ปัจจุบันชาวอเมริกันนิยมบริโภคผลไม้เมืองร้อน อาทิ ทุเรียน เงาะ ฝรั่ง ลิ้นจี่ มะม่วง มากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ จึงสนับสนุนให้มีการวิจัยเพื่อปลูกผลไม้เมืองร้อนในประเทศเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณของผลไม้เมืองร้อนที่ผลิตได้ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศ ทั้งนี้ ในปี 2543 สหรัฐฯ นำเข้าผลไม้สดจากต่างประเทศสูงถึง 3,165.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยครองส่วนแบ่งตลาดผลไม้สดในตลาดสหรัฐฯ ไม่มากนัก เนื่องจากสหรัฐฯ มีข้อกำหนดว่าด้วยการตรวจสอบผลไม้ที่นำเข้าอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 ไทยสามารถส่งออกผลไม้สดไปสหรัฐฯ รวมมูลค่า 39.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.83% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลไม้สดของไทยที่มีลู่ทางส่งออกไปสหรัฐฯ ค่อนข้างสดใส คือ ทุเรียน มะพร้าวอ่อน และมะขามหวาน
สำหรับผู้ที่ต้องการส่งออกผลไม้ไปสหรัฐฯ ควรทราบข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจ ดังนี้
1. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ก่อนที่สหรัฐฯ จะอนุญาตให้นำเข้าผลไม้สดชนิดใด จากประเทศใดบ้างนั้น เจ้าหน้าที่ของ Animal and Plant Health Inspection Service (APHIS) สังกัดกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (United States Department of Agriculture: USDA) จะประเมินความเสี่ยงของผลไม้สดที่จะอนุญาตให้นำเข้าใน 3 ขั้นตอน คือ
- การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านแมลงศัตรูพืช (Analyzing Pest Risk)
- การประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการระบาดของแมลงศัตรูพืช (Assessing Pest Risk)
- การจัดการกับแมลงศัตรูพืชที่ระบาด (Managing Pest Risk)
2. รายชื่อผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้า (List of Enterable Commodities) ภายหลังการประเมินความเสี่ยงแล้ว USDA จะกำหนดรายชื่อผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้าเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- ผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้าจากทุกประเทศ เช่น มะพร้าวอ่อน มะขามหวาน แห้ว และเกาลัด
- ผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้าจากบางประเทศได้ แต่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า (Import Permit) จาก USDA ประกอบการนำเข้า เช่น สหรัฐฯ อนุญาตให้นำเข้าทุเรียนจากไทย โดยต้องมีใบอนุญาตนำเข้า เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ส่งออกผลไม้ที่ไม่มีชื่อในรายการผลไม้ที่สหรัฐฯ อนุญาตให้นำเข้า สามารถยื่นข้อมูลที่เป็นหลักฐานทางวิชาการที่ได้พิสูจน์แล้วว่าผลไม้ของประเทศตนปลอดจากแมลงศัตรูพืชระบาด เพื่อเสนอให้ USDA พิจารณา หาก USDA ประเมินแล้วพบว่าผลไม้ดังกล่าวปลอดจากแมลงศัตรูพืชระบาดจริง ก็จะอนุญาตให้นำเข้าผลไม้ชนิดนั้นจากประเทศที่ยื่นเสนอเป็นกรณีๆ ไป
3. การตรวจสอบก่อนการนำเข้า (Entry to Inspection) ผลไม้ทุกชนิด (ที่ระบุชื่อในผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้าจากทุกประเทศและผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้าจากบางประเทศได้ แต่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าจาก USDA) ที่จะอนุญาตให้นำเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ต้องผ่านการตรวจสอบจุดใดจุดหนึ่ง ดังนี้
- การตรวจสอบ ณ จุดนำเข้า (On Arrival) เมื่อผลไม้ที่นำเข้าถึงสหรัฐฯ ผู้นำเข้าต้องส่งผลไม้นั้น
ให้ APHIS ของสหรัฐฯ เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ ซึ่งการนำเข้าวิธีนี้จะมีความเสี่ยงสูงเพราะ APHIS อาจปฏิเสธการนำเข้าได้ หากตรวจพบว่าในผลไม้นั้นมีแมลงศัตรูพืชระบาด
- การตรวจสอบ ณ แหล่งกำเนิดสินค้า (At Origin) ผู้ส่งออกสามารถขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate) จากหน่วยงานที่รับผิดชอบในประเทศผู้ส่งออกก่อนส่งออกไปยังสหรัฐฯ วิธีนี้จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าวิธีแรกที่สินค้าจะถูกปฏิเสธการนำเข้า สำหรับประเทศไทยผู้ส่งออกผลไม้สามารถขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชได้ที่กองควบคุมโรคพืช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อนส่งผลไม้ไปยังสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศผู้ส่งออกแล้ว ทางการสหรัฐฯ สามารถสุ่มตรวจผลไม้ที่นำเข้าอีกครั้งด้วยสายตา ซึ่งอาจเป็นการตรวจจากภายนอกหรือการผ่าตรวจ ก่อนอนุญาตให้นำเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ
4. ผลการตรวจสอบ (Inspection Result) แบ่งได้ 2 กรณี คือ
- กรณีที่ไม่พบว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาด จะอนุญาตให้นำเข้า
- กรณีที่พบว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาด USDA จะดำเนินการดังนี้
- หากเป็นแมลงศัตรูพืชที่สามารถกำจัดได้ USDA จะนำไปผ่านกรรมวิธีกำจัดแมลงศัตรูพืชระบาดก่อนอนุญาตให้นำเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ โดยผู้นำเข้าและผู้ส่งออกต้องเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเอง สำหรับวิธีการกำจัดแมลงศัตรูพืชในผลไม้เมืองร้อนที่ USDA นำมาใช้และเป็นที่ยอมรับมี 4 วิธี คือ
การฉายแสง (Irradiation) การจุ่มในน้ำร้อน (Hot Water) การอบไอน้ำ (Vapor Heat) และการอบด้วยความร้อน (High Temperature Forced Air) โดยแต่ละวิธีขึ้นกับชนิดของผลไม้และแมลงศัตรูพืชที่พบ
- หากเป็นแมลงศัตรูพืชที่ไม่สามารถกำจัดได้ USDA จะห้ามนำเข้าสินค้าดังกล่าว โดยอาจส่งกลับหรือทำลายทันที
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-
สำหรับผู้ที่ต้องการส่งออกผลไม้ไปสหรัฐฯ ควรทราบข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจ ดังนี้
1. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ก่อนที่สหรัฐฯ จะอนุญาตให้นำเข้าผลไม้สดชนิดใด จากประเทศใดบ้างนั้น เจ้าหน้าที่ของ Animal and Plant Health Inspection Service (APHIS) สังกัดกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (United States Department of Agriculture: USDA) จะประเมินความเสี่ยงของผลไม้สดที่จะอนุญาตให้นำเข้าใน 3 ขั้นตอน คือ
- การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านแมลงศัตรูพืช (Analyzing Pest Risk)
- การประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการระบาดของแมลงศัตรูพืช (Assessing Pest Risk)
- การจัดการกับแมลงศัตรูพืชที่ระบาด (Managing Pest Risk)
2. รายชื่อผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้า (List of Enterable Commodities) ภายหลังการประเมินความเสี่ยงแล้ว USDA จะกำหนดรายชื่อผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้าเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- ผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้าจากทุกประเทศ เช่น มะพร้าวอ่อน มะขามหวาน แห้ว และเกาลัด
- ผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้าจากบางประเทศได้ แต่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า (Import Permit) จาก USDA ประกอบการนำเข้า เช่น สหรัฐฯ อนุญาตให้นำเข้าทุเรียนจากไทย โดยต้องมีใบอนุญาตนำเข้า เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ส่งออกผลไม้ที่ไม่มีชื่อในรายการผลไม้ที่สหรัฐฯ อนุญาตให้นำเข้า สามารถยื่นข้อมูลที่เป็นหลักฐานทางวิชาการที่ได้พิสูจน์แล้วว่าผลไม้ของประเทศตนปลอดจากแมลงศัตรูพืชระบาด เพื่อเสนอให้ USDA พิจารณา หาก USDA ประเมินแล้วพบว่าผลไม้ดังกล่าวปลอดจากแมลงศัตรูพืชระบาดจริง ก็จะอนุญาตให้นำเข้าผลไม้ชนิดนั้นจากประเทศที่ยื่นเสนอเป็นกรณีๆ ไป
3. การตรวจสอบก่อนการนำเข้า (Entry to Inspection) ผลไม้ทุกชนิด (ที่ระบุชื่อในผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้าจากทุกประเทศและผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้าจากบางประเทศได้ แต่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าจาก USDA) ที่จะอนุญาตให้นำเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ต้องผ่านการตรวจสอบจุดใดจุดหนึ่ง ดังนี้
- การตรวจสอบ ณ จุดนำเข้า (On Arrival) เมื่อผลไม้ที่นำเข้าถึงสหรัฐฯ ผู้นำเข้าต้องส่งผลไม้นั้น
ให้ APHIS ของสหรัฐฯ เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ ซึ่งการนำเข้าวิธีนี้จะมีความเสี่ยงสูงเพราะ APHIS อาจปฏิเสธการนำเข้าได้ หากตรวจพบว่าในผลไม้นั้นมีแมลงศัตรูพืชระบาด
- การตรวจสอบ ณ แหล่งกำเนิดสินค้า (At Origin) ผู้ส่งออกสามารถขอใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certificate) จากหน่วยงานที่รับผิดชอบในประเทศผู้ส่งออกก่อนส่งออกไปยังสหรัฐฯ วิธีนี้จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าวิธีแรกที่สินค้าจะถูกปฏิเสธการนำเข้า สำหรับประเทศไทยผู้ส่งออกผลไม้สามารถขอใบรับรองปลอดศัตรูพืชได้ที่กองควบคุมโรคพืช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อนส่งผลไม้ไปยังสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศผู้ส่งออกแล้ว ทางการสหรัฐฯ สามารถสุ่มตรวจผลไม้ที่นำเข้าอีกครั้งด้วยสายตา ซึ่งอาจเป็นการตรวจจากภายนอกหรือการผ่าตรวจ ก่อนอนุญาตให้นำเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ
4. ผลการตรวจสอบ (Inspection Result) แบ่งได้ 2 กรณี คือ
- กรณีที่ไม่พบว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาด จะอนุญาตให้นำเข้า
- กรณีที่พบว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาด USDA จะดำเนินการดังนี้
- หากเป็นแมลงศัตรูพืชที่สามารถกำจัดได้ USDA จะนำไปผ่านกรรมวิธีกำจัดแมลงศัตรูพืชระบาดก่อนอนุญาตให้นำเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ โดยผู้นำเข้าและผู้ส่งออกต้องเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเอง สำหรับวิธีการกำจัดแมลงศัตรูพืชในผลไม้เมืองร้อนที่ USDA นำมาใช้และเป็นที่ยอมรับมี 4 วิธี คือ
การฉายแสง (Irradiation) การจุ่มในน้ำร้อน (Hot Water) การอบไอน้ำ (Vapor Heat) และการอบด้วยความร้อน (High Temperature Forced Air) โดยแต่ละวิธีขึ้นกับชนิดของผลไม้และแมลงศัตรูพืชที่พบ
- หากเป็นแมลงศัตรูพืชที่ไม่สามารถกำจัดได้ USDA จะห้ามนำเข้าสินค้าดังกล่าว โดยอาจส่งกลับหรือทำลายทันที
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-