ข้อมูลเบื้องต้นเดือนกรกฎาคม 2544 เศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในภาวะทรงตัว แม้การผลิตและการลงทุนชะลอตัว แต่การอุปโภค
บริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัว ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกหดตัวอย่างมาก ส่งผลให้ดุลการค้ากลับมาขาดดุล แต่ดุลเงินทุนเคลื่อน
ย้ายสุทธิขาดดุลลดลงมาก ทำให้ดุลการชำระเงินเกินดุลเล็กน้อยหลังจากขาดดุลหลายเดือนติดต่อกัน รัฐบาลขาดดุลเงินสด สภาพคล่องทาง
การเงินยังอยู่ในเกณฑ์สูง อัตราเงินเฟ้อทรงตัว เงินบาทยังอ่อนค่าลง ทั้งนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
1. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง
ซึ่งผู้ผลิตรายใหญ่สามารถส่งออกรถยนต์นั่งได้เพิ่มขึ้นมาก หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นตามการผลิตสุราเพื่อ
การสะสมสต๊อกไว้จำหน่ายช่วงปลายปี สินค้าที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ลดลงต่อเนื่องตามการชะลอตัว
ของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และหมวดวัสดุก่อสร้างที่ผลิตลดลง จากการปิดซ่อมบำรุงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ของโรงงานปูนซีเมนต์นครหลวง
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าประเภทรถยนต์นั่ง และรถจักรยานยนต์ที่
ขยายตัวในเกณฑ์สูง ส่วนปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคยังหดตัว การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนใน
เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากอุปสงค์รวมในประเทศและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ
3. ดุลเงินสดรัฐบาล รัฐบาลขาดดุลเงินสด 10.4 พันล้านบาท โดยรายได้รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1
จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีอากรจากฐานรายได้ร้อยละ 8.6 และฐานการบริโภคร้อยละ 15.8 ส่วนรายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจาก
ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.2
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน และไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ทั้งนี้เป็นผล
จากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.7 โดยเฉพาะราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 6.0)
เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลซึ่งปริมาณผลไม้ออกสู่ตลาดน้อย สำหรับราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารลดลงร้อยละ 0.3 โดยราคาหมวดพาหนะ
การขนส่ง และการสื่อสารลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -1.2) ตามราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน และไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน ดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน
และทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
5. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากมูลค่าการส่งออกมีเพียง 5,143 ล้านดอลลาร์ สรอ.
หรือการหดตัวถึงร้อยละ 14.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เพราะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญชะลอตัวลงมาก การนำเข้าลดลงร้อยละ 3.8
ตามการหดตัวของการส่งออกและการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศ ด้านดุลบริการและบริจาคเกินดุลเพิ่มขึ้นเพราะรายรับจากการ
ท่องเที่ยว ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของการขาดดุลในครึ่งปีแรก ดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลการชำระเงินเกินดุล
324 และ 41 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 อยู่ ณ ระดับ 31.9 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) มียอดคงค้าง
เพิ่มขึ้นจาก 4,690.8 เป็น 4,725.8 พันล้านบาท จากการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจเอกชน แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนสินเชื่อ
รวมลดลงร้อยละ 4.9 ต่อปี เนื่องจากระบบธนาคารพาณิชย์มีการตัดหนี้สูญและโอนสินเชื่อไป AMCs ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อบวกกลับ
หนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่ AMCs สินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ต่อปี เงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง
เพิ่มขึ้นเป็น 4,944.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อน สภาพคล่องระบบการเงินโดยรวมอยู่ในระดับสูง
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.38 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ย
อยู่ที่ร้อยละ 2.26 ต่อปี
7. อัตราแลกเปลี่ยน เดือนกรกฎาคม 2544 ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง โดยเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ
ระหว่าง 45.31 - 45.75 บาทต่อดอลลาร์สรอ. ทั้งนี้ มีปัจจัยลบจาก (1) การที่ตลาดคาดการณ์ว่า ธปท.จะผ่อนคลายกฎเกณฑ์การ
รายงานตารางแนบ ธต. 40 สำหรับบัญชีเงินบาทของ Non resident (2) การอ่อนค่าลงของเงินเยนจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอ
(3) ความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาค และ (4) ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังคงมีแนวโน้มชะลอตัว
อนึ่ง การที่ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังไม่มีแนวโน้มดีขึ้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม FOMC จึงปรับลดอัตราดอกเบี้ย
Fed Fund Rate และ Discount Rate ลง 25 bsp เหลือร้อยละ 3.50 และ 3.00 ต่อปี ตามลำดับ
ในเดือนสิงหาคม 2544 เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น โดยเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 44.30-45.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้
เงินบาทได้รับปัจจัยบวกจากค่าเงินในภูมิภาคที่แข็งค่าขึ้น ทั้งค่าเงินเยนและดอลลาร์สิงคโปร์ ประกอบกับการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ สรอ.
จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง รวมถึงการไหลเข้าของเงินทุนสู่ตลาดหลักทรัพย์ จากการที่ตลาดคาดว่ามาตรการ Matching Fund ของ
รัฐบาลจะสามารถช่วยกระตุ้นการลงทุนในตลาด นอกจากนี้สถาบันการเงินมีการขายดอลลาร์ สรอ. ก่อนการบังคับใช้กฎใหม่สำหรับแบบ
รายงาน ธต. 40 ในวันที่ 3 กันยายน ศกนี้
2544
ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค.
(เบื้องต้น)
ภาคเศรษฐกิจจริง (% การเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน นอกจากระบุเป็นอย่างอื่น)
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับฤดูกาล (ระดับ) 113.4 110.8 111.1 113.9 112.1 112.0
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ไม่ปรับฤดูกาล 1.6 -2.0 0.3 2.6 1.4 1.9
อัตราการใช้กำลังการผลิต (ร้อยละ) 53.4 58.5 48.9 53.2 53.9 51.2
เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
- ยอดค้าปลีก (ณ ราคาปี 2538) 13.7 10.3 11.0 11.5 12.2e n.a.
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง 20.7 19.7 7.0 15.2 37.1 32.4
- ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 3.0 7.3 13.5 4.1 36.5 41.4
- สินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้า (ณ ราคาปี 2538) -6.0 5.8 -10.0 -4.9 -12.7 -9.0e
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ 16.6 8.1 29.6 8.6 7.1 4.2
- การนำเข้าสินค้าทุน1/ (ณ ราคาปี 2538) -14.1 -0.5 -12.1 0.8 -12.8 -13.8e
- ปริมาณจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ 8.3 -5.0 6.6 6.1 -2.8 2.4
ดุลเงินสดรัฐบาล (พันล้านบาท) -10.9 -15.4 -17.8 22.3 1.8 -10.4
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.5 1.4 2.6 2.8 2.3 2.2
- อาหาร -0.7 -0.1 1.0 1.3 1.2 1.9
- มิใช่อาหาร 2.6 2.3 3.5 3.7 2.9 2.5
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) 0.9 1.0 1.5 1.5 1.5 1.5
ภาคต่างประเทศ (ล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากระบุเป็นอย่างอื่น)
สินค้าออก2/ 5,151 5,827 4,725 5,522 5,388 5,143
(% US$) (-3.7) (-3.5) (-7.3) (-6.8) (-1.5) (-14.2)
สินค้าเข้า2/ 4,932 5,700 4,858 5,390 4,985 5,146
(% US$) (-10.9) (-21.1) (-3.1) (-15.7) (-8.2) (-3.8)
ดุลการค้า 219 127 -133 132 403 -3
ดุลบัญชีเดินสะพัด 819 282 145 368 510 324
ดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ -954 -537 -720 -667 -205 n.a.
- ภาคเอกชน -979 -147 -397 -463 -47 n.a.
- ภาครัฐบาล 25 -390 -323 -204 -158 n.a.
ดุลการชำระเงิน 299 -242 -187 -159 -135 41
เงินสำรองทางการ (พันล้าน US$) 33.2 32.3 32.1 32.0 31.6 31.9
ภาคการเงิน (พันล้านบาท)
ฐานเงิน 521.8 512.4 515.6 517.0 484.7 500.7
(% ) (-4.2) (-3.0) (-8.6) (-15.3) (-7.7) (-6.7)
ปริมาณเงิน M2 5,089.0 5,113.5 5,139.4 5,136.0 5,122.4 5,127.1
(% ) (-5.1) (-6.0) (-6.7) (-7.0) (-6.7) (-6.2)
ปริมาณเงิน M2a 5,354.0 5,382.2 5,410.8 5,412.0 5,392.4 5,397.8
(% ) (-3.8) (-4.6) (-5.2) (-5.4) (-5.0) (-4.7)
ปริมาณเงิน M3 6,027.2 6,057.8 6,081.9 6,079.6 6,064.3 6,096.8
(% ) (-5.0) (-5.8) (-6.2) (-6.4) (-5.9) (-5.7)
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ 4,884.8 4,904.7 4,937.7 4,961.2 4,929.1 4,944.1
(% ) (-5.8) (-6.4) (-6.8) (-7.0) (-6.2) (-5.9)
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ 4,711.1 4,732.4 4,739.1 4,695.0 4,690.8 4,725.8
(% ) (-9.9) (-9.2) (-9.4) (-10.2) (-5.5) (-4.9)
- ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ 4,341.9 4,361.2 4,364.7 4,320.7 4,332.7 4,372.6
(% ) (-8.8) (-8.4) (-8.9) (-9.7) (-4.6) (-3.7)
สินเชื่อ ธพ. (บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs) 5,137.7 5,137.3 5,139.8 5,096.6 5,116.8 5,151.8
(% ) (-0.2) (-0.2) (-0.1) (-0.8) (0.0) (-1.0)
Non Performing Loan3/ (ร้อยละต่อสินเชื่อรวม) 17.79 17.57 17.60 17.88 13.13 n.a.
อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี)
- ตลาดซื้อคืนพันธบัตร 1 วัน (เฉลี่ยจากอัตราปิดรายวัน) 1.17 1.13 1.13 1.19 2.06 2.26
- ระหว่างธนาคาร (เฉลี่ยจากอัตรากลางรายวัน) 1.55 1.47 1.53 1.60 2.13 2.38
- เงินฝากประจำ 1 ปี 4/ (ณ สิ้นเดือน) 3.00 3.00 3.00 3.00 3.00 3.00
- ลูกค้าชั้นดี 4/ (ณ สิ้นเดือน) 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75
อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย (บาท:ดอลลาร์ สรอ.) 42.64 43.90 45.46 45.48 45.24 45.62
1/ ไม่รวมการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องบิน 2/ BOP Basis 3/ เงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ที่ค้างชำระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ย
เป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 เดือน โดยพิจารณาการค้างชำระเป็นรายสัญญาหรือรายบัญชี 4/ ข้อมูลจาก 5 ธพ.ขนาดใหญ่
5/สินเชื่อ BIBF ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการแปลงค่าเป็นเงินบาท e = ประมาณการ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/31 สิงหาคม 2544--
-ยก-
บริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัว ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกหดตัวอย่างมาก ส่งผลให้ดุลการค้ากลับมาขาดดุล แต่ดุลเงินทุนเคลื่อน
ย้ายสุทธิขาดดุลลดลงมาก ทำให้ดุลการชำระเงินเกินดุลเล็กน้อยหลังจากขาดดุลหลายเดือนติดต่อกัน รัฐบาลขาดดุลเงินสด สภาพคล่องทาง
การเงินยังอยู่ในเกณฑ์สูง อัตราเงินเฟ้อทรงตัว เงินบาทยังอ่อนค่าลง ทั้งนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
1. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง
ซึ่งผู้ผลิตรายใหญ่สามารถส่งออกรถยนต์นั่งได้เพิ่มขึ้นมาก หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นตามการผลิตสุราเพื่อ
การสะสมสต๊อกไว้จำหน่ายช่วงปลายปี สินค้าที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ลดลงต่อเนื่องตามการชะลอตัว
ของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และหมวดวัสดุก่อสร้างที่ผลิตลดลง จากการปิดซ่อมบำรุงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ของโรงงานปูนซีเมนต์นครหลวง
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าประเภทรถยนต์นั่ง และรถจักรยานยนต์ที่
ขยายตัวในเกณฑ์สูง ส่วนปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคยังหดตัว การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนใน
เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากอุปสงค์รวมในประเทศและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ
3. ดุลเงินสดรัฐบาล รัฐบาลขาดดุลเงินสด 10.4 พันล้านบาท โดยรายได้รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1
จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีอากรจากฐานรายได้ร้อยละ 8.6 และฐานการบริโภคร้อยละ 15.8 ส่วนรายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจาก
ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.2
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน และไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ทั้งนี้เป็นผล
จากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.7 โดยเฉพาะราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 6.0)
เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลซึ่งปริมาณผลไม้ออกสู่ตลาดน้อย สำหรับราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารลดลงร้อยละ 0.3 โดยราคาหมวดพาหนะ
การขนส่ง และการสื่อสารลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -1.2) ตามราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน และไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน ดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน
และทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
5. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากมูลค่าการส่งออกมีเพียง 5,143 ล้านดอลลาร์ สรอ.
หรือการหดตัวถึงร้อยละ 14.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เพราะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญชะลอตัวลงมาก การนำเข้าลดลงร้อยละ 3.8
ตามการหดตัวของการส่งออกและการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศ ด้านดุลบริการและบริจาคเกินดุลเพิ่มขึ้นเพราะรายรับจากการ
ท่องเที่ยว ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของการขาดดุลในครึ่งปีแรก ดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลการชำระเงินเกินดุล
324 และ 41 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 อยู่ ณ ระดับ 31.9 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) มียอดคงค้าง
เพิ่มขึ้นจาก 4,690.8 เป็น 4,725.8 พันล้านบาท จากการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจเอกชน แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนสินเชื่อ
รวมลดลงร้อยละ 4.9 ต่อปี เนื่องจากระบบธนาคารพาณิชย์มีการตัดหนี้สูญและโอนสินเชื่อไป AMCs ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อบวกกลับ
หนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่ AMCs สินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ต่อปี เงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง
เพิ่มขึ้นเป็น 4,944.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อน สภาพคล่องระบบการเงินโดยรวมอยู่ในระดับสูง
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.38 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ย
อยู่ที่ร้อยละ 2.26 ต่อปี
7. อัตราแลกเปลี่ยน เดือนกรกฎาคม 2544 ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง โดยเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ๆ
ระหว่าง 45.31 - 45.75 บาทต่อดอลลาร์สรอ. ทั้งนี้ มีปัจจัยลบจาก (1) การที่ตลาดคาดการณ์ว่า ธปท.จะผ่อนคลายกฎเกณฑ์การ
รายงานตารางแนบ ธต. 40 สำหรับบัญชีเงินบาทของ Non resident (2) การอ่อนค่าลงของเงินเยนจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอ
(3) ความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาค และ (4) ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังคงมีแนวโน้มชะลอตัว
อนึ่ง การที่ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังไม่มีแนวโน้มดีขึ้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม FOMC จึงปรับลดอัตราดอกเบี้ย
Fed Fund Rate และ Discount Rate ลง 25 bsp เหลือร้อยละ 3.50 และ 3.00 ต่อปี ตามลำดับ
ในเดือนสิงหาคม 2544 เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น โดยเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 44.30-45.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้
เงินบาทได้รับปัจจัยบวกจากค่าเงินในภูมิภาคที่แข็งค่าขึ้น ทั้งค่าเงินเยนและดอลลาร์สิงคโปร์ ประกอบกับการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ สรอ.
จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง รวมถึงการไหลเข้าของเงินทุนสู่ตลาดหลักทรัพย์ จากการที่ตลาดคาดว่ามาตรการ Matching Fund ของ
รัฐบาลจะสามารถช่วยกระตุ้นการลงทุนในตลาด นอกจากนี้สถาบันการเงินมีการขายดอลลาร์ สรอ. ก่อนการบังคับใช้กฎใหม่สำหรับแบบ
รายงาน ธต. 40 ในวันที่ 3 กันยายน ศกนี้
2544
ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค.
(เบื้องต้น)
ภาคเศรษฐกิจจริง (% การเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน นอกจากระบุเป็นอย่างอื่น)
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับฤดูกาล (ระดับ) 113.4 110.8 111.1 113.9 112.1 112.0
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ไม่ปรับฤดูกาล 1.6 -2.0 0.3 2.6 1.4 1.9
อัตราการใช้กำลังการผลิต (ร้อยละ) 53.4 58.5 48.9 53.2 53.9 51.2
เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
- ยอดค้าปลีก (ณ ราคาปี 2538) 13.7 10.3 11.0 11.5 12.2e n.a.
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง 20.7 19.7 7.0 15.2 37.1 32.4
- ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 3.0 7.3 13.5 4.1 36.5 41.4
- สินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้า (ณ ราคาปี 2538) -6.0 5.8 -10.0 -4.9 -12.7 -9.0e
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ 16.6 8.1 29.6 8.6 7.1 4.2
- การนำเข้าสินค้าทุน1/ (ณ ราคาปี 2538) -14.1 -0.5 -12.1 0.8 -12.8 -13.8e
- ปริมาณจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ 8.3 -5.0 6.6 6.1 -2.8 2.4
ดุลเงินสดรัฐบาล (พันล้านบาท) -10.9 -15.4 -17.8 22.3 1.8 -10.4
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.5 1.4 2.6 2.8 2.3 2.2
- อาหาร -0.7 -0.1 1.0 1.3 1.2 1.9
- มิใช่อาหาร 2.6 2.3 3.5 3.7 2.9 2.5
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) 0.9 1.0 1.5 1.5 1.5 1.5
ภาคต่างประเทศ (ล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากระบุเป็นอย่างอื่น)
สินค้าออก2/ 5,151 5,827 4,725 5,522 5,388 5,143
(% US$) (-3.7) (-3.5) (-7.3) (-6.8) (-1.5) (-14.2)
สินค้าเข้า2/ 4,932 5,700 4,858 5,390 4,985 5,146
(% US$) (-10.9) (-21.1) (-3.1) (-15.7) (-8.2) (-3.8)
ดุลการค้า 219 127 -133 132 403 -3
ดุลบัญชีเดินสะพัด 819 282 145 368 510 324
ดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ -954 -537 -720 -667 -205 n.a.
- ภาคเอกชน -979 -147 -397 -463 -47 n.a.
- ภาครัฐบาล 25 -390 -323 -204 -158 n.a.
ดุลการชำระเงิน 299 -242 -187 -159 -135 41
เงินสำรองทางการ (พันล้าน US$) 33.2 32.3 32.1 32.0 31.6 31.9
ภาคการเงิน (พันล้านบาท)
ฐานเงิน 521.8 512.4 515.6 517.0 484.7 500.7
(% ) (-4.2) (-3.0) (-8.6) (-15.3) (-7.7) (-6.7)
ปริมาณเงิน M2 5,089.0 5,113.5 5,139.4 5,136.0 5,122.4 5,127.1
(% ) (-5.1) (-6.0) (-6.7) (-7.0) (-6.7) (-6.2)
ปริมาณเงิน M2a 5,354.0 5,382.2 5,410.8 5,412.0 5,392.4 5,397.8
(% ) (-3.8) (-4.6) (-5.2) (-5.4) (-5.0) (-4.7)
ปริมาณเงิน M3 6,027.2 6,057.8 6,081.9 6,079.6 6,064.3 6,096.8
(% ) (-5.0) (-5.8) (-6.2) (-6.4) (-5.9) (-5.7)
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ 4,884.8 4,904.7 4,937.7 4,961.2 4,929.1 4,944.1
(% ) (-5.8) (-6.4) (-6.8) (-7.0) (-6.2) (-5.9)
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ 4,711.1 4,732.4 4,739.1 4,695.0 4,690.8 4,725.8
(% ) (-9.9) (-9.2) (-9.4) (-10.2) (-5.5) (-4.9)
- ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ 4,341.9 4,361.2 4,364.7 4,320.7 4,332.7 4,372.6
(% ) (-8.8) (-8.4) (-8.9) (-9.7) (-4.6) (-3.7)
สินเชื่อ ธพ. (บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs) 5,137.7 5,137.3 5,139.8 5,096.6 5,116.8 5,151.8
(% ) (-0.2) (-0.2) (-0.1) (-0.8) (0.0) (-1.0)
Non Performing Loan3/ (ร้อยละต่อสินเชื่อรวม) 17.79 17.57 17.60 17.88 13.13 n.a.
อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี)
- ตลาดซื้อคืนพันธบัตร 1 วัน (เฉลี่ยจากอัตราปิดรายวัน) 1.17 1.13 1.13 1.19 2.06 2.26
- ระหว่างธนาคาร (เฉลี่ยจากอัตรากลางรายวัน) 1.55 1.47 1.53 1.60 2.13 2.38
- เงินฝากประจำ 1 ปี 4/ (ณ สิ้นเดือน) 3.00 3.00 3.00 3.00 3.00 3.00
- ลูกค้าชั้นดี 4/ (ณ สิ้นเดือน) 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75
อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย (บาท:ดอลลาร์ สรอ.) 42.64 43.90 45.46 45.48 45.24 45.62
1/ ไม่รวมการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องบิน 2/ BOP Basis 3/ เงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ที่ค้างชำระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ย
เป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 เดือน โดยพิจารณาการค้างชำระเป็นรายสัญญาหรือรายบัญชี 4/ ข้อมูลจาก 5 ธพ.ขนาดใหญ่
5/สินเชื่อ BIBF ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการแปลงค่าเป็นเงินบาท e = ประมาณการ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/31 สิงหาคม 2544--
-ยก-