1.สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
ลำไย : ยังมีลู่ทางการขยายตลาดในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย เรื่องการศึกษาการตลาดทุเรียนเพื่อพัฒนาการส่งออก กรณีศึกษาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2543 ในระหว่างวันที่ 11-17 กรกฎาคม ได้ทำการสำรวจข้อมูล ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ และเซี๊ยะเหมิน ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรม พบว่าปัจจุบันการส่งออกผลไม้สดของไทย เช่น ลำไย ทุเรียนและมังคุด ไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนใหญ่จะผ่านไปทางฮ่องกงและกวางเจา เพื่อกระจายต่อไปยังมณฑลและเมืองต่าง ๆ ของประเทศจีน ทำให้ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น 1-3 วัน และต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดเมืองเซี่ยงไฮ้ แต่ปัจจุบันได้มีการส่งออกลำไยไปเมืองเซี่ยงไฮ้โดยตรงทางเรือ สามารถลดค่าขนส่งลงได้ประมาณตู้คอนเทรนเนอร์ละ 20,000 บาท ดังนั้นลู่ทางการขยายตลาดลำไยสดที่เมืองเซี่ยงไฮ้จะมีโอกาสค่อนข้างสูง หากทางราชการและภาคเอกชนร่วมกันในการจัดการด้านการส่งเสริมการขายและการบริโภค เช่น โฆษณาประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่าง ๆ ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์และแผ่นพับ และการจัดนิทรรศการบริโภคผลไม้ไทย รวมทั้งประสานงานให้ผู้ส่งออกไทยกับพ่อค้าในเมืองเซี่ยงไฮ้ให้นำเข้าลำไยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขอความร่วมมือจากห้างสรรพสินค้าของไทยที่ดำเนินกิจการอยู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ เช่น ห้างโลตัส รับซื้อลำไยสดและผลไม้ต่าง ๆ จากผู้นำเข้าโดยตรง จะทำให้ตลาดเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางในการกระจายผลผลิตลำไยไปสู่มณฑลต่างๆ ทางภาคกลางและภาคเหนือในอนาคตได้ ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาราคาลำไยตกต่ำในปีนี้ได้อีกทางหนึ่ง
สำหรับลำไยอบแห้ง ตลาดแหล่งใหญ่ของจีนอยู่ที่มณฑลฟูเจี๋ยน ซึ่งในปีนี้ผลผลิตลำไยของจีนลดลงมากกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากกระทบอากาศหนาวจัด ทำให้จีนมีความต้องนำเข้าลำไยอบแห้งเพิ่มขึ้น ปัจจุบันจีนได้มีการนำเข้าจากเวียดนามและไทย ซึ่งลำไยอบแห้งของเวียดนามมีลักษณะเนื้อน้อยและเมล็ดโต จึงนับว่าเป็นโอกาสที่ไทยจะส่งลำไยอบแห้งไปแข่งขันในตลาดจีนได้ เนื่องจากคุณภาพลำไยอบแห้งของไทยดีกว่าเวียดนาม แต่การส่งออกลำไยอบแห้งต้องเป็นไปตามความต้องการของตลาดจีน คือ ความแห้งและสีของเนื้ออบแห้งได้มาตรฐาน ไม่เป็นรา และมีขนาดเดียวกันตามเกรด ในปีนี้คาดว่าจีนนำเข้าลำไยอบแห้งในปริมาณใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ซึ่งจะมีสั่งซื้อลำไยจากไทยเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมนี้
2.2 ผลกระทบของการขึ้นราคาน้ำมันในการผลิตการเกษตร
กิจกรรมการผลิตการเกษตรมีการพึ่งพาอาศัยน้ำมันในขบวนการผลิตในปริมาณที่แตกต่างกันผลกระทบที่เกิดขึ้น จะมีความรุนแรงต่างกันบางกิจกรรมแม้จะได้รับผล กระทบทางตรงจากการใช้ปริมาณน้ำมันในการผลิตน้อย แต่อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมมาก จากค่าขนส่งปัจจัยที่เพิ่มขึ้น ประเด็นต่างๆ เหล่านี้จึงต้องได้นำมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดมาตรการบรรเทาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายจากการประชุมของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเมื่อ 13 กรกฎาคม 2543 ได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก อยู่ในระดับที่ 30 เหรียญต่อบาเรล แต่ปัญหาหนักที่เกิดขึ้นในขณะนี้ด้วยคือสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาก 39 - 42 บาทต่อดอลล่าร์ ทำให้ต้องใช้เงินตราต่างประเทศมากขึ้นในการซื้อปริมาณน้ำมันเท่าเดิม ถ้าสถานการณ์ยังคงเป็นอยู่จะมีผลกระทบโดยตรงและทางอ้อมต่อการผลิตทางการเกษตรและครัวเรือนเกษตรอย่างแน่นอน ซึ่งคาดว่าระดับราคาของน้ำมันดีเซลปรับตัวสูงขึ้นอยู่ในช่วงตั้งแต่ 13.00 - 14.99 บาทต่อลิตร หรืออาจสู่งกว่า กระทรวงเกษตร ฯ ได้ใช้เป็นแนวทางทำการประมวลผลกระทบในประเด็นต่างๆ เพื่อเป็นการเตือนภัยกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเป็นการเร่งด่วนต่อไป
นอกจากนี้ภาคเกษตรเป็นภาคการผลิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยน้ำมันเป็นปัจจัยในขบวนการผลิต การค้าสินค้าเกษตร รวมทั้งการใช้ในกิจการอื่น ๆ ซึ่งมีอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกลที่มีความจำเป็นต่อภาคเกษตรมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อภาคเกษตรไม่น้อยไปกว่าภาคการผลิตอื่น เพราะเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ และประกอบกิจกรรมการผลิตในหลายสาขา ดังนั้น ผลกระทบจึงมีหลายประเด็นที่มีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
1) กิจกรรมประมงทะเล
ประมงทะเลเป็นสาขาการผลิตที่มีน้ำมันดีเซลเป็นองค์ประกอบในต้นทุนการจับสัตว์น้ำ ในสัดส่วนร้อยละ 10-15 ของต้นทุนรวมทั้งหมด เมื่อระดับราคาน้ำมันดีเซลมีราคาลิตรละ 9.19 บาท ก่อนการปรับราคาน้ำมัน ขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของเรือประมง แต่เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นไปร้อยละ 41 หรือลิตรละ 13.00 บาท น้ำมันจะมีสัดส่วนต้นทุนร้อยละ 13 - 64 ของต้นทุนรวม หรือคิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 - 21 ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นสูงส่วนใหญ่จะเป็นเรืออวนลากขนาดเล็ก และอวนรุน โดยรวมกิจกรรมประมงทะเลมีการใช้น้ำมันในปริมาณที่มาก คือ เดือนละ 147.74 ล้านลิตร การเพิ่มขึ้นของราคาเป็นลิตรละ 13.00 บาท จะส่งผลให้กิจการนี้มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 563 ล้านบาท และจะเพิ่มเป็น 858 ล้านบาทต่อเดือน เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มเป็นลิตรละ 15.00 บาท
2) กิจกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
กิจกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่แพร่หลายในขณะนี้คือกุ้งกุลาดำ ซึ่งก็เป็นกิจกรรมที่มีต้นทุนค่าน้ำมันอยู่ในเกณฑ์ที่สูงประมาณร้อยละ 10 ของต้นทุนรวม ต้นทุนค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.82 จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 41 ที่ระดับราคา 13.00 บาท/ลิตร ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อไร่สูงขึ้นอีกไร่ละ 5,245.81 บาท
3) กิจกรรมการผลิตพืช สัตว์
ต้นทุนการผลิตพืชที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันมีประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณา คือ การผลิตซึ่งต้องอาศัยการสูบน้ำ การผลิตในลักษณะนี้จะทำให้ สัดส่วนน้ำมันอยู่ในองค์ประกอบต้นทุนสูงกว่าการผลิตที่อาศัยน้ำจากระบบชลประทาน อาศัยน้ำฝนแต่โดยทั่วไปแล้วน้ำมันที่ใช้กับอุปกรณ์เครื่องสำหรับการผลิตพืชหรืออาศัยน้ำฝน แต่โดยทั่วไปแล้ว น้ำมันที่ใช้กับอุปกรณ์ เครื่องสำหรับการผลิตพืช มีสัดส่วนในต้นทุนรวมทั้งหมด การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันร้อยละ 41 ที่ระดับราคา 13.00 บาท/ลิตร จะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นไม่ถึงร้อยละ 1 ของต้นทุนรวมที่เพิ่มขึ้น
4) ผลกระทบของการขนส่งต่อปัจจัยการผลิตและสินค้าเกษตร
การขนส่งปัจจัยการผลิตและสินค้าเกษตร ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการผลิต และการค้า ผลิตผลการเกษตร ปัจจัยการผลิตที่สำคัญต่อภาคการผลิตการเกษตร คือ ปุ๋ย ซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าโดยส่วนใหญ่ และก็จะส่งต่อไปยังเกษตรกรตามภูมิภาคต่าง ๆ ในการจัดหาปุ๋ยเพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตร ได้มีการสนับสนุนให้เกษตรกรได้ซื้อปุ๋ยในราคาเดียวกันด้วยการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งปุ๋ยไปยังเกษตรกร ค่าบรรทุกปุ๋ยโดยองค์กร ร.ส.พ. จะคิดค่าขนส่งตามระยะทางตั้งแต่ 56 - 900 บาทต่อตัน ก่อนจะมีการปรับราคาน้ำมัน หากการอุดหนุนในการขนส่งไม่มี ประกอบราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ราคาปุ๋ยที่เกษตรกรจะซื้อย่อมมีราคาสูงขึ้นตามอัตราค่าขนส่ง ซึ่งจุดที่อยู่ไกลในทางตรงกันข้ามผลิตผลการเกษตร ซึ่งจะต้องถูกขนส่งจากแหล่งผลิตไปยังตลาดกลางหรือผู้รับซื้อน้ำมันเป็นปัจจัยหลักต่อการขนส่ง ค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการขึ้นราคาสินค้าเกษตรสำหรับผู้บริโภค หรือกดราคาจากผู้ผลิตด้านใดด้านหนึ่ง
5) ผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายครัวเรือนเกษตร
ค่าน้ำมันเป็นองค์ประกอบรายจ่ายเงินสดส่วนหนึ่งของครัวเรือนเกษตร โดยทั่วไป แม้ว่าในต้นทุนการผลิตน้ำมันจะเป็นองค์ประกอบต้นทุนโดยตรงไม่มาก แต่อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ หรือเครื่องจักรกลทำให้รายจ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายสำหรับค่าน้ำมันในปี 2538/3 9 เฉลี่ยต่อครัวเรือนมีมูลค่ารวม 863 บาท ได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,175 บาท ในปี 2541/42 และ 1,305 บาทในปี 2543 เพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า ในขณะที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 8.32 บาทต่อลิตร เป็น 9.19 และ 13.00 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.45 และ 41.45 ดังนั้นถ้าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นต่อไปอีกร้อยละ 58 หรือ 14.50 บาทต่อลิตร ผนวกกับความผันผวนของค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง คาดว่าค่าใช้จ่ายส่วนนำมันเชื้อเพลิงนี้จะได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นอีก 679 บาท หรือเป็นค่าใช้จ่ายการผลิตทางการเกษตรรวมเพิ่มขึ้น 2,377 บาทต่อครัวเรือน สำหรับค่าใช้จ่ายในครัวเรือนการบริโภคอุปโภคและอื่น คาดว่าจะได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นด้วย
จากการประเมิลผลกระทบต่อภาคเกษตรโดยรวมแล้ว จะพบว่าภาคเกษตรจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นในหลายด้าน กล่าวคือ
(1) ต้นทุนการผลิตจะเพิ่มขึ้นจากปัจจัยการผลิตที่ต้องมีการอาศัยการขนส่ง
(2) ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจากการใช้เครื่องจักรกลในขบวนการผลิต ที่มีน้ำมันเป็นปัจจัยในสัดส่วนที่มาก โดยเฉพาะกิจกรรมประมง
(3) ราคาที่ขายได้อาจลดต่ำลงจากผู้ประกอบการผลิต ผลักภาระค่าขนส่งไปอยู่ในสินค้าที่ซื้อ หรือราคาสินค้าที่ขายให้กับผู้บริโภคมีราคาสูงขึ้น
(4) ภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเกษตรเพิ่มขึ้นจากการใช้น้ำมันกับเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์จำเป็นต่อขบวนการผลิต การขนส่งสินค้า มาตรการบรรเทา
แนวทางมาตรการเพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับภาคเกษตรในขณะนี้มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาโดยรวมเป็นกรณีเร่งด่วน เนื่องจากเป็นช่วงที่จะเริ่มฤดูกาลผลิตใหม่แล้ว ประเด็นที่ควรพิจารณา
(1) การขยายเวลาการลดภาษีน้ำมันดีเซลต่อไปให้ครอบคลุมระยะเวลาการผลิต เพื่อไม่ให้ภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาการผลิตจะเริ่มขึ้น จนกว่าฤดูการผลิตผ่านพ้นไป
(2) มุ่งการช่วยเหลือกิจกรรมประมงทะเลขนาดเล็กซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด ด้วยการอุดหนุนราคาน้ำมันไประยะหนึ่ง และมุ่งการพัฒนาประมงทะเลขนาดเล็กให้เป็นขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต
(3) ลดภาระต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะให้มีราคาไม่สูงขึ้นมากนัก ด้วยวิธีการอุดหนุนค่าขนส่ง ซึ่งก็จะทำให้ผู้ผลิตทั้งที่เป็นการผลิตเพื่อบริโภคหรือผลิตเป็นการค้าได้รับประโยชน์ทั่วกัน
(4) เร่งรัดส่งเสริมและจัดหา ให้มีการกระจายความรู้เปลี่ยนแนวคิดในการผลิต หันมาใช้ปัจจัยการผลิตการเกษตร จากธรรมชาติหรือที่มีอยู่ในท้องถิ่นทดแทนหรือลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีลง ทั้งนี้ จะสามารถลดต้นทุนการผลิตและได้ผลกระทบน้อยที่สุดจากการผันผวนของราคาน้ำมันและค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ที่เป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 28 ประจำวันที่ 17-23 ก.ค. 2543--
-สส-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
ลำไย : ยังมีลู่ทางการขยายตลาดในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย เรื่องการศึกษาการตลาดทุเรียนเพื่อพัฒนาการส่งออก กรณีศึกษาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2543 ในระหว่างวันที่ 11-17 กรกฎาคม ได้ทำการสำรวจข้อมูล ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ และเซี๊ยะเหมิน ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรม พบว่าปัจจุบันการส่งออกผลไม้สดของไทย เช่น ลำไย ทุเรียนและมังคุด ไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนใหญ่จะผ่านไปทางฮ่องกงและกวางเจา เพื่อกระจายต่อไปยังมณฑลและเมืองต่าง ๆ ของประเทศจีน ทำให้ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น 1-3 วัน และต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดเมืองเซี่ยงไฮ้ แต่ปัจจุบันได้มีการส่งออกลำไยไปเมืองเซี่ยงไฮ้โดยตรงทางเรือ สามารถลดค่าขนส่งลงได้ประมาณตู้คอนเทรนเนอร์ละ 20,000 บาท ดังนั้นลู่ทางการขยายตลาดลำไยสดที่เมืองเซี่ยงไฮ้จะมีโอกาสค่อนข้างสูง หากทางราชการและภาคเอกชนร่วมกันในการจัดการด้านการส่งเสริมการขายและการบริโภค เช่น โฆษณาประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่าง ๆ ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์และแผ่นพับ และการจัดนิทรรศการบริโภคผลไม้ไทย รวมทั้งประสานงานให้ผู้ส่งออกไทยกับพ่อค้าในเมืองเซี่ยงไฮ้ให้นำเข้าลำไยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขอความร่วมมือจากห้างสรรพสินค้าของไทยที่ดำเนินกิจการอยู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ เช่น ห้างโลตัส รับซื้อลำไยสดและผลไม้ต่าง ๆ จากผู้นำเข้าโดยตรง จะทำให้ตลาดเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางในการกระจายผลผลิตลำไยไปสู่มณฑลต่างๆ ทางภาคกลางและภาคเหนือในอนาคตได้ ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาราคาลำไยตกต่ำในปีนี้ได้อีกทางหนึ่ง
สำหรับลำไยอบแห้ง ตลาดแหล่งใหญ่ของจีนอยู่ที่มณฑลฟูเจี๋ยน ซึ่งในปีนี้ผลผลิตลำไยของจีนลดลงมากกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากกระทบอากาศหนาวจัด ทำให้จีนมีความต้องนำเข้าลำไยอบแห้งเพิ่มขึ้น ปัจจุบันจีนได้มีการนำเข้าจากเวียดนามและไทย ซึ่งลำไยอบแห้งของเวียดนามมีลักษณะเนื้อน้อยและเมล็ดโต จึงนับว่าเป็นโอกาสที่ไทยจะส่งลำไยอบแห้งไปแข่งขันในตลาดจีนได้ เนื่องจากคุณภาพลำไยอบแห้งของไทยดีกว่าเวียดนาม แต่การส่งออกลำไยอบแห้งต้องเป็นไปตามความต้องการของตลาดจีน คือ ความแห้งและสีของเนื้ออบแห้งได้มาตรฐาน ไม่เป็นรา และมีขนาดเดียวกันตามเกรด ในปีนี้คาดว่าจีนนำเข้าลำไยอบแห้งในปริมาณใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ซึ่งจะมีสั่งซื้อลำไยจากไทยเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมนี้
2.2 ผลกระทบของการขึ้นราคาน้ำมันในการผลิตการเกษตร
กิจกรรมการผลิตการเกษตรมีการพึ่งพาอาศัยน้ำมันในขบวนการผลิตในปริมาณที่แตกต่างกันผลกระทบที่เกิดขึ้น จะมีความรุนแรงต่างกันบางกิจกรรมแม้จะได้รับผล กระทบทางตรงจากการใช้ปริมาณน้ำมันในการผลิตน้อย แต่อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมมาก จากค่าขนส่งปัจจัยที่เพิ่มขึ้น ประเด็นต่างๆ เหล่านี้จึงต้องได้นำมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดมาตรการบรรเทาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายจากการประชุมของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเมื่อ 13 กรกฎาคม 2543 ได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก อยู่ในระดับที่ 30 เหรียญต่อบาเรล แต่ปัญหาหนักที่เกิดขึ้นในขณะนี้ด้วยคือสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาก 39 - 42 บาทต่อดอลล่าร์ ทำให้ต้องใช้เงินตราต่างประเทศมากขึ้นในการซื้อปริมาณน้ำมันเท่าเดิม ถ้าสถานการณ์ยังคงเป็นอยู่จะมีผลกระทบโดยตรงและทางอ้อมต่อการผลิตทางการเกษตรและครัวเรือนเกษตรอย่างแน่นอน ซึ่งคาดว่าระดับราคาของน้ำมันดีเซลปรับตัวสูงขึ้นอยู่ในช่วงตั้งแต่ 13.00 - 14.99 บาทต่อลิตร หรืออาจสู่งกว่า กระทรวงเกษตร ฯ ได้ใช้เป็นแนวทางทำการประมวลผลกระทบในประเด็นต่างๆ เพื่อเป็นการเตือนภัยกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเป็นการเร่งด่วนต่อไป
นอกจากนี้ภาคเกษตรเป็นภาคการผลิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยน้ำมันเป็นปัจจัยในขบวนการผลิต การค้าสินค้าเกษตร รวมทั้งการใช้ในกิจการอื่น ๆ ซึ่งมีอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกลที่มีความจำเป็นต่อภาคเกษตรมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อภาคเกษตรไม่น้อยไปกว่าภาคการผลิตอื่น เพราะเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ และประกอบกิจกรรมการผลิตในหลายสาขา ดังนั้น ผลกระทบจึงมีหลายประเด็นที่มีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
1) กิจกรรมประมงทะเล
ประมงทะเลเป็นสาขาการผลิตที่มีน้ำมันดีเซลเป็นองค์ประกอบในต้นทุนการจับสัตว์น้ำ ในสัดส่วนร้อยละ 10-15 ของต้นทุนรวมทั้งหมด เมื่อระดับราคาน้ำมันดีเซลมีราคาลิตรละ 9.19 บาท ก่อนการปรับราคาน้ำมัน ขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของเรือประมง แต่เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นไปร้อยละ 41 หรือลิตรละ 13.00 บาท น้ำมันจะมีสัดส่วนต้นทุนร้อยละ 13 - 64 ของต้นทุนรวม หรือคิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 - 21 ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นสูงส่วนใหญ่จะเป็นเรืออวนลากขนาดเล็ก และอวนรุน โดยรวมกิจกรรมประมงทะเลมีการใช้น้ำมันในปริมาณที่มาก คือ เดือนละ 147.74 ล้านลิตร การเพิ่มขึ้นของราคาเป็นลิตรละ 13.00 บาท จะส่งผลให้กิจการนี้มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 563 ล้านบาท และจะเพิ่มเป็น 858 ล้านบาทต่อเดือน เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มเป็นลิตรละ 15.00 บาท
2) กิจกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
กิจกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่แพร่หลายในขณะนี้คือกุ้งกุลาดำ ซึ่งก็เป็นกิจกรรมที่มีต้นทุนค่าน้ำมันอยู่ในเกณฑ์ที่สูงประมาณร้อยละ 10 ของต้นทุนรวม ต้นทุนค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.82 จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 41 ที่ระดับราคา 13.00 บาท/ลิตร ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อไร่สูงขึ้นอีกไร่ละ 5,245.81 บาท
3) กิจกรรมการผลิตพืช สัตว์
ต้นทุนการผลิตพืชที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันมีประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณา คือ การผลิตซึ่งต้องอาศัยการสูบน้ำ การผลิตในลักษณะนี้จะทำให้ สัดส่วนน้ำมันอยู่ในองค์ประกอบต้นทุนสูงกว่าการผลิตที่อาศัยน้ำจากระบบชลประทาน อาศัยน้ำฝนแต่โดยทั่วไปแล้วน้ำมันที่ใช้กับอุปกรณ์เครื่องสำหรับการผลิตพืชหรืออาศัยน้ำฝน แต่โดยทั่วไปแล้ว น้ำมันที่ใช้กับอุปกรณ์ เครื่องสำหรับการผลิตพืช มีสัดส่วนในต้นทุนรวมทั้งหมด การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันร้อยละ 41 ที่ระดับราคา 13.00 บาท/ลิตร จะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นไม่ถึงร้อยละ 1 ของต้นทุนรวมที่เพิ่มขึ้น
4) ผลกระทบของการขนส่งต่อปัจจัยการผลิตและสินค้าเกษตร
การขนส่งปัจจัยการผลิตและสินค้าเกษตร ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการผลิต และการค้า ผลิตผลการเกษตร ปัจจัยการผลิตที่สำคัญต่อภาคการผลิตการเกษตร คือ ปุ๋ย ซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าโดยส่วนใหญ่ และก็จะส่งต่อไปยังเกษตรกรตามภูมิภาคต่าง ๆ ในการจัดหาปุ๋ยเพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตร ได้มีการสนับสนุนให้เกษตรกรได้ซื้อปุ๋ยในราคาเดียวกันด้วยการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งปุ๋ยไปยังเกษตรกร ค่าบรรทุกปุ๋ยโดยองค์กร ร.ส.พ. จะคิดค่าขนส่งตามระยะทางตั้งแต่ 56 - 900 บาทต่อตัน ก่อนจะมีการปรับราคาน้ำมัน หากการอุดหนุนในการขนส่งไม่มี ประกอบราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ราคาปุ๋ยที่เกษตรกรจะซื้อย่อมมีราคาสูงขึ้นตามอัตราค่าขนส่ง ซึ่งจุดที่อยู่ไกลในทางตรงกันข้ามผลิตผลการเกษตร ซึ่งจะต้องถูกขนส่งจากแหล่งผลิตไปยังตลาดกลางหรือผู้รับซื้อน้ำมันเป็นปัจจัยหลักต่อการขนส่ง ค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการขึ้นราคาสินค้าเกษตรสำหรับผู้บริโภค หรือกดราคาจากผู้ผลิตด้านใดด้านหนึ่ง
5) ผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายครัวเรือนเกษตร
ค่าน้ำมันเป็นองค์ประกอบรายจ่ายเงินสดส่วนหนึ่งของครัวเรือนเกษตร โดยทั่วไป แม้ว่าในต้นทุนการผลิตน้ำมันจะเป็นองค์ประกอบต้นทุนโดยตรงไม่มาก แต่อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ หรือเครื่องจักรกลทำให้รายจ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายสำหรับค่าน้ำมันในปี 2538/3 9 เฉลี่ยต่อครัวเรือนมีมูลค่ารวม 863 บาท ได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,175 บาท ในปี 2541/42 และ 1,305 บาทในปี 2543 เพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า ในขณะที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 8.32 บาทต่อลิตร เป็น 9.19 และ 13.00 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.45 และ 41.45 ดังนั้นถ้าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นต่อไปอีกร้อยละ 58 หรือ 14.50 บาทต่อลิตร ผนวกกับความผันผวนของค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง คาดว่าค่าใช้จ่ายส่วนนำมันเชื้อเพลิงนี้จะได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นอีก 679 บาท หรือเป็นค่าใช้จ่ายการผลิตทางการเกษตรรวมเพิ่มขึ้น 2,377 บาทต่อครัวเรือน สำหรับค่าใช้จ่ายในครัวเรือนการบริโภคอุปโภคและอื่น คาดว่าจะได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นด้วย
จากการประเมิลผลกระทบต่อภาคเกษตรโดยรวมแล้ว จะพบว่าภาคเกษตรจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นในหลายด้าน กล่าวคือ
(1) ต้นทุนการผลิตจะเพิ่มขึ้นจากปัจจัยการผลิตที่ต้องมีการอาศัยการขนส่ง
(2) ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจากการใช้เครื่องจักรกลในขบวนการผลิต ที่มีน้ำมันเป็นปัจจัยในสัดส่วนที่มาก โดยเฉพาะกิจกรรมประมง
(3) ราคาที่ขายได้อาจลดต่ำลงจากผู้ประกอบการผลิต ผลักภาระค่าขนส่งไปอยู่ในสินค้าที่ซื้อ หรือราคาสินค้าที่ขายให้กับผู้บริโภคมีราคาสูงขึ้น
(4) ภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเกษตรเพิ่มขึ้นจากการใช้น้ำมันกับเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์จำเป็นต่อขบวนการผลิต การขนส่งสินค้า มาตรการบรรเทา
แนวทางมาตรการเพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับภาคเกษตรในขณะนี้มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาโดยรวมเป็นกรณีเร่งด่วน เนื่องจากเป็นช่วงที่จะเริ่มฤดูกาลผลิตใหม่แล้ว ประเด็นที่ควรพิจารณา
(1) การขยายเวลาการลดภาษีน้ำมันดีเซลต่อไปให้ครอบคลุมระยะเวลาการผลิต เพื่อไม่ให้ภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาการผลิตจะเริ่มขึ้น จนกว่าฤดูการผลิตผ่านพ้นไป
(2) มุ่งการช่วยเหลือกิจกรรมประมงทะเลขนาดเล็กซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด ด้วยการอุดหนุนราคาน้ำมันไประยะหนึ่ง และมุ่งการพัฒนาประมงทะเลขนาดเล็กให้เป็นขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต
(3) ลดภาระต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะให้มีราคาไม่สูงขึ้นมากนัก ด้วยวิธีการอุดหนุนค่าขนส่ง ซึ่งก็จะทำให้ผู้ผลิตทั้งที่เป็นการผลิตเพื่อบริโภคหรือผลิตเป็นการค้าได้รับประโยชน์ทั่วกัน
(4) เร่งรัดส่งเสริมและจัดหา ให้มีการกระจายความรู้เปลี่ยนแนวคิดในการผลิต หันมาใช้ปัจจัยการผลิตการเกษตร จากธรรมชาติหรือที่มีอยู่ในท้องถิ่นทดแทนหรือลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมีลง ทั้งนี้ จะสามารถลดต้นทุนการผลิตและได้ผลกระทบน้อยที่สุดจากการผันผวนของราคาน้ำมันและค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ที่เป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 28 ประจำวันที่ 17-23 ก.ค. 2543--
-สส-