นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าจากการที่คณะเจ้าหน้าที่ศุลกากรสหรัฐฯ (US Customs Team) จำนวน 6 คน ได้เดินทางมาประเทศไทย เพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามกฎหมายศุลกากรสหรัฐฯ เกี่ยวกับการผลิตของโรงงานผู้ส่งออกสิ่งทอไทย (Textile Production Verification) เมื่อเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา จนทำให้มีโรงงานสิ่งทอของผู้ส่งออกไทยบางรายถูกห้ามนำเข้า (Deny Entry) สินค้าสิ่งทอไปยังสหรัฐฯ ทำให้ผู้นำเข้าสหรัฐฯระงับคำสั่งซื้อ หรือชะลอการสั่งซื้อสินค้าสิ่งทอจากผู้ส่งออกไทยบางราย นั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
โดยวัตถุประสงค์ของการมาตรวจสอบของศุลกากรสหรัฐฯนั้น เพื่อต้องการทราบว่าโรงงานผู้ผลิตต่างๆที่ส่งสินค้าไปยังสหรัฐฯนั้นมีการผลิตและมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศนั้นๆจริง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแอบอ้างแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อส่งไปยังสหรัฐฯสำหรับการตรวจสอบโรงงานผลิตสินค้าสิ่งทอของศุลกากรสหรัฐฯ ในครั้งนี้เป็นการดำเนินการกับหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเซีย เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน มาเก๊า อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ เป็นต้นมิได้เป็นการเลือกตรวจสอบเฉพาะกับประเทศไทยประเทศเดียวเป็นการตรวจสอบโรงงานผู้ผลิตผู้ประกอบการในประเทศผู้ส่งออกสินค้าสิ่งทอ สำหรับการตรวจสอบโรงงานสิ่งทอในไทยนั้น คณะศุลกากรสหรัฐฯ ได้ทำการตรวจสอบเพียง 36 โรงงาน(เดิมจะตรวจ 40 กว่าโรงงาน)จากจำนวนผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตจำนวนประมาณ 1,300 ราย ซึ่งขณะนี้ทางการสหรัฐฯ ยังไม่มีการใช้มาตรการใด ๆ ทั้งสิ้นกับโรงงานผู้ส่งออกสิ่งทอของไทย ผู้ส่งออกไทยที่ถูกตรวจสอบโรงงานยังคงสามารถส่งออกไปสหรัฐฯ ได้ตามปกติ โดยการดำเนินการในขั้นต่อไป คณะศุลกากรสหรัฐฯ จะทำรายงานเสนอต่อ US Customs Service พิจารณาเสนอให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (US Department of Commerce) พิจารณาและตัดสิน จากนั้นทางการสหรัฐฯ จึงจะแจ้งผลการตรวจสอบและมาตรการที่สหรัฐฯ จะดำเนินการกับฝ่ายไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศจะได้ประสานกับศุลกากรสหรัฐฯ ผ่านสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน เพื่อรายงานความคืบหน้าให้ทราบต่อไป
สำหรับการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยไปยังสหรัฐฯในปี 2543 มีมูลค่า 2,108.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มจากปี 2542 ซึ่งส่งออกมูลค่า 1,848.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ส่วนในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2544(ม.ค.-พ.ค.) ส่งไปสหรัฐฯมูลค่า 756.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาส่งออกมูลค่า 780.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และถ้าหากแยกเป็นรายสินค้าพบว่า เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่าส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน จาก 1,202.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหลือ 1,132.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
--สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก กรกฎาคม 2544--
-อน-
โดยวัตถุประสงค์ของการมาตรวจสอบของศุลกากรสหรัฐฯนั้น เพื่อต้องการทราบว่าโรงงานผู้ผลิตต่างๆที่ส่งสินค้าไปยังสหรัฐฯนั้นมีการผลิตและมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศนั้นๆจริง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแอบอ้างแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อส่งไปยังสหรัฐฯสำหรับการตรวจสอบโรงงานผลิตสินค้าสิ่งทอของศุลกากรสหรัฐฯ ในครั้งนี้เป็นการดำเนินการกับหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเซีย เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน มาเก๊า อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ เป็นต้นมิได้เป็นการเลือกตรวจสอบเฉพาะกับประเทศไทยประเทศเดียวเป็นการตรวจสอบโรงงานผู้ผลิตผู้ประกอบการในประเทศผู้ส่งออกสินค้าสิ่งทอ สำหรับการตรวจสอบโรงงานสิ่งทอในไทยนั้น คณะศุลกากรสหรัฐฯ ได้ทำการตรวจสอบเพียง 36 โรงงาน(เดิมจะตรวจ 40 กว่าโรงงาน)จากจำนวนผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตจำนวนประมาณ 1,300 ราย ซึ่งขณะนี้ทางการสหรัฐฯ ยังไม่มีการใช้มาตรการใด ๆ ทั้งสิ้นกับโรงงานผู้ส่งออกสิ่งทอของไทย ผู้ส่งออกไทยที่ถูกตรวจสอบโรงงานยังคงสามารถส่งออกไปสหรัฐฯ ได้ตามปกติ โดยการดำเนินการในขั้นต่อไป คณะศุลกากรสหรัฐฯ จะทำรายงานเสนอต่อ US Customs Service พิจารณาเสนอให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (US Department of Commerce) พิจารณาและตัดสิน จากนั้นทางการสหรัฐฯ จึงจะแจ้งผลการตรวจสอบและมาตรการที่สหรัฐฯ จะดำเนินการกับฝ่ายไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศจะได้ประสานกับศุลกากรสหรัฐฯ ผ่านสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน เพื่อรายงานความคืบหน้าให้ทราบต่อไป
สำหรับการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยไปยังสหรัฐฯในปี 2543 มีมูลค่า 2,108.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มจากปี 2542 ซึ่งส่งออกมูลค่า 1,848.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ส่วนในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2544(ม.ค.-พ.ค.) ส่งไปสหรัฐฯมูลค่า 756.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาส่งออกมูลค่า 780.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และถ้าหากแยกเป็นรายสินค้าพบว่า เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่าส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน จาก 1,202.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหลือ 1,132.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
--สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก กรกฎาคม 2544--
-อน-