1. สถานการณ์การผลิต โรคตัวแดงกุ้งระบาดที่กระบี่ ผู้เลี้ยงควรระมัดระวังให้มากขึ้น
นายเกียรติศักดิ์ เกษมพันธ์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาอาชีพประมง จังหวัดกระบี่ กล่าวถึงสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งในจังหวัดกระบี่ว่า ปัจจุบันมีผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัดกระบี่ประมาณ 1,200 ราย พื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ ในพื้นที่ 5 อำเภอ โดยมีโรงเพาะฟักลูกกุ้งจำนวน 37 แห่ง และมีการจัดตั้งชมรมผู้เลี้ยงกุ้งขึ้น 1 แห่ง แต่ในปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกำลังประสบกับปัญหาขาดสภาพคล่อง ขาดเงินทุนหมุนเวียน และปัญหาปัจจัยการผลิตมีราคาแพง เช่น น้ำมัน ยา หรืออาหารกุ้ง ประกอบกับในช่วงนี้มีการปล่อยกุ้งเป็นจำนวนมาก แต่สิ่งที่ควรระมัดระวังอย่างมากในขณะนี้ก็คือ โรคตัวแดงได้กระจายอยู่ทั่วทุกอำเภอแต่ไม่รุนแรงมากนัก ดังนั้น เกษตรกรควรระมัดระวังให้มากขึ้น โดยอาจจะทำการเลี้ยงแบบระบบกึ่งปิด และพยายามไม่เติมน้ำจากภายนอก
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 22-28 สค.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,398.17 ตัน แยกเป็นสัตว์ น้ำเค็ม 501.62 ตัน สัตว์น้ำจืด 896.55 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.07 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.88 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 68.52 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 46.60 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 57.67 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด ผู้เลี้ยงตะพาบน้ำขอให้จีนใช้มาตรฐานการส่งออกที่รับรองโดยทางการไทย
นายธวัธชัย สันติกุล ที่ปรึกษาสมาคมผู้เพาะเลี้ยงตะพาบน้ำ กล่าวภายหลังจากที่ทางการของจีน เดินทางเข้ามาตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงตะพาบน้ำและพบผู้ผลิตตะพาบน้ำของไทยระหว่างวันที่ 19-21 สิงหาคม ที่ผ่านมา คาดว่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกตะพาบน้ำของไทยในอนาคต เนื่องจากทางการจีนค่อนข้างพอใจ ขบวนการผลิตของไทยเพิ่มขึ้นจากเดิม
นอกจากนี้ กลุ่มผู้เลี้ยงตะพาบน้ำของไทยยังใช้โอกาสดังกล่าว เสนอให้จีนหันมาใช้มาตรฐานการส่งออกที่รับรองโดยทางการไทยแทนการใช้มาตรฐานของประเทศจีนเหมือนในอดีต ซึ่งปัจจุบันมี 3 หน่วยงาน คือ กรมประมง กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ร่างแบบฟอร์มมาตรฐานการส่งออกตะพาบน้ำ โดยไทยจะส่งแบบฟอร์มที่ออกโดย 3 หน่วยงานดังกล่าวให้ทางการจีนเลือกว่าจะใช้แบบฟอร์มของหน่วยงานไหนถึงจะสอดคล้องกับกฎเกณฑ์นำเข้าของจีนมากที่สุดและหากจีนยอมตกลงที่จะใช้แบบฟอร์มตรวจสอบมาตรฐานของไทย จะทำให้การส่งออกตะพาบน้ำของไทยมีความคล่องตัวมากขึ้น เพราะสินค้าจะถูกตรวจสอบตั้งแต่ต้นทาง จากเดิมซึ่งจะถูกเรียกตรวจสอบปลายทางทำให้มีขั้นตอนยุ่งยากมาก
สำหรับสถานการณ์ส่งออกตะพาบน้ำของไทยในขณะนี้ ยอดส่งออกยังคงซบเซา เนื่องจากการส่งออกส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีลักลอบนำเข้าโดยผ่านประเทศสิงคโปร์และฮ่องกงส่งผลให้ราคาตกต่ำลงเรื่อยโดยปัจจุบันตะพาบน้ำขนาดใหญ่มีราคาอยู่ที่ กก.ละ 170 บาท ในขณะที่ 2 ปีที่แล้วอยู่ที่ กก.ละ ประมาณ 270-350 บาท ส่วนขนาดเล็กอยู่ประมาณ 80 บาท และขนาดไม่ได้มาตรฐานอยู่ที่ กก.ละ 20-30 บาท เท่านั้นความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.39 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 367.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 373.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 435.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 426.67 บาท ของสัปดาห์ 8.33 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 16.94 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.21 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.71 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.13 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58 ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 28 สค.- 1 กย. 43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.80 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 34 ประจำวันที่ 28 ส.ค.- 3 ก.ย. 2543--
-สส-
นายเกียรติศักดิ์ เกษมพันธ์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาอาชีพประมง จังหวัดกระบี่ กล่าวถึงสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งในจังหวัดกระบี่ว่า ปัจจุบันมีผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัดกระบี่ประมาณ 1,200 ราย พื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ ในพื้นที่ 5 อำเภอ โดยมีโรงเพาะฟักลูกกุ้งจำนวน 37 แห่ง และมีการจัดตั้งชมรมผู้เลี้ยงกุ้งขึ้น 1 แห่ง แต่ในปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกำลังประสบกับปัญหาขาดสภาพคล่อง ขาดเงินทุนหมุนเวียน และปัญหาปัจจัยการผลิตมีราคาแพง เช่น น้ำมัน ยา หรืออาหารกุ้ง ประกอบกับในช่วงนี้มีการปล่อยกุ้งเป็นจำนวนมาก แต่สิ่งที่ควรระมัดระวังอย่างมากในขณะนี้ก็คือ โรคตัวแดงได้กระจายอยู่ทั่วทุกอำเภอแต่ไม่รุนแรงมากนัก ดังนั้น เกษตรกรควรระมัดระวังให้มากขึ้น โดยอาจจะทำการเลี้ยงแบบระบบกึ่งปิด และพยายามไม่เติมน้ำจากภายนอก
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 22-28 สค.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,398.17 ตัน แยกเป็นสัตว์ น้ำเค็ม 501.62 ตัน สัตว์น้ำจืด 896.55 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.07 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.88 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 68.52 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 46.60 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 57.67 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด ผู้เลี้ยงตะพาบน้ำขอให้จีนใช้มาตรฐานการส่งออกที่รับรองโดยทางการไทย
นายธวัธชัย สันติกุล ที่ปรึกษาสมาคมผู้เพาะเลี้ยงตะพาบน้ำ กล่าวภายหลังจากที่ทางการของจีน เดินทางเข้ามาตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงตะพาบน้ำและพบผู้ผลิตตะพาบน้ำของไทยระหว่างวันที่ 19-21 สิงหาคม ที่ผ่านมา คาดว่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกตะพาบน้ำของไทยในอนาคต เนื่องจากทางการจีนค่อนข้างพอใจ ขบวนการผลิตของไทยเพิ่มขึ้นจากเดิม
นอกจากนี้ กลุ่มผู้เลี้ยงตะพาบน้ำของไทยยังใช้โอกาสดังกล่าว เสนอให้จีนหันมาใช้มาตรฐานการส่งออกที่รับรองโดยทางการไทยแทนการใช้มาตรฐานของประเทศจีนเหมือนในอดีต ซึ่งปัจจุบันมี 3 หน่วยงาน คือ กรมประมง กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ร่างแบบฟอร์มมาตรฐานการส่งออกตะพาบน้ำ โดยไทยจะส่งแบบฟอร์มที่ออกโดย 3 หน่วยงานดังกล่าวให้ทางการจีนเลือกว่าจะใช้แบบฟอร์มของหน่วยงานไหนถึงจะสอดคล้องกับกฎเกณฑ์นำเข้าของจีนมากที่สุดและหากจีนยอมตกลงที่จะใช้แบบฟอร์มตรวจสอบมาตรฐานของไทย จะทำให้การส่งออกตะพาบน้ำของไทยมีความคล่องตัวมากขึ้น เพราะสินค้าจะถูกตรวจสอบตั้งแต่ต้นทาง จากเดิมซึ่งจะถูกเรียกตรวจสอบปลายทางทำให้มีขั้นตอนยุ่งยากมาก
สำหรับสถานการณ์ส่งออกตะพาบน้ำของไทยในขณะนี้ ยอดส่งออกยังคงซบเซา เนื่องจากการส่งออกส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีลักลอบนำเข้าโดยผ่านประเทศสิงคโปร์และฮ่องกงส่งผลให้ราคาตกต่ำลงเรื่อยโดยปัจจุบันตะพาบน้ำขนาดใหญ่มีราคาอยู่ที่ กก.ละ 170 บาท ในขณะที่ 2 ปีที่แล้วอยู่ที่ กก.ละ ประมาณ 270-350 บาท ส่วนขนาดเล็กอยู่ประมาณ 80 บาท และขนาดไม่ได้มาตรฐานอยู่ที่ กก.ละ 20-30 บาท เท่านั้นความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.39 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 367.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 373.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 435.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 426.67 บาท ของสัปดาห์ 8.33 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 16.94 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.21 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.71 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.13 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58 ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 28 สค.- 1 กย. 43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.80 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 34 ประจำวันที่ 28 ส.ค.- 3 ก.ย. 2543--
-สส-