ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดกระบี่ตั้งอยู่ในเขตภาคใต้ตอนบน ทางด้านฝั่งตะวันตกติดกับฝั่งทะเลอันดามันมหาสมุทรอินเดีย ระยะทางจากกรุงเทพมหานครตามทางรถยนต์สายเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ประมาณ 946 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 4,708.5 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 7 อำเภอ กับ 1 กิ่งอำเภอได้แก่ อำเภอเมืองกระบี่ อ่าวลึก คลองท่อม ปลายพระยา เขาพนม ลำทับ เกาะลันตา และกิ่งอำเภอเหนือคลอง มีประชากรทั้งสิ้น358,383 คน หรือร้อยละ 4.4 ของประชากรทั้งภาค
ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดกระบี่แตกต่างกันระหว่างบริเวณตอนเหนือและตอนใต้ของจังหวัด นั่นคือ ตอนเหนือประกอบด้วยเทือกเขายาวสลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่น ขณะที่บริเวณตอนใต้พื้นที่ค่อนข้างราบ
จังหวัดกระบี่มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 160 กิโลเมตร มีเกาะประมาณ 130 เกาะ ในจำนวนนี้มีเกาะที่สำคัญคือเกาะลันตาและเกาะพีพี
สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (ราคาคงที่ ปี 2531) ปี 2539 มูลค่าทั้งสิ้น11,919.1 ล้านบาท เป็นผลิตภัณฑ์จากภาคเกษตรสูงถึงร้อยละ 54.1 รองลงมาได้แก่ภาคการค้าปลีกค้าส่ง และภาคการบริการ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 12.4 และ 10.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ตามลำดับ มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 56,796 บาท/ ปี สูงเป็นอันดับ 6 ของภาค
ศักยภาพและโอกาสการลงทุน
ศักยภาพในการลงทุน
1)จากสัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ ปรากฎว่าอยู่ในอัตราสูงสุดถึงร้อยละ 132 นับเป็นอัตราสูงสุดจังหวัดหนึ่งของภาคใต้
2)ในด้านทรัพยากรธรรมชาติ ในปัจจุบันผลผลิตยางพารามีปริมาณรวมกันทั้งสิ้น 134,196 ตัน ปริมาณไม้ยางที่เกิดจากการตัดโค่นในแต่ละปีสูงกว่า 400,000 ลูกบาศก์เมตรปาล์มน้ำมันผลิตได้รวม 643,881 ตัน เป็นวัตถุดิบทางการเกษตรที่พร้อมก่อให้เกิดอุตสาหกรรมได้หลายประเภท
3)การขาดแคลนเนื้อสัตว์เพื่อการบริโภค สร้างโอกาสในการพัฒนาธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในเขตพื้นที่
4)สภาพชายฝั่งทะเลที่ยาวกว่า160 กิโลเมตร มีความพร้อมที่จะก่อให้เกิดธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้เกือบทุกชนิด
5)การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการส่งออกตามแผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทั้งท่าเรือน้ำลึก นิคม อุตสาหกรรม จะช่วยสร้างโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมส่งออก และอุตสาหกรรมที่ส่งขายตลาดในท้องถิ่น
6)ผลการศึกษาของ Bechtel Internation ร่วมกับ Nippon koei, Asian engineering consultant และ Southern Asia technology ซึ่งรับผิดชอบในการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ คาดหมายว่าพื้นที่จังหวัดกระบี่สามารถรองรับอุตสาหกรรมได้มากกว่า 12 ประเภท ถ้าหากการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก นิคมอุตสาหกรรม และสะพานเศรษฐกิจแล้วเสร็จตามแผนงานทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปยาง / ปาล์ม พลาสติก ชิ้นส่วนรถยนต์ / อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเบาเพื่อการส่งออกอื่น ๆ
7)สภาพภูมิทัศน์และธรรมชาติในพื้นที่ที่ได้รับการยอมรับ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในระดับนานาชาติให้กระบี่มีทางเลือกในการพัฒนาธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวได้หลากหลาย การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวที่ทำงานแล้วและผู้สูงอายุ สร้างโอกาสในการลงทุนธุรกิจโรงแรมที่พักระดับกลาง บ้านพักตากอากาศของคนมีฐานะ ตลอดจนการจัดวนเกษตรแบบแบ่งแปลง การขยายตัวของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวใหม่ สร้างโอกาสในการขยายตัวของธุรกิจที่พักแรมบนเกาะลันตา
ขณะเดียวกัน นักลงทุนสามารถอาศัยจุดอ่อนด้านการเดินทางจากจังหวัดภูเก็ตมายังจังหวัดกระบี่ที่ต้องใช้ระยะเวลากว่า 2 ช.ม. พัฒนาธุรกิจเรือโดยสารระหว่างภูเก็ต-กระบี่ โดยใช้เรือเฟอร์รี่ที่มีความเร็วสูงที่สามารถย่นระยะเวลาการเดินทางลงเหลือ 1 ช.ม. พร้อมกันนั้นธุรกิจการค้าของที่ระลึกก็มีโอกาสการลงทุนในจังหวัดด้วย
8) การขาดแคลนศูนย์กลางการค้าส่งในจังหวัด และการเพิ่มขึ้นของประชากรในเขตเมืองเป็นอีก 2 ปัญหาที่ช่วยสร้างโอกาสในการลงทุนในจังหวัดได้ด้วย
ผลการศึกษาและการสัมมนาร่วมระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนในจังหวัดพบว่าในอาคตการพัฒนากรลงทุนของจังหวัดจะดำรงอยู่บนเส้นทางการพัฒนาใน 3 ประการคือ
1)การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของอนุภาคอันดามัน ที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวอ่าวพังงาทางตอนเหนือ และเชื่อมโยงกับจังหวัดตรัง-สตูล-ลังกาวี-เมดาน
2)การเป็นแหล่งอุตสาหกรรมแปรรูปยางและปาล์มน้ำมันในระยะแรก และแหล่งอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในระยะถัดไป
3)การเป็นประตูเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลอันดามัน
ข้อเสนอการลงทุน
-โครงการลงทุนในสาขาการบริการ/ท่องเที่ยว
ธุรกิจโรงแรม
บ้านพักตากอากาศ
ศูนย์สินค้าที่ระลึกและอาหารทะเล
บริการเรือโดยสาร ภูเก็ต-กระบี่
โรงพยาบาลเอกชน
ศูนย์ค้าส่งระบบบริการตัวเอง
บ้านจัดสรร
กิจการลงทุนรัฐ/เอกชน
ตามแผนแม่บทพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้
- บริษัทที่ปรึกษาทางด้านวิศวกรรมและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
-กิจการเส้นทาง (สัมปทาน) สะพานเศรษฐกิจ เชื่อมทะเลตะวันออก-ตะวันตก/ท่าเรือน้ำลึก/นิคมอุตสาหกรรม
-โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานของเอกชน
-โครงการลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม
9. การผลิตไม้ยางพาราแปรรูป
10. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
11.อุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา
- อุตสาหกรรมผลิตยางแท่ง
- อุตสาหกรรมน้ำยางข้น
- อุตสาหกรรมผลิตถุงยางอนามัย
-ดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพารา
12.โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
-โครงการลงทุนในสาขาเกษตร
13.กิจการสวนเกษตร(แปลงจัดสรร)
14.บริษัทจัดสวนเกษตร
15. สวนผลไม้
-การทำสวนมะนาว
-การทำสวนมังคุด
-การทำสวนทุเรียน
16.ธุรกิจการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง
-การเพาะเลี้ยงปลากะรังในกระชัง
-การเพาะเลี้ยงปลากะพงในกระชัง
-การเลี้ยงหอยแครง
-การเลี้ยงหอยนางรม
17.การส่งเสริมการเลี้ยงแพะ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
จังหวัดกระบี่ตั้งอยู่ในเขตภาคใต้ตอนบน ทางด้านฝั่งตะวันตกติดกับฝั่งทะเลอันดามันมหาสมุทรอินเดีย ระยะทางจากกรุงเทพมหานครตามทางรถยนต์สายเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ประมาณ 946 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 4,708.5 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 7 อำเภอ กับ 1 กิ่งอำเภอได้แก่ อำเภอเมืองกระบี่ อ่าวลึก คลองท่อม ปลายพระยา เขาพนม ลำทับ เกาะลันตา และกิ่งอำเภอเหนือคลอง มีประชากรทั้งสิ้น358,383 คน หรือร้อยละ 4.4 ของประชากรทั้งภาค
ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดกระบี่แตกต่างกันระหว่างบริเวณตอนเหนือและตอนใต้ของจังหวัด นั่นคือ ตอนเหนือประกอบด้วยเทือกเขายาวสลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่น ขณะที่บริเวณตอนใต้พื้นที่ค่อนข้างราบ
จังหวัดกระบี่มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 160 กิโลเมตร มีเกาะประมาณ 130 เกาะ ในจำนวนนี้มีเกาะที่สำคัญคือเกาะลันตาและเกาะพีพี
สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (ราคาคงที่ ปี 2531) ปี 2539 มูลค่าทั้งสิ้น11,919.1 ล้านบาท เป็นผลิตภัณฑ์จากภาคเกษตรสูงถึงร้อยละ 54.1 รองลงมาได้แก่ภาคการค้าปลีกค้าส่ง และภาคการบริการ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 12.4 และ 10.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ตามลำดับ มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 56,796 บาท/ ปี สูงเป็นอันดับ 6 ของภาค
ศักยภาพและโอกาสการลงทุน
ศักยภาพในการลงทุน
1)จากสัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ ปรากฎว่าอยู่ในอัตราสูงสุดถึงร้อยละ 132 นับเป็นอัตราสูงสุดจังหวัดหนึ่งของภาคใต้
2)ในด้านทรัพยากรธรรมชาติ ในปัจจุบันผลผลิตยางพารามีปริมาณรวมกันทั้งสิ้น 134,196 ตัน ปริมาณไม้ยางที่เกิดจากการตัดโค่นในแต่ละปีสูงกว่า 400,000 ลูกบาศก์เมตรปาล์มน้ำมันผลิตได้รวม 643,881 ตัน เป็นวัตถุดิบทางการเกษตรที่พร้อมก่อให้เกิดอุตสาหกรรมได้หลายประเภท
3)การขาดแคลนเนื้อสัตว์เพื่อการบริโภค สร้างโอกาสในการพัฒนาธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในเขตพื้นที่
4)สภาพชายฝั่งทะเลที่ยาวกว่า160 กิโลเมตร มีความพร้อมที่จะก่อให้เกิดธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้เกือบทุกชนิด
5)การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการส่งออกตามแผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทั้งท่าเรือน้ำลึก นิคม อุตสาหกรรม จะช่วยสร้างโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมส่งออก และอุตสาหกรรมที่ส่งขายตลาดในท้องถิ่น
6)ผลการศึกษาของ Bechtel Internation ร่วมกับ Nippon koei, Asian engineering consultant และ Southern Asia technology ซึ่งรับผิดชอบในการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ คาดหมายว่าพื้นที่จังหวัดกระบี่สามารถรองรับอุตสาหกรรมได้มากกว่า 12 ประเภท ถ้าหากการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก นิคมอุตสาหกรรม และสะพานเศรษฐกิจแล้วเสร็จตามแผนงานทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปยาง / ปาล์ม พลาสติก ชิ้นส่วนรถยนต์ / อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเบาเพื่อการส่งออกอื่น ๆ
7)สภาพภูมิทัศน์และธรรมชาติในพื้นที่ที่ได้รับการยอมรับ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในระดับนานาชาติให้กระบี่มีทางเลือกในการพัฒนาธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวได้หลากหลาย การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวที่ทำงานแล้วและผู้สูงอายุ สร้างโอกาสในการลงทุนธุรกิจโรงแรมที่พักระดับกลาง บ้านพักตากอากาศของคนมีฐานะ ตลอดจนการจัดวนเกษตรแบบแบ่งแปลง การขยายตัวของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวใหม่ สร้างโอกาสในการขยายตัวของธุรกิจที่พักแรมบนเกาะลันตา
ขณะเดียวกัน นักลงทุนสามารถอาศัยจุดอ่อนด้านการเดินทางจากจังหวัดภูเก็ตมายังจังหวัดกระบี่ที่ต้องใช้ระยะเวลากว่า 2 ช.ม. พัฒนาธุรกิจเรือโดยสารระหว่างภูเก็ต-กระบี่ โดยใช้เรือเฟอร์รี่ที่มีความเร็วสูงที่สามารถย่นระยะเวลาการเดินทางลงเหลือ 1 ช.ม. พร้อมกันนั้นธุรกิจการค้าของที่ระลึกก็มีโอกาสการลงทุนในจังหวัดด้วย
8) การขาดแคลนศูนย์กลางการค้าส่งในจังหวัด และการเพิ่มขึ้นของประชากรในเขตเมืองเป็นอีก 2 ปัญหาที่ช่วยสร้างโอกาสในการลงทุนในจังหวัดได้ด้วย
ผลการศึกษาและการสัมมนาร่วมระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนในจังหวัดพบว่าในอาคตการพัฒนากรลงทุนของจังหวัดจะดำรงอยู่บนเส้นทางการพัฒนาใน 3 ประการคือ
1)การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของอนุภาคอันดามัน ที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวอ่าวพังงาทางตอนเหนือ และเชื่อมโยงกับจังหวัดตรัง-สตูล-ลังกาวี-เมดาน
2)การเป็นแหล่งอุตสาหกรรมแปรรูปยางและปาล์มน้ำมันในระยะแรก และแหล่งอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในระยะถัดไป
3)การเป็นประตูเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลอันดามัน
ข้อเสนอการลงทุน
-โครงการลงทุนในสาขาการบริการ/ท่องเที่ยว
ธุรกิจโรงแรม
บ้านพักตากอากาศ
ศูนย์สินค้าที่ระลึกและอาหารทะเล
บริการเรือโดยสาร ภูเก็ต-กระบี่
โรงพยาบาลเอกชน
ศูนย์ค้าส่งระบบบริการตัวเอง
บ้านจัดสรร
กิจการลงทุนรัฐ/เอกชน
ตามแผนแม่บทพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้
- บริษัทที่ปรึกษาทางด้านวิศวกรรมและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
-กิจการเส้นทาง (สัมปทาน) สะพานเศรษฐกิจ เชื่อมทะเลตะวันออก-ตะวันตก/ท่าเรือน้ำลึก/นิคมอุตสาหกรรม
-โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานของเอกชน
-โครงการลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม
9. การผลิตไม้ยางพาราแปรรูป
10. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
11.อุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา
- อุตสาหกรรมผลิตยางแท่ง
- อุตสาหกรรมน้ำยางข้น
- อุตสาหกรรมผลิตถุงยางอนามัย
-ดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพารา
12.โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
-โครงการลงทุนในสาขาเกษตร
13.กิจการสวนเกษตร(แปลงจัดสรร)
14.บริษัทจัดสวนเกษตร
15. สวนผลไม้
-การทำสวนมะนาว
-การทำสวนมังคุด
-การทำสวนทุเรียน
16.ธุรกิจการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง
-การเพาะเลี้ยงปลากะรังในกระชัง
-การเพาะเลี้ยงปลากะพงในกระชัง
-การเลี้ยงหอยแครง
-การเลี้ยงหอยนางรม
17.การส่งเสริมการเลี้ยงแพะ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-