1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ ผลการดำเนินงานนโยบายและมาตรการข้าวปี 2543/44
ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อ การผลิตและบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ ปีการผลิต 2543/44 เป้าหมาย 500,000 ตัน ผลการรวบรวมข้าวเปลือก 1 พฤศจิกายน 2543 | 17 กุมภาพันธ์ 2544 มีปริมาณ 129,764 ตัน มูลค่า 725.53 ล้านบาท
ส่วนการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและข้าวสารของ ธกส. อคส.และ อ.ต.ก.ปีการผลิต 2543/44 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 | 16 กุมภาพันธ์ 2544
1. โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ธกส.เป้าหมาย 1.5 ล้านตัน อคส.และ อ.ต.ก.เป้าหมายหน่วยงานละ 0.5 ล้านตัน โดย ธกส. จำนำที่ยุ้งฉาง 77,074 ราย ปริมาณข้าว 491,789 ตัน มูลค่า 2,518.72 ล้านบาท ประทวน อคส. จำนวน 29,962 ราย ปริมาณข้าว 472,447 ตัน มูลค่า 2,352.06 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอนจำนำที่ยุ้งฉาง 75,975 ราย ปริมาณ 486,677 ตัน มูลค่า 2,485.85 ล้านบาท ประทวน อคส. 29,959 ราย ปริมาณ 472,356 ตัน มูลค่า 2,351.60 ล้านบาท
2. โครงการรับจำนำข้าวสาร ในโกดังกลางของ อคส.และ อ.ต.ก. เป้าหมายหน่วยงานละ 0.5 ล้านตัน โดย ธกส.รับจำนำใบประทวนสินค้าจากเกษตรกร จำนวน 10,744 ราย ปริมาณ 107,640 ตัน มูลค่า 908.68 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอน 10,728 ราย ปริมาณ 107,508 ตัน มูลค่า 907.50
กรมชลประทานเร่งเจรจาผันน้ำจากลาว
นายกิจจา ผลภาษี อธิบดีกรมชลประทานรายงานว่า กรมชลประทานกำลังเร่งการเจรจากับอธิบดีกรมชลประทานของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในโครงการผันน้ำจากลุ่มน้ำเซบังเหียนของประเทศลาวมาใช้ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ในพื้นที่ประมาณ 2.1 ล้านไร่ ภายในเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งหากการเจรจาประสบผลสำเร็จคาดว่าปลายปีนี้คงจะมีความชัดเจนในเรื่องของรูปแบบโครงการ โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นการติดตั้งท่อส่งน้ำลอดใต้แม่น้ำโขงเข้ามายังประเทศไทย ซึ่งหากดำเนินการได้จะมีประโยชน์ต่อพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นพื้นที่หลักของการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ
สำหรับการลงทุนหรือแบ่งปันผลประโยชน์ในเบื้องต้นนั้นมี 2 แนวทางคือ ประเทศไทยซื้อน้ำในราคาถูกจากลาว ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือ การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน ซึ่งขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นได้แสดงความจำนงที่จะช่วยเหลือการดำเนินการในโครงการดังกล่าวร่วมกันระหว่างลาวกับไทย โดยญี่ปุ่นจะทำการศึกษารายละเอียดโครงการที่ชัดเจนให้ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้มีการเจรจาถึงความร่วมมือในโครงการดังกล่าวแล้ว แต่ลาวพิจารณาแล้วกลัวว่าอาจจะเสียเปรียบประเทศไทยจึงได้มีการชะลอโครงการไว้ก่อน
อนึ่ง ที่ผ่านมากรมชลประทานได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง แต่ติดปัญหาในเรื่องของงบประมาณ ปัจจุบันกรมชลประทานได้รับเงินจากโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคการเกษตร (เงินกู้เอดีบี) ที่ผ่านการอนุมัติแล้วประมาณ 2,400 ล้านบาท ในการปรับปรุงโครงการชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง ได้แก่ โครงการห้วยหลวง จ.อุดรธานี โครงการทุ่งสัมฤทธิ์ จ.นครราชสีมา โครงการแม่ปิงตอนล่าง จ.กำแพงเพชร และ จ.นครสวรรค์ โครงการชลประทานแม่ลาว จ.เชียงราย และโครงการชลประทานกระเสียว จ.สุพรรณบุรี โดยคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการปรับปรุงประมาณ 2-3 ปี จึงจะเสร็จสมบูรณ์
ภาวะการซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ ราคามีแนวโน้มลดลงทุกตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากผู้ส่งออกรายใหญ่มีข้าวเพียงพอต่อการส่งมอบให้ลูกค้า จึงไม่ออกมาซื้อข้าวในตลาด มีเพียงพ่อค้ารายเล็กและซื้อในปริมาณไม่มาก ประกอบกับขณะนี้ผลผลิตฤดูนาปรัง ปี 2544 เริ่มทะยอยออกสู่ตลาดบ้างแล้วด้วย
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม |28 กุมภาพันธ์ 2544 ไทยส่งออกข้าวรวม 1,004,990 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 505,274 ตัน ของการส่งออกช่วงระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 98.90
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 6,175 บาท ลดลงจากเกวียนละ 6,296 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.92
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,353 บาท ลดลงจากเกวียนละ 4,384 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71
ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ความชื้น 14-15 % ที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์ สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,160 บาท ลดลงจากตันละ 7,180 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 190ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,126 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนแต่เพิ่มขึ้น ในรูปของเงินบาท ตันละ 73 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ เวียดนามส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรอื่นแทนการปลูกข้าว
รองนายกรัฐมนตรี เวียดนาม Mr.Ngu yen Cong Tan ได้พูดถึงปัญหาที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจะต้องประสบในช่วงทศวรรษหน้า เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์การค้าข้าวที่มีแนวโน้มไม่สดใส จึงเห็นควรส่งเสริมให้เกษตรกรหันไปทำการเพาะปลูกพืชอื่น เช่น ข้าวโพด หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่จะให้ได้กำไรในการผลิตมากกว่าการปลูกข้าว ดังนั้น ในระยะยาวการเกษตรของเวียดนามจะไม่ขึ้นอยู่กับการปลูกข้าวเป็นหลักอีกต่อไป
ปัจจุบันเวียดนามผลิตข้าวเปลือกได้ 32.5 ล้านตันข้าวเปลือก ในขณะที่ความต้องการใช้มีเพียงประมาณ 24 ล้านตันข้าวเปลือก สำหรับประชากร 79 ล้านคน (หรือบริโภคประมาณ 303 กิโลกรัมต่อคน) และถ้าประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 140 ล้านคน คาดว่าความต้องการบริโภคข้าวจะมีประมาณ 28 ล้านตันข้าวเปลือก หรือบริโภค 200 กิโลกรัมต่อคน การบริโภคข้าวต่อหัวของประชากรมีแนวโน้มลดลง ดังนั้น พื้นที่เพาะปลูกข้าวควรจำกัดให้อยู่ในปริมาณขั้นต่ำที่น้อยกว่า 4 ล้านเฮกแตร์ (10.7 ล้านเอเคอร์) หรือ 26.75 ล้านไร่ ซึ่งเป็นปริมาณที่เหมาะสมกับประชากรเวียดนามในขณะนี้ และการผลิตข้าวควรเน้นการผลิตที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพโดยรวมมากกว่าจำนวนผลผลิตหรือรายได้จากการส่งออก สิ่งที่ควรส่งเสริม ในขณะนี้ได้แก่ การจัดเขตพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อการปลูกพืชอาหารอื่น ๆ เพื่อทำการเกษตรและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อนึ่ง ปีที่ผ่านมา เวียดนามได้กำหนดแผนพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 7.6 ล้านเฮกแตร์ (18.8 ล้านเอเคอร์) หรือ 47.5 ล้านไร่
ราคาข้าวในตลาดโลก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประกาศราคาข้าวในตลาดโลก ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2544 เทียบกับที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2544 ดังนี้
ข้าวเมล็ดยาวปอนด์ละ 5.39 เซนต์ (5.39 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดกลางปอนด์ละ 4.94 เซนต์(4.94 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดสั้นปอนด์ละ 4.94 เซนต์ (4.94 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหักปอนด์ละ 2.70 เซนต์ (2.70 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 42.766 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 8 ประจำวันที่ 26 ก.พ.- 4 มี.ค. 2544--
-สส-
ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อ การผลิตและบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ ปีการผลิต 2543/44 เป้าหมาย 500,000 ตัน ผลการรวบรวมข้าวเปลือก 1 พฤศจิกายน 2543 | 17 กุมภาพันธ์ 2544 มีปริมาณ 129,764 ตัน มูลค่า 725.53 ล้านบาท
ส่วนการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและข้าวสารของ ธกส. อคส.และ อ.ต.ก.ปีการผลิต 2543/44 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 | 16 กุมภาพันธ์ 2544
1. โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ธกส.เป้าหมาย 1.5 ล้านตัน อคส.และ อ.ต.ก.เป้าหมายหน่วยงานละ 0.5 ล้านตัน โดย ธกส. จำนำที่ยุ้งฉาง 77,074 ราย ปริมาณข้าว 491,789 ตัน มูลค่า 2,518.72 ล้านบาท ประทวน อคส. จำนวน 29,962 ราย ปริมาณข้าว 472,447 ตัน มูลค่า 2,352.06 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอนจำนำที่ยุ้งฉาง 75,975 ราย ปริมาณ 486,677 ตัน มูลค่า 2,485.85 ล้านบาท ประทวน อคส. 29,959 ราย ปริมาณ 472,356 ตัน มูลค่า 2,351.60 ล้านบาท
2. โครงการรับจำนำข้าวสาร ในโกดังกลางของ อคส.และ อ.ต.ก. เป้าหมายหน่วยงานละ 0.5 ล้านตัน โดย ธกส.รับจำนำใบประทวนสินค้าจากเกษตรกร จำนวน 10,744 ราย ปริมาณ 107,640 ตัน มูลค่า 908.68 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอน 10,728 ราย ปริมาณ 107,508 ตัน มูลค่า 907.50
กรมชลประทานเร่งเจรจาผันน้ำจากลาว
นายกิจจา ผลภาษี อธิบดีกรมชลประทานรายงานว่า กรมชลประทานกำลังเร่งการเจรจากับอธิบดีกรมชลประทานของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในโครงการผันน้ำจากลุ่มน้ำเซบังเหียนของประเทศลาวมาใช้ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ในพื้นที่ประมาณ 2.1 ล้านไร่ ภายในเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งหากการเจรจาประสบผลสำเร็จคาดว่าปลายปีนี้คงจะมีความชัดเจนในเรื่องของรูปแบบโครงการ โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นการติดตั้งท่อส่งน้ำลอดใต้แม่น้ำโขงเข้ามายังประเทศไทย ซึ่งหากดำเนินการได้จะมีประโยชน์ต่อพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งเป็นพื้นที่หลักของการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ
สำหรับการลงทุนหรือแบ่งปันผลประโยชน์ในเบื้องต้นนั้นมี 2 แนวทางคือ ประเทศไทยซื้อน้ำในราคาถูกจากลาว ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือ การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน ซึ่งขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นได้แสดงความจำนงที่จะช่วยเหลือการดำเนินการในโครงการดังกล่าวร่วมกันระหว่างลาวกับไทย โดยญี่ปุ่นจะทำการศึกษารายละเอียดโครงการที่ชัดเจนให้ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้มีการเจรจาถึงความร่วมมือในโครงการดังกล่าวแล้ว แต่ลาวพิจารณาแล้วกลัวว่าอาจจะเสียเปรียบประเทศไทยจึงได้มีการชะลอโครงการไว้ก่อน
อนึ่ง ที่ผ่านมากรมชลประทานได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง แต่ติดปัญหาในเรื่องของงบประมาณ ปัจจุบันกรมชลประทานได้รับเงินจากโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคการเกษตร (เงินกู้เอดีบี) ที่ผ่านการอนุมัติแล้วประมาณ 2,400 ล้านบาท ในการปรับปรุงโครงการชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง ได้แก่ โครงการห้วยหลวง จ.อุดรธานี โครงการทุ่งสัมฤทธิ์ จ.นครราชสีมา โครงการแม่ปิงตอนล่าง จ.กำแพงเพชร และ จ.นครสวรรค์ โครงการชลประทานแม่ลาว จ.เชียงราย และโครงการชลประทานกระเสียว จ.สุพรรณบุรี โดยคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการปรับปรุงประมาณ 2-3 ปี จึงจะเสร็จสมบูรณ์
ภาวะการซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ ราคามีแนวโน้มลดลงทุกตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากผู้ส่งออกรายใหญ่มีข้าวเพียงพอต่อการส่งมอบให้ลูกค้า จึงไม่ออกมาซื้อข้าวในตลาด มีเพียงพ่อค้ารายเล็กและซื้อในปริมาณไม่มาก ประกอบกับขณะนี้ผลผลิตฤดูนาปรัง ปี 2544 เริ่มทะยอยออกสู่ตลาดบ้างแล้วด้วย
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม |28 กุมภาพันธ์ 2544 ไทยส่งออกข้าวรวม 1,004,990 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 505,274 ตัน ของการส่งออกช่วงระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 98.90
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 6,175 บาท ลดลงจากเกวียนละ 6,296 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.92
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,353 บาท ลดลงจากเกวียนละ 4,384 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71
ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ความชื้น 14-15 % ที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์ สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,160 บาท ลดลงจากตันละ 7,180 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 190ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,126 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนแต่เพิ่มขึ้น ในรูปของเงินบาท ตันละ 73 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ เวียดนามส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรอื่นแทนการปลูกข้าว
รองนายกรัฐมนตรี เวียดนาม Mr.Ngu yen Cong Tan ได้พูดถึงปัญหาที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจะต้องประสบในช่วงทศวรรษหน้า เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์การค้าข้าวที่มีแนวโน้มไม่สดใส จึงเห็นควรส่งเสริมให้เกษตรกรหันไปทำการเพาะปลูกพืชอื่น เช่น ข้าวโพด หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่จะให้ได้กำไรในการผลิตมากกว่าการปลูกข้าว ดังนั้น ในระยะยาวการเกษตรของเวียดนามจะไม่ขึ้นอยู่กับการปลูกข้าวเป็นหลักอีกต่อไป
ปัจจุบันเวียดนามผลิตข้าวเปลือกได้ 32.5 ล้านตันข้าวเปลือก ในขณะที่ความต้องการใช้มีเพียงประมาณ 24 ล้านตันข้าวเปลือก สำหรับประชากร 79 ล้านคน (หรือบริโภคประมาณ 303 กิโลกรัมต่อคน) และถ้าประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 140 ล้านคน คาดว่าความต้องการบริโภคข้าวจะมีประมาณ 28 ล้านตันข้าวเปลือก หรือบริโภค 200 กิโลกรัมต่อคน การบริโภคข้าวต่อหัวของประชากรมีแนวโน้มลดลง ดังนั้น พื้นที่เพาะปลูกข้าวควรจำกัดให้อยู่ในปริมาณขั้นต่ำที่น้อยกว่า 4 ล้านเฮกแตร์ (10.7 ล้านเอเคอร์) หรือ 26.75 ล้านไร่ ซึ่งเป็นปริมาณที่เหมาะสมกับประชากรเวียดนามในขณะนี้ และการผลิตข้าวควรเน้นการผลิตที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพโดยรวมมากกว่าจำนวนผลผลิตหรือรายได้จากการส่งออก สิ่งที่ควรส่งเสริม ในขณะนี้ได้แก่ การจัดเขตพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อการปลูกพืชอาหารอื่น ๆ เพื่อทำการเกษตรและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
อนึ่ง ปีที่ผ่านมา เวียดนามได้กำหนดแผนพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 7.6 ล้านเฮกแตร์ (18.8 ล้านเอเคอร์) หรือ 47.5 ล้านไร่
ราคาข้าวในตลาดโลก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประกาศราคาข้าวในตลาดโลก ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2544 เทียบกับที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2544 ดังนี้
ข้าวเมล็ดยาวปอนด์ละ 5.39 เซนต์ (5.39 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดกลางปอนด์ละ 4.94 เซนต์(4.94 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดสั้นปอนด์ละ 4.94 เซนต์ (4.94 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหักปอนด์ละ 2.70 เซนต์ (2.70 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 42.766 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 8 ประจำวันที่ 26 ก.พ.- 4 มี.ค. 2544--
-สส-