ่ายลาว)
ที่ประชุมได้ปรึกษาหารืและแลกเปลี่ยนทัศนะกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับผลงานในรอบปีที่ผ่านมาที่สมาคมทั้งสองได้ดำเนินการร่วมกันและที่ได้ดำเนินการอย่างเอกเทศ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า การดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมาของทั้งสองสมาคมเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนไทยและประชาชนลาวเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับแผนงานที่ทั้งสองสมาคมจะร่วมมือกันดำเนินการต่อไปเพื่อขยายความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของประเทศทั้งสองให้เพิ่มขึ้นโดยยึดหลัก "จิตใจใหม่ไ หรือ "new spirit" เป็นพื้นฐานในการดำเนินการเพื่อการก้าวย่างเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ของความร่วมมือไทย-ลาว
สำหรับแผนงานซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้สมาคมทั้งสองดำเนินงานร่วมกันในปีต่อไป มีดังนี้
1. โครงการด้านศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว และการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันประกอบด้วย โครงการจัดนิทรรศการภาพเขียนจิตรกรไทยในเมืองหลวงพระบาง ครั้งที่ 2 ที่เวียงจันทน์ (ครั้งที่ 1 จัดที่กรุงเทพฯ ระหว่าง 3-6 สิงหาคม 2541) โครงการเข้าร่วมงานบุญระหว่างสองสมาคมที่จังหวัดชายแดนไทย-ลาว และโครงการส่งเสริมด้านกีฬา ระหว่างแขวงและจังหวัดชายแดนไทย-ลาว นอกจากนี้ ยังมีโครงการนำนักท่องเที่ยวไทยเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวใน สปป.ลาว และนำนักท่องเที่ยวลาวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพื่อการศึกษา โดยจะมอบหมายให้บริษัทท่องเที่ยวทั้งของไทยและของลาวดำเนินการภายใต้การสนับสนุนของสมาคมทั้งสอง ที่สำคัญอีกโครงการหนึ่งคือ โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวในลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะการนำนักท่องเที่ยล่องเรือตามลำน้ำโขงจากเชียงรุ่ง (จีน) ลงมายังหลวงพระบาง (ลาว) หรือจากเชียงของ (ไทย) ขึ้นไปยังหลวงพระบาง เพื่อรองรับการลงนามความตกลงว่าด้วยการเดินเรือตามลำน้ำโขง 4 ฝ่าย (จีน ไทย ลาว พม่า)
2. โครงการด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วยโครงการนำคณะนักธุรกิจด้านการลงทุนที่มีศักยภาพ เช่น บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ เป็นอาทิ เยือน สปป.ลาว เพื่อพบปะผู้นำระดับสูง และเจ้าแขวงต่าง ๆ ของลาวเพื่อทำความรู้จักคุ้นเคยและแสวงหาลู่ทางการลงทุนใน สปป.ลาว โครงการนำคณะนักธุรกิจลาวมาเยือนประเทศไทยเพื่อศึกษาโอกาสและแนวทางในการขยายการค้าในประเทศไทยและสร้างความรู้จักคุ้นเคยกับนักธุรกิจไทยและโครงการศึกษาและทบทวนโครงการการลงทึนของไทยทีได้เริ่มลงทุนแล้ว แต่มีปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้โครงการไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้
3. โครงการด้านวิชาการ ประกอบด้วยโครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาและนักเรียนลาวมีโอกาสเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับอาชีวะของไทยที่ตั้งอยู่ตามจังหวัดชายแดนไทย-ลาว โดยเงินทุนสนับสนุนเพื่อการนี้มาจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งสองสมาคมให้ความเห็นชอบร่วมกัน ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มเติมจากความร่วมมือระดับรัฐบาลที่มีอยู่แล้ว โครงการฝึกอบรมแรงงานลาวด้านช่างยนต์ที่ศูนย์ฝึกอบรมของโตโยต้า โดยความร่วมมือของบริษัทโตโยต้า ประเทศไทย โครงการฝึกอบรมฝีมือด้านหัตถรรมและโครงการฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับแรงงานลาวในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานของไทยที่ตั้งอยู่ตามจังหวัดชายแดนไทย-ลาว โดยความร่วมมือของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยความร่วมมือของ IMET และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศโครงการสัมมนาเพื่อการติดตามผลการสัมมนาเรื่อง "สู่สหัสวรรษใหม่ความร่วมมือไทย-ลาว" โดยความร่วมือของกระทรวงการต่างประเทศ และโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาและปรับปรุงหอสมุดในระดับแขวงของ สปป.ลาว
4. ด้านสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วยโครงการจัดสัมมนาสื่อมวลชนไทย-ลาว ที่เวียงจันทน์ ในปี 2543 โดยสมาคมมิตรภาพลาว-ไทยเป็นเจ้าภาพ โครงการจัดพิมพ์เอกสารคู่มือคำศัพท์ภาษาไทย-ลาว ที่มักจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและสับสน โดยความร่วมมือของสมาคมผู้สื่อข่าวแห่งประเทศไทยและกระทรวงการต่างประเทศ และโครงการข่าวสารไทย-ลาว ทางวิทยุสราญรมย์โดยความร่วมมือกับกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศไทย--จบ--
-อน-