วันนี้กระทรวงการคลัง โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. …. ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และส่งร่างให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดำเนินการต่อไป โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัตินี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ขึ้น เพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้และปรับโครงสร้างกิจการของลูกหนี้ซึ่งรับโอนมา โดยการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ รวมตลอดทั้งสิทธิอื่นใดเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันการชำระหนี้สำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพนั้น หรือโดยใช้มาตรการอื่นใด เพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ
2. โครงสร้างของ บสท.
2.1 ให้มี "คณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย" รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังเป็นผู้แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยในจำนวนนี้ต้องแต่งตั้งจากผู้แทนสภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และผู้แทนสมาคมธนาคารไทย แห่งละ 1 คน เพื่อวางนโยบายและกำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ บสท. ภายในขอบวัตถุประสงค์ของ บสท.
2.2 ให้คณะกรรมการ บสท. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารประกอบด้วย ประธานกรรมการบริหาร กรรมการบริหารอื่นไม่เกิน 3 คน และกรรมการผู้จัดการเป็นกรรมการบริหาร โดยตำแหน่ง ทั้งนี้ เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ตลอดจนกำหนดกรอบ แลวิธีการในการบริหารงานตามนโยบายของคณะกรรมการในเรื่องต่าง ๆ
2.3 ให้คณะกรรมการ บสท. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบไม่เกิน 5 คน เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินกิจการของ บสท. และการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการ
3. การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
3.1 กรณีสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐ ให้โอนสินทรัพย์ จัดชั้นสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย และสินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน
ทั้งนี้ในการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพดังกล่าวคณะกรรมการ บสท. อาจกำหนดให้รับโอนเฉพาะบางประเภท หรือเฉพาะบางส่วนก็ได้
3.2 กรณีสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์เอกชน รับโอนเฉพาะที่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน สินทรัพย์ที่มีมูลหนี้เป็นนิติบุคคลและมีเจ้าหนี้ตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปและมีมูลหนี้ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป รวมทั้ง ต้องเป็นสินทรัพย์ที่ยังมิได้มีความตกลงปรับโครงสร้างหนี้ใหม่และศาลยังมิได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
4. ราคาการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
4.1 กรณีสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐ เท่ากับมูลค่าทรัพย์สิน ที่เป็นหลักประกัน โดยไม่รวมการค้ำประกันด้วยบุคคล
4.2 กรณีสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์เอกชน มูลค่าทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันโดยไม่รวมการค้ำประกันบุคคล แต่ต้องไม่เกินมูลค่าสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามบัญชีหักเงินสำรองตามกฎหมาย
4.3 กำหนดให้ บสท. ชำระราคาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยออกเป็นตราสารหนี้ซึ่งเปลี่ยนมือไม่ได้และมีกำหนดใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันที่ออกตราสารหนี้นั้น
5. การแบ่งปันผลกำไรและรับผิดชอบผลขาดทุนระหว่าง
5.1 การแบ่งปันผลกำไร
(1) ผลกำไรส่วนแรกไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ให้แบ่งคนละครึ่งระหว่าง บสท. กับ สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์
(2) ผลกำไรส่วนที่ 2 ให้สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์รับไปทั้งหมด แต่ต้องไม่เกินส่วนต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีกับราคาที่ บสท. รับโอนมา
(3) กำไรส่วนที่เหลือจาก (2) ให้ บสท. รับไปทั้งหมด
5.2 การรับผิดชอบผลขาดทุน
(1) ผลขาดทุนส่วนแรกไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาที่รับโอน ให้สถาบัน การเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ รับไปทั้งหมด
(2) ผลขาดทุนส่วนที่ 2 ไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาที่รับโอน ให้แบ่งกันคนละครึ่งระหว่าง บสท. และสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์
(3) ผลขาดทุนส่วนที่เหลือจาก (2) ให้ บสท. รับไปทั้งหมด
6. การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
บสท. มีอำนาจดำเนินการใน 3 กรณี ได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้ ปรับโครงสร้างกิจการ หรือจำหน่ายสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันของลูกหนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันตามที่เห็นสมควร โดยบสท. จะดำเนินการบริหารกองสินทรัพย์เองหรือจะว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญให้เป็นผู้บริหารกองสินทรัพย์ก็ได้
6.1 ในการปรับโครงสร้างหนี้ บสท. มีอำนาจใช้วิธีการต่าง ๆ อันได้แก่
การผ่อนปรนเงื่อนไขในการชำระหนี้ รับโอนทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ หรือดำเนินการอื่นใดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ บสท.
6.2 ในการปรับโครงสร้างกิจการ ให้ผู้บริหารกองสินทรัพย์หรือบุคคลอื่นใดที่ บสท. แต่งตั้งเป็นผู้จัดทำแผนปรับโครงสร้างกิจการเสนอต่อคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติภายในเวลาที่คณะกรรมการ บสท. กำหนด และให้ผู้บริหารของลูกหนี้หมดอำนาจในการกระทำกิจการใด ๆ ในนามของลูกหนี้ ในกรณีที่ผู้บริหารแผนเห็นว่าแผนไม่อาจดำเนินต่อไปได้ให้รายงานไปยังคณะกรรมการบริหารเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการ บสท. เพื่อยุติการปรับโครงสร้างกิจการ
6.3 ในการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ให้ บสท. ดำเนินการโดยวิธีขายทอดตลาดหรือวิธีอื่นใดที่จะเป็นประโยชน์มากกว่า
7. การกำกับ การดำเนินงานและการควบคุม
7.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจกำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ บสท. และอาจมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของ บสท. ได้
7.2 เมื่อครบระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำรายงานประเมินผลการดำเนินการของ บสท. และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาว่าสมควรจะยุบหรือควรปรับปรุงการดำเนินการของ บสท. หรือไม่เพียงใด
8. การตรวจสอบบัญชี
8.1 กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลอื่นเป็นผู้สอบบัญชีของ บสท. และเสนอรายงานผลการตรวจสอบบัญชีต่อรัฐมนตรีฯ ทุก 6 เดือน
8.2 กำหนดให้ บสท. รายงานกิจการ งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุน ซึ่งผู้สอบบัญชี รับรองแล้วต่อรัฐมนตรีฯ ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นงวดการบัญชี เพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ
9. ความคุ้มครองกรรมการ พนักงานของ บสท. และบทกำหนดโทษ
9.1 กรรมการ พนักงานและลูกจ้างของ บสท. ที่ดำเนินการไม่ต้องรับผิดในการกระทำของตน เมื่อได้ใช้ความระมัดระวังตามวิสัยของผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว เว้นแต่เป็นกรณีฝ่าฝืนกฎหมาย ทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
9.2 ผู้บริหารกองทรัพย์สิน พนักงานและลูกจ้าง หรือบุคคลใดที่ บสท. มอบหมาย ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้รายใดชำระหนี้น้องลงกว่าที่ควรจะเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 1 แสนบาท เว้นแต่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลให้ระวางโทษปรับเท่ากับจำนวนมูลค่าของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของลูกหนี้รายนั้น
10. การเลิก บสท.
- เมื่อครบ 7 ปี ให้เตรียมการเพื่อเลิกดำเนินกิจการเมื่อสิ้นปีที่ 10 และให้ชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายในปีที่ 12 นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 37/2544 25 พฤษภาคม 2544--
-อน-
1. ร่างพระราชบัญญัตินี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ขึ้น เพื่อบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้และปรับโครงสร้างกิจการของลูกหนี้ซึ่งรับโอนมา โดยการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ รวมตลอดทั้งสิทธิอื่นใดเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันการชำระหนี้สำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพนั้น หรือโดยใช้มาตรการอื่นใด เพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ
2. โครงสร้างของ บสท.
2.1 ให้มี "คณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย" รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังเป็นผู้แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยในจำนวนนี้ต้องแต่งตั้งจากผู้แทนสภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และผู้แทนสมาคมธนาคารไทย แห่งละ 1 คน เพื่อวางนโยบายและกำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ บสท. ภายในขอบวัตถุประสงค์ของ บสท.
2.2 ให้คณะกรรมการ บสท. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารประกอบด้วย ประธานกรรมการบริหาร กรรมการบริหารอื่นไม่เกิน 3 คน และกรรมการผู้จัดการเป็นกรรมการบริหาร โดยตำแหน่ง ทั้งนี้ เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ตลอดจนกำหนดกรอบ แลวิธีการในการบริหารงานตามนโยบายของคณะกรรมการในเรื่องต่าง ๆ
2.3 ให้คณะกรรมการ บสท. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบไม่เกิน 5 คน เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินกิจการของ บสท. และการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการ
3. การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
3.1 กรณีสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐ ให้โอนสินทรัพย์ จัดชั้นสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย และสินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน
ทั้งนี้ในการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพดังกล่าวคณะกรรมการ บสท. อาจกำหนดให้รับโอนเฉพาะบางประเภท หรือเฉพาะบางส่วนก็ได้
3.2 กรณีสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์เอกชน รับโอนเฉพาะที่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน สินทรัพย์ที่มีมูลหนี้เป็นนิติบุคคลและมีเจ้าหนี้ตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปและมีมูลหนี้ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป รวมทั้ง ต้องเป็นสินทรัพย์ที่ยังมิได้มีความตกลงปรับโครงสร้างหนี้ใหม่และศาลยังมิได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
4. ราคาการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
4.1 กรณีสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐ เท่ากับมูลค่าทรัพย์สิน ที่เป็นหลักประกัน โดยไม่รวมการค้ำประกันด้วยบุคคล
4.2 กรณีสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์เอกชน มูลค่าทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันโดยไม่รวมการค้ำประกันบุคคล แต่ต้องไม่เกินมูลค่าสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามบัญชีหักเงินสำรองตามกฎหมาย
4.3 กำหนดให้ บสท. ชำระราคาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้แก่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ โดยออกเป็นตราสารหนี้ซึ่งเปลี่ยนมือไม่ได้และมีกำหนดใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันที่ออกตราสารหนี้นั้น
5. การแบ่งปันผลกำไรและรับผิดชอบผลขาดทุนระหว่าง
5.1 การแบ่งปันผลกำไร
(1) ผลกำไรส่วนแรกไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ให้แบ่งคนละครึ่งระหว่าง บสท. กับ สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์
(2) ผลกำไรส่วนที่ 2 ให้สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์รับไปทั้งหมด แต่ต้องไม่เกินส่วนต่างระหว่างมูลค่าตามบัญชีกับราคาที่ บสท. รับโอนมา
(3) กำไรส่วนที่เหลือจาก (2) ให้ บสท. รับไปทั้งหมด
5.2 การรับผิดชอบผลขาดทุน
(1) ผลขาดทุนส่วนแรกไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาที่รับโอน ให้สถาบัน การเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ รับไปทั้งหมด
(2) ผลขาดทุนส่วนที่ 2 ไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาที่รับโอน ให้แบ่งกันคนละครึ่งระหว่าง บสท. และสถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์
(3) ผลขาดทุนส่วนที่เหลือจาก (2) ให้ บสท. รับไปทั้งหมด
6. การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
บสท. มีอำนาจดำเนินการใน 3 กรณี ได้แก่ การปรับโครงสร้างหนี้ ปรับโครงสร้างกิจการ หรือจำหน่ายสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันของลูกหนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันตามที่เห็นสมควร โดยบสท. จะดำเนินการบริหารกองสินทรัพย์เองหรือจะว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญให้เป็นผู้บริหารกองสินทรัพย์ก็ได้
6.1 ในการปรับโครงสร้างหนี้ บสท. มีอำนาจใช้วิธีการต่าง ๆ อันได้แก่
การผ่อนปรนเงื่อนไขในการชำระหนี้ รับโอนทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ หรือดำเนินการอื่นใดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ บสท.
6.2 ในการปรับโครงสร้างกิจการ ให้ผู้บริหารกองสินทรัพย์หรือบุคคลอื่นใดที่ บสท. แต่งตั้งเป็นผู้จัดทำแผนปรับโครงสร้างกิจการเสนอต่อคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติภายในเวลาที่คณะกรรมการ บสท. กำหนด และให้ผู้บริหารของลูกหนี้หมดอำนาจในการกระทำกิจการใด ๆ ในนามของลูกหนี้ ในกรณีที่ผู้บริหารแผนเห็นว่าแผนไม่อาจดำเนินต่อไปได้ให้รายงานไปยังคณะกรรมการบริหารเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการ บสท. เพื่อยุติการปรับโครงสร้างกิจการ
6.3 ในการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ให้ บสท. ดำเนินการโดยวิธีขายทอดตลาดหรือวิธีอื่นใดที่จะเป็นประโยชน์มากกว่า
7. การกำกับ การดำเนินงานและการควบคุม
7.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจกำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ บสท. และอาจมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบกิจการ สินทรัพย์และหนี้สินของ บสท. ได้
7.2 เมื่อครบระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำรายงานประเมินผลการดำเนินการของ บสท. และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาว่าสมควรจะยุบหรือควรปรับปรุงการดำเนินการของ บสท. หรือไม่เพียงใด
8. การตรวจสอบบัญชี
8.1 กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลอื่นเป็นผู้สอบบัญชีของ บสท. และเสนอรายงานผลการตรวจสอบบัญชีต่อรัฐมนตรีฯ ทุก 6 เดือน
8.2 กำหนดให้ บสท. รายงานกิจการ งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุน ซึ่งผู้สอบบัญชี รับรองแล้วต่อรัฐมนตรีฯ ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นงวดการบัญชี เพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ
9. ความคุ้มครองกรรมการ พนักงานของ บสท. และบทกำหนดโทษ
9.1 กรรมการ พนักงานและลูกจ้างของ บสท. ที่ดำเนินการไม่ต้องรับผิดในการกระทำของตน เมื่อได้ใช้ความระมัดระวังตามวิสัยของผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว เว้นแต่เป็นกรณีฝ่าฝืนกฎหมาย ทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
9.2 ผู้บริหารกองทรัพย์สิน พนักงานและลูกจ้าง หรือบุคคลใดที่ บสท. มอบหมาย ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้รายใดชำระหนี้น้องลงกว่าที่ควรจะเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 1 แสนบาท เว้นแต่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลให้ระวางโทษปรับเท่ากับจำนวนมูลค่าของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของลูกหนี้รายนั้น
10. การเลิก บสท.
- เมื่อครบ 7 ปี ให้เตรียมการเพื่อเลิกดำเนินกิจการเมื่อสิ้นปีที่ 10 และให้ชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายในปีที่ 12 นับแต่วันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 37/2544 25 พฤษภาคม 2544--
-อน-