แท็ก
เครดิต
1. NPL คงค้างของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์)
1.1 ระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 ทั้งสิ้น 859.6 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 4,813.7 พันล้านบาท การเปลี่ยนแปลง NPL สุทธิในเดือนนี้เพิ่มขึ้น 1.6 พันล้านบาท สาเหตุสำคัญมาจากในเดือนนี้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จได้ลดลง เนื่องจากลูกหนี้รายใหญ่ได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่อัตราส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมของระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือนมกราคมเท่ากับร้อยละ 17.86 ลดลงจากร้อยละ 17.91 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543
1.2 NPL ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) แยกตามกลุ่มสถาบันการเงินได้ดังนี้
1.2.1 ธนาคารเอกชนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 482.4 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 2,646.4 พันล้านบาท เท่ากับร้อยละ 18.23
1.2.2 ธนาคารของรัฐมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 304.7 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 1,426.4 พันล้านบาท เท่ากับร้อยละ 21.36
1.2.3 สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 38.2 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 600.0 พันล้านบาท เท่ากับร้อยละ 6.37
1.2.4 บริษัทเงินทุนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 34.2 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 141.0 พันล้านบาท เท่ากับร้อยละ 24.29
1.3 ภาคธุรกิจที่มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 จำนวนสูงแยกได้ดังนี้
1.3.1 ภาคอุตสาหกรรมมี NPL คงค้าง 200.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.33 ของ NPL ทั้งสิ้น
1.3.2 ภาคธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีกมี NPL คงค้าง 136.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.89 ของ NPL ทั้งสิ้น
1.3.3 การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมี NPL คงค้าง 130.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.17 ของ NPL ทั้งสิ้น
2. การเปลี่ยนแปลง NPL ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์)
2.1 การเปลี่ยนแปลง NPL ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ในเดือนมกราคม 2544 แยกรายละเอียดได้ดังนี้
พันล้านบาท
2.1.1 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2543 858.0
2.1.2 NPL ที่เพิ่มขึ้นในเดือน ม.ค. 2544
- จำนวนใหม่ 12.9
- รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 18.5 31.4
2.1.3 NPL ที่ลดลงในเดือน ม.ค. 2544
- ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (20.1)
- เหตุผลอื่น (ดูรายละเอียดในหมายเหตุ) (9.7) (29.8)
2.1.4 NPL เพิ่มขึ้นสุทธิในเดือน ม.ค. 2544 1.6
2.1.5 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือน ม.ค. 2544 859.6
หมายเหตุ เหตุผลอื่น ประกอบด้วย
1) NPL ที่มาชำระจนค้างไม่ถึง 3 เดือนจำนวน 4.6 พันล้านบาท
2) ตัดหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบร้อยละ 100 แล้วออกจากบัญชี รวมเป็น จำนวน 2.6 พันล้านบาท
3) อื่นๆ เช่น จำนวนเงินที่รับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญเนื่องจากหมดสิทธิเรียกร้องการขายหนี้ และ Covered asset pool เป็นต้น รวมเป็นจำนวน 2.5 พันล้านบาท
2.2 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนมกราคม 2544 พิจารณาตามกลุ่มสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) แยกได้ดังนี้
2.2.1 ธนาคารเอกชนมี NPL เพิ่มขึ้นสุทธิ 5.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.13 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 477.0 พันล้านบาท
2.2.2 ธนาคารของรัฐมี NPL ลดลงสุทธิ 3.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.07 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 308.1 พันล้านบาท
2.2.3 สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL เพิ่มขึ้นสุทธิ 0.04 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 38.2 พันล้านบาท
2.2.4 บริษัทเงินทุนมี NPL ลดลงสุทธิ 0.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 34.7 พันล้านบาท
2.3 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนมกราคม 2544 แยกตามภาคธุรกิจได้ดังนี้
2.3.1 NPL รายใหม่ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 12.9 พันล้านบาท อยู่ในภาคธุรกิจการก่อสร้าง 2.8 พันล้านบาท ภาคอุตสาหกรรม 2.7 พันล้านบาท และภาคธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 1.9 พันล้านบาท
2.3.2 NPL ที่เพิ่มขึ้นจากรายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 18.5 พันล้านบาท อยู่ในภาคอุตสาหกรรม 4.2 พันล้านบาท ภาคธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 3.3 พันล้านบาท และภาคการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 2.4 พันล้านบาท
3. NPL ของสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
3.1 สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 ทั้งสิ้น 4.8 พันล้านบาท (ลดลงสุทธิจากสิ้นเดือนก่อน 0.2 พันล้านบาท) เท่ากับร้อยละ 6.3 ของสินเชื่อรวม 75.5 พันล้านบาท
3.2 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 ทั้งสิ้น 1.4 พันล้านบาท (ใกล้เคียงกับเดือนก่อน) เท่ากับร้อยละ 40.03 ของสินเชื่อรวม 3.5 พันล้านบาท
4. NPL คงค้างของระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ ระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 ทั้งสิ้น 865.7 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 1.5 พันล้านบาท) เทียบกับสินเชื่อรวม 4,892.7 พันล้านบาท เท่ากับร้อยละ 17.69 ลดลงจากร้อยละ 17.74 ณ สิ้นเดือนก่อน
5. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ระบบสถาบันการเงินโดยรวมปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จในเดือนมกราคม 2544 เป็นจำนวน ทั้งสิ้น 35.4 พันล้านบาท เป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ NPL จำนวน 20.1 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ที่มีการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยไม่เกิน 3 เดือน
6. NPL คงค้างหลังหักเงินสำรอง
6.1 ระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ได้กันเงินสำรองสำหรับ NPL ส่วนที่ไม่มีหลักประกันรองรับไว้แล้วจำนวน 284.3 พันล้านบาท ดังนั้น NPL หลังหักเงินสำรองจึงมีจำนวนเท่ากับ 575.3 พันล้านบาท และสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับ 4,529.4 พันล้านบาท NPL หลังหักเงินสำรองต่อสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับร้อยละ 12.70
6.2 ระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้กันเงินสำรองสำหรับ NPL ส่วนที่ไม่มีหลักประกันรองรับไว้แล้วจำนวน 287.3 พันล้านบาท ดังนั้น NPL หลังหักเงินสำรองจึงมีจำนวนเท่ากับ 578.5 พันล้านบาท และสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับ 4,605.4 พันล้านบาท NPL หลังหักเงินสำรองต่อสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับร้อยละ 12.56
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/5 มีนาคม 2544--
-ยก-
1.1 ระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 ทั้งสิ้น 859.6 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 4,813.7 พันล้านบาท การเปลี่ยนแปลง NPL สุทธิในเดือนนี้เพิ่มขึ้น 1.6 พันล้านบาท สาเหตุสำคัญมาจากในเดือนนี้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จได้ลดลง เนื่องจากลูกหนี้รายใหญ่ได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่อัตราส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมของระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือนมกราคมเท่ากับร้อยละ 17.86 ลดลงจากร้อยละ 17.91 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543
1.2 NPL ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) แยกตามกลุ่มสถาบันการเงินได้ดังนี้
1.2.1 ธนาคารเอกชนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 482.4 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 2,646.4 พันล้านบาท เท่ากับร้อยละ 18.23
1.2.2 ธนาคารของรัฐมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 304.7 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 1,426.4 พันล้านบาท เท่ากับร้อยละ 21.36
1.2.3 สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 38.2 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 600.0 พันล้านบาท เท่ากับร้อยละ 6.37
1.2.4 บริษัทเงินทุนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 34.2 พันล้านบาท เทียบกับสินเชื่อรวม 141.0 พันล้านบาท เท่ากับร้อยละ 24.29
1.3 ภาคธุรกิจที่มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 จำนวนสูงแยกได้ดังนี้
1.3.1 ภาคอุตสาหกรรมมี NPL คงค้าง 200.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.33 ของ NPL ทั้งสิ้น
1.3.2 ภาคธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีกมี NPL คงค้าง 136.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.89 ของ NPL ทั้งสิ้น
1.3.3 การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมี NPL คงค้าง 130.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.17 ของ NPL ทั้งสิ้น
2. การเปลี่ยนแปลง NPL ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์)
2.1 การเปลี่ยนแปลง NPL ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ในเดือนมกราคม 2544 แยกรายละเอียดได้ดังนี้
พันล้านบาท
2.1.1 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2543 858.0
2.1.2 NPL ที่เพิ่มขึ้นในเดือน ม.ค. 2544
- จำนวนใหม่ 12.9
- รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 18.5 31.4
2.1.3 NPL ที่ลดลงในเดือน ม.ค. 2544
- ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (20.1)
- เหตุผลอื่น (ดูรายละเอียดในหมายเหตุ) (9.7) (29.8)
2.1.4 NPL เพิ่มขึ้นสุทธิในเดือน ม.ค. 2544 1.6
2.1.5 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือน ม.ค. 2544 859.6
หมายเหตุ เหตุผลอื่น ประกอบด้วย
1) NPL ที่มาชำระจนค้างไม่ถึง 3 เดือนจำนวน 4.6 พันล้านบาท
2) ตัดหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบร้อยละ 100 แล้วออกจากบัญชี รวมเป็น จำนวน 2.6 พันล้านบาท
3) อื่นๆ เช่น จำนวนเงินที่รับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญเนื่องจากหมดสิทธิเรียกร้องการขายหนี้ และ Covered asset pool เป็นต้น รวมเป็นจำนวน 2.5 พันล้านบาท
2.2 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนมกราคม 2544 พิจารณาตามกลุ่มสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) แยกได้ดังนี้
2.2.1 ธนาคารเอกชนมี NPL เพิ่มขึ้นสุทธิ 5.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.13 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 477.0 พันล้านบาท
2.2.2 ธนาคารของรัฐมี NPL ลดลงสุทธิ 3.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.07 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 308.1 พันล้านบาท
2.2.3 สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL เพิ่มขึ้นสุทธิ 0.04 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 38.2 พันล้านบาท
2.2.4 บริษัทเงินทุนมี NPL ลดลงสุทธิ 0.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 34.7 พันล้านบาท
2.3 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนมกราคม 2544 แยกตามภาคธุรกิจได้ดังนี้
2.3.1 NPL รายใหม่ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 12.9 พันล้านบาท อยู่ในภาคธุรกิจการก่อสร้าง 2.8 พันล้านบาท ภาคอุตสาหกรรม 2.7 พันล้านบาท และภาคธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 1.9 พันล้านบาท
2.3.2 NPL ที่เพิ่มขึ้นจากรายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 18.5 พันล้านบาท อยู่ในภาคอุตสาหกรรม 4.2 พันล้านบาท ภาคธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 3.3 พันล้านบาท และภาคการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 2.4 พันล้านบาท
3. NPL ของสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
3.1 สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 ทั้งสิ้น 4.8 พันล้านบาท (ลดลงสุทธิจากสิ้นเดือนก่อน 0.2 พันล้านบาท) เท่ากับร้อยละ 6.3 ของสินเชื่อรวม 75.5 พันล้านบาท
3.2 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 ทั้งสิ้น 1.4 พันล้านบาท (ใกล้เคียงกับเดือนก่อน) เท่ากับร้อยละ 40.03 ของสินเชื่อรวม 3.5 พันล้านบาท
4. NPL คงค้างของระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัท เครดิตฟองซิเอร์ ระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 ทั้งสิ้น 865.7 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 1.5 พันล้านบาท) เทียบกับสินเชื่อรวม 4,892.7 พันล้านบาท เท่ากับร้อยละ 17.69 ลดลงจากร้อยละ 17.74 ณ สิ้นเดือนก่อน
5. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ระบบสถาบันการเงินโดยรวมปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้สำเร็จในเดือนมกราคม 2544 เป็นจำนวน ทั้งสิ้น 35.4 พันล้านบาท เป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ NPL จำนวน 20.1 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ที่มีการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยไม่เกิน 3 เดือน
6. NPL คงค้างหลังหักเงินสำรอง
6.1 ระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ได้กันเงินสำรองสำหรับ NPL ส่วนที่ไม่มีหลักประกันรองรับไว้แล้วจำนวน 284.3 พันล้านบาท ดังนั้น NPL หลังหักเงินสำรองจึงมีจำนวนเท่ากับ 575.3 พันล้านบาท และสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับ 4,529.4 พันล้านบาท NPL หลังหักเงินสำรองต่อสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับร้อยละ 12.70
6.2 ระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้กันเงินสำรองสำหรับ NPL ส่วนที่ไม่มีหลักประกันรองรับไว้แล้วจำนวน 287.3 พันล้านบาท ดังนั้น NPL หลังหักเงินสำรองจึงมีจำนวนเท่ากับ 578.5 พันล้านบาท และสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับ 4,605.4 พันล้านบาท NPL หลังหักเงินสำรองต่อสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับร้อยละ 12.56
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/5 มีนาคม 2544--
-ยก-