1. บทนำ
การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเป็นผลจากรัฐบาลต้องการสนับสนุนให้เกิดการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานและก่อเกิดรายได้แก่ประชาชนในท้องถิ่น โดยกำหนดเป็นเป้าหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2524) และฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529) ที่เน้นให้เกิดการพัฒนาเมืองหลักและเมืองรองของภูมิภาค จากการสนับสนุนโดยภาครัฐและความพร้อมของพื้นที่ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้เริ่มโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือขึ้นที่จังหวัดลำพูน เนื่องจากเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านสาธารณูปโภค แรงงาน วัตถุดิบทางการเกษตร ระบบสื่อสาร และเส้นทางคมนาคม โดยเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2526 จนแล้วเสร็จในปี 2528
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศเริ่มให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตั้งแต่ช่วงปี 2530 โดยเริ่มจากบริษัทญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บางรายการเข้ามาเนื่องจากเผชิญปัญหาการแข่งขันและต้นทุนการผลิตภายในประเทศสูงจึงแสวงหาฐานการผลิตใหม่ในประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า สินค้าที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะส่งออกไปที่บริษัทในเครือเพื่อเข้ากระบวนการผลิตเป็นสินค้าขั้นสุดท้ายและส่งขายในประเทศต่างๆ ทั่วโลก หรือเข้าสู่บริษัทตัวแทนขายเพื่อส่งขายในรูปชิ้นส่วน
การส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือ
รายการ 2537 2538 2539 2540 2541 2542ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน 8 13 10 7 19 12เงินลงทุน(ล้านบาท) 1,397 2,933 1,697 1,169 5,074 3,526การจ้างงาน 947 3,416 3,112 1,248 3,498 3,788เปิดดำเนินการ 4 6 6 7 10 10เงินลงทุน(ล้านบาท) 1,066 1,736 597 1,618 4,686 3,451การจ้างงาน 2,314 2,942 670 798 2,997 2,169
ที่มา : ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคเหนือ
การลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเติบโตขึ้นเป็นลำดับ มีการขยายกิจการเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตรวมทั้งขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติมในรายการสินค้าประเภทที่แต่ละโรงงานมีความชำนาญในการผลิต หรือในบางครั้งก็เป็นสินค้ารายการใหม่ที่ย้ายฐานการผลิตมาจากต่างประเทศ
จากข้อมูลการขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนพบว่าในแต่ละโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจะเป็นโครงการที่มีวงเงินลงทุนและการจ้างงานสูงซึ่งแสดงถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ในแง่ของการสร้างรายได้ให้กับแรงงานในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันการนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกสินค้ามีสัดส่วนสูงสุดเมื่อเทียบกับมูลค่าส่งออกและนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือ ช่องทางการส่งออกและนำเข้าจะผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็นหลักและผ่านพิธีศุลกากรที่ด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ มากกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าผ่านด่านนี้จะเป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่ามูลค่าส่งออกและนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2542 มีมูลค่าประมาณ 45,000 ล้านบาท
2. ลักษณะของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือ
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตและเทคโนโลยีตัวสินค้าสูง การลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิตและการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งต้องมีช่องทางการตลาดที่ค่อนข้างแน่นอนเพื่อลดความเสี่ยงจากการแข่งขันในตลาดโลก ด้วยเหตุนี้ทำให้การพัฒนาหรือการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยส่วนใหญ่จึงต้องพึ่งพาการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามาแสวงหาความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิต ปัจจุบันประเทศผู้นำด้านการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือญี่ปุ่น ได้ย้ายฐานการผลิตส่วนหนึ่งเข้ามาและได้พัฒนาอุตสาหกรรมนี้ในไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
เช่นเดียวกันกับอุตสาหรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือที่เป็นการผลิตสินค้าในรายการหรือขั้นตอนการผลิตที่เผชิญการแข่งขันสูงในประเทศของผู้ลงทุนจึงย้ายฐานการผลิตเข้ามาเพื่อลดต้นทุนการผลิตส่วนรายการสินค้าที่ยังสามารถขายในราคาสูงหรือมีขั้นตอนการผลิตที่ต้องใช้เทคโนโลยีสูงและยังมีความสามารถในการแข่งขันส่วนใหญ่ยังคงผลิตในประเทศของผู้ลงทุน การเลือกย้ายฐานการผลิตในรายการสินค้าหรือขั้นตอนการผลิตดังกล่าวส่งผลให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือทั้งหมดเป็นอุตสาหกรรมชิ้นส่วน และเป็นขั้นตอนการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่ม (value added) ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับมูลค่าของสินค้า ส่วนใหญ่เป็นการผลิตโดยนำเข้าส่วนประกอบและส่งออกในลักษณะของชิ้นส่วนและเป็นขั้นตอนการผลิตที่เน้นแรงงานเข้มข้น (labor intensive) ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมนี้จึงขึ้นอยู่กับค่าแรงโดยเปรียบเทียบเป็นสำคัญ
บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลำดับ บริษัท ผู้ถือหุ้นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป
1. L.T.E.C.Co.,Ltd. ญี่ปุ่น / ดัชท์ / สิงคโปร์เขตอุตสาหกรรมส่งออก
2. Adlfex อเมริกัน / ไทย
3. Cheval electronics enclosure Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
4. Electro Ceramics (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
5. Farsonics solid state (Thailand) Co.,Ltd. ไต้หวัน / ญี่ปุ่น
6. Fukushina tutaba (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
7. Hana microelectronic (Public) Co.,Ltd. ไทย / ฮ่องกง / ญี่ปุ่น
8. K.V.technology Co.,Ltd. ญี่ปุ่น / ไทย
9. KEC (Thailand) Co.,Ltd. เกาหลี
10.KSS electronics (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
11.Lumphun shindengen Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
12.Murata electronics (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
13.Namiki precision (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
14.Oki precision (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น / ไทย
15.Schaffner E.N.C.Co.,Ltd. สวิสเซอร์แลนด์ / ไทย
16.Takano (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
17.Tasuk precision (Thailand) Co.,Ltd. เกาหลี
18.Thai asahi electronics devive Co.Ltd. สิงคโปร์ / ไทย
19.Thai joetsu electric Corporation Ltd. ญี่ปุ่น
20.Thai N.J.R.Co.,Ltd. ญี่ปุ่น / สิงคโปร์ / ไทย
21.Tokyo Coils engineer (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
22.Tokyo Try (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
หมายเหตุ : เฉพาะบริษัทที่ผลิต electronic component
อุตสาหรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือส่วนใหญ่จะตั้งโรงงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานและมีแรงงานในบริเวณใกล้เคียงจำนวนมาก นอกจากนั้นการตั้งโรงงานในเขตอุตสาหกรรมส่งออก (export processing zone : EPZ) ทำให้ผู้ลงทุนได้รับความสะดวกในการนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกสินค้ารวมทั้งได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามระเบียบของ กนอ. ช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันให้มากขึ้น
ปัจจุบันในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ตั้งโรงงานอยู่มีจำนวน 22 บริษัท ในจำนวนนี้มีเพียงบริษัทเดียวที่ตั้งโรงงานอยู่ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป ที่เหลือตั้งโรงงานอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก สัญชาติของผู้ถือหุ้นจะเป็นบริษัทที่ชาวญี่ปุ่นถือหุ้นทั้งหมด 11 บริษัท ชาวเกาหลี 2 บริษัท ส่วนที่เหลืออีก 9 บริษัท เป็นบริษัทร่วมทุนโดยมากกว่าครึ่งหนึ่งมีชาวญี่ปุ่นร่วมทุนอยู่ นอกจากนั้นยังมีผู้ลงทุนชาวอเมริกัน สวิสเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ ดัชท์ ฮ่องกง ไต้หวัน และไทย ร่วมทุนอยู่ด้วย (ในบริษัทร่วมทุนเหล่านี้มีชาวไทยร่วมทุนอยู่ 7 บริษัท และเป็นผู้ถือหุ้นรายสำคัญ 1 บริษัท)
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเป็นการลงทุนโดยบริษัทขนาดใหญ่ที่มีฐานการผลิตเดิมในต่างประเทศและเข้ามาตั้งโรงงานในรูปของบริษัทในเครือ ดังนั้นโครงสร้างของอุตสาหกรรมนี้จึงมีลักษณะกระจุกตัวอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่และมีวงเงินลงทุนสูง เมื่อพิจารณาตามลักษณะของผู้ลงทุนและลักษณะโครงสร้างของอุตสาหกรรมนี้พบว่าอุปสรรคในการเข้ามาของผู้ลงทุนรายใหม่โดยเฉพาะผู้ลงทุนต่างชาติจะไม่มีอุปสรรคอันเนื่องมาจากต้นทุนสัมบูรณ์ (absolute cost barriers) เนื่องจากลักษณะของบริษัทที่จะย้ายฐานการผลิตเข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่และมีความสามารถในการแข่งขันสูง ทำให้ไม่เสียเปรียบทั้งในด้านการจัดหาวัตถุดิบ ระดับของเทคโนโลยีการผลิต ความชำนาญในการผลิต และความคล่องตัวทางการจัดหาเงินทุน เพียงแต่ในระยะแรกอาจมีอุปสรรคอันเนื่องมาจากการประหยัดต่อขนาด (economy of scale) เนื่องจากผู้ผลิตเดิมจะมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่า อุปสรรคหรือข้อจำกัดที่สำคัญสำหรับนักลงทุนรายใหม่จะเป็นเรื่องของความได้เปรียบอันเนื่องมาจากที่ตั้งของโรงงานเพราะปัจจุบันพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมเหลืออยู่จำกัดและการตั้งโรงงานนอกนิคมอุตสาหกรรมจะทำให้เสียสิทธิประโยชน์หรือความสะดวกต่างๆ ไป
แหล่งเงินทุนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือส่วนใหญ่จะได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากบริษัทแม่ ในบางบริษัทใช้เงินกู้จากธนาคารต่างชาติโดยเฉพาะธนาคารที่มีสัญชาติเดียวกับผู้ลงทุน บริษัทเหล่านี้จะใช้บริการของธนาคารต่างชาติที่มีสาขาในภาคเหนือเพื่อโอนเงินชำระค่าวัตถุดิบและค่าสินค้าเท่านั้น และไม่ใช้แหล่งเงินทุนภายในประเทศเนื่องจากดอกเบี้ยสูงกว่า
ระบบการบริหารงานของผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเป็นการบริหารงานระดับมาตรฐานสากล มีการนำระบบการจัดการสมัยใหม่มาใช้ในโรงงานและมีความสามารถในการบริหารระดับเดียวกับบริษัทแม่ในต่างประเทศ อำนาจการตัดสินใจในการผลิตขึ้นอยู่กับผู้บริหารชาวต่างประเทศ นอกจากนั้นยังมีการพัฒนามาตรฐานการผลิตอย่างต่อเนื่องและส่วนใหญ่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม ISO 9002
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรายการที่แตกต่างกันไป เช่น transistor, condenser, tranformer, ceramic filter, coil, delay line, TV tuner, quartz crystal tunning, printed curcuit board assembly : PCBA, membrane switch, semiconductor, ชิ้นส่วน hard disk และ optic fiber cable เป็นต้น ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา
วัตถุดิบการผลิตมากกว่าร้อยละ 90 เป็นวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ สาเหตุที่ไม่ใช้วัตถุดิบในประเทศเนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่ต้องใช้เทคโนโลยีสูงในการผลิตจึงยังไม่มีการผลิตภายในประเทศ บางชนิดอาจมีการผลิตภายในประเทศแต่คุณภาพไม่ดีหรือมีราคาสูงเกินไป นอกจากนั้นในบางครั้งต้องใช้ชิ้นส่วนนำเข้าตามความต้องการของลูกค้า
ระดับการแข่งขันระหว่างบริษัทสำหรับตลาดในประเทศไม่สูงนัก เนื่องจากมีเพียงบางบริษัทเท่านั้นที่ส่งสินค้าขายภายในประเทศ สินค้าส่วนใหญ่ที่ผลิตได้จะเน้นส่งออก อีกทั้งรายการสินค้าของแต่ละบริษัทค่อนข้างแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ผลิตสินค้าตามความต้องการของบริษัทแม่หรือบริษัทในเครือเป็นหลัก (intra-firm trade)
แต่เมื่อเป็นตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในระดับภูมิภาคจะมีการแข่งขันสูงขึ้น คู่แข่งสำคัญยังคงเป็นบริษัทญี่ปุ่นด้วยกันเอง รองลงมาจะเป็นบริษัทไต้หวัน เกาหลี และสิงคโปร์ โดยโรงงานของแต่ละบริษัทจะกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย และจีน เป็นต้น ตลาดที่สำคัญในเอเชียคือญี่ปุ่นและสิงคโปร์ โดยเฉพาะสิงคโปร์เป็นตลาดชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองและเป็นช่องทางสำคัญในการจัดจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตในภูมิภาคอาเซียน การส่งสินค้าไปจำหน่ายในตลาดนี้จึงต้องแข่งขันกับผู้ผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ตลาดสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออนาคตอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือคือตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก เนื่องจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ครองส่วนแบ่งสำคัญ ดังนั้นความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่น รวมทั้งอุปสงค์ในตลาดโลกจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออนาคตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือ
ด้านเทคโนโลยีของตัวสินค้าและการใช้เทคโนโลยีการผลิตของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกันไปตามรายการสินค้าที่ผลิต ในบริษัทหนึ่งอาจผลิตสินค้าหลายรายการที่มีระดับเทคโนโลยีของตัวสินค้าและระดับเทคโนโลยีการผลิตแตกต่างกัน สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่เคยผลิตได้ในประเทศของผู้ลงทุนมาก่อนแล้ว ดังนั้นเทคโนโลยีการผลิตที่ใช้จึงเป็นเทคโนโลยีที่นำเข้ามาจากบริษัทแม่หรือจากต่างประเทศเป็นหลักและยังไม่มีการพัฒนาขึ้นเอง
เทคโนโลยีที่ใช้ค่อนข้างจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ มีการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตที่ทันสมัยเนื่องจากเป็นการผลิตในลักษณะ mass production จึงต้องพยายามลดต้นทุนต่อหน่วยให้ต่ำสุดและการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้น ส่วนเทคโนโลยีของตัวสินค้าจะเป็นสินค้าที่มีระดับเทคโนโลยีไม่สูงนักเนื่องจากเป็นการย้ายฐานการผลิตเฉพาะรายการหรือขั้นตอนที่เผขิญการแข่งขันสูงเข้ามา ทำให้เป็นการผลิตสินค้าเดิมที่เคยผลิตได้ในประเทศของผู้ลงทุน ส่วนสินค้าใหม่ๆ หรือสินค้าที่มีเทคโนโลยีสูงที่การผลิตในประเทศของผู้ลงทุนยังมีความสามารถในการแข่งขันอยู่ก็จะผลิตในประเทศของผู้ลงทุนเป็นหลัก อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีการย้ายสายการผลิตรายการสินค้าต่างๆ เข้ามาผลิตเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตัดสินใจลงทุนในภาคเหนือ การเข้ามาลงทุนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่นในภาคเหนือ ปัจจัยผลักดันสำคัญในการย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นเกิดจากค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลล่าร์ สรอ. รวมทั้งค่าจ้างแรงงานในประเทศสูงส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าที่ผลิตได้ลดลง ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตจึงพยายามหาฐานการผลิตใหม่ที่มีศักยภาพโดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียใต้ เช่น มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานถูกและเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่เปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ และมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้แก่นักลงทุนเพื่อจูงใจ
จากข้อมูลในระดับประเทศปัจจัยสำคัญสามอันดับแรกที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเลือกลงทุนในประเทศไทยเรียงตามลำดับ ได้แก่ แรงงานราคาถูก สิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน และความมั่นคงของประเทศ ปัจจัยที่นักลงทุนใช้ตัดสินใจดังกล่าวทำให้ลักษณะของอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามาส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่นเดียวกันกับการตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือ ปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่จูงใจให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาลงทุนเกิดจากค่าจ้างแรงงานราคาถูก แรงงานในพื้นที่มีจำนวนมากและคุณภาพดีสามารถฝึกฝนให้เกิดความชำนาญได้ง่าย นอกจากนี้ในภาคเหนือยังมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่สามารถผลิตแรงงานตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมได้
ปัจจัยต่อมาเกิดจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 ที่ให้อำนาจคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสามารถออกประกาศกำหนดเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ลงทุน และตั้งแต่ปี 2536 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ออกประกาศหลายฉบับ โดยปรับเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในส่วนภูมิภาคมากขึ้น ส่งผลให้จำนวนโครงการลงทุนในเขตส่งเสริมการลงทุนเขต 3 เพิ่มขึ้นอย่างมาก
สิทธิประโยชน์สำคัญตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ให้แก่ผู้ลงทุนในเขตส่งเสริมการลงทุนเขต 3 ที่สำคัญ เช่น ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 5 ปี ได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าร้อยละ 75 ของอัตราปรกติสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่นำเข้ามาผลิตเป็นระยะเวลา 5 ปี เป็นต้น
การตั้งนิคมอุตสาหกรรมในภาคเหนือนับว่าเป็นปัจจัยดึงดูดสำคัญอีกประการหนึ่ง นอกจากจะทำให้พื้นที่ในภาคเหนือมีความพร้อมด้านปัจจัยพื้นฐานในการรองรับอุตสาหกรรมสมัยใหม่แล้ว สิทธิประโยชน์ที่ กนอ. ให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ 2522 ก็สร้างแรงจูงใจแก่นักลงทุนได้มาก เช่น ให้สิทธิคนต่างด้าวให้สามารถถือกรรมสิทธิที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อประกอบกิจการได้ ให้สิทธิคนต่างด้าวที่เป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการเพื่อเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักร และให้สิทธิผู้ประกอบอุตสาหกรรมซึ่งมีภูมิลำเนานอกราชอาณาจักรให้ได้รับอนุญาตส่งเงินออกนอกราชอาณาจักร เพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่เลือกลงทุนในเขตอุตสาหกรรมส่งออกโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษ อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ ส่วนประกอบของสิ่งดังกล่าว และของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า ยกเว้นอากรขาออกสำหรับของที่นำเข้า ผลิตภัณฑ์ และสิ่งที่ได้จากการผลิต ยกเว้นหรือคืนค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่แม้ว่าจะไม่ได้ส่งออกแต่นำเข้าไปใช้ในอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมส่งออก รวมทั้งลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนด เป็นต้น
ความสะดวกและรวดเร็วในการนำเข้าและส่งออกเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ต้องการ เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้มีการแข่งขันสูง ความคล่องตัวและรวดเร็วในการนำเข้าวัตถุดิบและการส่งมอบสินค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือสามารถตอบสนองความต้องการด้านนี้ได้เป็นอย่างดีเนื่องจากมีช่องทางการนำเข้าและส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ซึ่งตั้งอยู่ห่างประมาณ 27 กิโลเมตร มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก และคุณลักษณะของสินค้าประเภทนี้ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งไม่สูงนัก
นอกจากนั้นยังมีปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ เช่น การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียใต้ทำให้การตั้งโรงงานในพื้นที่นี้อยู่ในจุดศูนย์กลางและสามารถเข้าถึงตลาดทุกประเทศในภูมิภาคนี้ได้สะดวก สภาพอากาศที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมนี้เนื่องจากมีฝุ่นละอองน้อยและอยู่ห่างไกลทะเลทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องความชื้นในอากาศซึ่งจะทำให้ขาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เกิด oxidation ได้ง่าย และปัญหาการจราจรที่น้อยกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลมากทำให้สะดวกในการเดินทาง รวมทั้งความพร้อมของปัจจัยทางด้านสาธารณูปโภค สถานศึกษา และโรงพยาบาล เป็นต้น ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ช่วยสนับสนุนให้พื้นที่ในภาคเหนือมีความน่าลงทุนมากขึ้น
ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือช่วงปี 2541 และ 2542 ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ชะลอตัวส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ภายในประเทศจึงส่งผลกระทบไม่มากนัก นอกจากนั้นจะไม่ประสบปัญหาสภาพคล่องเพราะส่วนใหญ่เป็นบริษัทในเครือจึงได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากบริษัทแม่ในต่างประเทศ
การปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ค่าเงินบาทลดลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างประเทศสำคัญ ส่งผลด้านบวกต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือให้มีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจในเอเชียก็ส่งผลด้านลบเพราะอุปสงค์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดเอเชียลดลงทำให้ตลาดอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีการแข่งขันด้านราคาสูงขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตแต่ละรายพยายามรักษาระดับการส่งออกไว้ ช่วงที่ผ่านมาแนวโน้มราคาต่อหน่วยของสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จึงลดลงน ดังนั้นผลด้านบวกที่ได้รับจึงมีไม่มากนักอีกทั้งการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนทำให้เกิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น
ระดับการใช้กำลังการผลิต (capacity utilization) ในแต่ละบริษัทค่อนข้างแตกต่างกันเนื่องจากผลิตสินค้าแตกต่างกันและแต่ละบริษัทมีสินค้าหลายรายการ การใช้กำลังการผลิตอยู่ระหว่างร้อยละ 60-100 ของกำลังการผลิตสูงสุด และในบางบริษัทใช้กำลังผลิตไม่ถึงจุดสูงสุดเพราะมีการขยายกำลังผลิตอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงปี 2541 ผลกระทบสำคัญต่ออุตสาหกรรมนี้คือการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศแถบเอเชียซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญ ส่งผลให้อุปสงค์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัวลงอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือได้รับผลกระทบเช่นกันแต่ไม่รุนแรงนัก เนื่องจากมีตลาดอื่นทดแทน และในช่วงปลายปีมีบางบริษัทลงทุนขยายกิจการเพื่อนำสินค้าใหม่เข้ามาผลิตและลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่ม เนื่องจากคาดว่าเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวจะสามารถผลิตได้ทันความต้องการ
ในช่วงปี 2542 ยังคงมีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิตต่อเนื่องจากปีก่อน และเริ่มมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าเพิ่มขึ้นทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือปี 2542 มีแนวโน้มดีขึ้น
ศักยภาพการส่งออกและขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเลือกมาลงทุนในพื้นที่นี้คือปัจจัยด้านค่าจ้างแรงงาน ปัจจุบันความได้เปรียบเรื่องค่าจ้างแรงงานได้ลดลง เนื่องจากช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวมีความต้องการจ้างแรงงานจากทุกภาคเศรษฐกิจ แนวโน้มค่าจ้างแรงงานจึงเพิ่มสูงขึ้นและมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางช่วง อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับค่าจ้างแรงงานในประเทศของผู้ลงทุนแล้ว ค่าจ้างแรงงานในพื้นที่นี้ยังต่ำกว่ามากจึงยังทำให้การผลิตในพื้นที่นี้มีความสามารถในการแข่งขันอยู่ นอกจากนั้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ชะลอตัวทำให้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและแรงกดดันต่อการเพิ่มค่าจ้างมีน้อยลง ดังนั้นปัจจัยด้านค่าจ้างแรงงานยังคงมีความได้เปรียบอยู่ในระดับหนึ่ง
สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้รับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่ยังพอใจกับสิทธิประโยชน์ที่ได้รับทั้งสิทธิประโยชน์ที่ได้จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และจาก กนอ.
สิ่งสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อศักยภาพการส่งออกและขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือคือเรื่องของค่าแรงโดยเปรียบเทียบ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับค่าแรงในประเทศที่กำลังเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ เช่น จีน ที่มีค่าแรงต่ำกว่าและมีแรงงานจำนวนมาก ทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิตส่วนหนึ่งที่ใช้แรงงานเข้มข้นเข้าไป อย่างไรก็ตามรายการสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตสูงยังคงใช้ฐานการผลิตในประเทศไทยอยู่ ส่วนหนึ่งเนื่องจากแรงงานในพื้นที่นี้มีความชำนาญในการผลิตทำให้มีการทะยอยย้ายฐานการผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตสูงเข้ามาผลิตในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะมูลค่าการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ในฐานการผลิตนี้มีมูลค่าสูงทำให้การย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นยังไม่คุ้มค่า
แม้ว่าปัจจุบันอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จะประสบปัญหาการชะลอตัวของอุปสงค์ แต่คาดว่าเป็นเพียงภาวะชั่วคราว โอกาสการในการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ยังมีอยู่มาก เนื่องจากอุปสงค์ของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกยังมีแนวโน้มเติบโต และในอนาคตคาดว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตสินค้าที่เผชิญการแข่งขันสูงในประเทศของผู้ลงทุนเข้ามาเพิ่มอีก
ปัญหาและอุปสรรค ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือ มีดังนี้
ขาดอุตสาหกรรมสนับสนุนภายในประเทศทำให้ต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ และมีต้นทุนด้านการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ค่าแรงโดยเปรียบเทียบสูงกว่าจีนซึ่งเป็นประเทศที่กำลังส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ จึงเริ่มมีการย้ายฐานการผลิตสินค้าบางรายการที่ใช้เทคโนโลยีต่ำกว่าเข้าไปบ้างแล้ว พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเหลืออยู่จำกัด ทำให้ทางเลือกและแรงจูงใจในการลงทุนลดลง ยังไม่สามารถพัฒนาผลิตภาพของแรงงานในพื้นที่ให้เท่ากับแรงงานในประเทศผู้ลงทุน อย่างไรก็ตามยังคงได้เปรียบในเรื่องค่าแรงที่ถูกกว่ามาก แรงงานมีการเข้าออกงานสูงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาแรงงานให้มีความชำนาญเฉพาะด้าน การเข้ามาลงทุนของบริษัทต่างชาติเป็นการเข้ามาลงทุนโดยอาศัยความได้เปรียบในเรื่องแรงงานจึงไม่ได้มุ่งถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างจริงจัง และไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใช้ภายในประเทศ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเป็นการผลิตสินค้าเดิมที่เคยผลิตได้ในประเทศของผู้ลงทุน ยังไม่มีการนำสินค้าที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาผลิต แม้ว่าที่ผ่านมาได้นำสินค้ารายการใหม่เข้ามาผลิตบ้างแต่ค่อนข้างช้า สรุป อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากต่างชาติในลักษณะของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจภาคเหนือในแง่ของการจ้างงานภายในท้องถิ่นมาก ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเป็นอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญของภาคเหนือ ภาวะปัจจุบันแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของอุปสงค์ แต่ในภาพรวมแล้วยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ มีขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกสูงเนื่องจากเป็นการลงทุนโดยบริษัทขนาดใหญ่จากต่างประเทศ มีการบริหารจัดการที่ดี เทคโนโลยีการผลิตได้รับการพัฒนาต่อเนื่องโดยบริษัทแม่ในต่างประเทศ สินค้าที่นำมาผลิตเหมาะสมกับความได้เปรียบของพื้นที่ และเป็นกิจการขนาดใหญ่ที่มีการประหยัดจากขนาดการผลิต อนาคตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือจึงมีโอกาสเติบโตต่อไป อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือยังคงเป็นการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นและอาศัยความได้เปรียบทางด้านแรงงานราคาถูก ความสามารถในการแข่งขันจึงขึ้นอยู่กับค่าแรงโดยเปรียบเทียบเป็นสำคัญ อุตสาหกรรมนี้จึงมีโอกาสที่จะโยกย้ายไปสู่ประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่าหากไม่สามารถรักษาความได้เปรียบด้านต้นทุนได้
ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกและเพื่อให้เกิดการลงทุนอย่างต่อเนื่องในพื้นที่นี้จึงควรมีมาตรการสนับสนุนดังนี้
ส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้เกิดขึ้นภายในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าชิ้นส่วนและลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ส่งเสริมผู้รับช่วงงาน (subcontractor) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางที่ต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ พิจารณาจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเพิ่มเติม เพื่อสร้างความพร้อมด้านสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานเตรียมรองรับการย้ายฐานการผลิตจากต่างประเทศในอนาคต ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในทุกระดับให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม ส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาโดยให้สิทธิประโยชน์จูงใจแก่บริษัทที่มีการตั้งหน่วยงานวิจัยและพัฒนา ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ลงทุนในระดับที่ไม่น้อยกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุน และวางแนวทางเพื่อให้มีการลงทุนผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
บรรณานุกรม
ฝ่ายแผนงานเศรษฐกิจรายสาขา มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย. โครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา ปี 2536, เมษายน 2537.
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย. การศึกษาอุตสาหกรรมรายสาขาและการกระจายอุตสาหกรรมสู่ต่างจังหวัด, มิถุนายน 2534
ศูนย์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมภาคเหนือ. สถานภาพของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือ, สิงหาคม 2533.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. คู่มือขอรับการส่งเสริมการลงทุน, พฤศจิกายน 2539.
หน่วยพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์.
อัครยุทธ สุนทรวิภาต และทิตนันท์ มัลลิกะมาส. “ฐานะการแข่งขันของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน” บทความวิชาการวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจ, 2536.
อัจฉรา สุนทรครุธ. “บีโอไอกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า” วารสารส่งเสริมการลงทุน, กันยายน 2542.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเป็นผลจากรัฐบาลต้องการสนับสนุนให้เกิดการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานและก่อเกิดรายได้แก่ประชาชนในท้องถิ่น โดยกำหนดเป็นเป้าหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2524) และฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529) ที่เน้นให้เกิดการพัฒนาเมืองหลักและเมืองรองของภูมิภาค จากการสนับสนุนโดยภาครัฐและความพร้อมของพื้นที่ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้เริ่มโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือขึ้นที่จังหวัดลำพูน เนื่องจากเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านสาธารณูปโภค แรงงาน วัตถุดิบทางการเกษตร ระบบสื่อสาร และเส้นทางคมนาคม โดยเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2526 จนแล้วเสร็จในปี 2528
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศเริ่มให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตั้งแต่ช่วงปี 2530 โดยเริ่มจากบริษัทญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บางรายการเข้ามาเนื่องจากเผชิญปัญหาการแข่งขันและต้นทุนการผลิตภายในประเทศสูงจึงแสวงหาฐานการผลิตใหม่ในประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า สินค้าที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะส่งออกไปที่บริษัทในเครือเพื่อเข้ากระบวนการผลิตเป็นสินค้าขั้นสุดท้ายและส่งขายในประเทศต่างๆ ทั่วโลก หรือเข้าสู่บริษัทตัวแทนขายเพื่อส่งขายในรูปชิ้นส่วน
การส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือ
รายการ 2537 2538 2539 2540 2541 2542ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน 8 13 10 7 19 12เงินลงทุน(ล้านบาท) 1,397 2,933 1,697 1,169 5,074 3,526การจ้างงาน 947 3,416 3,112 1,248 3,498 3,788เปิดดำเนินการ 4 6 6 7 10 10เงินลงทุน(ล้านบาท) 1,066 1,736 597 1,618 4,686 3,451การจ้างงาน 2,314 2,942 670 798 2,997 2,169
ที่มา : ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคเหนือ
การลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเติบโตขึ้นเป็นลำดับ มีการขยายกิจการเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตรวมทั้งขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติมในรายการสินค้าประเภทที่แต่ละโรงงานมีความชำนาญในการผลิต หรือในบางครั้งก็เป็นสินค้ารายการใหม่ที่ย้ายฐานการผลิตมาจากต่างประเทศ
จากข้อมูลการขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนพบว่าในแต่ละโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจะเป็นโครงการที่มีวงเงินลงทุนและการจ้างงานสูงซึ่งแสดงถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ในแง่ของการสร้างรายได้ให้กับแรงงานในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันการนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกสินค้ามีสัดส่วนสูงสุดเมื่อเทียบกับมูลค่าส่งออกและนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือ ช่องทางการส่งออกและนำเข้าจะผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็นหลักและผ่านพิธีศุลกากรที่ด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ มากกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินค้าผ่านด่านนี้จะเป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่ามูลค่าส่งออกและนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2542 มีมูลค่าประมาณ 45,000 ล้านบาท
2. ลักษณะของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือ
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตและเทคโนโลยีตัวสินค้าสูง การลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิตและการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งต้องมีช่องทางการตลาดที่ค่อนข้างแน่นอนเพื่อลดความเสี่ยงจากการแข่งขันในตลาดโลก ด้วยเหตุนี้ทำให้การพัฒนาหรือการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยส่วนใหญ่จึงต้องพึ่งพาการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามาแสวงหาความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิต ปัจจุบันประเทศผู้นำด้านการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือญี่ปุ่น ได้ย้ายฐานการผลิตส่วนหนึ่งเข้ามาและได้พัฒนาอุตสาหกรรมนี้ในไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
เช่นเดียวกันกับอุตสาหรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือที่เป็นการผลิตสินค้าในรายการหรือขั้นตอนการผลิตที่เผชิญการแข่งขันสูงในประเทศของผู้ลงทุนจึงย้ายฐานการผลิตเข้ามาเพื่อลดต้นทุนการผลิตส่วนรายการสินค้าที่ยังสามารถขายในราคาสูงหรือมีขั้นตอนการผลิตที่ต้องใช้เทคโนโลยีสูงและยังมีความสามารถในการแข่งขันส่วนใหญ่ยังคงผลิตในประเทศของผู้ลงทุน การเลือกย้ายฐานการผลิตในรายการสินค้าหรือขั้นตอนการผลิตดังกล่าวส่งผลให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือทั้งหมดเป็นอุตสาหกรรมชิ้นส่วน และเป็นขั้นตอนการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่ม (value added) ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับมูลค่าของสินค้า ส่วนใหญ่เป็นการผลิตโดยนำเข้าส่วนประกอบและส่งออกในลักษณะของชิ้นส่วนและเป็นขั้นตอนการผลิตที่เน้นแรงงานเข้มข้น (labor intensive) ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมนี้จึงขึ้นอยู่กับค่าแรงโดยเปรียบเทียบเป็นสำคัญ
บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลำดับ บริษัท ผู้ถือหุ้นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป
1. L.T.E.C.Co.,Ltd. ญี่ปุ่น / ดัชท์ / สิงคโปร์เขตอุตสาหกรรมส่งออก
2. Adlfex อเมริกัน / ไทย
3. Cheval electronics enclosure Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
4. Electro Ceramics (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
5. Farsonics solid state (Thailand) Co.,Ltd. ไต้หวัน / ญี่ปุ่น
6. Fukushina tutaba (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
7. Hana microelectronic (Public) Co.,Ltd. ไทย / ฮ่องกง / ญี่ปุ่น
8. K.V.technology Co.,Ltd. ญี่ปุ่น / ไทย
9. KEC (Thailand) Co.,Ltd. เกาหลี
10.KSS electronics (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
11.Lumphun shindengen Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
12.Murata electronics (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
13.Namiki precision (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
14.Oki precision (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น / ไทย
15.Schaffner E.N.C.Co.,Ltd. สวิสเซอร์แลนด์ / ไทย
16.Takano (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
17.Tasuk precision (Thailand) Co.,Ltd. เกาหลี
18.Thai asahi electronics devive Co.Ltd. สิงคโปร์ / ไทย
19.Thai joetsu electric Corporation Ltd. ญี่ปุ่น
20.Thai N.J.R.Co.,Ltd. ญี่ปุ่น / สิงคโปร์ / ไทย
21.Tokyo Coils engineer (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
22.Tokyo Try (Thailand) Co.,Ltd. ญี่ปุ่น
หมายเหตุ : เฉพาะบริษัทที่ผลิต electronic component
อุตสาหรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือส่วนใหญ่จะตั้งโรงงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานและมีแรงงานในบริเวณใกล้เคียงจำนวนมาก นอกจากนั้นการตั้งโรงงานในเขตอุตสาหกรรมส่งออก (export processing zone : EPZ) ทำให้ผู้ลงทุนได้รับความสะดวกในการนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกสินค้ารวมทั้งได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามระเบียบของ กนอ. ช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันให้มากขึ้น
ปัจจุบันในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ตั้งโรงงานอยู่มีจำนวน 22 บริษัท ในจำนวนนี้มีเพียงบริษัทเดียวที่ตั้งโรงงานอยู่ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป ที่เหลือตั้งโรงงานอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก สัญชาติของผู้ถือหุ้นจะเป็นบริษัทที่ชาวญี่ปุ่นถือหุ้นทั้งหมด 11 บริษัท ชาวเกาหลี 2 บริษัท ส่วนที่เหลืออีก 9 บริษัท เป็นบริษัทร่วมทุนโดยมากกว่าครึ่งหนึ่งมีชาวญี่ปุ่นร่วมทุนอยู่ นอกจากนั้นยังมีผู้ลงทุนชาวอเมริกัน สวิสเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ ดัชท์ ฮ่องกง ไต้หวัน และไทย ร่วมทุนอยู่ด้วย (ในบริษัทร่วมทุนเหล่านี้มีชาวไทยร่วมทุนอยู่ 7 บริษัท และเป็นผู้ถือหุ้นรายสำคัญ 1 บริษัท)
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเป็นการลงทุนโดยบริษัทขนาดใหญ่ที่มีฐานการผลิตเดิมในต่างประเทศและเข้ามาตั้งโรงงานในรูปของบริษัทในเครือ ดังนั้นโครงสร้างของอุตสาหกรรมนี้จึงมีลักษณะกระจุกตัวอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่และมีวงเงินลงทุนสูง เมื่อพิจารณาตามลักษณะของผู้ลงทุนและลักษณะโครงสร้างของอุตสาหกรรมนี้พบว่าอุปสรรคในการเข้ามาของผู้ลงทุนรายใหม่โดยเฉพาะผู้ลงทุนต่างชาติจะไม่มีอุปสรรคอันเนื่องมาจากต้นทุนสัมบูรณ์ (absolute cost barriers) เนื่องจากลักษณะของบริษัทที่จะย้ายฐานการผลิตเข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่และมีความสามารถในการแข่งขันสูง ทำให้ไม่เสียเปรียบทั้งในด้านการจัดหาวัตถุดิบ ระดับของเทคโนโลยีการผลิต ความชำนาญในการผลิต และความคล่องตัวทางการจัดหาเงินทุน เพียงแต่ในระยะแรกอาจมีอุปสรรคอันเนื่องมาจากการประหยัดต่อขนาด (economy of scale) เนื่องจากผู้ผลิตเดิมจะมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่า อุปสรรคหรือข้อจำกัดที่สำคัญสำหรับนักลงทุนรายใหม่จะเป็นเรื่องของความได้เปรียบอันเนื่องมาจากที่ตั้งของโรงงานเพราะปัจจุบันพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมเหลืออยู่จำกัดและการตั้งโรงงานนอกนิคมอุตสาหกรรมจะทำให้เสียสิทธิประโยชน์หรือความสะดวกต่างๆ ไป
แหล่งเงินทุนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือส่วนใหญ่จะได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากบริษัทแม่ ในบางบริษัทใช้เงินกู้จากธนาคารต่างชาติโดยเฉพาะธนาคารที่มีสัญชาติเดียวกับผู้ลงทุน บริษัทเหล่านี้จะใช้บริการของธนาคารต่างชาติที่มีสาขาในภาคเหนือเพื่อโอนเงินชำระค่าวัตถุดิบและค่าสินค้าเท่านั้น และไม่ใช้แหล่งเงินทุนภายในประเทศเนื่องจากดอกเบี้ยสูงกว่า
ระบบการบริหารงานของผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเป็นการบริหารงานระดับมาตรฐานสากล มีการนำระบบการจัดการสมัยใหม่มาใช้ในโรงงานและมีความสามารถในการบริหารระดับเดียวกับบริษัทแม่ในต่างประเทศ อำนาจการตัดสินใจในการผลิตขึ้นอยู่กับผู้บริหารชาวต่างประเทศ นอกจากนั้นยังมีการพัฒนามาตรฐานการผลิตอย่างต่อเนื่องและส่วนใหญ่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม ISO 9002
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในรายการที่แตกต่างกันไป เช่น transistor, condenser, tranformer, ceramic filter, coil, delay line, TV tuner, quartz crystal tunning, printed curcuit board assembly : PCBA, membrane switch, semiconductor, ชิ้นส่วน hard disk และ optic fiber cable เป็นต้น ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา
วัตถุดิบการผลิตมากกว่าร้อยละ 90 เป็นวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ สาเหตุที่ไม่ใช้วัตถุดิบในประเทศเนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่ต้องใช้เทคโนโลยีสูงในการผลิตจึงยังไม่มีการผลิตภายในประเทศ บางชนิดอาจมีการผลิตภายในประเทศแต่คุณภาพไม่ดีหรือมีราคาสูงเกินไป นอกจากนั้นในบางครั้งต้องใช้ชิ้นส่วนนำเข้าตามความต้องการของลูกค้า
ระดับการแข่งขันระหว่างบริษัทสำหรับตลาดในประเทศไม่สูงนัก เนื่องจากมีเพียงบางบริษัทเท่านั้นที่ส่งสินค้าขายภายในประเทศ สินค้าส่วนใหญ่ที่ผลิตได้จะเน้นส่งออก อีกทั้งรายการสินค้าของแต่ละบริษัทค่อนข้างแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ผลิตสินค้าตามความต้องการของบริษัทแม่หรือบริษัทในเครือเป็นหลัก (intra-firm trade)
แต่เมื่อเป็นตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในระดับภูมิภาคจะมีการแข่งขันสูงขึ้น คู่แข่งสำคัญยังคงเป็นบริษัทญี่ปุ่นด้วยกันเอง รองลงมาจะเป็นบริษัทไต้หวัน เกาหลี และสิงคโปร์ โดยโรงงานของแต่ละบริษัทจะกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย และจีน เป็นต้น ตลาดที่สำคัญในเอเชียคือญี่ปุ่นและสิงคโปร์ โดยเฉพาะสิงคโปร์เป็นตลาดชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองและเป็นช่องทางสำคัญในการจัดจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตในภูมิภาคอาเซียน การส่งสินค้าไปจำหน่ายในตลาดนี้จึงต้องแข่งขันกับผู้ผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ตลาดสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออนาคตอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือคือตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก เนื่องจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ครองส่วนแบ่งสำคัญ ดังนั้นความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่น รวมทั้งอุปสงค์ในตลาดโลกจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออนาคตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือ
ด้านเทคโนโลยีของตัวสินค้าและการใช้เทคโนโลยีการผลิตของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกันไปตามรายการสินค้าที่ผลิต ในบริษัทหนึ่งอาจผลิตสินค้าหลายรายการที่มีระดับเทคโนโลยีของตัวสินค้าและระดับเทคโนโลยีการผลิตแตกต่างกัน สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่เคยผลิตได้ในประเทศของผู้ลงทุนมาก่อนแล้ว ดังนั้นเทคโนโลยีการผลิตที่ใช้จึงเป็นเทคโนโลยีที่นำเข้ามาจากบริษัทแม่หรือจากต่างประเทศเป็นหลักและยังไม่มีการพัฒนาขึ้นเอง
เทคโนโลยีที่ใช้ค่อนข้างจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ มีการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตที่ทันสมัยเนื่องจากเป็นการผลิตในลักษณะ mass production จึงต้องพยายามลดต้นทุนต่อหน่วยให้ต่ำสุดและการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้น ส่วนเทคโนโลยีของตัวสินค้าจะเป็นสินค้าที่มีระดับเทคโนโลยีไม่สูงนักเนื่องจากเป็นการย้ายฐานการผลิตเฉพาะรายการหรือขั้นตอนที่เผขิญการแข่งขันสูงเข้ามา ทำให้เป็นการผลิตสินค้าเดิมที่เคยผลิตได้ในประเทศของผู้ลงทุน ส่วนสินค้าใหม่ๆ หรือสินค้าที่มีเทคโนโลยีสูงที่การผลิตในประเทศของผู้ลงทุนยังมีความสามารถในการแข่งขันอยู่ก็จะผลิตในประเทศของผู้ลงทุนเป็นหลัก อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีการย้ายสายการผลิตรายการสินค้าต่างๆ เข้ามาผลิตเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตัดสินใจลงทุนในภาคเหนือ การเข้ามาลงทุนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่นในภาคเหนือ ปัจจัยผลักดันสำคัญในการย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นเกิดจากค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลล่าร์ สรอ. รวมทั้งค่าจ้างแรงงานในประเทศสูงส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าที่ผลิตได้ลดลง ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตจึงพยายามหาฐานการผลิตใหม่ที่มีศักยภาพโดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียใต้ เช่น มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานถูกและเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่เปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ และมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้แก่นักลงทุนเพื่อจูงใจ
จากข้อมูลในระดับประเทศปัจจัยสำคัญสามอันดับแรกที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเลือกลงทุนในประเทศไทยเรียงตามลำดับ ได้แก่ แรงงานราคาถูก สิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน และความมั่นคงของประเทศ ปัจจัยที่นักลงทุนใช้ตัดสินใจดังกล่าวทำให้ลักษณะของอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานการผลิตเข้ามาส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่นเดียวกันกับการตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือ ปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่จูงใจให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาลงทุนเกิดจากค่าจ้างแรงงานราคาถูก แรงงานในพื้นที่มีจำนวนมากและคุณภาพดีสามารถฝึกฝนให้เกิดความชำนาญได้ง่าย นอกจากนี้ในภาคเหนือยังมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่สามารถผลิตแรงงานตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมได้
ปัจจัยต่อมาเกิดจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 ที่ให้อำนาจคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสามารถออกประกาศกำหนดเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ลงทุน และตั้งแต่ปี 2536 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ออกประกาศหลายฉบับ โดยปรับเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในส่วนภูมิภาคมากขึ้น ส่งผลให้จำนวนโครงการลงทุนในเขตส่งเสริมการลงทุนเขต 3 เพิ่มขึ้นอย่างมาก
สิทธิประโยชน์สำคัญตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ให้แก่ผู้ลงทุนในเขตส่งเสริมการลงทุนเขต 3 ที่สำคัญ เช่น ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 5 ปี ได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าร้อยละ 75 ของอัตราปรกติสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่นำเข้ามาผลิตเป็นระยะเวลา 5 ปี เป็นต้น
การตั้งนิคมอุตสาหกรรมในภาคเหนือนับว่าเป็นปัจจัยดึงดูดสำคัญอีกประการหนึ่ง นอกจากจะทำให้พื้นที่ในภาคเหนือมีความพร้อมด้านปัจจัยพื้นฐานในการรองรับอุตสาหกรรมสมัยใหม่แล้ว สิทธิประโยชน์ที่ กนอ. ให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ 2522 ก็สร้างแรงจูงใจแก่นักลงทุนได้มาก เช่น ให้สิทธิคนต่างด้าวให้สามารถถือกรรมสิทธิที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อประกอบกิจการได้ ให้สิทธิคนต่างด้าวที่เป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการเพื่อเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักร และให้สิทธิผู้ประกอบอุตสาหกรรมซึ่งมีภูมิลำเนานอกราชอาณาจักรให้ได้รับอนุญาตส่งเงินออกนอกราชอาณาจักร เพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่เลือกลงทุนในเขตอุตสาหกรรมส่งออกโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษ อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ ส่วนประกอบของสิ่งดังกล่าว และของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า ยกเว้นอากรขาออกสำหรับของที่นำเข้า ผลิตภัณฑ์ และสิ่งที่ได้จากการผลิต ยกเว้นหรือคืนค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่แม้ว่าจะไม่ได้ส่งออกแต่นำเข้าไปใช้ในอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมส่งออก รวมทั้งลดหย่อนค่ากระแสไฟฟ้าตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนด เป็นต้น
ความสะดวกและรวดเร็วในการนำเข้าและส่งออกเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ต้องการ เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้มีการแข่งขันสูง ความคล่องตัวและรวดเร็วในการนำเข้าวัตถุดิบและการส่งมอบสินค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือสามารถตอบสนองความต้องการด้านนี้ได้เป็นอย่างดีเนื่องจากมีช่องทางการนำเข้าและส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ซึ่งตั้งอยู่ห่างประมาณ 27 กิโลเมตร มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก และคุณลักษณะของสินค้าประเภทนี้ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งไม่สูงนัก
นอกจากนั้นยังมีปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ เช่น การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียใต้ทำให้การตั้งโรงงานในพื้นที่นี้อยู่ในจุดศูนย์กลางและสามารถเข้าถึงตลาดทุกประเทศในภูมิภาคนี้ได้สะดวก สภาพอากาศที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมนี้เนื่องจากมีฝุ่นละอองน้อยและอยู่ห่างไกลทะเลทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องความชื้นในอากาศซึ่งจะทำให้ขาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เกิด oxidation ได้ง่าย และปัญหาการจราจรที่น้อยกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลมากทำให้สะดวกในการเดินทาง รวมทั้งความพร้อมของปัจจัยทางด้านสาธารณูปโภค สถานศึกษา และโรงพยาบาล เป็นต้น ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ช่วยสนับสนุนให้พื้นที่ในภาคเหนือมีความน่าลงทุนมากขึ้น
ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือช่วงปี 2541 และ 2542 ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ชะลอตัวส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ภายในประเทศจึงส่งผลกระทบไม่มากนัก นอกจากนั้นจะไม่ประสบปัญหาสภาพคล่องเพราะส่วนใหญ่เป็นบริษัทในเครือจึงได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากบริษัทแม่ในต่างประเทศ
การปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ค่าเงินบาทลดลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างประเทศสำคัญ ส่งผลด้านบวกต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือให้มีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจในเอเชียก็ส่งผลด้านลบเพราะอุปสงค์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดเอเชียลดลงทำให้ตลาดอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีการแข่งขันด้านราคาสูงขึ้นเนื่องจากผู้ผลิตแต่ละรายพยายามรักษาระดับการส่งออกไว้ ช่วงที่ผ่านมาแนวโน้มราคาต่อหน่วยของสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จึงลดลงน ดังนั้นผลด้านบวกที่ได้รับจึงมีไม่มากนักอีกทั้งการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนทำให้เกิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น
ระดับการใช้กำลังการผลิต (capacity utilization) ในแต่ละบริษัทค่อนข้างแตกต่างกันเนื่องจากผลิตสินค้าแตกต่างกันและแต่ละบริษัทมีสินค้าหลายรายการ การใช้กำลังการผลิตอยู่ระหว่างร้อยละ 60-100 ของกำลังการผลิตสูงสุด และในบางบริษัทใช้กำลังผลิตไม่ถึงจุดสูงสุดเพราะมีการขยายกำลังผลิตอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงปี 2541 ผลกระทบสำคัญต่ออุตสาหกรรมนี้คือการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศแถบเอเชียซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญ ส่งผลให้อุปสงค์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัวลงอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือได้รับผลกระทบเช่นกันแต่ไม่รุนแรงนัก เนื่องจากมีตลาดอื่นทดแทน และในช่วงปลายปีมีบางบริษัทลงทุนขยายกิจการเพื่อนำสินค้าใหม่เข้ามาผลิตและลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่ม เนื่องจากคาดว่าเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวจะสามารถผลิตได้ทันความต้องการ
ในช่วงปี 2542 ยังคงมีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิตต่อเนื่องจากปีก่อน และเริ่มมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าเพิ่มขึ้นทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือปี 2542 มีแนวโน้มดีขึ้น
ศักยภาพการส่งออกและขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเลือกมาลงทุนในพื้นที่นี้คือปัจจัยด้านค่าจ้างแรงงาน ปัจจุบันความได้เปรียบเรื่องค่าจ้างแรงงานได้ลดลง เนื่องจากช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวมีความต้องการจ้างแรงงานจากทุกภาคเศรษฐกิจ แนวโน้มค่าจ้างแรงงานจึงเพิ่มสูงขึ้นและมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางช่วง อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับค่าจ้างแรงงานในประเทศของผู้ลงทุนแล้ว ค่าจ้างแรงงานในพื้นที่นี้ยังต่ำกว่ามากจึงยังทำให้การผลิตในพื้นที่นี้มีความสามารถในการแข่งขันอยู่ นอกจากนั้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ชะลอตัวทำให้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและแรงกดดันต่อการเพิ่มค่าจ้างมีน้อยลง ดังนั้นปัจจัยด้านค่าจ้างแรงงานยังคงมีความได้เปรียบอยู่ในระดับหนึ่ง
สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้รับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่ยังพอใจกับสิทธิประโยชน์ที่ได้รับทั้งสิทธิประโยชน์ที่ได้จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และจาก กนอ.
สิ่งสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อศักยภาพการส่งออกและขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือคือเรื่องของค่าแรงโดยเปรียบเทียบ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับค่าแรงในประเทศที่กำลังเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ เช่น จีน ที่มีค่าแรงต่ำกว่าและมีแรงงานจำนวนมาก ทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิตส่วนหนึ่งที่ใช้แรงงานเข้มข้นเข้าไป อย่างไรก็ตามรายการสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตสูงยังคงใช้ฐานการผลิตในประเทศไทยอยู่ ส่วนหนึ่งเนื่องจากแรงงานในพื้นที่นี้มีความชำนาญในการผลิตทำให้มีการทะยอยย้ายฐานการผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตสูงเข้ามาผลิตในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะมูลค่าการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ในฐานการผลิตนี้มีมูลค่าสูงทำให้การย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นยังไม่คุ้มค่า
แม้ว่าปัจจุบันอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จะประสบปัญหาการชะลอตัวของอุปสงค์ แต่คาดว่าเป็นเพียงภาวะชั่วคราว โอกาสการในการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ยังมีอยู่มาก เนื่องจากอุปสงค์ของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกยังมีแนวโน้มเติบโต และในอนาคตคาดว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตสินค้าที่เผชิญการแข่งขันสูงในประเทศของผู้ลงทุนเข้ามาเพิ่มอีก
ปัญหาและอุปสรรค ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือ มีดังนี้
ขาดอุตสาหกรรมสนับสนุนภายในประเทศทำให้ต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ และมีต้นทุนด้านการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ค่าแรงโดยเปรียบเทียบสูงกว่าจีนซึ่งเป็นประเทศที่กำลังส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ จึงเริ่มมีการย้ายฐานการผลิตสินค้าบางรายการที่ใช้เทคโนโลยีต่ำกว่าเข้าไปบ้างแล้ว พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเหลืออยู่จำกัด ทำให้ทางเลือกและแรงจูงใจในการลงทุนลดลง ยังไม่สามารถพัฒนาผลิตภาพของแรงงานในพื้นที่ให้เท่ากับแรงงานในประเทศผู้ลงทุน อย่างไรก็ตามยังคงได้เปรียบในเรื่องค่าแรงที่ถูกกว่ามาก แรงงานมีการเข้าออกงานสูงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาแรงงานให้มีความชำนาญเฉพาะด้าน การเข้ามาลงทุนของบริษัทต่างชาติเป็นการเข้ามาลงทุนโดยอาศัยความได้เปรียบในเรื่องแรงงานจึงไม่ได้มุ่งถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างจริงจัง และไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใช้ภายในประเทศ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือเป็นการผลิตสินค้าเดิมที่เคยผลิตได้ในประเทศของผู้ลงทุน ยังไม่มีการนำสินค้าที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาผลิต แม้ว่าที่ผ่านมาได้นำสินค้ารายการใหม่เข้ามาผลิตบ้างแต่ค่อนข้างช้า สรุป อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากต่างชาติในลักษณะของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจภาคเหนือในแง่ของการจ้างงานภายในท้องถิ่นมาก ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเป็นอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญของภาคเหนือ ภาวะปัจจุบันแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของอุปสงค์ แต่ในภาพรวมแล้วยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ มีขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกสูงเนื่องจากเป็นการลงทุนโดยบริษัทขนาดใหญ่จากต่างประเทศ มีการบริหารจัดการที่ดี เทคโนโลยีการผลิตได้รับการพัฒนาต่อเนื่องโดยบริษัทแม่ในต่างประเทศ สินค้าที่นำมาผลิตเหมาะสมกับความได้เปรียบของพื้นที่ และเป็นกิจการขนาดใหญ่ที่มีการประหยัดจากขนาดการผลิต อนาคตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือจึงมีโอกาสเติบโตต่อไป อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือยังคงเป็นการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นและอาศัยความได้เปรียบทางด้านแรงงานราคาถูก ความสามารถในการแข่งขันจึงขึ้นอยู่กับค่าแรงโดยเปรียบเทียบเป็นสำคัญ อุตสาหกรรมนี้จึงมีโอกาสที่จะโยกย้ายไปสู่ประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่าหากไม่สามารถรักษาความได้เปรียบด้านต้นทุนได้
ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกและเพื่อให้เกิดการลงทุนอย่างต่อเนื่องในพื้นที่นี้จึงควรมีมาตรการสนับสนุนดังนี้
ส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้เกิดขึ้นภายในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าชิ้นส่วนและลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ส่งเสริมผู้รับช่วงงาน (subcontractor) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางที่ต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ พิจารณาจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเพิ่มเติม เพื่อสร้างความพร้อมด้านสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานเตรียมรองรับการย้ายฐานการผลิตจากต่างประเทศในอนาคต ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในทุกระดับให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม ส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาโดยให้สิทธิประโยชน์จูงใจแก่บริษัทที่มีการตั้งหน่วยงานวิจัยและพัฒนา ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ลงทุนในระดับที่ไม่น้อยกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุน และวางแนวทางเพื่อให้มีการลงทุนผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
บรรณานุกรม
ฝ่ายแผนงานเศรษฐกิจรายสาขา มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย. โครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา ปี 2536, เมษายน 2537.
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย. การศึกษาอุตสาหกรรมรายสาขาและการกระจายอุตสาหกรรมสู่ต่างจังหวัด, มิถุนายน 2534
ศูนย์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมภาคเหนือ. สถานภาพของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในภาคเหนือ, สิงหาคม 2533.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. คู่มือขอรับการส่งเสริมการลงทุน, พฤศจิกายน 2539.
หน่วยพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์.
อัครยุทธ สุนทรวิภาต และทิตนันท์ มัลลิกะมาส. “ฐานะการแข่งขันของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน” บทความวิชาการวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจ, 2536.
อัจฉรา สุนทรครุธ. “บีโอไอกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า” วารสารส่งเสริมการลงทุน, กันยายน 2542.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-