ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประจำเดือนมีนาคม 2544 จากแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 109 ตัวอย่าง ดังนี้ :-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน เม.ย. 44 ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพและมีแนวโน้ม
ปรับตัวลดลงในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน เม.ย. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 47.6 เท่ากับเดือนก่อน และต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ
ทั้งนี้ เป็นผลจากปัจจัยความ เชื่อมั่นด้านผลประกอบการ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน และด้านต้นทุนการประกอบการแย่ลงจากเดือนก่อน ขณะที่
ปัจจัยด้านการลงทุนโดยรวม ด้านการจ้างงานและ แนวโน้มการส่งออกดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอีก 4 เดือน
ข้างหน้าคาดว่าจะลดลง โดยจะลดลงเป็น ร้อยละ 46.9 ในเดือนหน้า และลดลงเป็นร้อยละ 45.0 ในช่วง มิ.ย.-ส.ค. 44
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าคงคลังทั้งสินค้าวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 48.3 และร้อยละ 48.6 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเห็นว่าปริมาณสินค้าคงคลังยังคงเท่าเดิม ผู้ประกอบการมี
การควบคุมการใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระว่าง โดยไม่สต๊อกสินค้าเป็นจำนวนมากและมีลักษณะเป็นการซื้อมาขายไป
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันทางธุรกิจในประเทศลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 35.4 ส่วนดัชนีการแข่งขัน
ทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 37.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตามภาวะการแข่งขันยังคงรุนแรงต่อเนื่องจากเดือนก่อน
2.3 ภาวะการเงินเดือน เม.ย. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจลดลงจากเดือนก่อน ทำให้สามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้
ลดลง ขณะที่ภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน มิ.ย. - ส.ค. 44 คาดว่าสภาพคล่องจะลดลงจากเดือน เม.ย. 44 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มลดลง
สำหรับค่าเงินบาทมีแนวโน้มทรงตัว โดยค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่า ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 ภาครัฐควรดูแลเรื่องค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ค่าไฟฟ้า / แก๊สหุงต้มที่ขึ้นราคาและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เนื่องจากส่งผลกระทบต่อ
ต้นทุนของสินค้าต่าง ๆ ปรับสูงขึ้นตาม
3.2 ภาครัฐควรให้ความสำคัญเรื่องราคาพืชผลเกษตรสำคัญที่ตกต่ำ เนื่องจาก ผลตอบแทนที่ได้ไม่คุ้มกับการลงทุนและส่งผลให้อำนาจ
ซื้อของเกษตรกรลดลง
3.3 ภาครัฐควรเร่งให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง
3.4 ภาครัฐควรเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเพิ่มเม็ดเงินสู่ท้องถิ่นอย่างรวดเร็ว และมีเป้าหมายชัดเจน / คุ้มค่า เนื่องจากเห็นว่า
ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่ดีขึ้น
3.5 ผู้ประกอบการยังรอดูความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจและการเงินของ รัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งไม่มั่นใจในภาวะ
เศรษฐกิจปัจจุบัน
3.6 ภาครัฐควรดูแลเรื่องนโยบายการส่งเสริมการส่งออก โดยเร่งการคืนภาษีส่งออกให้เร็วขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการคืนภาษี
ส่งออกมีความล่าช้า (ประมาณ 5 เดือน) ทำให้ผู้ประกอบการขาดเงินทุนหมุนเวียน
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ไม่ตอบ
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 21.4 45.6 31.1 1.9
2. อำนาจซื้อของประชาชน 18.4 47.6 33.0 1.0
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 24.3 63.1 7.8 4.8
4. การจ้างงานในธุรกิจ 12.6 68.9 12.6 5.9
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 46.6 44.7 3.9 4.8
6. แนวโน้มการส่งออก 22.6 54.8 22.6 -
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง
- วัตถุดิบ 14.6 33.0 10.7 41.7
- สินค้าสำเร็จรูป 20.4 48.5 16.5 14.6
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 47.6 43.7 1.9 6.8
- ต่างประเทศ 51.3 43.6 5.1 -
3. ภาวะการเงินเดือน มี.ค. 44
- ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 16.5 59.2 10.7 13.6
- การให้เครดิตแก่ลูกค้า 8.7 59.2 20.4 11.7
- สภาพคล่อง 8.7 49.5 22.3 19.5
4. แนวโน้มตลาดเงินที่คาดไว้ในเดือน พ.ค.- ก.ค. 44 เทียบกับเดือน มี.ค. 44
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 3.9 61.2 23.3 11.6
- ค่าเงินบาท (เทียบกับดอลลาร์) 9.7 27.2 50.5 12.6
- สภาพคล่อง 7.8 46.6 34.0 11.6
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ประจำเดือนมีนาคม 2544 จากแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 109 ตัวอย่าง ดังนี้ :-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน เม.ย. 44 ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพและมีแนวโน้ม
ปรับตัวลดลงในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน เม.ย. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 47.6 เท่ากับเดือนก่อน และต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ
ทั้งนี้ เป็นผลจากปัจจัยความ เชื่อมั่นด้านผลประกอบการ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน และด้านต้นทุนการประกอบการแย่ลงจากเดือนก่อน ขณะที่
ปัจจัยด้านการลงทุนโดยรวม ด้านการจ้างงานและ แนวโน้มการส่งออกดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอีก 4 เดือน
ข้างหน้าคาดว่าจะลดลง โดยจะลดลงเป็น ร้อยละ 46.9 ในเดือนหน้า และลดลงเป็นร้อยละ 45.0 ในช่วง มิ.ย.-ส.ค. 44
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าคงคลังทั้งสินค้าวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 48.3 และร้อยละ 48.6 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเห็นว่าปริมาณสินค้าคงคลังยังคงเท่าเดิม ผู้ประกอบการมี
การควบคุมการใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระว่าง โดยไม่สต๊อกสินค้าเป็นจำนวนมากและมีลักษณะเป็นการซื้อมาขายไป
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันทางธุรกิจในประเทศลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 35.4 ส่วนดัชนีการแข่งขัน
ทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 37.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตามภาวะการแข่งขันยังคงรุนแรงต่อเนื่องจากเดือนก่อน
2.3 ภาวะการเงินเดือน เม.ย. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจลดลงจากเดือนก่อน ทำให้สามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้
ลดลง ขณะที่ภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน มิ.ย. - ส.ค. 44 คาดว่าสภาพคล่องจะลดลงจากเดือน เม.ย. 44 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มลดลง
สำหรับค่าเงินบาทมีแนวโน้มทรงตัว โดยค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่า ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 ภาครัฐควรดูแลเรื่องค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ค่าไฟฟ้า / แก๊สหุงต้มที่ขึ้นราคาและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เนื่องจากส่งผลกระทบต่อ
ต้นทุนของสินค้าต่าง ๆ ปรับสูงขึ้นตาม
3.2 ภาครัฐควรให้ความสำคัญเรื่องราคาพืชผลเกษตรสำคัญที่ตกต่ำ เนื่องจาก ผลตอบแทนที่ได้ไม่คุ้มกับการลงทุนและส่งผลให้อำนาจ
ซื้อของเกษตรกรลดลง
3.3 ภาครัฐควรเร่งให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง
3.4 ภาครัฐควรเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเพิ่มเม็ดเงินสู่ท้องถิ่นอย่างรวดเร็ว และมีเป้าหมายชัดเจน / คุ้มค่า เนื่องจากเห็นว่า
ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่ดีขึ้น
3.5 ผู้ประกอบการยังรอดูความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจและการเงินของ รัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งไม่มั่นใจในภาวะ
เศรษฐกิจปัจจุบัน
3.6 ภาครัฐควรดูแลเรื่องนโยบายการส่งเสริมการส่งออก โดยเร่งการคืนภาษีส่งออกให้เร็วขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการคืนภาษี
ส่งออกมีความล่าช้า (ประมาณ 5 เดือน) ทำให้ผู้ประกอบการขาดเงินทุนหมุนเวียน
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ไม่ตอบ
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 21.4 45.6 31.1 1.9
2. อำนาจซื้อของประชาชน 18.4 47.6 33.0 1.0
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 24.3 63.1 7.8 4.8
4. การจ้างงานในธุรกิจ 12.6 68.9 12.6 5.9
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 46.6 44.7 3.9 4.8
6. แนวโน้มการส่งออก 22.6 54.8 22.6 -
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง
- วัตถุดิบ 14.6 33.0 10.7 41.7
- สินค้าสำเร็จรูป 20.4 48.5 16.5 14.6
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 47.6 43.7 1.9 6.8
- ต่างประเทศ 51.3 43.6 5.1 -
3. ภาวะการเงินเดือน มี.ค. 44
- ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 16.5 59.2 10.7 13.6
- การให้เครดิตแก่ลูกค้า 8.7 59.2 20.4 11.7
- สภาพคล่อง 8.7 49.5 22.3 19.5
4. แนวโน้มตลาดเงินที่คาดไว้ในเดือน พ.ค.- ก.ค. 44 เทียบกับเดือน มี.ค. 44
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 3.9 61.2 23.3 11.6
- ค่าเงินบาท (เทียบกับดอลลาร์) 9.7 27.2 50.5 12.6
- สภาพคล่อง 7.8 46.6 34.0 11.6
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-