แท็ก
เงินบาท
ความเคลื่อนไหวของเงินตราต่างประเทศและราคาทองคำ
ความเคลื่อนไหวของเงินตราต่างประเทศ
ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนลงในปี 2543 โดยมีค่าเฉลี่ยรายเดือน (อัตราอ้างอิง) อ่อนลงจาก 37.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมกราคม ไปเป็น 43.73 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนพฤศจิกายน แล้วแข็งค่าขึ้นเป็น 43.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนธันวาคมค่าเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับ 40.16 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 37.84 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2542 ในช่วงครึ่งปีแรก ค่าเงินบาท เคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ โดยมีแนวโน้มอ่อนลงเล็กน้อย เนื่องจากปัญหาการปรับโครงสร้าง ภาคการเงินของไทย ปัญหาการเจรจาระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนี้ของบริษัท TPI ในต้นเดือนมีนาคม ซึ่ง ส่งผลกระทบต่อ sentiment ของค่าเงินบาท การที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวลดลง โดยที่ MSCI (Morgan Stanley Capital International) ได้ปรับ ลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยในเดือนมีนาคม ตลอดจนการอ่อนตัวเป็นระยะของค่าเงินสกุลสำคัญในภูมิภาคในช่วงกลางปี ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ประกาศภาระหนี้ต่างประเทศจากการสำรวจใหม่ทำให้ตัวเลขหนี้ต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งมี ผลต่อความต้องการเงินตราต่างประเทศ โดยเอกชนไทยได้เร่งซื้อดอลลาร์ สรอ. เพื่อชำระหนี้และตลาดเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่เข้าแทรกแซง ค่าเงินบาทจึงอาจปรับตัวอ่อนลงได้อีก ปัจจัย ภายนอกที่มีผลต่อค่าเงินบาท ได้แก่ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ต่อเนื่องกันถึง 6 ครั้ง นับตั้งแต่ ปี 2542 ประกอบกับการอ่อนค่าของสกุลเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะรูเปียอินโดนีเซีย และเปโซฟิลิปปินส์ ในไตรมาสที่สาม ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนลงอย่างรวดเร็วในเดือนกันยายน เมื่อธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ลง ทำให้เอกชนไทยแปลงหนี้ต่างประเทศเป็นหนี้สกุลเงินบาทเพื่อลดต้นทุน ประกอบกับการที่ MSCI ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนให้กับสหรัฐฯ โดยลดน้ำหนักการลงทุนในญี่ปุ่นและยุโรปและได้ตัดหลักทรัพย์ไทยออก 8 หลักทรัพย์ โดยเพิ่มหลักทรัพย์ใหม่เพียง 1 หลักทรัพย์ ส่งผลลบต่อ sentiment ในตลาด หลักทรัพย์และค่าเงินบาท นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยลบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง ราคาน้ำมันที่ สูงขึ้น การอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาคอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าเงินเปโซ-ฟิลิปปินส์ ในไตรมาสที่สี่ ค่าเงินบาทยังคงอ่อนลงต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยมาจากปัญหาการเมืองในประเทศและการอ่อนลงของค่าเงินในภูมิภาคอย่างรุนแรงและ ต่อเนื่อง โดยค่าเงินเปโซฟิลิปปินส์ได้อ่อนลงเป็นประวัติการณ์ถึงระดับ 51 เปโซต่อดอลลาร์ สรอ. ในปลายเดือนตุลาคม เนื่องจากปัญหาการเมือง อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทได้ปรับตัวแข็งขึ้นในเดือนธันวาคม เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอลงมาก ส่งผลลบ ต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นระดับหนึ่ง ประกอบกับมีแรงขายดอลลาร์ สรอ. /บาท ของ US Fund และสถาบันการเงิน ในต่างประเทศ เพื่อตัดขาดทุนหลังจากที่เงินบาท มีค่าแข็งขึ้นมาก รวมทั้งเพื่อปิดฐานะการ long dollar ในช่วงสิ้นปี อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่จำกัดการแข็งขึ้นของค่าเงินบาทยังคงมาจาก ความต้องการซื้อดอลลาร์ สรอ. /บาท ของภาคเอกชนในประเทศเพื่อชำระหนี้ และการรอผลการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ที่จะ มีขึ้นในวันที่ 6 มกราคม 2544 โดยสรุปค่าเงินบาทได้ปรับตัวอ่อนลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 11 เดือนแรกของปีแล้วแข็งขึ้นเมื่อสิ้นปี เนื่องจากผลกระทบจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ อย่างไรก็ตาม การอ่อนตัวของค่าเงินบาทเป็นไปในระดับที่น้อยกว่าการอ่อนตัวของค่าเงินบางสกุลในภูมิภาค เช่น เปโซฟิลิปปินส์ และรูเปียอินโดนีเซีย
ดอลลาร์ สรอ.
ในปี 2543 ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เฉลี่ยทั้งปี มีค่าแข็งขึ้นร้อยละ 13.52 และ 0.07 เมื่อเทียบกับ เงินยูโรและปอนด์สเตอร์ลิงตามลำดับแต่อ่อนลง ร้อยละ 5.58 เทียบกับเยนญี่ปุ่น โดยมีค่าเฉลี่ยในปีนี้เป็น 0.923 ดอลลาร์ สรอ. ต่อยูโร 1.51 ดอลลาร์ สรอ. ต่อปอนด์สเตอร์ลิง และ 107.8 เยนญี่ปุ่น ต่อดอลลาร์ สรอ. ปัจจัยบวกต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในครึ่งปี แรก ได้แก่ พื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่ง โดยมีการประกาศทบทวนตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ ประจำ ไตรมาสที่ 4 ปี 2542 เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 6.9 ต่อปี เป็นร้อยละ 7.3 ต่อปี หรือขยายตัวทั้งปี 2542 คิดเป็นร้อยละ 4.6 และในไตรมาสที่ 2 ของปี 2543 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 6 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 2542 เพื่อลดความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อ โดยครั้งสุดท้ายได้ปรับเพิ่ม Fed Fund rate และ Discount rate ขึ้นร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 6.5 และร้อยละ 6.0 ตามลำดับ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 และยืนอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวจนถึงสิ้นปี อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของสหรัฐฯ ได้ลดลง อย่างมาก ในไตรมาสที่ 3 โดยตัวเลขประมาณการ GDP สำหรับไตรมาสที่ 3 ได้ถูกปรับลดลงจากเดิม ร้อยละ 2.4 เป็นร้อยละ 2.2 นอกจากนี้ ตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มแสดงการชะลอตัวและดัชนี ตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยที่ consumer confidence เดือนพฤศจิกายนลดลงต่ำที่สุดในรอบ 13 เดือน ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้เน้นถึงความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจมากกว่าความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ทำให้ตลาดคาดว่าอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ในช่วงต้นปีหน้า เพื่อป้องกันการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
ยูโร
ค่าเงินยูโรได้อ่อนลงต่อเนื่อง แต่การแทรกแซง โดยธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ทำให้ค่าเงินยูโร แข็งขึ้นในช่วงกลางปีและปลายปี โดย ECB ได้ประกาศปรับ เพิ่มอัตราดอกเบี้ย Refinancing rate ถึง 5 ครั้ง ในปี 2543 โดยเพิ่มจากร้อยละ 3 ในช่วงต้นปี เป็นร้อยละ 4.75 ในเดือนตุลาคม โดยคณะกรรมการธนาคารกลาง ยุโรปได้ให้เหตุผลว่า เนื่องมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่ม สูงขึ้นและค่าเงินยูโรที่อ่อนลงได้เริ่มสร้างแรงกดดัน ด้านเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศสมาชิก อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว มิได้สนับสนุนค่าเงิน ยูโรมากนักเนื่องจากตลาดได้คาดการณ์ (price in) ไว้ล่วงหน้าแล้ว ปัจจัยกดดันค่าเงินยูโร ได้แก่ ความ ไม่เป็นเอกภาพของประเทศสมาชิก และตัวเลขทางเศรษฐกิจของเยอรมนีที่มีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง ทำให้ตลาดคาดว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของ Eurozone จะชะลอลง
ปอนด์สเตอร์ลิง
ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงมีแนวโน้มอ่อนลงตามค่าเงินยูโร เนื่องจากเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ทางการค้าอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม การอ่อนตัวของค่าเงินปอนด์เป็นไปอัตราที่น้อยกว่าการอ่อนตัวของค่าเงินยูโร ส่วนหนึ่งเนื่องจากวงจรเศรษฐกิจ (Business Cycle) ที่ต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อระดับอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศที่ต่างกัน
เยนญี่ปุ่น
ค่าเงินเยนผันผวนที่ระดับ 105-109 เยนต่อดอลลาร์สรอ. ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น และการที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่มีทิศทางการฟื้นตัว ที่ชัดเจน ทำให้ค่าเงินเยนอ่อนลงต่อเนื่องในช่วง ไตรมาสที่ 4 โดยค่าเงินเยนอ่อนลงมากในเดือนธันวาคมส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความนิยมของ ประชาชนต่อรัฐบาลที่ลดลง แม้ว่านาย Mori นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสามารถผ่านการลงคะแนนเสียงญัตติไม่ไว้วางใจในช่วงกลางเดือนธันวาคม รวมถึง แรงกดดันจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์นิเคอิที่ลดลง อย่างมากตามการลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ในสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี โดยเงินเยนญี่ปุ่นอ่อนตัว ต่อเนื่องไปปิดที่ระดับ 115 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันทำการสุดท้ายของปี ทำให้ค่าเฉลี่ยในเดือนธันวาคมอ่อนลงเป็น 112.2 เยนต่อดอลลาร์ สรอ.
ราคาทองคำ
ในปี 2543 ราคาทองคำในตลาดลอนดอนเฉลี่ยสูงขึ้นร้อยละ 0.78 จาก 277.04 ดอลลาร์ สรอ. ต่อทรอยเอานซ์ ในปี 2542 เป็น 279.20 ดอลลาร์ต่อทรอยเอานซ์ โดยในระหว่างปี 2543 ราคาทองคำ มีความผันผวน และได้โน้มตัวต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการคาดการณ์ในเรื่องของปริมาณ ทองคำที่จะเพิ่มขึ้นจากการขายทองคำของธนาคารกลางต่างๆ ในยุโรป จึงเกิดการขายในตลาดล่วงหน้า ตลอดจนมีการปิดฐานะทองคำก่อนวันส่งมอบซึ่ง ทำให้ราคาทองคำผันผวนในตลาดซื้อขายทองคำ ทันที ในขณะที่อุปสงค์ทองคำไม่ได้เปลี่ยนแปลง มากนัก นอกจากนี้ การแข็งค่าของดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับค่าเงินยูโรและค่าเงินในภูมิภาคเอเซีย ทำให้ผู้ผลิตขายทองคำออกมาสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่ผู้ซื้อในยุโรปได้ลดปริมาณการนำเข้า ทองคำ เนื่องจากทองคำมีราคาแพงขึ้นจากผลของความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ความเคลื่อนไหวของเงินตราต่างประเทศ
ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนลงในปี 2543 โดยมีค่าเฉลี่ยรายเดือน (อัตราอ้างอิง) อ่อนลงจาก 37.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมกราคม ไปเป็น 43.73 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนพฤศจิกายน แล้วแข็งค่าขึ้นเป็น 43.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนธันวาคมค่าเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับ 40.16 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 37.84 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2542 ในช่วงครึ่งปีแรก ค่าเงินบาท เคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ โดยมีแนวโน้มอ่อนลงเล็กน้อย เนื่องจากปัญหาการปรับโครงสร้าง ภาคการเงินของไทย ปัญหาการเจรจาระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนี้ของบริษัท TPI ในต้นเดือนมีนาคม ซึ่ง ส่งผลกระทบต่อ sentiment ของค่าเงินบาท การที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวลดลง โดยที่ MSCI (Morgan Stanley Capital International) ได้ปรับ ลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยในเดือนมีนาคม ตลอดจนการอ่อนตัวเป็นระยะของค่าเงินสกุลสำคัญในภูมิภาคในช่วงกลางปี ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ประกาศภาระหนี้ต่างประเทศจากการสำรวจใหม่ทำให้ตัวเลขหนี้ต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งมี ผลต่อความต้องการเงินตราต่างประเทศ โดยเอกชนไทยได้เร่งซื้อดอลลาร์ สรอ. เพื่อชำระหนี้และตลาดเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่เข้าแทรกแซง ค่าเงินบาทจึงอาจปรับตัวอ่อนลงได้อีก ปัจจัย ภายนอกที่มีผลต่อค่าเงินบาท ได้แก่ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ต่อเนื่องกันถึง 6 ครั้ง นับตั้งแต่ ปี 2542 ประกอบกับการอ่อนค่าของสกุลเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะรูเปียอินโดนีเซีย และเปโซฟิลิปปินส์ ในไตรมาสที่สาม ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนลงอย่างรวดเร็วในเดือนกันยายน เมื่อธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ลง ทำให้เอกชนไทยแปลงหนี้ต่างประเทศเป็นหนี้สกุลเงินบาทเพื่อลดต้นทุน ประกอบกับการที่ MSCI ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนให้กับสหรัฐฯ โดยลดน้ำหนักการลงทุนในญี่ปุ่นและยุโรปและได้ตัดหลักทรัพย์ไทยออก 8 หลักทรัพย์ โดยเพิ่มหลักทรัพย์ใหม่เพียง 1 หลักทรัพย์ ส่งผลลบต่อ sentiment ในตลาด หลักทรัพย์และค่าเงินบาท นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยลบจากความไม่แน่นอนทางการเมือง ราคาน้ำมันที่ สูงขึ้น การอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาคอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าเงินเปโซ-ฟิลิปปินส์ ในไตรมาสที่สี่ ค่าเงินบาทยังคงอ่อนลงต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยมาจากปัญหาการเมืองในประเทศและการอ่อนลงของค่าเงินในภูมิภาคอย่างรุนแรงและ ต่อเนื่อง โดยค่าเงินเปโซฟิลิปปินส์ได้อ่อนลงเป็นประวัติการณ์ถึงระดับ 51 เปโซต่อดอลลาร์ สรอ. ในปลายเดือนตุลาคม เนื่องจากปัญหาการเมือง อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทได้ปรับตัวแข็งขึ้นในเดือนธันวาคม เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอลงมาก ส่งผลลบ ต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นระดับหนึ่ง ประกอบกับมีแรงขายดอลลาร์ สรอ. /บาท ของ US Fund และสถาบันการเงิน ในต่างประเทศ เพื่อตัดขาดทุนหลังจากที่เงินบาท มีค่าแข็งขึ้นมาก รวมทั้งเพื่อปิดฐานะการ long dollar ในช่วงสิ้นปี อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่จำกัดการแข็งขึ้นของค่าเงินบาทยังคงมาจาก ความต้องการซื้อดอลลาร์ สรอ. /บาท ของภาคเอกชนในประเทศเพื่อชำระหนี้ และการรอผลการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ที่จะ มีขึ้นในวันที่ 6 มกราคม 2544 โดยสรุปค่าเงินบาทได้ปรับตัวอ่อนลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 11 เดือนแรกของปีแล้วแข็งขึ้นเมื่อสิ้นปี เนื่องจากผลกระทบจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ อย่างไรก็ตาม การอ่อนตัวของค่าเงินบาทเป็นไปในระดับที่น้อยกว่าการอ่อนตัวของค่าเงินบางสกุลในภูมิภาค เช่น เปโซฟิลิปปินส์ และรูเปียอินโดนีเซีย
ดอลลาร์ สรอ.
ในปี 2543 ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เฉลี่ยทั้งปี มีค่าแข็งขึ้นร้อยละ 13.52 และ 0.07 เมื่อเทียบกับ เงินยูโรและปอนด์สเตอร์ลิงตามลำดับแต่อ่อนลง ร้อยละ 5.58 เทียบกับเยนญี่ปุ่น โดยมีค่าเฉลี่ยในปีนี้เป็น 0.923 ดอลลาร์ สรอ. ต่อยูโร 1.51 ดอลลาร์ สรอ. ต่อปอนด์สเตอร์ลิง และ 107.8 เยนญี่ปุ่น ต่อดอลลาร์ สรอ. ปัจจัยบวกต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในครึ่งปี แรก ได้แก่ พื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่ง โดยมีการประกาศทบทวนตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ ประจำ ไตรมาสที่ 4 ปี 2542 เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 6.9 ต่อปี เป็นร้อยละ 7.3 ต่อปี หรือขยายตัวทั้งปี 2542 คิดเป็นร้อยละ 4.6 และในไตรมาสที่ 2 ของปี 2543 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 6 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 2542 เพื่อลดความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อ โดยครั้งสุดท้ายได้ปรับเพิ่ม Fed Fund rate และ Discount rate ขึ้นร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 6.5 และร้อยละ 6.0 ตามลำดับ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 และยืนอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวจนถึงสิ้นปี อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของสหรัฐฯ ได้ลดลง อย่างมาก ในไตรมาสที่ 3 โดยตัวเลขประมาณการ GDP สำหรับไตรมาสที่ 3 ได้ถูกปรับลดลงจากเดิม ร้อยละ 2.4 เป็นร้อยละ 2.2 นอกจากนี้ ตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มแสดงการชะลอตัวและดัชนี ตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยที่ consumer confidence เดือนพฤศจิกายนลดลงต่ำที่สุดในรอบ 13 เดือน ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้เน้นถึงความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจมากกว่าความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ทำให้ตลาดคาดว่าอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ในช่วงต้นปีหน้า เพื่อป้องกันการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
ยูโร
ค่าเงินยูโรได้อ่อนลงต่อเนื่อง แต่การแทรกแซง โดยธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ทำให้ค่าเงินยูโร แข็งขึ้นในช่วงกลางปีและปลายปี โดย ECB ได้ประกาศปรับ เพิ่มอัตราดอกเบี้ย Refinancing rate ถึง 5 ครั้ง ในปี 2543 โดยเพิ่มจากร้อยละ 3 ในช่วงต้นปี เป็นร้อยละ 4.75 ในเดือนตุลาคม โดยคณะกรรมการธนาคารกลาง ยุโรปได้ให้เหตุผลว่า เนื่องมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่ม สูงขึ้นและค่าเงินยูโรที่อ่อนลงได้เริ่มสร้างแรงกดดัน ด้านเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศสมาชิก อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว มิได้สนับสนุนค่าเงิน ยูโรมากนักเนื่องจากตลาดได้คาดการณ์ (price in) ไว้ล่วงหน้าแล้ว ปัจจัยกดดันค่าเงินยูโร ได้แก่ ความ ไม่เป็นเอกภาพของประเทศสมาชิก และตัวเลขทางเศรษฐกิจของเยอรมนีที่มีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง ทำให้ตลาดคาดว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของ Eurozone จะชะลอลง
ปอนด์สเตอร์ลิง
ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงมีแนวโน้มอ่อนลงตามค่าเงินยูโร เนื่องจากเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ทางการค้าอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม การอ่อนตัวของค่าเงินปอนด์เป็นไปอัตราที่น้อยกว่าการอ่อนตัวของค่าเงินยูโร ส่วนหนึ่งเนื่องจากวงจรเศรษฐกิจ (Business Cycle) ที่ต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อระดับอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศที่ต่างกัน
เยนญี่ปุ่น
ค่าเงินเยนผันผวนที่ระดับ 105-109 เยนต่อดอลลาร์สรอ. ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2543 อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น และการที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่มีทิศทางการฟื้นตัว ที่ชัดเจน ทำให้ค่าเงินเยนอ่อนลงต่อเนื่องในช่วง ไตรมาสที่ 4 โดยค่าเงินเยนอ่อนลงมากในเดือนธันวาคมส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความนิยมของ ประชาชนต่อรัฐบาลที่ลดลง แม้ว่านาย Mori นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสามารถผ่านการลงคะแนนเสียงญัตติไม่ไว้วางใจในช่วงกลางเดือนธันวาคม รวมถึง แรงกดดันจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์นิเคอิที่ลดลง อย่างมากตามการลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ในสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี โดยเงินเยนญี่ปุ่นอ่อนตัว ต่อเนื่องไปปิดที่ระดับ 115 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันทำการสุดท้ายของปี ทำให้ค่าเฉลี่ยในเดือนธันวาคมอ่อนลงเป็น 112.2 เยนต่อดอลลาร์ สรอ.
ราคาทองคำ
ในปี 2543 ราคาทองคำในตลาดลอนดอนเฉลี่ยสูงขึ้นร้อยละ 0.78 จาก 277.04 ดอลลาร์ สรอ. ต่อทรอยเอานซ์ ในปี 2542 เป็น 279.20 ดอลลาร์ต่อทรอยเอานซ์ โดยในระหว่างปี 2543 ราคาทองคำ มีความผันผวน และได้โน้มตัวต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการคาดการณ์ในเรื่องของปริมาณ ทองคำที่จะเพิ่มขึ้นจากการขายทองคำของธนาคารกลางต่างๆ ในยุโรป จึงเกิดการขายในตลาดล่วงหน้า ตลอดจนมีการปิดฐานะทองคำก่อนวันส่งมอบซึ่ง ทำให้ราคาทองคำผันผวนในตลาดซื้อขายทองคำ ทันที ในขณะที่อุปสงค์ทองคำไม่ได้เปลี่ยนแปลง มากนัก นอกจากนี้ การแข็งค่าของดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับค่าเงินยูโรและค่าเงินในภูมิภาคเอเซีย ทำให้ผู้ผลิตขายทองคำออกมาสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่ผู้ซื้อในยุโรปได้ลดปริมาณการนำเข้า ทองคำ เนื่องจากทองคำมีราคาแพงขึ้นจากผลของความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-